Siripat Thai-Med Online School
  • Home
  • หลักสูตร
    • แพทย์แผนไทย >
      • เภสัชกรรมไทย >
        • เภสัชวัตถุ >
          • สมุนไพร ป่าชายเลน
        • สรรพคุณเภสัช
        • คณาเภสัช
        • หลักเภสัชกรรมไทย >
          • ตัวยาอันตราย
          • การสะตุ ประสะ ฆ่าฤทธิ์ตัวยา
          • ยาสามัญประจำบ้าน
        • แนวข้อสอบ เภสัชกรรมไทย
      • เวชกรรมไทย >
        • พระคัมภีร์ ฉันทศาสตร์
        • พระคัมภีร์ ปฐมจินดา
        • ตำรายา
        • แนวข้อสอบเวชกรรมไทย
      • ผดุงครรภ์ไทย >
        • แม๋ซื้อ
        • ห่วงเต้า
      • การนวดไทย >
        • กายวิภาคศาสตร์
        • การนวดราชสำนัก
        • ท่าบริหารฤาษีดัดตน
        • ท่าบริหารโยคะ
        • การหายใจบำบัดโรค
        • การนวดย่ำขาง
        • การนวดรักษา
        • แนวข้อสอบการนวดไทย
      • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง >
        • เฉลยข้อสอบ พ.ร.บ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.$
        • พ.ร.บ การประกอบโรคศิลปะ >
          • แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒
        • พ.ร.บ สถานพยาบาล >
          • แนวข้อสอบ พ.ร.บ สถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑
        • พ.ร.บ ยา >
          • ประกาศยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ พ.ศ. ๒๕๕๖
          • แนวข้อสอบ พ.ร.บ ยา พ.ศ. ๒๕๑๐
    • การแพทย์ทางเลือก >
      • การนวดจัดกระดูก
      • นวดไทยเพื่อสุขภาพ
      • กดจุดสะท้อนฝ่าเท้า
      • กวาซา
    • ประกาศผลสอบ แพทย์แผนไทย ประจำปี ๒๕๕๔
    • งานวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย
  • ประวัติปู่ชีวกโกมารภัจจ์/โรงเรียน
    • ประวัติ อ.ประสิทธิ์/พิธีไหว้ครู
    • ข้อมูลหลักสูตร >
      • ระเบียบการสมัครเรียน/สอบ
    • ทำเนียบครูแพทย์แผนไทย
    • ทำเนียบนักเรียน
    • เพลงแพทย์แผนไทย
  • สิริภัจจ์ สหคลินิก
    • กายภาพบำบัด
    • ยาแผนไทย
    • สมุนไพรบำบัด >
      • โรคสะเก็ดเงิน
    • นวดบำบัด
    • นวดจัดกระดูก
  • แผนที่โรงเรียน/คลินิก
  • ปรึกษาแพทย์ ฟรี
  • มารู้จัก มะเร็ง(โรคสาร) กันเถอะ
    • ตำหรับยา รักษามะเร็ง
    • ยารักษามะเร็ง/โจ๊กดอกไม้
  • ตำรายารักษาโรคต่างๆ
    • ยาแก้ไฟใหม้ -น้ำร้อนลวก
    • ยาแก้ งูสวัด เริม ไฟลามทุ่ง
    • ยารักษา โรคความดันโลหิตสูง
    • ยารักษาโรคไซนัสอักเสบและริดสีดวงจมูก
    • ยาแก้ไอ
    • ยาแก้ปวดหู
    • ยารักษาไข้หวัด
    • ยารักษาโรคตา
  • เครื่องมือทดสอบคุณภาพยาสมุนไพร
โรงเรียนสิริภัจจ์ การแพทย์แผนไทย อ.ประสิทธิ์ คงทรัพย์
                              ตำรับยา

                                                                                               จากหนังสือแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

                                       ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ

๑. ยาเบญจโกฐ

พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์(หน้า ๑๓๔)

ส่วนประกอบ

         โกฐสอ ๑ โกศเขมา ๑ โกศพุงปลา ๑ โกศจุลาลำภา ๑ โกศหัวบัว ๑ กานพลู ๑ จันทน์เทศ ๑ ชะเอม ๑ 
       เอาสิ่งละ ๑ สลึง
       น้ำตาลทราย ๑ เฟื้อง    รวมยา ๙ สิ่งนี้
       ตำเป็นผงเอาน้ำดอกไม้เป็นกระสายบดปั้นแท่งไว้ละลายด้วยน้ำผึ้ง
       หรือน้ำมะนาวก็ได้ 
                        ให้กุมารกินแก้น้ำนมให้โทษต่าง ๆ และแก้พิษทรางในคอ แก้ไอ สะอึกดีนัก

๒. ยาต้มประสระน้ำนม

พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ (หน้า ๑๓๑)

ส่วนประกอบ

โกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ รากไทรย้อย ๑ เปลือกพิกุล ๑ แห้งหมู ๑ งาช้าง ๑ เขากวางอ่อน ๑ รากเสนียด ๑ โคกกระออม ๑ รวมยา ๑๗ สิ่งนี้ เอาส่วนเท่ากัน ต้ม ๓ เอา ๑ กิน น้ำนมบริสุทธิ์ดีนัก

๓. ยาแก้ปัสสาวะมิออก

พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ (หน้า ๑๔๓)

ส่วนประกอบ

ท่านให้เอาโคกกระสุน ๑ ยอดขี้เหล็ก ๑ ขมิ้นอ้อย ๗ ชิ้น ต้ม ๓ เอา ๑ ให้กุมารกิน มูตรออกดีนัก

๔. ยาแก้กุมารอ่อนลงท้อง

พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ (หน้า ๑๔๓)

ส่วนประกอบ

ท่านให้เอาลูกมะคูมอ่อน ๑ ลูกทับทิม ๑ ดีปลี ๑ รากหนาด ๑ ขิงสด ๑ รวมยา ๕ สิ่งเอาส่วนเท่ากัน บดละลายน้ำผึ้งกินหายดีนัก

๕. ยาแก้ทราง แดง

พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ (หน้า ๑๔๕)

ส่วนประกอบ

ขนาดนี้ท่านให้เอา กรามแรด ๑ กรามช้าง ๑ เขากวาง ๑ สมุลแว้ง ๑ เนรภูสี ๑ จันท์แดง ๑ ดีงูเหลือม ๑ รวมยา ๗ สิ่งนี้เอาส่วนเท่ากัน เอาน้ำเหล้าเป็นกระสาย บดทำแท่งไว้ทั้งกินทั้งทาหายดีนัก

๖. ยาหยอดตา

พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ (หน้า ๑๔๗)

ส่วนประกอบ

ขนาดนี้ท่านให้เอา รากกระทกรก ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ เปลือกหอยโข่ง ๑ ยา ๓ สิ่งนี้ แช่น้ำหยอดตาแก้หมอกหาย

๗. ยาทาท้องแก้ท้องขึ้นแก้สะอึก

พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์(หน้า ๑๘๑)

ส่วนประกอบ

ท่านให้เอาพริกไทย ๑ ขิง ๑ กระเทียม ๑ หอม ๑ เหลือ ๑ มหาหิงคุ์ ๑ หัวพลู ๑ เอาเสมอภาค บดทาท้องน้อยแก้ท้องขึ้นแก้สะอึกหายดีนัก

๘. ยาแก้พิษสำแลงไข้

พระคัมภีร์สรรพคุณ ฯ (หน้า ๓๙๗)

ส่วนประกอบ

เอาผลบัวหลวง ๑ หัวแห้ว ๑ ผลกระจับน้ำ ๑ เกสรบัวหลวง ๑ รากมะกอก ๑ รากมะปรางเปรี้ยว ๑ รากมะปรางหวาน ๑ รากหมาก ๑ รากมะพร้าว ๑ เหมือดคน ๑ ทำผลละลายน้ำร้อน,น้ำดอกได้, น้ำอ้อยแดง กินถอนพิษผิดสำแดง ไข้สันนิบาต

๙. ยาประสะการบูร

พระคัมสรรพคุณฯ (หน้า ๓๙๗)

ส่วนประกอบ

แก้สรรพลมใหญ่ทั้งหลายแล ผายธาตุ เอาผลจันทน์ ๑ มหาหิงคุ์ ๑ สะค้าน ๑ เปราะหอม ๑ เทียนขาว ๑ เทียนเยาวภาณี ๑ ตรีฏุก ๑ ตรีผลา ไพร ๑ ใบคนทิสอ ๑ หัวแห้วหมู ๑ ผิวมะกรูด ๑ สิ่งละเสมอภาค การะบูรเท่ายา ตำผงละลายน้ำร้อนกินเท่าผลพุดทรา แก้ลมหญ่ลมน้อยทั้งปวงหายแล

๑๐. ยาแก้ลมอำมพฤกลมอำมพาธ

พระคัมภีร์ชวดาร (หน้า ๕๕๕)

ส่วนประกอบ

เอาน้ำมะนาว เอาน้ำมะงั่ว เอาน้ำมะกรูด เปลือกทองหลางใบมน ๑ ไพล ๑ ข่า ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ กุ่มทั้ง ๒ กระเทียม ๑ รากเจตมูล ๑ พริกไทย ๑ ผักเสี้ยนผี ๑ เกลือ ๑ การะบูร ๑ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันท์ ๑ เอาเท่ากัน ตำผงน้ำกระสายตามควร

๑๑. ยาแก้ลมปะกัง

พระคัมภีร์ชวดาร (หน้า ๕๕๗)

ส่วนประกอบ

เอาพริกไทย ๒ สลึง ขิงสด ๑ บาท ผิวมะกรูดสด ๖ สลึง หญ้าแพรก ๓ บาท สารส้ม ๘ บาท ตำพอกแก้ลมปะกังแลลมเข้าข้อ

๑๒. ยาแก้สลบแก้ชัก

พระคัมภีร์ชวดาร (หน้า ๕๕๗)

ส่วนประกอบ

เอาเชือกเถามวกทั้ง ๒ รากฟักเข้า ๑ รากครอบจักรวาฬ ๑ จันทน์ทั้ง ๒ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ กะลำภัก ๑ ชะเอมเทศ ๑ ชะลูด ๑ ขอนดอก ๑ กฤษณา ๑ สรรพเกสร ๑ สรรพโกฐ ๑ สรรพเทียน ๑ เปราะหอม ๑ เอาเสมอภาค ใบกระวานเท่ายาทั้งหลายบดทำแท่งเท่าผลมะแว้ง กินมื้อละ ๕ เม็ด แก้ลมสันนิบาตและลมทั้งปวง

๑๓. พระตำราหลวงแก้ปวดมวนสวิงสวาย

พระคัมภีร์ชวดาร (หน้า ๕๕๘)

ส่วนประกอบ

เอาเบญจกูลสิ่งละ ๑ สลึง โกฐก้านพร้าว ๑ สลึง เปลือกกุ่มสิ่งละ ๑ สลึง โกฐพุงปลา ๒ สลึง ดอกบุญนาค ๒ สลึง ดอกลำดวน ๒ สลึง โกศเชียง ๒ สลึง เทียนทั้ง ๕ สิ่งละ ๒ สลึง การบูร ๑ เฟื้อง ตำผงละลายน้ำผึ้ง น้ำร้อน น้ำส้มซ่าก็ได้ รับประทาน ทวีตามกำลังวัน

๑๔. พระตำราหลวงแก้โลหิตแห้งให้ร้อยให้เย็น

พระคัมภีร์ชวดาร (หน้า ๕๕๘)

ส่วนประกอบ

เอาขมิ้นอ้อย ๑ ไคร้เครือ ๑ ว่านน้ำ ๑ โกศสอ ๑ เปราะหอม ๑ ดีปลี ๑ เทียนขาว ๑ ขิงแห้ง ๑ อบเชย ๑ ตำผงละลายน้ำผึ้ง รับประทาน

๑๕. พระตำราหลวงเป็นยานัดถุ์

พระคัมภีร์ชวดาร (หน้า ๕๕๙)

ส่วนประกอบ

เอาน้ำประสานทอง ๑ โกฐสอ ๑ โกฐเชียง ๑ โกฐพุงปลา ๑ กานพลู ๑ เบี้ยผู้เผา ๑ ชาตหอระคุณ ๑ เปลือกสมุลแว้ง ๑ เกสรบุญนาก ๑ อบเชย ๑ สรรพยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๑ เฟื้อง ตรีกฎุก ๒ สลึง ชะมดพิมเสน พอควร ทำระแนงผงห่อผ้าบาง ๆ รมก็ได้ แก้ปวดศีรษะ แก้ไข้สันนิบาต แก้พิษในศีรษะเพื่อโลหิตพิการ แก้ลมวิงเวียน แก้ริดสีดวงในลำคอก็ได้

๑๖. ยาแก้บวมทั่วสารพางค์กาย

พระคัมภีร์ชวดาร (หน้า ๕๖๓)

ส่วนประกอบ

แก้ริศดวง ๙ ประการ ให้ไอนอนมิหลับ

เอาหัวดองดึง ๑ หัว บุกรอ ๑ รากมะนาว ๑ เอาสิ่งละ ๑ บาท รากส้มกุ้ง ๑ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ เอาสิ่งละ ๒ บาท ขิงแห้ง ๖ สลึง ดีปลีเท่ายาทั้งหลายทำผงละลายสุรารับประทาน

๑๗. ยาต้มแก้โรคเรื้อนกินกระดูกให้ขัดในข้อ

พระคัมภีร์ชวดาร (หน้า ๕๖๔)

ส่วนประกอบ

·       เอากระดูกช้าง ๑ กระดูกแพะ ๑ กระดูกกระบือเผือก ๑ กระดูกสุนัขดำ ๑ เถาโคคลาน ๑ บ้าช้าหมอง ๑ หญ้าหนวดแมว ๑ ยาเข้าเย็นเหนือ ๑ ยาเข้าเย็นไต้ ๑ ยาทั้งนี้เอาเสมอภาค ดองสุราก็ได้ ต้มก็ได้ รับประทานแก้พยาธิแลโรคเรื้อน

๑๘. ยาแก้ปฐวีธาตุพิการ

พระคัมภีร์โรคนิทาน (หน้า ๕๗๘)

ส่วนประกอบ

เอาเปลือกหอยขม ๑ หอยแครง ๑ ผักแพวแดง ๑ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ การบูร ๑ เอาเสมอภาคพริกไทยล่อนเท่ายาทั้งหลาย ทำเป็นจุณละลายน้ำผึ้งกินแก้ปฐวีธาตุพิการ คืออาหารใหม่อาหารเก่าหายแล

๑๙. ยาแก้ปวดสีสะ

พระคัมภีร์โรคนิทาน (หน้า ๕๗๘)

ส่วนประกอบ

ให้เอาชะเอมทั้ง ๒ อบเชยเทศ ๑ เปลือกคนทา ๑ จันทน์หอม ๑ โกศสอ ๑ ใบสมี ๑ ผลผักชี ๑ ขิง ๑ ชะมด ๑ พิมเสน ๑ ทำเป็นจุณกวนเป็นยานัตถุ์ แก้ปวดศีรษะหายแล

๒๐. ยากินแก้กระหายน้ำแก้ร้อนภายใน

พระคัมภีร์โรคนิทาน (หน้า ๕๘๐)

ส่วนประกอบ

ให้เอาดินถนำ ๑ เผาไฟให้ไหม้โชน รากบัวหลวง ๑ ฝุ่นจีน ๑ รังหมาร่า ๑ ชาตก้อน ๑ ดอกพิกุล ๑ ตอกบุนนาก ๑ ดอกสารภี ๑ เกสรบัวหลวง ๑ รากสลอดน้ำ ๑ รากคันทรง ๑ ก้ามปูทะเลเผา ๑ ดินประสิวขาว ๑ เอาเสมอภาค บดทำเป็นแท่งละลายน้ำดอกไม้ ทั้งกันทั้งพ่น แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนแล

๒๑. ยาแก้บิดเมื่อธาตุแตก

พระคัมภีร์โรคนิทาน (หน้า ๕๘๒)

ส่วนประกอบ

เอาเม็ดในมะม่วงกะล่อน ๑ ผลเบญจกานี ๑ ผลจันน์ ๑ ครั่ง ๑ ดินกิน ๑ เปลือกมะขามขบ ๑ เปลือกมังคุด ๑ เทียนดำ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ ยางตะเคียน ๑ น้ำประสานทอง ๑ สีเสียดทั้ง ๒ ยาฝิ่น ๑ เอาเสมอภาคทำเป็นจุณใส่ในผลทับทิม แล้วพอกด้วยมูลโคขั้นหนึ่ง สมไฟแกลบให้สุก แล้วจึงบดทั้งผลทับทิม ทำแท่งไว้ฝนด้วยด้วยน้ำปูนใส กับไพล กินแก้ปวดมวนเสมหะ แก้โลหิตเหน้าร้าย ถ้ายังไม่หยุดให้ประกอบยาที่แก้ดีพิการ ดีแตกมาแก้ก็ได้เหมือนกัน

๒๒. ยาต้มแก้ขัดเบา

พระคัมภีร์โรคนิทาน (หน้า ๕๘๘)

ส่วนประกอบ

เอาใบมะขามกำมือ ๑ ใบส้มป่อยกำมือ ๑ ใบมะนาว ๗ ใบหอม ๓ หัว สารส้ม ๑ ดินประสิวขาว ๑ หนักสิ่งละ ๑ บาท น้ำอ้อยงบ ๑ หัก ๔ อัน ทิ้งเสียข้างทิศตะวันตกอันหนึ่ง เหลือ ๓ อัน ใส่หม้อต้มให้กัน เบาออกคล่องหายแล

๒๓. ยาสว่างอารมณ์

พระคัมภีร์โรคนิทาน (หน้า ๕๘๓)

ส่วนประกอบ

ให้เอารากบัวหลวง ๑ ผลบัวหลวง ๑ หัวถั่วภู ๑ แห้วสด ๑ กระจับสด ๑ ชะลูด ๑ ขอนดอก ๑ กรุงเขมา ๑ หญ้านาง ๑ เกสรบัวหลวง ๑ เกสรบัวขม ๑ เกสรบัวเผื่อน ๑ สัตตบงกช ๑ สัตบุศย์ ๑ ดอกพิกุล ๑ ดอกบุญนาก ๑ ดอกสารภี ๑ ดอกกรรณิกา ๑ ชะมด ๑ พิมเสน ๑ หญ้าฝรั่ง ๑ อำพัน ๑ เกล็ดหอยเทศ ๑ บดฝนด้วยน้ำดอกไม้เทศ กินชูกำลังแก้สวิงสวาย ถึงบริโภคอาหารไม่ได้สัก ๗ วันก็ไม่ตาย แก้หฤทัยระส่ำระสายกินหายแล

๒๔. ยาพรหมภักตร์

พระคัมภีร์ธาตุบรรจบ (หน้า ๖๕๖)

ส่วนประกอบ

เอาโกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ สิ่งละ ๑ สลึง เนื้อผลสมอไทย ๑ เนื้อผลสมอพิเภก ๑ เนื้อผลมะขามป้อม ๑ ขิงแห้ง ๑ พริกไทย ๑ ดีปลี ๑ เปราะหอม ๑ ผลเอ็น ๑ เอาสิ่งละ ๒ สลึง ผลจันทน์ ๑ การบูร ๑ กานพลู ๑ ยาดำบริสุทธิ์ ๑ เอาสิ่งละ ๑ บาท ยางสลัดใดประสะแล้ว ๕ บาท รวมยา ๒๓ สิ่งนี้ทำเป็นจุณบดด้วยน้ำเปลือกมะรุมต้มทำแท่งไว้ละลายน้ำผึ้งให้คนไข้รับประทานตามกำลัง เป็นยาชำระเมือกมันและทำให้อุจจาระเป็นปรกติ แก้วาโยกลัดคูธทวาร

๒๕. ยาประสะผลสมอไทย

พระคัมภีร์ธาตุบรรจบ (หน้า ๖๕๙)

ส่วนประกอบ

เอาเกลือสินเธาว์ ๑ หัวอุตพิด ๑ ผลผักชีลา ๑ ขิงแห้ง ๑ รากเจตมูลเพลิงแดง ๑ รากช้าพลู ๑ เถาสะค้าน ๑ ดีปลี ๑ เอาสิ่งละ ๑ สลึง ผลจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ เอาสิ่งละ ๓ สลึงโกศหัวบัว ๑ โกศเขมา ๑ มหาหิงคุ์ ๑ เอาสิ่งละ ๑ บาท รากจิงจ้อเหลี่ยม ๒ บาท เนื้อผลสมอไทย ๖ บาทสลึง รวมยา ๑๖ สิ่งนี้ทำเป็นจุณ ละลายน้ำตรีผลา ต้มให้รับประทาน ประสะกลิ่นอุจจาระธาตุให้สิ้นโทษ แลฟอกมูลลามกให้คืนเป็นปรกติแก้จุกเสียดขบแทง แก้ลมพานไส้ให้คลื่นเหียน แก้อุจจาระกลัดเป็นพรรดึก แก้อัมพฤกษ์แลกร่อนกระไษย

๒๖. แกงยารุไกษยปลาไหล

พระคัมภีร์ไกษย (๗๒๖)

ส่วนประกอบ

เอาเบญจะกูลหนักสิ่งละ ๕ สลึง เปลือกต้นมะตูม ๑ บาท รากคัดหมอน ๑ บาท ผลผักชี ๑ บาท หัวแห้วหมู ๒ บาท จันทน์หอม ๑ บาท มูกมัน ๑ มูกหลวง ๑ กกลังกา ๑ ผลกระดอม ๑ บอระเพ็ด ๑ ผลมะแว้งทั้ง ๒ หนึ่ง รวมยานี้เอาสิ่งละ ๑ บาท ต้มกินบำรุงธาตุทั้ง ๔

๒๗. ยาบำรุงโลหิต

คัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา (๖๗๐-๖๗๑)

ส่วนประกอบ

เอาดเบญจกูลสิ่งละ ๑ บาท ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ เทียนทั้ง ๕ โกฐทั้ง ๕ สมอทั้ง ๓ อบเชย ๑ จันทน์ทั้ง ๒ สน ๑ สัก ๑ กรักขี ๑ เปล้าทั้งสอง แก่นแสมทั้ง ๒ กฤษณา ๑ ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๒ สลึง ขมิ้นเครือ ๑ เชือกเถามวกแดง ๑ กำลังวัวเถลิง ๑ เกสรพิกุล ๑ ดอกบันนาก ๑ ดอกสารภี ๑ ดอกบัวหลวง ๑ ครั่ง ๑ ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๑ บาทฝาง ๒ บาท ดอกคำไทย ๕ ตำลึง ต้มกินไปเถิดบำรุงโลหิตแล

๒๘. แกงยารุไกษยปลาไหล

พระคัมภีร์ไกษย (๗๒๖)

ส่วนประกอบ

เอาหัวเข้าข้าสด ๑ ตำลึง ใบว่านหางช้าง ๙ ใบ พริกไทย ๗ เม็ด ขิง ๗ ชิ้น ข่า ๗ ชิ้น กะทือ ๗ ชิ้น ไพล ๗ ชิ้น ขมิ้นอ้อย ๗ ชิ้น หอม ๗ หัว กระเทียม ๗ กลีบ ปลาไหลตัว ๑ แกงใส่กะปิปลาร้าให้อร่อยดีแล้วจึงเอาปีกนาคราช ผิวมะกรูดมาหั่นใส่ในแกงยานั้น ให้กินถ้วยแกง ๑ ลงจนแสมหะ ตัวไกษยขาดออกมาเป็นท่อนใหญ่ท่อนน้อยดุจ โลหิตเป็นสิ่งเป็นแท่งออกมาหายวิเศษนัก

๒๙. ยาประจุครอบโรคทั้งปวง

พระคัมภีร์ไกษย (๗๔๙)

ส่วนประกอบ

พริก ๑ ขิง ๑ ดีปลี ๑ กระเทียม ๑ ไพล ๑ การะบูร ๑ มหาหิงคุ์ ๑ เทียนดำ ๑ ยา ๘ สิ่งนี้เอาสิ่งละ ๑ บาท เอายาดำ ๒ บาท รงทอง ๑ สลึง พิมเสน ๑ สลึง ดีงูเหลือม ๑ สลึงลูกสลอดประสะแล้วเอาเท่ายาทั้งหลาย บดด้วยน้ำมะนาวปั้นเม็ดเท่าลูกมะกล่ำ ละลายน้ำร้อน กิน ๕ เม็ด หญิงชายก็ดีกำลังน้อยให้กินแก่ ๓ เม็ด ประกอบฝีเหือดแลเลือดลมหายมากแล้วอย่าสนเท่ห์เลย

สมัครเรียนติดต่อ siripatclinic@gmail.com โทร.087-1639644,