Siripat Thai-Med Online School
Home
หลักสูตร
แพทย์แผนไทย
>
เภสัชกรรมไทย
>
เภสัชวัตถุ
>
สมุนไพร ป่าชายเลน
สรรพคุณเภสัช
คณาเภสัช
หลักเภสัชกรรมไทย
>
ตัวยาอันตราย
การสะตุ ประสะ ฆ่าฤทธิ์ตัวยา
ยาสามัญประจำบ้าน
แนวข้อสอบ เภสัชกรรมไทย
เวชกรรมไทย
>
พระคัมภีร์ ฉันทศาสตร์
พระคัมภีร์ ปฐมจินดา
ตำรายา
แนวข้อสอบเวชกรรมไทย
ผดุงครรภ์ไทย
>
แม๋ซื้อ
ห่วงเต้า
การนวดไทย
>
กายวิภาคศาสตร์
การนวดราชสำนัก
ท่าบริหารฤาษีดัดตน
ท่าบริหารโยคะ
การหายใจบำบัดโรค
การนวดย่ำขาง
การนวดรักษา
แนวข้อสอบการนวดไทย
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
>
เฉลยข้อสอบ พ.ร.บ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.$
พ.ร.บ การประกอบโรคศิลปะ
>
แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒
พ.ร.บ สถานพยาบาล
>
แนวข้อสอบ พ.ร.บ สถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑
พ.ร.บ ยา
>
ประกาศยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ พ.ศ. ๒๕๕๖
แนวข้อสอบ พ.ร.บ ยา พ.ศ. ๒๕๑๐
การแพทย์ทางเลือก
>
การนวดจัดกระดูก
นวดไทยเพื่อสุขภาพ
กดจุดสะท้อนฝ่าเท้า
กวาซา
ประกาศผลสอบ แพทย์แผนไทย ประจำปี ๒๕๕๔
งานวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย
ประวัติปู่ชีวกโกมารภัจจ์/โรงเรียน
ประวัติ อ.ประสิทธิ์/พิธีไหว้ครู
ข้อมูลหลักสูตร
>
ระเบียบการสมัครเรียน/สอบ
ทำเนียบครูแพทย์แผนไทย
ทำเนียบนักเรียน
เพลงแพทย์แผนไทย
สิริภัจจ์ สหคลินิก
กายภาพบำบัด
ยาแผนไทย
สมุนไพรบำบัด
>
โรคสะเก็ดเงิน
นวดบำบัด
นวดจัดกระดูก
แผนที่โรงเรียน/คลินิก
ปรึกษาแพทย์ ฟรี
มารู้จัก มะเร็ง(โรคสาร) กันเถอะ
ตำหรับยา รักษามะเร็ง
ยารักษามะเร็ง/โจ๊กดอกไม้
ตำรายารักษาโรคต่างๆ
ยาแก้ไฟใหม้ -น้ำร้อนลวก
ยาแก้ งูสวัด เริม ไฟลามทุ่ง
ยารักษา โรคความดันโลหิตสูง
ยารักษาโรคไซนัสอักเสบและริดสีดวงจมูก
ยาแก้ไอ
ยาแก้ปวดหู
ยารักษาไข้หวัด
ยารักษาโรคตา
เครื่องมือทดสอบคุณภาพยาสมุนไพร
โรงเรียนสิริภัจจ์ การแพทย์แผนไทย อ.ประสิทธิ์ คงทรัพย์
โรงเรียน สิริภัจจ์ การแพทย์แผนไทย
อ.ประสิทธิ์ คงทรัพย์
ข้อสอบ วิชาเวชกรรมไทย 1(2545)
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียวเท่านั้น
1. การโฆษณายาแบบใดที่ผู้อนุญาตมีอำนาจอนุมัติข้อความที่โฆษณาได้
1. การโฆษณายาโดยการร้องเพลง
2. การโฆษณาสรรพคุณยาอันตราย
3. การโฆษณายาแก้เบาหวานโดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ
4. การโฆษณายาโดยให้ผู้ประกอบโรคศิลปะเป็นผู้รับรองสรรพคุณ
2. นายโชคขายยาสมุนไพรที่เข้าเมล็ดสลอดทั้งๆ ที่ยังอยู่ในลักษณะที่ยังไม่แปรสภาพ แต่อาจถูกจับ
ข้อหาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ เพราะ
1. ขายยาแผนโบราณที่เป็นอันตราย
2. นายโชคไม่เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
3. ขายยาตำรับอันตราย
4. ขายยาสมุนไพรที่เป็นอันตราย
3. ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น ผู้ขออนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในกี่วัน
นับแต่วันได้รับหนังสือของผู้ อนุญาตแจ้งการไม่ออกใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
1. 15 วัน 2. 20 วัน 3. 25 วัน 4. 30 วัน
4. ผู้ใดผลิตยาปลอมต้องระวางโทษสถานใด
1. จำคุกหนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นถึงห้าหมื่นบาท
2. จำคุกตลอดชีวิต
3. จำคุกห้าปี และปรับห้าหมื่นบาท
4. จำคุกตั้งแต่สามปีถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท
5. ผู้รับอนุญาตผลิตยาหรือขายยาแผนโบราณนอกสถานที่ที่ได้กำหนดไว้ในใบอนุญาตเว้นแต่เป็นการ
ขายส่งจะมีโทษสถานใด
1. ปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสามพันบาท
2. ปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสามพันบาท
3. ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
4. ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
6. การกระทำในข้อใดที่ผู้รับอนุญาตจะต้องดำเนินการเสมือนการขออนุญาตประกอบกิจการ
สถานพยาบาลใหม่
1. เปลี่ยนตัวผู้ดำเนินการสถานพยาบาล
2. เปลี่ยนตัวผู้รับอนุญาต
3. เปลี่ยนชื่อสถานพยาบาลใหม่
4. ย้ายสถานพยาบาลไปประกอบกิจการที่อื่น
7. ผู้ใดดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 24 วรรคหนึ่ง มีโทษ
ประการใด
1. จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. ปรับไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท
8. เมื่อท่านเป็นผู้ป่วย และเข้าไปรักษาในคลินิกแพทย์ สิ่งสำคัญที่เท่าควรจะต้องตรวจสอบในคลินิก
นั้นคืออะไร
1. ป้ายชื่อคลินิกตรงกับชื่อแพทย์หรือไม่
2. ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
3. วุฒิบัตรแสดงความรู้ หรือคุณวุฒิของแพทย์
4. อุปกรณ์การแพทย์รวมทั้งเวชภัณฑ์
9. สมศรีมีความประสงค์จะขออนุญาตเป็นผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาล แต่ผู้อนุญาตไม่ยอมออกใบ
อนุญาตให้ สมศรีควรทำอย่างไร
1. อุทธรณ์ต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุข
2. อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
3. อุทธรณ์ต่อนายกรัฐมนตรี
4. อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการสถานพยาบาล
10. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
ตรงตามข้อใด
1. ฉบับละ 2,000 บาท
2. ฉบับละ 1,000 บาท
3. ฉบับละ 500 บาท
4. ฉบับละ 200 บาท
11. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา 8 (2) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรค
ศิลปะ พ.ศ. 2542 นั้น นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระแล้ว พ้นจากตำแหน่งเมื่อใด
1. ขาดคุณสมบัติ
2. ลาออก
3. รัฐมนตรีให้ออก โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
4. ถูกทุกข้อ
12. กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง และกรรมการวิชาชีพที่ได้รับเลือกตั้ง อยู่ในตำแหน่งคราวละ
กี่ปี และอาจได้รับการแต่ตั้ง หรือเลือกตั้งอีกได้
1. สองปี
2. สามปี
3. สี่ปี
4. ห้าปี
13. การกล่าวหาผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิ์ทำคำชี้แจง หรือนำพยานหลักฐานมาแสดง
ต่อ คณะอนุกรรมการวิชาชีพผู้สอบสวนความผิดของตนได้ ภายในกำหนดระยะเวลากี่วัน
1. 10 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง
2. 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง
3. 20 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง
4. 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง
14. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ
1. เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการกำหนดนโยบาย
2. ให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการวิชาชีพ
3. พิจารณา หรือดำเนินการในเรื่องอื่นที่ตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
4. รับขึ้นทะเบียน และออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
15. คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ
พ.ศ. 2542 มีจำนวน
1. ไม่น้อยกว่า 12 คน แต่ไม่เกิน 17 คน
2. ไม่น้อยกว่า 13 คน แต่ไม่เกิน 17 คน
3. ไม่น้อยกว่า 14 คน แต่ไม่เกิน 17 คน
4. ผิดทุกข้อ
16. นาย ก.มีความรู้เรื่องรักษาโรค โดยการเรียนรู้สืบทอดจากบรรพบุรุษ โดยอาศัยกรรมวิธีของ
การแพทย์แผนไทย นาย ก. ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ถ้านายก.
ไปตรวจรักษาผู้ป่วยแล้วเรียกร้องค่าตอบแทน นาย ก. จะถูกลงโทษอย่างไร
1. อาจถูกจำคุกหรือปรับ
2. ถูกยึดทรัพย์เรียกค่าตอบแทนที่เคยได้รับ
3. ถูกว่ากล่าวตักเตือน
4. ทุกข้อที่กล่าวมาแล้ว
17. ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือถูกกล่าวโทษไม่ยอมรับหนังสือแจ้งคำวินิฉัยให้ทำอย่างไร
1. ให้ปิดคำวินิจฉัยไว้ในที่เปิดเผย ณ ภูมิลำเนาของผู้ถูกกล่าวหา
2. ให้ส่งทางจดหมายลงทะเบียนตอบรับ
3. ให้ลงประกาศทางหนังสือพิมพ์รายวัน
4. ถูกทุกข้อ
18. ผู้ประกอบโรคศิลปะผู้ใดฝ่าฝืน คำสั่งพักใช้ใบอนุญาต และศาลพิพากษาลงโทษคดีประกอบโรค
ศิลปะผิดสาขา คดีถึงที่สุดแล้ว ให้คณะกรรมการวิชาชีพสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตั้งแต่เมื่อไร
1. ตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
2. ตั้งแต่วันที่ทราบบ่าวกระทำความผิด
3. ตั้งแต่วันที่สั่งพักใบอนุญาต
4. ตั้งแต่วันที่ยื่นเอกสารฟ้องศาล
19. พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ใช้บังคับเมื่อใด
1. ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป
2. ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป
3. ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป
4. ผิดทุกข้อ
20. ภายในกี่วันนับจากวันเลือกตั้งกรรมการวิชาชีพสาขาต่างๆ ให้คณะกรรมการวิชาชีพแต่ละสาขา
เลือกกรรมการวิชาชีพเป็นประธานกรรมการ และรองประธานกรรมการวิชาชีพ
1. ยี่สิบวัน
2. ยี่สิบห้าวัน
3. สามสิบวัน
4. ผิดทุกข้อ
21. ที่เกิดโลหิตระดูของสตรีเมื่อจะมีมาให้ดุจไข้จับร้อนๆ หนาวๆ ปวดศีรษะมาก ข้อใดถูกต้อง
1. โลหิตระดูเกิดเมื่ออายุ 15 ปี
2. โลหิตระดูเกิดเมื่อร้อนตามผิวหน้า
3. โลหิตระดูบังเกิดแต่เส้นเอ็น
4. โลหิตระดูบังเกิดแต่การเจ็บบั้นเอวบ่อยๆ
22. พระคัมภีร์มหาโชตรัต ว่าด้วยสตรีภาพ ตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดา มีกายแตกต่างจากชายอย่างไร
1. มีระดู เป็นประจำทุกเดือน
2. มีประจำเดือนครั้งละ 3-5 วัน
3. มีถัน จริต ที่ประเวณี และต่อมโลหิตระดู
4. มีกำลังกายอ่อนแอกว่าชาย มีความอ่อนหวาน
23. เมื่อจะมีระดูมาให้มีอาการ กระทำให้ท้องขึ้นท้องพองจุกเสียด ตัวร้อน คลื่นเหียนอาเจียนลมเปล่า
เป็นลักษณะโลหิตอันบังเกิดจากกองธาตุใด
1. ปถวีธาตุ 2. อาโปธาตุ 3. วาโยธาตุ 4. เตโชธาตุ
24. อาการปรากฏ เมื่อจะใกล้มีระดูขาว ให้เป็นไข้จับ ให้สะบัดร้อนสะบัดหนาวปวดศีรษะเป็นกำลัง
ครั้นมีระดูออกมาแล้วอาการก็หายไป เป็นโลหิตระดูในข้อใด
1. เกิดแต่หัวใจ 2. เกิดแต่ขั้วดี
3. เกิดแต่เส้นเอ็น 4. เกิดแต่กระดูก
25. ข้อใดเป็นชื่อของหญิงที่มีน้ำนมเป็นโทษแก่ทารก โดยหญิงนั้นมีกลิ่นตัวคาวดังน้ำล้างเนื้อ
1. กาลกิณี 2. ยักขินี 3. หัศดี 4. หรดี
26. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะน้ำนมพิการในหญิง 3 จำพวก
1. สตรีแท้งบุตร 2. สตรีระดูขัด 3. สตรีอยู่ไฟไม่ได้ 4. สตรีมีครรภ์อ่อน
27. ครรภ์วิปลาส สาเหตุที่ทำให้สตรีทั้งปวงครรภ์ตกไป (แท้งบุตร) เกิดจากสาเหตุใด
1. ทำงานหนักเกินกำลัง
2. พักผ่อนไม่เพียงพอ
3. กินของที่ไม่ควรกิน หรือกินยาขับโดยตั้งใจ
4. ไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
28. คัมภีร์ปฐมจินดากำหนดโลหิตระดูสตรีที่เป็นปกติโทษ 5 ประการ คือ
1. โลหิตบังเกิดมาแต่หัวใจ ดี เนื้อ เอ็น และกระดูก
2. โลหิตบังเกิดมาแต่หทัย มังสัง ดี เส้นเอ็น และกระดูก
3. โลหิตบังเกิดมาแต่หทัย ดี เนื้อ เอ็น และนหารู
4. ไม่มีข้อใดถูก
29. ในคัมภีร์ปฐมจินดากล่าวไว้ว่าสัตว์ที่ปฏิสนธิในชมพูทวีปมีหลายสถาน อยากทราบว่า “สัตว์ที่เกิด
เป็นฟองฟักไข่” นั้นมีชื่อเรียกว่าอะไร
1. ชลามพุชะ 2. สังเสทชะ
3. อุปปาติกะ 4. อัณฑะชะ
30. เมื่อสัตว์ในครรภ์ปฏิสนธิครบ 1 สัปดาห์ จะพัฒนาเป็น
1. ดังไข่งู 2. น้ำล้างเนื้อ
3. ชิ้นเนื้อ 4. ปัญจสาขา
31. ลักษณะซาง ซางนิลเกิดในกระหม่อม แล้วลงมาเกิดขึ้นในเพดาน มีจำนวนยอดตามข้อใด
1. 1 ยอด 2. 3 ยอด
3. 4 ยอด 4. ถูกทุกข้อ
32. ลักษณะแห่งน้ำนมแม่ที่ดี สมควรเลี้ยงกุมารกุมารีคือข้อใด
1. หญิงที่มีกลิ่นตัวคาวดังน้ำล้างมือ
2. หญิงที่มีกลิ่นตัวดังดอกอุบล
3. หญิงที่มีกลิ่นตัวเปรี้ยว
4. หญิงที่มีกลิ่นตัวดังบุรุษ
33. สตรีที่ตั้งครรภ์ขึ้นได้ 2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือนก็ดี จะแสดงอะไรให้ปรากฏแก่คนทั้งหลาย
1. มีเส้นผ่านหน้าอกเขียว
2. เม็ดรอบหัวนมโตขึ้น
3. หัวนมดำคล้ำขึ้น
4. ถูกทุกข้อ
34. คัมภีร์มุขโรคได้กล่าวถึงโรคอะไรบ้าง
1. โรคที่เกิดขึ้นในปากในคอ
2. โรคที่เกิดขึ้นในตา
3. โรคที่เกิดขึ้นในท้อง
4. โรคที่เกิดขึ้นในจมูก
35. ชื่อ กาละมุขะ ในคัมภีร์มุขโรค มีลักษณะอย่างไร
1. ลิ้นโตมันสีเขียว
2. ลิ้นโตดำ
3. บวมขึ้นในคอ
4. บวมทั้งค
36. ทำให้กายไข้แข็งกระด้าง ตึงชา เนื้อหนังเหี่ยว แข็งดังขอนไม้ เปรียบดังอสรพิษกฏมุขขบตอด
ธาตุใดพิการ
1. เป็นเพราะปถวีธาตุพิการ
2. เป็นเพราะอาโปธาตุพิการ
3. เป็นเพราะเตโชธาตุพิการ
4. เป็นเพราะวาโยธาตุพิการ
37. มุขโรคเกิดจากอะไร
1. เกิดจากน้ำลาย
2. เกิดจาก ลม
3. เกิดจากโลหิต
4. เกิดจากทุกสิ่งที่อยู่ในปาก
38. กาฬที่ทำพิษให้สลบ ถ้าไม่รู้ถึงโรคสำคัญว่าลมจับ ถ้าสงสัยให้เอาเทียนส่องดู คือกาฬอะไร
1. กาฬแม่ตะงาว
2. กาฬฟองสมุทร
3. กาฬตะบองพะลำ
4. กาฬตะบองชนวน
39. ข้อใดที่กล่าวถึงชื่อและอาการไม่ถูกต้อง
1. สันนิบาตกะตัดศีรษะด้วนจะเป็นแผลบริเวณศีรษะ รักษาอย่างไรก็ไม่หาย
2. สันนิบาตทุวันโทษ จะปัสสาวะเหลือง
3. สันนิบาตเจรียงอากาศจะปัสสาวะเหลืองดุจน้ำกรักอันแก่
4. สันนิบาตบังเกิดเพื่อวาตะจะขัดปัสสาวะ
40. ไข้งูสวัด (ตวัด) มีลักษณะการผุดอย่างไร
1. ผุดขึ้นมาเป็นเม็ดทรายขึ้นมาเป็นแถวๆ มีสัณฐานเหมือนงู เป็นเม็ดพองๆ เป็นเงาหนอง
ถ้าหญิงเป็นซ้าย ชายเป็นขวา
2. ผุดขึ้นมาเป็นเม็ดทรายทั่วทั้งตัว มียอดแหลมๆ สีดำๆ
3. ผุดขึ้นมาเป็นฝีดาษทั่วทั้งตัว ทำพิษให้สลบ
4. ถูกหมดทุกข้อ
41. ไข้ใดมีอาการขมในปาก อยากกินแต่ของแสลง เนื้อสั่นระริก และเสียวไปทั้งตัว จุกเสียด บิดขี้เกียจ
ยอกเสียดในอก ร้อนรุ่มกลุ้มใจ หายใจขัดเพราะในท้องมีก้อน อาการดังกล่าวนี้เป็นไข้เพื่ออะไร
1. ไข้เพื่อดี 2. ไข้เพื่อลม
3. ไข้เพื่อกำเดา 4. ไข้เพื่อโลหิต
42. ไข้ที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนแต่น้ำลาย เป็นไข้อะไร
1. ไข้ที่เกิดจากเลือด
2. ไข้ที่เกิดจากเลือด และลม
3. ไข้ที่เกิดจากเลือดลม และน้ำเหลือง
4. ไข้ที่เกิดจากเลือดลม น้ำเหลือง และเสมหะ
43. ไข้มีอาการตัวร้อนจัด ปวดหัว กระหายน้ำ เจ็บตามเนื้อตามตัว ปัสสาวะเหลือง ผิวตัวแดง ฟันแห้ง
ลิ้น คางแข็ง ปากแห้ง น้ำลายเหนียว ที่กล่าวมานี้เป็นอาการของไข้อะไร
1. กำเดาสมุฏฐาน 2. เสมหะสมุฏฐาน
3. โลหิตสมุฏฐาน (ไข้เพื่อโลหิต) 4. ถูกทุกข้อ
44. ไข้มีอาการให้ปวดศีรษะมาก ให้ตาแดง ตัวร้อนเป็นเปลว ให้ไอ สะบัดร้อนสะท้านหนาว ให้ปาก
แห้ง คอแห้ง เพดานแห้ง ฟันแห้ง ให้เชื่อมมัว ให้เมื่อยไปทั้งตัว จับไม่เป็นเวลา บางทีผุดขึ้นเป็น
เม็ด บางทีให้ไอเป็นโลหิตออกทางจมูก ทางปาก บางทีให้ชักเท้ากำมือกำ เป็นอาการไข้อะไร
1. ไข้กำเดาน้อย 2. ไข้กำเดาใหญ่
3. ไข้หวัดน้อย 4. ไข้หวัดใหญ่
45. ไข้สำประชวร นัยน์ตาขุ่นคล้ำ และมัว เป็นไข้เพื่ออะไร
1. ลม 2. ดี
3. กำเดา 4. เสมหะ
46. คัมภีร์ตักศิลา เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงลักษณะอาการการรักษาไข้พิษไข้กาฬต่าง ๆ โดยกำหนดฝีกาฬ
จัดแบ่งได้กี่ชนิด
1. 4 ชนิด 2. 5 ชนิด
3. 6 ชนิด 4. 7 ชนิด
47. ชื่อใดเป็นชื่อไข้ประดง (ไข้กาฬแทรกไข้พิษ)
1. ไข้ประดงช้าง ม้า วัว ควาย
2. ไข้ประดงดิน น้ำ ลม ไฟ
3. ไข้ประดงเสือ สิงห์ กระทิง แรด
4. ไข้ประดงมด แมว ลิง แรด
48. ในคัมภีร์สิทธิสารสงเคราะห์ ได้กล่าวถึงสันนิบาตชนิดหนึ่ง เมื่อจับมีอาการให้หน้าเหลืองดุจทา
ขมิ้น ฝ่ามือฝ่าเท้าเหลือง เวียนศีรษะ แสบตา กระหายน้ำ เจ็บอก ปัสสาวะเหลือง คืออาการ
สันนิบาตชนิดใด
1. สันนิบาตบังเกิดเพื่อเสมหะ
2. สันนิบาตเจรียงพระสมุทร
3. สันนิบาตบังเกิดเพื่อวาตะ
4. สันนิบาตเจรียงอากาศ
49. มีลักษณะผุดขึ้นมาเป็นแผ่นสีแดง ทำพิษให้ปวดศีรษะ เชื่อมมัว จับสะท้านร้อนสะท้านหนาว
ตรงกับไข้
1. ไข้งูสวัด
2. ไข้เริมน้ำค้าง
3. ไข้ลำลาบเพลิง
4. ไข้กำแพงทะลาย
50. มีลักษณะผุดขึ้นมาเหมือนตาปลา ทำให้ปวดแสบปวดร้อน เรียกว่า ประดงชนิดใด
1. ประดงลิง 2. ประดงแมว
3. ประดงแรด 4. ประดงไฟ
51. ยารักษาไข้พิษไข้กาฬที่แพทย์แผนโบราณนิยมใช้กันมากใช้ยาอะไร
1. ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง เหง้าขิงแห้ง
2. รากชิงชี่ รากหญ้านาง รากคนทา รากเท้ายายม่อม รากมะเดื่อชุมพร
3. ใบย่านาง ใบมะขาม เถาวัลย์เปรียง รากฟักข้าว ข้าวสาร
4. ใบมะยม ใบคนทีสอ ใบมะนาว ใบหมากผู้ ใบหมากเมีย
52. ลักษณะของไข้วันเวลาที่ไข้กำเริบมีกำลังวันเท่าใด
1. กำเดากำเริบ 4 วัน เสมหะกำเริบ 9 วัน โลหิตกำเริบ 8 วัน ลมกำเริบ 12 วัน
2. กำเดากำเริบ 4 วัน เสมหะกำเริบ 8 วัน โลหิตกำเริบ 9 วัน ลมกำเริบ 12 วัน
3. กำเดากำเริบ 4 วัน เสมหะกำเริบ 9 วัน โลหิตกำเริบ 7 วัน ลมกำเริบ 13 วัน
4. กำเดากำเริบ 4 วัน เสมหะกำเริบ 7 วัน โลหิตกำเริบ 9 วัน ลมกำเริบ 13 วัน
53. ลักษณะไข้ ทุวันโทษ มีอาการหนาว ต่อมาจะรู้สึกร้อน (ร้อนๆ หนาวๆ) วิงเวียน เหงื่อไหล ปวดหัว
นัยน์ตามัว เบื่ออาหาร เป็นทุวันโทษไข้ประเภทใด
1. ลมและกำเดา 2. ลมและเสมหะ
3. กำเดาและเสมหะ 4. กำเดาและโลหิต
54. ลักษณะไข้มีอาการเร่าร้อน กระหายน้ำ กลางคืนนอนหลับไม่สนิท จิตใจระส่ำระสาย เหงื่อตก
หน้าเหลือง อาเจียนเป็นสีเหลืองมีโลหิต นัยน์ตาแดงจัด เป็นไข้ตรีโทษอะไร
1. ตรีโทษ โลหิต เสมหะและกำเดา
2. ตรีโทษ เสมหะ กำเดาและลม
3. ตรีโทษ กำเดา โลหิตและลม
4. ผิดหมดทุกข้อ
55. ลักษณะผุดขึ้นตามตัวขนาดเท่าผลผักปลัง เมล็ดถั่วดำ เมล็ดถั่วเขียว หรือเมล็ดจิงจ้อ มีเงาหนอง
ตรงตามข้อใด
1. กาฬทาม 2. กาฬทูม
3. กาฬละลอกแก้ว 4. ผิดทุกข้อ
56. สันนิบาตสองคลอง สาเหตุเกิดจากป่วงอะไร
1. ป่วงลิง 2. ป่วงงู
3. ป่วงลม 4. ป่วงลูกนก
57. อาการผุดขึ้นมาเหมือนผิวมะกรูด ทำพิษไข้ปวดร้อน คัน เป็นอาการของไข้ประดงใด
1. ไข้ประดงแรด 2. ไข้ประดงช้าง
3. ไข้ประดงแมว 4. ไข้ประดงลิง
58. การวิเคราะห์ลักษณะประเภทไข้ ไข้เพื่อเสมหะเอกโทษ คืออาการใด
1. ให้หนาว ให้ร้อน ขนลุก แสยงขน จุกอก ให้หลับใหล กินไม่ได้ อ่อนแรง ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
ซีดเผือด ให้ปากหวาน ให้ราก
2. ให้ปากขม ร้อนละเมอเพ้อคลั่ง ปวดศีรษะ อยากน้ำ กายเหลือง หน้าตาเหลือง
ปัสสาวะแดง ให้ตึงแตกระแหง เป็นไข้
3. ให้ตัวร้อน ปวดศีรษะมาก หน้าตาแดง ปัสสาวะเหลืองๆ
4. ให้ขนลุก ขนชัน หนาวสะท้าน ปวดศีรษะ เวียนหน้าตา มักโกรธง่าย เสียดแทงในอก
กระหายน้ำ ท้องเป็นก้อน
59. กาลเอกโทษเสมหะ เสมหะกระทำเต็มที่ไม่มีระคน ในข้อใด
1. เวลา 07.00 – 08.00 น. 2. เวลา 08.00 -09.00 น.
3. เวลา 09.00 – 10.00 น. 4. เวลา 10.00 – 11.00 น.
60. ไข้ใดมีอาการปวดหัวมาก ไอ หาวนอน บิดตัวเกียจคร้าน เหงื่อไหล เป็นเพราะถูกลม เสมหะมาทับ
ระคน คนไข้เป็นอะไร
1. ไข้เพื่อลม และเสมหะ 2. ไข้เพื่อเสมหะ และกำเดา
3. ไข้เพื่อกำเดา และลม 4. ไข้เพื่อโลหิต และลม
61. ไข้เพื่อเสมหะ ท่านกำหนดไว้ว่ามีกี่องศา จึงจะเป็นสันนิบาต
1. กำหนดไว้ 30 องศา 2. กำหนดไว้ 15 องศา
3. กำหนดไว้ 20 องศา 4. ไม่มีข้อใดถูก
62. ไข้สังวาลพระอินทร์ เป็นไข้พิษในข้อใด
1. ไข้พิษไข้กาฬ 21 จำพวก 2. ไข้กาฬแทรกไข้พิษ 8 จำพวก
3. ไข้กาฬ 10 จำพวก 4. ฝีกาฬในไข้พิษ 10 จำพวก
63. คนไข้ผิวขาว โลหิตรสหวาน ใช้ยารสเผ็ดร้อน และขม เป็นการวิเคราะห์ โรคตามวิธีใด
1. เป็นการวิเคราะห์ตามการสังเกตผิวกาย
2. เป็นการวิเคราะห์ตามโหงวเฮ้ง
3. เป็นการวิเคราะห์ตามโลหิตฉวี
4. เป็นการวิเคราะห์ ตามกระแสเลือด
64. คนไข้มีอาการหนังสากชาไปทั้งตัว แม้แมลงวันจะจับหรือไต่ที่ตัวก็ไม่รู้สึก ให้แสบร้อนเป็นกำลัง
สาเหตุอะไรพิการ
1. เนื้อพิการ 2. หนังพิการ
3. ผมพิการ 4. เอ็นพิการ
65. คนไข้มีอาการให้เมื่อยขบขัดทุกข้อทุกกระดูก ให้ยกมือยกเท้าไม่ไหว เจ็บปวดเป็นกำลัง เป็น
อาการของลมอะไร
1. ลมอโธคมาวาตาพิการ 2. ลมอุทธังคมาวาตาพิการ
3. ลมกุจฉิสยาวาตาพิการ 4. ลมโกฏฐาสยาวาตาพิการ
66. คนไข้อะไรพิการที่มีลักษณะอาการคือ บวมมือ บวมเท้า เป็นน้ำเหลืองตก ผอมแห้ง คือ
1. เสมหะพิการ 2. น้ำมูกพิการ
3. มันเหลวพิการ 4. ไขข้อพิการ
67. เดือน 11, 12 และ 1 ทั้งสามเดือนนี้ อาหารที่กินมักผิดสำแดง อาโปธาตุพิการ มักให้ขึ้งโกรธ สะดุ้ง
ตกใจ หวาดกลัว เกิดจากอะไร
1. ดีพิการ 2. เสมหะพิการ
3. หนองพิการ 4. โลหิตพิการ
68. เตโชธาตุพิการ ให้เย็นในอก จุกเสียดขัดอก กระทำให้เกิดลม 6 จำพวก ลมในข้อใดไม่ใช่
1. ลมอัสวาตะ 2. ลมชิวหาสดมภ์
3. ลมมหาสดมภ์ 4. ลมอนุวาตะ
69. ธาตุ 4 เป็นตรีโทษ อาการให้ผอมเหลือง ซูบ เศร้าหมอง จุกอกเป็นก้อนในทรวง และท้อง ให้ราก
สะอึก เรอ ใจสั่น หวานปาก อาเจียน ร้อนอก ปวดศีรษะ เจ็บอก คันตัว ผุดแดงดังสีเสียด ไอ เป็นดัง
หืด ตามัว เกิดกับธาตุใด
1. ปถวีธาตุ 2. อาโปธาตุ
3. วาโยธาตุ 4. เตโชธาตุ
70. ในคัมภีร์โรคนิทาน คำว่า มรณะด้วยโบราณโรค หมายถึงข้อใด
1. สิ้นอายุปริโยสาน 2. โอปักกะมิกาพาธ
3. ธาตุดิน ขาดก่อน 4. สิ้นลมหายใจเข้า-ออก
71. ในสมุฏฐานฤดู 6 เฉพาะ เหมันตฤดู ข้อใดถูกต้องที่สุด
1. พิกัดเสมหะสมุฏฐาน วาตะสมุฏฐานระคน
2. พิกัดปิตตะสมุฏฐาน เสมหะสมุฏฐานระคน
3. พิกัดวาตะสมุฏฐาน ปิตตะสมุฏฐานระคน
4. พิกัดปิตตะสมุฏฐาน วาตะสมุฏฐานระคน
72. พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงลักษณะอาการของตรีโทษนั้น ข้อใดไม่ใช่ อาการของตรีโทษ
1. ร้อนกระวนกระวาย 2. ลงท้องเป็นมูกเลือด
3. หายใจขัดทั้งเข้าออก 4. ตัวเหลืองเหมือนทาขมิ้น
73. พระคัมภีร์โรคนิทาน กล่าวถึง “อาหารผิดสำแดง” หมายความว่าอะไร
1. อาหารไม่ถูกรสปาก 2. อาการไม่ถูกกับธาตุ
3. อาหารบูดเน่า 4. อาหารรสจัด
74. พิกัดกองสมุฏฐาน ได้แก่อะไรบ้าง
1. ธาตุสมุฏฐาน อายุสมุฏฐาน ฤดูสมุฏฐาน กาลสมุฏฐาน
2. อายุสมุฏฐาน ฤดูสมุฏฐาน อาโปสมุฏฐาน กาลสมุฏฐาน
3. วัยสมุฏฐาน ธาตุสมุฐาน อายุสมุฏฐาน กาลสมุฏฐาน
4. ปัถวีสมุฏฐาน ฤดูสมุฏฐาน อายุสมุฏฐาน กาลสมุฏฐาน
75. มีอาการให้ตัวเย็น และตัวขาวซีด สากชาไปทั้งตัว สวิงสวาย หากำลังมิได้ เป็นอาการของข้อใด
1. เสโทพิการ 2. อัสสุพิการ
3. เมโทพิการ 4. เขโฬพิการ
76. มูลเหตุของการเกิดโรคตามคัมภีร์ธาตุวิวรณ์มีกี่ประการ
1. 4 ประการ 2. 6 ประการ
3. 8 ประการ 4. 10 ประการ
77. เสมหะกำเริบในเวลาใด
1. เวลาเที่ยงวัน อาหารยังไม่ย่อยับ เวลาเที่ยงคืน
2. เวลาเช้า บริโภคอาหารแล้ว เวลาพบค่ำ
3. เวลาบ่าย อาหารย่อยแล้ว เวลานอนหลับ
4. เวลาบ่าย อาหารยังไม่ย่อย เวลาเที่ยงคืน
78. ให้มีอาการดิ้นรน มือเท้า ขวักไขว่ ให้พลิกตัวไปๆ มาๆ ให้ทุรนทุราย ให้หาวเรอบ่อยๆ คือ ธาตุใด
พิการ
1. อุทธังคมาวาตาพิการ 2. อโธคมาวาตาพิการ
3. อังคมังคานุสารีวาตาพิการ 4. อัสสาสะปัสสาสะวาตาพิการ
79. อาการไข้ต่อไปนี้เป็นการแสดงออกของไข้ใด อาการปวดหัว ตัวร้อน หน้าแดง ตาแดง น้ำตาคลอ
นัยน์ตาแดงดังโลหิต
1. ไข้เพื่อโลหิต 2. ไข้เพื่อกำเดา
3. ไข้เพื่อเสมหะ 4. ไข้เพื่อดี
80. อาการทำพิษให้เน่าเปื่อย ให้ขาดเป็นชิ้นๆ ดุจถูกงูพิษสัตถมุขขบกัด เป็นอาการของธาตุใดพิการ
1. ปถวีธาตุ 2. วาโยธาตุ
3. เตโชธาตุ 4. อาโปธาตุ
81. อาการให้คลุ้มคลั่งดุจเป็นบ้า ให้หิวโหยหาแรงไม่ได้ ให้ทุรนทุรายยิ่งนัก เป็นอาการของอะไร
1. ปิตตังพิการ 2. หทยับงพิการ
3. นหารูพิการ 4. เสมหังพิการ
82. อาโปธาตุเมื่อขาดไป 11 ยังเหลืออะไรอยู่
1. น้ำลายยังอยู่ 2. น้ำดียังอยู่
3. โลหิตยังอยู่ 4. น้ำมูตรยังอยู่
83. ในรัชสมัยใด ที่ทรงจัดสร้างรูปจุดนวดที่วัดกลาง จังหวัดสงขลา
1. รัชกาลที่ 1 2. รัชกาลที่ 2
3. รัชกาลที่ 3 4. รัชกาลที่ 4
84. ศิลาจารึกตำรายาบนผนังของวัดโพธิ์ จัดทำขึ้นในสมัยใด
1. รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 2. รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 3. รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 4. รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
85. หมอที่หลงเชื่อว่ายาของตนดีรักษาไข้หายได้โดยไม่ตรวจอาการไข้ก่อน ที่จะวางยาจัดว่าลุแก่
อคติข้อใด
1. ฉันทาคติ 2. โทสาคติ
3. ภยาคติ 4. โมหาคติ
86. ข้อใดคือพิกัดเบญจโลธิกะ
1. จันทน์แดง จันทน์ขาว จันทร์เทศ จันทน์ชะมด จันทนา
2. จันทน์แดง จันทน์ขาว จันทน์ชะมด เนระพูสี มหาสดำ
3. จันทน์แดง จันทน์ขาว จันทน์ชะมด จันทนา เนระพูสี
4. จันทน์แดง จันทน์ขาว จันทร์เทศ จันทนา มหาสดำ
87. คนไข้มีอาการ “ให้ลงท้อง ให้จุกเสียด ให้พะอืดพะอม ให้สะอึก” ท่านจะพิเคราะห์ว่าเป็นอะไร
1. อันตังพิการ 2. อันตคุณังพิการ
3. อุทริยังพิการ 4. กรีสังพิการ
88. จำพวกสัตว์น้ำ มีสรรพคุณในการรักษานั้น ในข้อใดที่จะใช้รักษากระษัยปลาหมอ ดี แก้พยาธิกิน
แก้ผมร่วงเป็นหย่อมๆ ช่วยให้ผมดำ
1. ปลาช่อน 2. ปลาหมอ
3. ปลากระเบน 4. ปลาพยูน
89. เตโชธาตุ 4 อย่าง อย่างไรที่สำหรับร้อนระส่ำ ระสาย ต้องอาบน้ำ และพัดวี
1. ปริณามัคคี 2. ปริทัยหัคคี
3. ชิรณัคคี 4. สันตัปปัคคี
90. ธาตุดิน มีกี่ประการ
1. 20 ประการ 2. 21 ประการ
3. 22 ประการ 4. อาจมากกว่านี้ก็ได้
91. นกเป็นสัตว์ที่มีปีกบินไปมาได้ในอากาศ ถ้าจะปรุงยาแก้ไข้พิษ ไข้กาฬ แก้พิษตานซาง จะใช้นกใด
1. นกนางแอ่น 2. นกกาหรืออีกา
3. นกกรด 4. นกยูง
92. น้ำมันไขข้อ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร
1. ปุพโพ 2. ลสิกา
3. วสา 4. เสโท
93. ผู้ป่วยที่อาการให้ขัดข้อมือข้อเท้า เป็นมองคร่อ คือ ปอดเป็นหวัด เกิดจาก
1. สัตตัปปัคคีพิการ 2. ชิรนัคคีพิการ
3. ปริทัยหัคคีพิการ 4. ปริณามัคคีพิการ
94. พิกัดจตุวาตผล คือ การจำกัด จำนวนตัวยาแก้ลม 4 อย่าง เรียกว่า พิกัดจตุวาตผล ข้อใดถูก
1. เหง้าขิง กระลำพัก อบเชยเทศ โกศเชียง
2. เหง้าขิง กระลำพัก โกศหัวบัว ชะเอมเทศ
3. เหง้าขิง อบเชยเทศ กระลำพัก โกศหัวบัว
4. เหง้าขิง โกศหัวบัว อบเชยเทศ ชะเอมเทศ
95. ม้ามในความหมายแพทย์แผนไทย หมายถึงข้อใด
1. ยกนัง 2. วักกัง
3. ปัปผาสัง 4. อันตัง
96. เมื่อพิการให้อกแห้ง ให้กระหายน้ำ และเป็นโรค เช่น ริดสีดวงผอมแห้ง ชื่อว่าอะไรพิการ
1. ยกนัง 2. กิโลมกัง
3. ปิหกัง 4. ปัปผาสัง
97. ฤดู 3 หนึ่งปีแบ่งออกเป็น 3 ฤดูๆ ละ 4 เดือน วสันตฤดู นับตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด
1. นับตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 4 ถึง 15 ค่ำ เดือน 8
2. นับตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง 15 ค่ำ เดือน 12
3. นับตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 12 ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
4. นับตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 4 ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
98. สัตว์น้ำ ที่มีสรรพคุณในการทำยาต่างๆ ได้ ถ้าจะใช้ทำยาขับเลือดเน่าร้าย หลังจากคลอดบุตร และ
ขับน้ำคาวปลา ควรใช้อวัยวะของสัตว์ชื่อใด
1. ตะพาบน้ำ 2. ปลากระเบน
3. ปลาพะยูน 4. ปลาวาฬ
99. อวัยวะธาตุที่ทำหน้าที่ขับปัสสาวะออกจากร่างกาย เรียกว่าอะไร
1. หทยัง 2. ยกนัง
3. ปิหกัง 4. มัตถเกมัตถลุงคัง
100. อาการทำให้ร้อนภายนอกภายใน มือเท้าเย็น เหงื่อออก เกิดจากธาตุพิการตรงกับข้อใด
1. ชิรณัคคีพิการ 2. สันตัปปัคคีพิการ
3. ปริทัยหัคคีพิการ 4. ลมสุมนาพิการ
โรงเรียน สิริภัจจ์ การแพทย์แผนไทย
อ.ประสิทธิ์ คงทรัพย์
ข้อสอบวิชาเวชกรรมไทย 2 (ปี ๔๖)
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียวเท่านั้น
1. การกระทำต่อไปนี้ข้อใดเป็นการ “ขาย” ตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับที่มีผล
บังคับใช้ในปัจจุบัน
1. การขายส่ง 2. การแจกยาเพื่อการค้า
3. การมีไว้เพื่อการขาย 4. ทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3
2. ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ห้ามมิให้โฆษณาขายยาในกรณีใด
1. โฆษณาโดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ
2. โดยแสดงภาพของผู้ป่วย
3. โดยผ่านอินเตอร์เน็ท
4. โดยแสดงภาพและคำรับรองสรรพคุณของผู้ประกอบโรคศิลปะ
3. ถ้าผู้ผลิตลักลอบผสมตัวยาสเตียรอยด์ลงไปในยาแผนโบราณตำรับที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ถือว่าเป็นการผลิต
1. ยาผิดมาตรฐาน 2. ยาปลอม 3. ยาแผนปัจจุบัน 4. ยาอันตราย
4. นายวิบูลย์จะขายยาแผนโบราณที่จังหวัดนนทบุรี จึงได้มายื่นขอใบอนุญาตที่สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยาเพื่อให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยาเป็นผู้อนุญาต ให้วินิจฉัยว่านายวิบูลย์ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่
1. ถูกต้องเพราะเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยาเป็นผู้อนุญาตสำหรับการออกใบอนุญาตทุกชนิดทั่วราชอาณาจักร
2. ถูกต้องเพราะการอนุญาตสำหรับการขายผู้อนุญาตอาจเป็นเลขาธิการหรือผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้
3. ไม่ถูกต้องเพราะผู้อนุญาตสำหรับการขายยาในต่างจังหวัดต้องเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้นๆ
4. ไม่ถูกต้องเพราะผู้อนุญาตสำหรับการขายยาคือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขไม่ใช่เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา
5. นายสัญญาเป็นผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ และผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยด้วย จะผลิตยาแผนโบราณสูตรซึ่งพบว่าให้ผลการรักษาที่ดีมากจึงได้มายื่นคำขอขึ้นทะเบียนตำรับยา กับพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ท่านวินิจฉัยว่านายสัญญาจะขึ้นทะเบียนตำรับยาได้หรือไม่
1. ได้ เพราะกฎหมายให้ผู้ที่จะขึ้นทะเบียนตำรับยาได้ต้องเป็นผู้รับอนุญาตผลิตหรือขายยา
2. ได้ เพราะนายสัญญาเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะมีสิทธิในการขอขึ้นทะเบียนตำรับยา
3. ไม่ได้ เพราะต้องขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเสียก่อน
4. ไม่ได้ เพราะตามกฎหมายผู้ที่จะขึ้นทะเบียนยาที่จะผลิตได้ต้องเป็นผู้รับอนุญาตผลิตยา
6. กรรมการสถานพยาบาลผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิอื่นตามมาตรา 7 (2) มีจำนวนกี่คน
1. ไม่เกิน 3 คน 2. ไม่เกิน 4 คน 3. ไม่เกิน 2 คน 4. ไม่เกิน 5 คน
7. นายทรงเป็นกรรมการสถานพยาบาลผู้ทรงคุณวุฒิ จะต้องพ้นจากตำแหน่งในกรณีใด
1. ป่วยเป็นโรคหัวใจ รอการผ่าตัดอยู่ที่โรงพยาบาล
2. ถูกธนาคารเจ้าหนี้ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้ในจำนวน 4 พันล้านบาท
3. ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหนึ่งเดือนในความผิดลหุโทษ
4. พ้นจากการเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
8. ในกรณีผู้ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตสถานพยาบาล แล้วขอรับใบอนุญาตใหม่อีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดกี่ปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
1. 1 ปี 2. 2 ปี 3. 3 ปี 4. 4 ปี
9. ผู้ใดประกอบกิจการสถานพยาบาลในระหว่างที่สถานพยาบาลถูกสั่งปิดชั่วคราวตามมาตรา 50 ต้องระวางโทษสถานใด
1. จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกินสอง หมื่นบาท
4. จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
10. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตรงตามข้อใด
1. ฉบับละ 2,000 บาท 2. ฉบับละ 1,000 บาท
3. ฉบับละ 500 บาท 4. ฉบับละ 200 บาท
11. กรรมการการประกอบโรคศิลปะซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่
ปี
1. 2 ปี 2. 3 ปี 3. 4 ปี 4. 5 ปี
12. คณะกรรมการวิชาชีพมีอำนาจที่จะสั่งพักใบอนุญาตผู้ประกอบโรคศิลปะที่กระทำผิดได้เป็นเวลานาน เท่าใด
1. ตามที่เห็นสมควร 2. ตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 1 ปี
3. ไม่เกิน 3 ปี 4. ตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 2 ปี
13. ความหมายของเภสัชกรรมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากกฎหมายเดิมที่สำคัญ คือ
1. มีการกำหนดความหมายของเภสัชกรรมไทยไว้อย่างครอบคลุม
2. มีการกำหนดในเรื่องการควบคุมและ การประกันคุณภาพ
3. มีการกำหนดเรื่องการจัดจำหน่ายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
4. มีการกำหนดเรื่องการผลิตยาต้องใช้กรรมวิธีของการแพทย์แผนไทย
14. ตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติห้ามในเรื่องอะไร
1. ห้ามโฆษณาการประกอบโรคศิลปะโดยมิได้รับอนุญาต
2. ห้ามทำการประกอบโรคศิลปะโดยมิได้รับอนุญาต
3. ห้ามทำการประกอบโรคศิลปะต่อตนเอง
4. ห้ามกระทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ามียาสมุนไพที่มีสรรพคุณวิเศษ
15. นาย ก. มีความรู้เรื่องรักษาโรค โดยการเรียนรู้สืบทอดจากบรรพบุรุษ โดยอาศัยกรรมวิธีของ
การแพทย์แผนไทย นาย ก. ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ถ้านาย ก. ไปตรวจรักษาผู้ป่วยแล้วเรียกร้องค่าตอบแทน ใครมีหน้าที่ ดำเนินการ
1. พนักงานเจ้าหน้าที่ 2. คณะกรรมการประกอบโรคศิลปะ
3. คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย 4. คณะกรรมการสอบสวน
16. ภายในกี่วันนับจากวันเลือกตั้งกรรมการวิชาชีพสาขาต่าง ให้คณะกรรมการวิชาชีพแต่ละสาขาเลือก กรรมการวิชาชีพเป็นประธานกรรมการ และรองประธานกรรมการวิชาชีพ
1. ยี่สิบวัน 2. ยี่สิบห้าวัน 3. สามสิบวัน 4. ผิดทุกข้อ
17. เมื่อคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยสั่งพักใช้ใบอนุญาตของนาย ว. ผู้อำนวย การประกอบโรคศิลปะ ต้องแจ้งคำวินิจฉัยให้นาย ว. ทราบภายในระยะเวลา
1. 7 วัน 2. 15 วัน 3. 1 เดือน 4. ไม่มีกำหนด
18. ระหว่างที่นายธงชัย ถูกคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต นาย ธงชัยยังคงแสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำการประกอบโรคศิลปะอยู่ ดังนี้ถือว่านายธงชัย ต้องระวางโทษ
1. จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
19. หน้าที่ในการพัฒนาส่งเสริม และกำหนดมาตรฐานในการประกอบโรคศิลปะ เป็นหน้าที่ของใคร
1. คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ 2. คณะกรรมการวิชาชีพ
3. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข 4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
20. องค์ประกอบของคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย
1.บุคคลที่ได้รับเลือกทั้งหมด 2. บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งทั้งหมด
3. บุคคลที่ได้รับเลือกตั้งกับกรรมการโดยตำแหน่ง
4. บุคคลที่ได้รับเลือกตั้ง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้ง และตัวแทนจากหน่วยราชการ
21. การนวดบริเวณเนื้อตายที่มีสีดำจากเลือดไปเลี้ยงน้อย อาจเกิดอันตรายที่ต้องระมัดระวังให้มากคือ
1. ก้อนเลือดดำไปอุดตันสมอง 2. เกิดแผลติดเชื้อ
3. เส้นเลือดอักเสบ 4. ทำให้ช็อคหมดสติไว้
22. การบวมแบบใดที่ไม่ควรนวด
1. บวมน้ำ 2. บวมอักเสบ
3. บวมจากท่อน้ำเหลืองอุดตัน 4. ไม่มีข้อใดถูก
23. ในตำราโรคนิทานของพระยาวิชยาธิบดีกล่าวว่า “เส้นเอ็นย่อมเป็นรู .................ชูให้ฟูฟอน” ข้อความที่เว้นไว้คือ
1. เส้นลม 2. ลมเลือด 3. โลหิต 4. น้ำเหลือง
24. ลมจันทกะลา เป็นลมประจำเส้นประธานใด
1. เส้นอิทา 2. เส้นสุมนา 3. เส้นปิงคลา 4. เส้นสหัสรังษี
25. ลมดาลตะคุณ เกิดจากเส้นใดก่อโทษ
1. เส้นปิงคลา 2. เส้นสุมนา 3. เส้นกาลทารี 4. เส้นทวารี
26. ลมศุญทะกะลา เป็นลมประจำของเส้นประธานเส้นใด
1. เส้นทวารี 2. เส้นสุมนา 3. เส้นคิชฌะ 4. เส้นปิงคลา
27. วิธีการนวดแบบใดที่ควรทำการเปรียบเทียบช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อก่อน และหลังการนวด
1. การดึง 2. การกด 3. การบิด 4. การดัด
28. เส้นที่ไปสิ้นสุดที่รากตาขวาคือเส้นใด
1. ปิงคลา 2. ทวารี 3. สหัสรังสี 4. รุชำ
29. เส้นที่ลงไปถึงปลายนิ้วเท้าคือเส้นใด
1. สหัสรังสี 2. กาลทารี 3. รุชำ 4. อิทา
30. เส้นสิบตามที่ท่านพรรณนาในตำราโรคนิทานคำฉันท์ ๑๑ มีลักษณะการอย่างไร
1. สถิตลึกสักสามนิ้ว 2. ล้อมเป็นจันทราศูนย์
3. เป็นแนวแถวทอดเรียงกัน 4. ถูกทุกข้อ
31. ขิงแห้ง พริกเทศ พริกไทย ลูกจันทน์ การบูร ควรใช้รักษาโรคอะไร จึงได้ผลดี
1. ลมจุกเสียด โลหิตระดูพิการไม่ปกติ 2. ขับโลหิตเน่าร้ายทั้งปวง
3. แก้กระษัยจุกเสียด 4. แก้ลงท้อง แก้ปวดท้อง
32. ใช้กระหายน้ำ ไข้ตัวร้อน ใช้ขนานใดตรงกับอาการป่วย
1. ยาจันทลีลา 2. ยามหานิลแท่งทอง
3. ยาประสะจันทน์แดง 4. ยาจันทหฤทัย
33. คนไข้มาพบท่านด้วยอาการเป็นหวัดคัดจมูก น้ำมูกไหล ตัวร้อน ไอ จาม ท่านจะให้ยาขนานใด
รับประทาน
1. ยากล่อมนางนอน 2. ยาจันทลีลา
3. ยาประสะจันทน์แดง 4. ยาชื่อแก้ว 5 ดวง
34. คนป่วยมีอาการจุกเสียดบ่อยๆ เวลากินกล้วยสุก แต่เส้นท้องไม่ตึง ท้องไม่ผูก ควรใช้ยาขนานใดให้ ตรงกับอาการของโรค
1. ยาธรณีสัณฑะฆาต 2. ยาเนาวหอย
3. ยาธาตุบรรจบ 4. ยาแก้กระษัย
35. นาย ก. อายุ 25 ปีเศษ บ้านอยู่ใน กทม. มาพบแพทย์ ตรวจแล้วพบว่ามีอาการเป็นไข้ตัวร้อนมา 2 วัน ไม่ไอ ท้องไม่ผูก ใช้ยาอะไรแก้
1. ยาเหลืองปิดสมุทร 2. ยาหอมทิพโอสถ
3. ยาธาตุบรรจบ 4. ยาจันทลีลา
36. ผู้สูงอายุมักจะเป็นลม หัวใจเต้นไม่ปกติ ท่านหมอมีความเห็นว่าควรใช้ยาชนิดใด
1. ยาหอมเทพวิจิตร 2. ยาหอมทิพย์โอสถ
3. ยาจันทหฤทัย 4. ยาจันทร์สามโลก
37. ยาแสงหมึก มีสรรพคุณรักษาโรคได้
1. แก้ตัวร้อน ละลายน้ำดอกไม้เทศ
2. แก้ท้องขึ้น ปวดท้อง ละลายน้ำในกะเพราต้ม
3. แก้ไอ ขับเสมหะ ละลายน้ำลูกมะแว้งเครือ 4. ถูกทุกข้อ
38. 5 ชั่ง มีน้ำหนักเท่ากับข้อใด
1. 1 หาบ 2. 1,000 ตำลึง 3. 60,000 กรัม 4. ถูกทุกข้อ
39. การเก็บตัวยาเพื่อให้ได้ตัวยาที่มีฤทธิ์แรง และมีสรรพคุณดี ในเวลา 06.00 – 09.00 น. ฤทธิ์ของยาจะอยู่บริเวณใด
1. ทั่วทั้งต้น 2. ใบ 3. ราก 4. เปลือก
40. การบูร มีสรรพคุณแก้โรคอะไร
1. ให้ย่อยอาหารพลันแหลก แก้จักษุโรค แก้ริดสีดวง
2. แก้พรรดึก แก้ริดสีดวงในท้อง
3. แก้พิษฝี แก้ฟกบวม 4. แก้ลมอัมพาต แก้โลหิต
41. การรู้จักตัวยา 5 ประการ นั้น รู้ได้อย่างไร
1. การรู้จักต้น ใบ ดอก ลูกหรือฝัก และราก ของเภสัช
2. การรู้จักว่าสิ่งใดคือพืชวัตถุ สิ่งใดคือสัตว์วัตถุ สิ่งใดคือธาตุวัตถุ
3. การรู้จัก รูป รส กลิ่น สี และชื่อ ของเภสัชวัตถุ
4. การรู้จักว่าสิ่งใดคือเภสัชวัตถุ สิ่งใดคือตัวยา สิ่งใดคือยา
42. คณาเภสัช เป็นการศึกษาให้รู้จักพิกัดยา พิกัดยานี้ได้มีการกำหนดแบ่งออกเป็นหมวดๆ ตามข้อใด
1. พิกัด 2 พิกัด มหาพิกัด 2. พิกัดน้อย พิกัด มหาพิกัด พิกัดพิเศษ
3. จุลพิกัด พิกัด มหาพิกัด 4. จุลพิกัด พิกัด มหาพิกัด พิกัดทั่วไป
43. ชุมเห็ดเทศ ข้อใดเป็นการใช้ไม่ถูกต้อง
1. ใบสด ใช้แก้กลาก 2. ใบสด ใช้แก้ท้องผูก
3. ดอกสด ใช้แก้กลาก 4. ดอกสด ใช้แก้ท้องผูก
44. ตัวยาต่อไปนี้ ดอกดีปลี 1 ส่วน รากช้าพลู 2 ส่วน เถาสะค้าน 3 ส่วน ลูกสมอพิเภก 4 ส่วน เหง้าขิงแห้ง 8 ส่วน รากเจตมูลเพลิง 16 ส่วน ใช้แก้ในกองใด
1. แก้เตโชธาตุกำเริบ 2. แก้เตโชธาตุหย่อน
3. แก้เตโชธาตุพิการ 4. แก้เตโชธาตุระคน
45. ตัวยารสเมาเบื่อ มีอะไรบ้าง
1. พาดไฉน 2. เถาขี้กาทั้ง 2 3. ตานทั้ง 5 4. สะแกทั้ง 5
46. ตัวยาและส่วนประกอบใดต่อไปนี้ เป็นมหาพิกัดอะไร ดอกดีปลี 2 ส่วน รากเจตมูลเพลิง 1 ส่วน เถาสะค้าน 5 ส่วน รากช้าพลู 4 ส่วน เหง้าขิงแห้ง 3 ส่วน แก้ในกองใด
1. ทศเบญจขันธ์ แก้ในกองวาโยธาตุ 2. ทศเบญจกูล แก้กองในปถวีธาตุ
3. โสฬเบญจกูล แก้ในกองธาตุลม 4. ทศเบญจขันธ์ แก้ในกองอาโปธาตุ
47. ท่านจะปรุงยาให้คนไข้เพื่อฟอกเลือด บำรุงโลหิตสตรี จะใช้ในข้อใด
1. ใบส้มเสี้ยว รกมะดัน ใบมะขาม 2. ใบมะขาม คำฝอย รากไทยย้อย
3. รกมะดัน ใบมะยม รากต่อไส้ 4. ใบมะขาม คำไทย แก่ปรู
48. เทียนแกลบ สรรพคุณ ขับลม แก้เสมหะ เป็นตัวยาที่อยู่ในพิกัดใด
1. เนาวเทียน 2. สัตตะเทียน 3. เทียนพิเศษ 4. เบญจเทียน
49. ใน 1 ตำลึงจีน มีน้ำหนักเท่ากับข้อใด
1. 1 ตำลึงไทย 2. 2 ตำลึงไทย 3. 10 สลึง 4. 5 สลึง
50. ยาธรณีสัณฑะฆาต เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ใช้แก้กระษัยเส้น เถาดานท้องผูก ยาขนานนี้มีข้อห้ามใช้สำหรับผู้ป่วยกลุ่มใด เพราะเหตุใด
1. ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ เพราะเป็นยารสร้อน เข้าพริกไทยมาก จะทำให้ไข้มากขึ้น
2. ผู้ป่วยท้องเสีย เพราะมี ยาดำ รงทอง จะทำให้ถ่าย ท้องเสียมากขึ้น
3. สตรีมีครรภ์ เพราะเป็นยารสร้อน มีพริกไทย และยาระบายจะทำให้แท้งได้
4. ถูกทุกข้อ
51. ยารสประธาน 3 รส ข้อใดถูกต้อง
1. ร้อน เย็น และหวาน 2. เย็น สุขุม และฝาด
3. รสสุขุม เย็น และร้อน 4. ไม่มีข้อใดถูก
52. รากของผักคราดหัวแหวน มีสรรพคุณแก้อะไร
1. ขับพยาธิ 2. แก้อาการเจ็บคอ 3. แก้ไตพิการ 4. แก้ปอดบวม
53. รากช้าพลู เป็นตัวยาประจำธาตุอะไร
1. เตโชธาตุ 2. วาโยธาตุ 3. อาโปธาตุ 4. ปถวีธาตุ
54. สมุนไพรข้อไหนที่จะใช้ทำยา แก้ร้อนภายใน แก้ขัดข้อ บำรุงเนื้อและกระดูก บำรุงร่างกาย
1. เมล็ดงา 2. เมล็ดถั่วเขียว 3. เมล็ดถั่วลันเตา 4. เมล็ดถั่วลิสง
55. ส่วนประกอบของสูตรยากวาดแสงหมึก นอกเหนือจากด้วยหมึกหอม จันทน์ชะมด ลูกกระวาน จันทน์เทศ ใบพิมเสน ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กานพลู ใบสันพร้าหอม หัวหอม ดีงูเหลือม ชะมด พิมเสน คือข้อใด
1. ใบกระสัง 2. ใบแมงลัก 3. ใบกะเพรา 4. ใบโหระพา
56. สารหนู มีโทษอย่างไร
1. ชักกระตุก หยุดหายใจ และตายในที่สุด 2. กัดกระเพาะ ทำให้อาเจียนเป็นเลือด
3. ท้องร่วง ปวดท้องอย่างรุนแรง 4. ประสาทหลอน เป็นบ้า
57. สิ่งต่อไปนี้เป็นสัตว์วัตถุ ให้ท่านพิจารณาว่า รส และสรรพคุณ ของสัตว์วัตถุใดถูกต้อง
1. นกนางแอ่น ใช้รังทำยา รสมันคาว สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย ปวดข้อ บำรุงกำลัง
2. นกกา หรืออีกา ใช้กระดูกและขนทำยา สรรพคุณ แก้พิษกาฬ แก้พิษตานซาง แก้ไข้กาฬ
3. น้ำผึ้ง ใช้น้ำหวานในรังทำยา รสหวาน สรรพคุณ ใช้ผสมยาปั้นเม็ด แก้ตาฟาง แก้ไข้
4. ถูกทุกข้อ
58. การตรวจเส้นสุมนาตามตำราเวชศึกษาให้ทำอย่างไร
1. ใช้นิ้วกดเหนือสะดือ 2 นิ้วมือ 2. ใช้นิ้วกดเหนือไหปลาร้า
3. ใช้นิ้วกดเหนือกระดูกหน้าคอ 4. ใช้นิ้วกดใต้ลิ้นปี่
59. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเส้นอัษฎากาศ
1. ไม่ควรกดพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง 2. ตรวจชีพจรที่ข้อมือแทนก็ได้
3. เป็นเส้นขั้วหัวใจตอนบน 4. เกี่ยวข้องกับลมปัตฆาต ราทยักษ์
60. ตรวจชีพจรพบว่า เดินตื้น เต้นเร็วและเดินแรง เม็ดใหญ่ แต่เดินไม่เสมอ มีหยุด แสดงถึงร่างกาย ผิดปกติอย่างไร
1. อ่อนเพลีย 2. อาการหนักรักษาไม่ได้
3. มีพิษร้อนจัด เพ้อได้ 4. ใจเหี่ยวแห้ง
61. ตามตำราเวชศึกษา เส้นที่อยู่เหนือสะดือ 1 นิ้วเศษ เป็นเส้นต่อเนื่องกับเส้นสุมนา มีหน้าที่รับโลหิต จากเส้นสุมนาจ่ายไปตามอวัยวะตอนล่างทั่วไปมีขา และเท้าเป็นต้น เรียกว่าเส้นอะไร
1. เส้นกาลทารี 2. เส้นสุมนา 3. เส้นสหัสรังษี 4. เส้นอัมพฤกษ์
62. ตามตำราเวชศึกษา เส้นสุมนาถ้าพิการ จะทำให้เป็นโรคลมชนิดใด
1. ชิวหาสดมภ์ 2. บาดทะจิต 3. พิตคุณ 4. ตุลาราก
63. ถ้าตรวจพบผู้ป่วยมีลิ้นเป็นฝ้าละออง น่าจะป่วยเพราะโรคใด
1. ไข้รากสาด 2. ไข้กาฬ 3. ธาตุพิการ 4. น้ำลายพิการ
64. ถ้าตรวจพบผู้ป่วยรู้สึกยอกในซี่โครงที่ 3-4 ด้านซ้าย มีไข้สูง ฟังเสียงหัวใจเต้นเบา ท่านวินิจฉัยว่า น่าจะ เป็นโรคใด
1. วัณโรค 2. ถุงหุ้มหัวใจอักเสบ 3. หัวใจอ่อน 4. หัวใจบวม
65. ถ้าท่านตรวจชีพจรผู้ป่วยแล้วพบว่ามีลักษณะเดินตื้น เต้นแรงและเร็ว เม็ดใหญ่ เดินเสมอ ท่านคิดว่าผู้ป่วยมีอาการอย่างไร
1. มีพิษร้อน แต่โรคยังเบา 2. มีพิษร้อน โรคปากกลาง
3. มีกำลังน้อย อ่อนเพลีย 4. มีไข้พิษ ไข้กาฬ ค่อนข้างมาก
66. ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจบวม เสียงหัวใจเต้นจะเป็นอย่างไร
1. ดังตึ้กๆ และช้า 2. ดังฟืดๆ แฟดๆ
3. ดังทึบ และฝืด ไม่โปร่ง 4. ไม่มีข้อใดถูก
67. ถ้าผู้ป่วยมีอุจจาระสีดำเป็นเมือกข้น ท่านคิดว่าไม่น่าจะเกิดจากโรคใด
1. ไข้อติสาร 2. ไข้รากสาด 3. โรคซาง 4. ไข้กาฬ
68. ต้อแววนกยูงมีลักษณะอย่างไร
1. เป็นแววอยู่กลางตาดำ 2. ตามันเป็นก้อนขาวเป็นเงาอยู่กลางตาดำ
3. เห็นเป็นก้อนขาวเป็นเงาอยู่กลางตาดำ 4. ตาดำเป็นจุดขาวแวววาวดังขนนกยูง
69. โรคตาชนิดไหน ที่เจ็บกระบอกตาเวลานอน ตาเป็นดุจเยื่อไม้
1. ต้อผี 2. ต้อก้นหอย 3. ต้อวาโย 4. ต้อกระจก
70. คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร ลมเป็นก้อนดานตั้งอยู่ในอุระ มีดีซึมอยู่เป็นอันมาก เรียกชื่อว่าอะไร
1. ทักษณะคุละมะ 2. ปิตตะคุละมะ 3. โลหิตคุละมะ 4. รัตตะคุละมะ
71. คัมภีร์มัญชุสาระวิเชียรกล่าวถึงเรื่องอะไร
1. กล่าวว่าด้วยโรคลมทั่วๆ ไป 2. กล่าวว่าด้วยลมที่ทำให้เกิดโรค และมีอาการต่างๆ
3. กล่าวว่าด้วยลมพิษ และลมร้าย 4. ไม่มีข้อใดถูก
72. โรคมูตร ตามคัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร มีกี่ประการ
1. 12 ประการ 2. 16 ประการ 3. 18 ประการ 4. 20 ประการ
73. ลมที่บังเกิดให้เนื้อตัวบวม เรียกว่าลมอะไร
1. ลมกำเดา 2. ลมผูกธาตุ 3. ลมปถวีกำเริบ 4. ลมกระษัยจุกอก
74. ลมที่มีลักษณะและอาการ เมื่อแรกให้หาวเรอ และให้เหียน ขากรรไกรแข็ง อ้าขบมิลง ให้แน่นิ่งไปไม่รู้สึกตัว ปลุกมิตื่น กำหนด 3 วันถึง 7 คืน เป็นลักษณะ และอาการของลมอะไร
1. ลมมหาสดมภ์ 2. ลมอัศมุขี 3. ลมชิวหาสดมภ์ 4. ลมอุทรวาต
75. อาการทั้งสลบทั้งอาเจียน มิรู้ก็ว่าสันนิบาตสองคลอง มือเขียว หน้าเขียว ชัก มิรู้ก็ว่าป่วงให้ลงกำหนด 3 วัน คือลักษณะ และอาการของโรค
1. ลมบาทาทึก 2. ลมบาดทะจิต 3. ลมมหาสดมภ์ 4. ลมอีงุ้มอีแอ่น
76. ชื่อของโรคเรื้อนที่เรียกตามลักษณะอาการของโรค ในคัมภีร์วิถีกุฎฐานโรคมีหลายชื่อได้แก่ข้อใด
1. เรื้อนวิมาลา เรื้อนหูด เรื้อนบอน เรื้อนดอกหมาก เรื้อนมะไฟฯ เป็นต้น
2. เรื้อนกุฏฐัง เรื้อนกวาง เรื้อนกระดูก เรื้อนหูหนาตาเล่อ เรื้อนหิดฯ เป็นต้น
3. เรื้อนเกล็ดปลา เรื้อนมะเฟือง เรื้อนมะไฟ เรื้อนมูลนก เรื้อนดอกหมากฯ เป็นต้น
4. ไม่มีข้อใดถูก
77. บางทีจับให้เชื่อมมึน บางทีให้ร้อนในกระหายน้ำ หอบ สะอึก บางทีให้จุกเสียด ชักมือกำเท้างอ มือสั่น บางทีให้ปวดแสบปวดร้อนเป็นกำลัง เป็นลักษณะของ
1. ฝียอดเดียวชนิดคว่ำประเภทที่ 3 2. ฝียอดเดียวชนิดคว่ำประเภทที่ 4
3. ฝียอดเดียวชนิดหงายประเภทที่ 1 4. ฝียอดเดียวชนิดหงายประเภทที่ 2
78. ฝีที่มักขึ้นที่กระหม่อม กำด้น สันหลัง ขาทั้งสองข้าง ใต้ศอก ใต้รักแร้ ไหล่ทั้งสอง เป็นฝีชนิดใด
1. ชนิดคว่ำประเภทที่ 1 2. ชนิดคว่ำประเภทที่ 2
3. ชนิดหงายประเภทที่ 1 4. ชนิดหงายประเภทที่ 2
79. ฝียอดเดียวคว่ำประเภทที่ 4 ถ้าเกิดในเดือน 11 – เดือน 4 เนื่องจากเหตุใด
1. ดี ลม เสมหะ ระคนกัน 2. ลม น้ำเหลือง กำเดา ระคนกัน
3. ดี น้ำเหลือง โลหิตระคนกัน 4. โลหิต ลม เสมหะระคนกัน
80. “อุปปาติกะวัณโรค” บังเกิดด้วยอาโปธาตุ คือฝีชื่ออะไร
1. ฝีมานทรวง 2. ฝีกุตะณะราย 3. ฝีมะเร็งทรวง 4. ฝีดาวดาดฟ้า
81. คัมภีร์ทิพย์มาลา ได้กล่าวถึงลักษณะฝีไว้กี่ประการ
1. 10 ประการ 2. 15 ประการ 3. 17 ประการ 4. 19 ประการ
82. ฝีที่เกิดในขั้วตับ ถ่ายออกมาเป็นเลือดสดๆ ได้ 4-5 วัน จึงกลับกลายเป็นเลือด และเสลดเน่าเรียกว่า อะไร
1. กาฬพิพัธ 2. กาฬพิพิธ 3. กาฬมูตร 4. กาฬสูตร
83. ฝีหนึ่งเมื่อจะบังเกิด ทำให้เจ็บปวดสันหลัง ให้เมื่อย ให้จุกแดกเป็นกำลัง ให้เสียดในอุทร ให้ซูบผอม บริโภคอาหารมิได้ คือฝีอะไร
1. ฝีธนูทวน 2. ฝีธรสูตร 3. ฝีสุวรรณเศียร 4. ฝีมะเร็งทรวง
84. มาน (เลือด, ลม, หิน, น้ำเหลือง, กระษัย) จัดอยู่ในอติสารอะไร
1. อุทรวาตอติสาร 2. สุนทรวาตอติสาร 3. อุตราวาตอติสาร 4. ปัสสยาวาตอติสาร
85. อาการให้ลง ร้อนในอก สวิงสวายไม่มีแรง ตัวร้อน อุจจาระเป็นสีแดง บริโภคอาหารไม่รู้รส เป็น อาการของอชินธาตุใด ในคัมภีร์อติสาร
1. เสมหะอชิน 2. ปิตตะอชิน 3. วาตะอชิน 4. สันนิปาตะอชิน
86. คัมภีร์กระษัยกล่าวถึงโรคกระษัยกี่จำพวก
1. 20 จำพวก 2. 24 จำพวก 3. 26 จำพวก 4. 28 จำพวก
87. กระษัยไฟเกิดเพื่อเตโชธาตุ 3 ประการ ข้อใดไม่ใช่
1. สันตัปปัคคี 2. ชิรณัคคี 3. ปริณามัคคี 4. ปริทัยหัคคี
88. กระษัยลมเกิดเพื่อลม จำพวกที่ 6 มีที่ตั้งอยู่กี่แห่ง
1. แห่งเดียว 2. สองแห่ง 3. สี่แห่ง 4. หกแห่ง
89. คำว่ากระษัย โบราณหมายถึงเป็นโรคอะไร
1. โรคที่เกิดขึ้นมาแล้วทำให้ท้องโต
2. โรคที่เกิดขึ้นมาแล้วทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม
3. โรคที่เกิดขึ้นมาเองหรือเกิดจากกองธาตุ
4. โรคที่เกิดขึ้นมาแล้วทำให้มีอาการปวด ยอก ขบ เสียดในร่างกาย
90. กระทำให้ผิวอัณฑะดำบวมฟกข้างหนึ่ง เจ็บตาข้างหนึ่ง ปวดศีรษะข้างหนึ่ง ปัสสาวะเป็นน้ำเหลือง
โลหิตเจืออกมา แสบตามช่องปัสสาวะเป็นองคสูตร เกิดในฤดูใด
1. คิมหันตฤดู 2. วสันตฤดู 3. เหมันตฤดู 4. สันนิปาตฤดู
91. ข้อไหนเป็นความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะของเพศชาย
1. ช้ำรั่ว 2. องคสูตร 3. ทุราวาสา 4. มุตกิด
92. โรคชนิดใด เมื่อจะบังเกิดให้ผิวอัณฑะดำและบวม มีพิษแสบร้อน ให้ขัดปัสสาวะ เสียดสองราวข้าง
และหน้าอกจับเป็นเวลา บริโภคอาหารมิได้ ตกเสมหะดุจเป็นบิด เป็นอาการของโรคอะไร
1. อุปทม 2. องคสูตร 3. ช้ำรั่ว 4. ไส้ด้วน
93. อาการปวดหัวเหน่าให้แสบองคชาติ ให้สะบัดร้อน สะบัดหนาวเป็นไปต่างๆ คืออาการของ
1. มุตฆาต 2. มุตกิด 3. สัณฑะฆาต 4. ทุราวสา
94. กลิ่นอุจจาระที่บังเกิดแต่กองเตโชสมุฏฐานเป็นเหตุนั้น มีกลิ่นอะไร
1. กลิ่นข้าวบูด 2. กลิ่นหญ้าเน่า 3. กลิ่นซากศพ 4. กลิ่นปลาเน่า
95. การใช้ยามหาพรหมภักตร์เพื่อแก้อุจจาระธาตุไม่ปกติ ควรใช้อะไรเป็นน้ำกระสายในการทำเป็นเม็ด
1. น้ำเปลือกมะรุมต้น 2. น้ำสีเสียด
3. น้ำโสฬสเบญจกูล 4. น้ำทศเบญจกูล
96. มานหินทั้ง 4 ประการเกิดจากกองธาตุใด
1. ธาตุดิน 2. ธาตุน้ำ 3. ธาตุลม 4. ธาตุไฟ
97. ลักษณะอุจจาระธาตุ ที่มีอาการให้ตาพร่า เมื่อยมือ เมื่อยเท้า เป็นตะคริวขัดเข่า เมื่อยสันหลัง สอง
เกลียวข้างแข็ง สมมุติว่าฝีเส้น อาเจียนลม มาจากธาตุใด
1. อาโปธาตุ 2. ปถวีธาตุ 3. วาโยธาตุ 4. เตโชธาตุ
98. ลักษณะอุจจาระสำแดงโทษ กลิ่นดังข้าวบูด เกิดแต่กองสมุฏฐานใด
1. เตโชธาตุ 2. วาโยธาตุ 3. อาโปธาตุ 4. ปถวีธาตุ
99. อสาทิยะมรณันติกชวร หมายถึงโรคอะไร
1. โรคเรื้อรัง เพราะกินยาไม่ถูกกับโรค 2. โรคบังเกิดเพราะโอปักกะมิกกะโรค
3. โรคเรื้องรังเพราะความชรา 4. โรคเรื้อรังเพราะทานอาหารไม่ถูกกับธาตุ
100. อสาทิยะอุจจาระคันธารธาตุ ที่ทำให้คนไข้มีอุจจาระกลิ่นดังหญ้าเน่า มีอาการปากแห้ง คอแห้งหนัก
ตัว คือสมุฏฐานเตโชธาตุระคนด้วยสิ่งใด
1. วัฒฑอชินะ 2. อามะอชินะ 3. วิวัฒฑอชินะ 4. มลอชินะ
โรงเรียน สิริภัจจ์ การแพทย์แผนไทย
อ.ประสิทธิ์ คงทรัพย์
ข้อสอบเวชกรรมไทย 2(2545)
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียวเท่านั้น
1. การที่สถานที่ขายยาแผนปัจจุบันสามารถขายยาแผนโบราณได้โดยไม่ต้องขออนุญาตการขายยา
แผนโบราณ เพราะเหตุใด
1. เพราะกฎหมายอนุญาตให้ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน ซึ่งเป็นผู้ ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมขายยาแผนโบราณได้
2. เพราะกฎหมายยกเว้นให้การขายยาแผนโบราณโดยผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
3. เพราะกฎหมายยกเว้นให้เพราะเป็นการขายยาสามัญประจำบ้านเท่านั้น
4. เพราะกฎหมายถือว่ายาแผนโบราณเป็นยาที่ไม่มีอันตราย
2. ข้อใดจัดเป็น “ยาสมุนไพร” ตาม พ.ร.บ. ยา
1. เถาโคคลานหั่น ตากแห้ง บรรจุถุง ระบุฉลากว่า ยาโคคลาน
2. ฟ้าทะลายโจรบดผงใส่แคปซูล ระบุฉลากว่า ยาฟ้าทะลายโจร
3. กำลังเจ็ดช้างสารดองเหล้า ระบุชื่อว่ายาดองเหล้า ยาดองเหล้ากำลังเจ็ดช้างสาร
4. ยาหอมเนาวโกศ
3. นายสมชายเป็นผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณทำการแจกยาแก่ประชาชนเพื่อส่งเสริมการขาย ยาในงานนิทรรศการ เช่นนี้นายสมชายสามารถกระทำได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
1. ไม่ได้ เพราะเป็นการขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต
2. ไม่ได้ เพราะเป็นการขายยานอกสถานที่
3. ได้ เพราะเป็นการแจก ไม่ได้ขายยา
4. ได้ เพราะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ยาแผนโบราณ
4. ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหนังสือให้ผู้อนุญาตทราบไม่ เกินกี่วัน นับแต่วันที่พ้นหน้าที่
1. 3 วัน 2. 5 วัน 3. 7 วัน 4. 10 วัน
5. ผู้ผลิต ขาย นำหรือสั่งยาแผนโบราณเข้ามาในประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตจะได้รับโทษอย่างไร
1. จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
2. จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3,000 บาท
3. จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท
4. จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท
6. กรณีใดที่โรงพยาบาลเอกชนสามารถรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินจำนวนเตียงที่ขออนุญาตไว้ได้
1. มีโรคระบาดรุนแรง 2. มีผู้ป่วยมารักษาจำนวนมาก
3. กรณีมีอุบัติเหตุกับคนหมู่มาก 4. กรณีฉุกเฉินซึ่งหากไม่รับไว้ผู้ป่วยอาจมีอันตราย
7. นายแพทย์ศรราม เป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ต้องเดินทางไปต่างประเทศเพื่อศึกษาดูงานเป็นเวลา 60 วัน นายแพทย์ศรรามจะต้องดำเนินการอย่างไรกับโรงพยาบาล ที่ตนเป็นผู้ดำเนินการอยู่
1. ไม่ต้องทำอย่างไร เพราะไปต่างประเทศไม่เกิน 90 วัน
2. ต้องมอบหมายให้ผู้รับอนุญาตเข้ามาเป็นผู้ดำเนินการแทนชั่วคราว
3. แจ้งให้ผู้อนุญาตทราบ เพื่อให้คณะกรรมการสถานพยาบาลเข้ามาดูแลโรงพยาบาลนั้น
4. ต้องมอบหมายให้ผู้อื่นที่มีคุณสมบัติครบมาดำเนินการแทนตน แล้วแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบ
8. ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลมีอายุ
1. 1 ปี 2. 2 ปี 3. 3 ปี 4. 10 ปี
9. แพทย์หญิงพรทิพย์ เปิดคลินิกส่วนตัว ตนเองเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมาย และได้รับอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการโรงพยาบาลเอกชน (รับผู้ป่วยค้างคืน) อีกหนึ่งแห่ง แพทย์หญิงพรทิพย์มีความประสงค์จะขอเปิดคลินิกส่วนตัวอีก 1 แห่ง จะได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
1. ไม่ได้ เพราะจะเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลเกิน 2 แห่ง
2. ไม่ได้ เพราะแพทย์หญิงพรทิพย์จะกลายเป็นผู้เปิดคลินิก 2 แห่ง
3. ได้ เพราะเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลประเภทรับผู้ป่วยค้างคืนเพียงแห่งเดียวเท่านั้น
4. ได้ เพราะเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลประเภทไม่รับผู้ป่วยค้างคืนไม่เกิน 2 แห่ง
10. วันที่ 27 สิงหาคม 2544 นายสุชาติ ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ใบอนุญาตนี้จะหมดอายุเมื่อใด
1. 26 ส.ค. 2545 2. 31 ธ.ค. 2545
3. 26 ส.ค. 2553 4. 31 ธ.ค. 2553
11. กรณีใดที่ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะสามารถพิมพ์คำวินิจฉัยที่สำคัญของคณะกรรมการ วิชาชีพเพื่อเผยแพร่ต่อชุมชนหรือบุคคลทั่วไปได้
1. เป็นความลับของทางราชการ
2. เกี่ยวกับความปลอดภัยของประเทศ
3. เป็นเรื่องเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวม
4. ประกาศแจ้งเรื่องการถอนใบอนุญาตการเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
12. กรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบ โรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ตรงตามข้อใด
1. ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ
2. ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง
3. ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ
4. ข้อ 1 และ 2 ถูก
13. ข้อใดมิใช่สาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542
1. การพยาบาลและการผดุงครรภ์ 2. กายภาพบำบัด
3. เทคนิคการแพทย์ 4. การแพทย์แผนไทย
14. ถ้าผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขาใดสาขาหนึ่งประกอบโรคศิลปะในสาขาอื่นที่ตนมิได้ขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาตจะระวางโทษอย่างไร
1. จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
15. โทษที่เบาที่สุดที่ใช้ลงโทษแก่ผู้ประกอบโรคศิลปะที่ถูกกล่าวโทษ
1. เพิกถอนใบอนุญาต 2. ภาคทัณฑ์
3. ว่ากล่าวตักเตือน 4. พักใช้ใบอนุญาต
16. นายชาคริตมิได้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ แต่ได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ว่าสามารถรักษาโรคต่างๆ โดยใช้ยาแผนโบราณ และยาสมุนไพรต่างๆ นายชาคริตอาจต้องระวางโทษตรงตามข้อใด
1. จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. ผิดทุกข้อ
17. นายหิรัญ มิได้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ทำการประกอบโรคศิลปะอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 30
1. จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. ผิดทุกข้อ
18. ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 50 วรรคสอง แห่ง พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ต้องระวางโทษตรงตามข้อใด
1. ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
2. ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
3. ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามพันบาท
4. ผิดทุกข้อ
19. ผู้ประกอบโรคศิลปะซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตอาจขอรับใบอนุญาตอีกได้ เมื่อพ้นกี่ปีนับแต่วันที่ ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ตรงตามข้อใด
1. 1 ปี 2. 2 ปี 3. 3 ปี 4. 4 ปี
20. หากผู้ประกอบโรคศิลปะถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เมื่อครบ 2 ปี ได้ขอรับใบอนุญาตอี คณะกรรมการวิชาชีพได้พิจารณาคำขอรับใบอนุญาต และได้ปฏิเสธการออกใบอนุญาต ผู้นั้นจะยื่นคำขอรับ ใบอนุญาตได้อีกเมื่อใด
1. เมื่อสิ้นระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันทีครบกำหนด 2 ปี
2. เมื่อสิ้นระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่คณะกรรมการวิชาชีพปฏิเสธการออกใบอนุญาต
3. เมื่อสิ้นระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ครบกำหนด 2 ปี
4. เมื่อสิ้นระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่คณะกรรมการวิชาชีพปฏิเสธการออกใบอนุญาต
21. กรณีใดไม่ควรกดนวด เพราะอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
1. กดไหปลาร้า กรณีแขนชา 2. กดขาหนีบกรณีอัมพาต
3. กดท้องในกรณีความดันโลหิตสูง 4. กดใต้ลิ้นปี่ กรณีหายใจขัด
22. ข้อใดกล่าวถูกต้อง ตามตำราโรคนิทานคำฉันท์ ๑๑
1. อิทาเป็นฝ่ายสุริย์ ปิงคลา เป็นฝ่ายจันทร์
2. อิทาเป็นฝ่ายจันทร์ ปิงคลา เป็นฝ่ายสุริย์
3. อิทาเป็นฝ่ายสุริย์ สุมนาเป็นฝ่ายจันทร์
4. อิทาเป็นฝ่ายจันทร์ สุมนา เป็นฝ่ายสุรีย์
23. ผู้ป่วยโรคชนิดใดที่ไม่ควรทำการดัด เพราะจะทำให้ข้อต่อเคลื่อนออกจากที่เดิมได้
1. โรคปวดเมื่อ และโรคประสาท 2. โรคเครียด สมองมึนงง
3. โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต 4. โรคหัวใจอ่อน
24. ลมดาลตะคุณ เกิดจากเส้นใดก่อโทษ
1. เส้นปิงคลา 2. เส้นสุมนา
3. เส้นกาลทารี 4. เส้นทวารี
25. เส้นใดกำเริบก่อทาให้เย็นชาเหน็บทั้งตัว
1. เส้นสุมนา 2. เส้นกาลทารี
3. เส้นทวารี 4. เส้นจันทภูสัง
26. เส้นที่ตั้งต้นแต่กึ่งกลางท้องใต้สะดือ 3 นิ้ว แล่นไปถึงทวารเบา เรียกเส้นอะไร
1. เส้นคิชฌะ 2. เส้นอิทา
3. เส้นนันทกะหวัด 4. เส้นปิงคลา
27. เส้นที่ไปสิ้นสุดที่รากตาขวาคือเส้นใด
1. ปิงคลา 2. ทวารี
3. สหัสรังสี 4. รุชำ
28. เส้นที่แล่นผ่านโคนนิ้วเท้าทั้งห้า คือเส้นอะไร
1. อิทา 2. กาลทารี
3. ทวารี 4. จันทภูสัง
29. เส้นสิบตามที่ท่านพรรณนาในตำราโรคนิทานคำฉันท์ ๑๑ มีลักษณะการอย่างไร
1. สถิตลึกสักสามนิ้ว 2. ล้อมเป็นจันทราศูนย์
3. เป็นแนวแถวทอดเรียงกัน 4. ถูกทุกข้อ
30. อาการใดที่ไม่ควรรักษาด้วยการนวด
1. กล้ามเนื้อลีบ 2. บริเวณที่เป็นมะเร็ง
3. ข้อเท้าแพลงเจ็บปวด 4. จุดต่างๆ ที่เคยรักษาด้วยการฝังเข็ม
31. คนไข้เริ่มแพ้ท้อง มีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียน รับประทานอาหารไม่ได้ หมอจะให้ยาขนานใด
1. ยาหอมเทพจิตร 2. ยามหานิลแท่งทอง
3. ยาประสะกะเพรา 4. ยาธาตุบรรจบ
32. คนป่วยมาด้วยอาการ ตัวร้อน เป็นไข้ มีระดูมาด้วย หมอจะให้ยาอะไร
1. จันทลีลา รับประทานครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ 3 เวลา ก่อนอาหาร
2. ยาประสะจันทน์แดง รับประทานครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ ก่อนอาหาร
3. ยาจันทน์สามโลก รับประทานครั้งละ 1 ช้อนกาแฟ 3 เวลา ก่อนอาหาร
4. ยามหานิลแท่งทอง รับประทานครั้งละ 3-4 เม็ด 3 เวลา ก่อนอาหาร
33. ถ้าเด็กเป็นไข้ออกหัดอีสุกอีใส ให้กินยาตำรับใด
1. ยาตรีหลวง 2. ยามหานิลแท่งทอง
3. ยาแสงหมึก 4. ยาจันทลีลา
34. ยาตำรับใดที่มีส่วนประกอบของพริกไทยล่อนหนัก 96 ส่วน
1. ยาวิสัมพยาใหญ่ 2. ยาเหลืองปิดสมุทร
3. ยาธรณีสัณฑะฆาต 4. ยามหาจักรใหญ่
35. ยาที่ประกอบด้วยตัวยาดังต่อไปนี้ “เหง้าสับปะรด รากลำเจียก รากเตย หัวข้าวเย็นทั้ง 2 สารส้ม หนัก สิ่งละ 1 บาท ตัวยา ก หนักเท่ายาทั้งหลาย” เป็นยาที่ใช้ขับปัสสาวะ ตัวยา ก คืออะไร
1. หญ้าชันอากาศ 2. รากหญ้าคา
3. สารส้ม 4. หัวข้าวเย็น
36. ยาในข้อใด ใช้สำหรับแก้ไข้
1. ยาประสะจันทร์แดง 2. ยาประสะกะเพรา
3. ยาประสะมะแว้ง 4. ยาประสะเจตพังคี
37. ยาหอมอินทจักร์ ถ้าแก้ลมคลื่นเหียน อาเจียน ควรใช้อะไรเป็นน้ำกระสายยา
1. ก้านสะเดา 2. ลูกกระดอม
3. บอระเพ็ด 4. ลูกผักชี เทียนดำ
38. กระสายา มีความหมายว่าอย่างไร
1. ชื่อยาอีกขนานหนึ่งที่ใช้ร่วมกับตำรายาหลัก
2. ตัวยาชนิดหนึ่งเป็นตัวยาประกอบช่วยให้ยามีฤทธิ์ดีขึ้น
3. น้ำหรือของเหลว สำหรับละลายยา หรือรับประทานพร้อมกับยา
4. ถูกทุกข้อ
39. การทำเม็ดลูกกลอน ต้องใช้กระสายยาตัวใด
1. น้ำผึ้ง หรือน้ำตาลอ้อยเคี่ยวข้น 2. น้ำแป้งเปียก
3. น้ำเชื่อม 4. ถูกทุกข้อ
40. กุ่มน้ำเป็นพืชวัตถุจำพวกไหน
1. จำพวกยืนต้น 2. จำพวกเถา เครือ
3. จำพวกหัว เหง้า 4. จำพวกผักหรือหญ้า
41. ข้อไหนเป็นพืชวัตถุจำพวกเหง้า
1. ดาหลา 2. ขิงแครง 3. กระชาย 4. ถูกทุกข้อ
42. ดอกคำฝอย มีสรรพคุณอะไร
1. แก้ไข้ เจริญอาหาร 2. บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต
3. ขับลม บำรุงธาตุ 4. บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ
43. ตัวยาที่มีฤทธิ์แรงซึ่งหากใช้เกินขนาดหรือใช้ไม่ถูกวิธี ก็อาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้คือข้อใด
1. จุนสี 2. เพชรสังฆาต
3. ฟ้าทะลายโจร 4. รากไม้เท้ายายม่อม
44. ถ้าจะทำให้ยาแสงหมึกมีสรรพคุณแก้อาการตัวร้อน จะใช้น้ำกระสายยาในข้อใด
1. น้ำดอกไม้เทศ 2. น้ำใบกะเพราต้ม
3. น้ำลูกมะแว้งเครือต้น 4. น้ำต้มสุก หรือน้ำสะอาด
45. น้ำนมสัตว์ เป็นกระสายยาที่ใช้แก้อาการในข้อใด
1. แก้ไข้ ตัวร้อน 2. แก้สะอึก อกแห้ง
3. แก้ไอ ขับเสมหะ 4. ทำให้มีกำลังแก้อ่อนเพลีย
46. ใบบัวบก ใช้รักษาอาการอะไร
1. รักษาแผลไฟไหม้ 2. แก้ฟกช้ำ
3. แก้อ่อนเพลีย 4. ถูกทุกข้อ
47. ปอกเปลือก แล้วแช่ในน้ำปลาร้า 3 วัน จึงเอาขึ้นตากให้แห้ง เป็นการฆ่าฤทธิ์ชนิดหนึ่งก่อนที่จะนำมา
ปรุงยาของอะไร
1. เมล็ดลำโพง 2. เมล็ดสลอด 3. เมล็ดแสลงใจ 4. เมล็ดสบู่แดง
48. เภสัชวัตถุ คือวัตถุธาตุนานาชนิดที่มีอยู่ในธรรมชาติ ท่านแบ่งออกเป็นกี่ประเภท และกี่จำพวก
1. 3 ประเภท 5 จำพวก 2. 3 ประเภท 10 จำพวก
3. 5 ประเภท 3 จำพวก 4. 5 ประเภท 5 จำพวก
49. มหาพิกัดตรีสาร ถ้าจะแก้วาตะสมุฏฐาน มีส่วนและตัวยาในข้อใด
1. รากเจตมูลเพลิง 4 ส่วน เถาสะค้าน 12 ส่วน รากช้าพลู 8 ส่วน
2. รากเจตมูลเพลิง 8 ส่วน เถาสะค้าน 4 ส่วน รากช้าพลู 12 ส่วน
3. รากเจตมูลเพลิง 12 ส่วน เถาสะค้าน 8 ส่วน รากช้าพลู 4 ส่วน
4. ไม่มีข้อใดถูก
50. ยาเทพมงคล เป็นยาสามัญประจำบ้านใช้แก้อะไร
1. ตัวร้อน 2. เด็กท้องผูก ระบายพิษไข้
3. ซางชัก 4. แก้ลม มุตกิด ขับน้ำคาวปลา
51. ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณขนานใด ที่ไม่ใช่ยาขับน้ำคาวปลา
1. ยาประสะไพล 2. ยาไฟประลัยกัลป์
3. ยาธรณีสัณฑฆาต 4. ยาไฟห้ากอง
52. ว่านหางจระเข้ เป็นตัวยาที่ใช้แก้ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และตัวยาระบายซึ่งเป็นตัวยาที่อยู่ในพิกัด
1. ตรีสมุฏฐาน 2. ตรีสุรผล
3. ตรีเพชรสมคุณ 4. ตรีพิษจักร์
53. สมุนไพรข้อใดที่มีรสเค็ม สรรพคุณแก้กระษัย ขับโลหิต ขับน้ำคาวปลา ขับลม
1. เปลือกต้นลำพู 2. แก่นแสมทะเล
3. เปลือกต้นมะเกลือ 4. ต้นชะคราม
54. สมุนไพรข้อไหนที่มีสรรพคุณแก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือดและปวดเบ่ง ถอนพิษบาดแผล
1. ฝรั่งทั้ง 5 2. ชุมเห็ดเทศทั้ง 5
3. ทองพันชั่งทั้ง 5 4. สะแกทั้ง 5
55. สมุนไพรใด ใช้เป็นยาแก้ท้องผูก
1. ขลู่ 2. ขี้เหล็ก 3. เพกา 4. ถูกทุกข้อ
56. สมุนไพรที่ใช้ทำยาบำรุงหัวใจ บำรุงตับ ปอด แก้ไข้ ข้อใด
1. หญ้าฝรั่น 2. น้ำดอกไม้เทศ
3. กฤษณา 4. พิมเสนในปล้องไม้ไผ่
57. อุตุสมุฏฐานคือฤดูเป็นที่ตั้งที่แรกเกิดของโรคซึ่งในฤดูฝนเริ่มนับตั้งแต่ช่วงใด
1. แรม 1 ค่ำ เดือน 4 – ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
2. แรม 1 ค่ำ เดือน 8 – ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
3. แรม 1 ค่ำ เดือน 12 – ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
4. แรม 1 ค่ำ เดือน 2 – ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
58. การตรวจชีพจรของคนไข้นั้น ท่านรู้อะไรบ้าง
1. รู้อาการความดันโลหิตสูง – ต่ำ
2. รู้อาการของโรคว่าหนักหรือเบา น้อยหรือมาก
3. รู้การเต้นของหัวใจ 4. ไม่มีข้อถูก
59. ชีพจรเดินตื้น เต้นเร็วและแรง เม็ดใหญ่หรือเล็กปานกลาง แต่เดินไม่เสมอ จะทำโทษให้เป็นอย่างไร
1. มีพิษร้อนจัดมาก บางคราวเพ้อคลั่ง
2. มีพิษร้อนภายในมาก กระวนกระวายใจ
3. ดิ้นรนกระสับกระส่าย ร้อนเป็นกำลัง
4. สลบไสล ไม่รู้สติสมปฤดี
60. ตรวจโดยวิธีสังเกต ถ้าคนไข้มีผิวซีดเหลือง ตาเหลือง เป็นโรคชนิดใด
1. ปัสสาวะพิการ 2. น้ำดีซ่านพิการ
3. กระเพาะอาหารอักเสบ 4. ไตพิการ
61. ไต (ปิหะกัง) พิการ มีอาการอย่างไร
1. อาการให้ตึงที่ข้างท้องน้อย เป็นก้อนแข็ง
2. ปวดเมื่อยที่บั้นเอว ปัสสาวะไม่สะดวก
3. ทำให้บวมทั้งตัวตลอดหน้า มือ เท้าทั้ง 2 ข้างอ่อนเพลีย
4. ถูกทุกข้อ
62. เมื่อตรวจหัวใจด้วยเครื่องฟัง แล้วพบว่าเสียงที่หัวใจเต้นดังฟืด ๆ แฟดๆ คล้ายท่อนแป็บรั่ว หรือยางรถ รั่ว ชีพจรเดินตื้นเดินเร็วบ้าง หนักบ้าง เบาบ้าง จิตฟุ้งซ่าน นอนไม่หลับ เป็นอาการแสดงของ โรคหัวใจชนิดใด
1. หัวใจบวม 2. หัวใจอ่อน 3. หัวใจฝ่อ 4. หัวใจรั่ว
63. เมื่อเส้นสุมนาพิการ ให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆ เช่นลม 6 จำพวก ข้อใดไม่ใช่
1. ลมกุมภัณฑยักษ์ 2. ลมอัศมุขี
3. ลมชิวหาสดมภ์ 4. ลมราทยักษ์
64. ลักษณะปอดพิการ มีอาการอย่างไร
1. โรคปอดบวม เนื่องจากไข้หวัดใหญ่ มีอาการไอ เหนื่อยหายใจไม่สะดวก
2. เกิดจากพิษไข้ พิษกาฬ ทำให้หอบเป็นกำลัง ร้อนในกระหายน้ำ
3. ฝีในปอด (วัณโรค) และยังมีโรคอื่นอีกหลายประการ
4. ถูกทุกข้อ
65. ลิ้นแตกแห้งเป็นเม็ดเป็นขุม เนื่องมาจาเป็นโรคอะไร
1. ธาตุพิการ ไข้พิษ ไข้ป่า 2. ลำไส้พิการ
3. โรคกระเพาะอาหาร 4. ถูกทุกข้อ
66. เส้นสุมนา คือเส้นอะไร
1. เส้นสมอง 2. เส้นใจ
3. เส้นขั้วหัวใจเบื้องล่าง 4. เส้นใต้ลิ้นปี่
67. เส้นอัษฏากาศ คืออะไร
1. เส้นคอหอย 2. เส้นซอกไหปลาร้า
3. เส้นขั้วหัวใจเบื้องบน 4. เส้นขั้วหัวใจเบื้องล่าง
68. ลักษณะเป็นแผ่นสีขาวในตาดำ เรียกว่าต้อชนิดใด
1. ต้อก้นหอย 2. ต้อลิ้นสุนัข
3. ต้อแววนกยูง 4. ต้อเนื้อ
69. ลูกตาดำเป็นจุดดังผิวมะกรูด หมายถึงสิ่งใด
1. ต้อเพกา 2. ต้อลิ้นสุนัข
3. ต้อลำไย 4. ต้อมะเกลือ
70. ข้อใดเป็นอาการของลมราทยักษ์
1. ให้ละเมอเพ้อพก อาการดุจผีเข้า
2. ชักมือกำเท้างอ ลิ้นกระด้างคางแข็ง
3. เมื่อจับให้งุ้มงอไปข้างหน้า แอ่นไปทางหลัง
4. ชักมือกำเท้างอ ไม่ได้สติ
71. นายเอกสิทธิ มีลมเป็นก้อน ตั้งอยู่บนหน้าขา มีโลหิตแตกออกมา ลมนั้นมีอย่างไร
1. รัตตะคุละทะ 2. ลมในลำไส้
3. ลมพัดขึ้นเบื้องบน 4. ลมมะเร็งคุด
72. ยากินแก้โรคมูตร 20 ประการ ชื่อว่ายาอะไร
1. ยาประสะมูตร 2. ยาอัสฏาธิวัค
3. ยาอัพยาธิคุณ 4. ยาอนันตคุณ
73. ลมที่จับให้ตัวงอ หลังขด หลังแข็ง เรียกว่าลมอะไร
1. ลมทักขิณโรธ 2. ลมตติยาวิโรธ
3. ลมอีงุ้มอีแอ่น 4. ลมกาฬสิงคลี
74. ลมพิเศษ มีลักษณะอาการทั้งสลบ ทั้งลง ทั้งอาเจียน มิรู้ว่าสันนิบาตสองคลอง ให้มือเขียว หน้าเขียวให้ชักมิรู้ว่าป่วง ให้ลงกำหนด 3 วัน ลมนี้เรียกตามคัมภีร์ชวดารว่าลมอะไร
1. ลมพัดในลำไส้ 2. ลมบาทาทึก
3. ลมบาดทะจิต 4. ลมตะคริว
75. ลมอุทธังคมาวาตา เป็นลมที่พัดขึ้นเบื้องบน หรือท่านกล่าวว่าเป็นลมที่พัดจากไหนถึงไหน
1. สะดือ ถึง ศีรษะ 2. สะดือ ถึงทวารหนัก
3. ทวารหนัก ถึง ทวารเบา 4. ไม่มีข้อใดถูกเลย
76. ไข้หนึ่งมีลักษณะ เมื่อเป็นให้หน้าดำ จมูกดำ อกดำ เป็นสีควันไฟคือไข้อะไร
1. ไข้สายฟ้าฟาด 2. ไข้ไฟเดือนห้า
3. ไข้เปลวไฟฟ้า 4. ไข้ข้าวไหม้น้อย
77. ไข้หนึ่งมีลักษณะผุดขึ้นเป็นเม็ดแดง เป็นแถว หญิงมักขึ้นซ้าย ชายมักขึ้นขวา สะพายแล่ง คล้ายสังวาล
1. ไข้ข้าวไหม้ใหญ่ 2. ไข้กระดานหิน
3. ไข้สังวาลพระอินทร์ 4. ไข้ข้าวไหม้เกรียม
78. ลักษณะกุฏฐโรคที่เกิดขึ้นแล้วมีผิวนวลดุจน้ำผิวน้ำเต้า ซึ่งชาวโลกสมมติว่าเรือนน้ำเต้า เกิดจากกอง ธาตุอะไร
1. ปถวีธาตุ 2. อาโปธาตุ 3. วาโยธาตุ 4. เตโชธาตุ
79. ลักษณะฝียอดเดียวชนิดหงาย 2 ถ้าบังเกิดในเดือน 5-6-7-8-9-10 เกิดเพื่ออะไร
1. เพื่อลม น้ำเหลือง กำเดาระคนกัน
2. เพื่อ ดี ลม เสมหะระคนกัน
3. เพื่อ ดี โลหิต เสมหะระคนกัน 4. ไม่มีข้อใดถูก
80. ข้อใดจัดอยู่ในปัจจุบันกรรมอติสาร
1. อุตราวาตอติสาร 2. อมุธาตุอติสาร
3. มุศกายธาตุอติสาร 4. รัตตธาตุอติสาร
81. คนไข้เมื่อพิการทำให้แข็งกระด้างตึงขา ผิวหนังเหี่ยวแห้งแข็งดังท่อนไม้ เปรียบดังอสรพิษขบกัดคือข้อใด
1. ปถวีธาตุ 2. อาโปธาตุ
3. วาโยธาตุ 4. เตโชธาตุ
82. คัมภีร์ทิพย์มาลา กล่าวถึงอะไร
1. ลักษณะของอติสาร 2. ลักษณะของฝีภายใน
3. ลักษณะของฝีภายนอก 4. ลักษณะของฝีกาฬ
83. ถ้ากินปอดให้กระหายน้ำให้หอบถ้ากินม้ามให้หลับอาการคล้ายปีศาจสิงหมายถึงอาการของอะไร
1. กาฬพิพัฒน์ 2. กาฬพิพิธ 3. กาฬมูตร 4. กาฬสิงคลี
84. ฝีหนึ่งเกิดขึ้นใต้ลิ้น สัณฐานดังดวงจันทร์ อ้าปากออกเห็นหนึ่งลับอยู่ในลำคอ ไม่เห็นครึ่งหนึ่งให้ฟกบวมเป็นกำลัง กินข้าวกินน้ำมักให้สำลักทางจมูก ถ้าแก่แดงดังผลอุทุมพร ฝีนั้นชื่ออะไร
1. ฝีฟองสมุทร 2. ฝีทันตมูลา
3. ฝีครีบกรด 4. ฝีราหูกลืนจันทร์
85. แรกเป็นมีอาการให้ยอกเสียด หายใจขัดในทรวงอก เจ็บหน้าอกทั้งกลางวันและกลางคืน ไอเป็นเสมหะเหนียว ซูบผอมให้แน่นหน้าอกเป็นกำลัง
1. ฝีวัณโรคชื่อฝียอดคว่ำ 2. ฝีวัณโรคชื่อฝีรากชอน
3. ฝีวัณโรคชื่อฝีธนูทวน 4. ฝีวัณโรคชื่อฝีมานทรวง
86. กระษัย เป็นกลุ่มอาการของโรคอะไร
1. กลุ่มอาการของโรคมะเร็ง 2. กลุ่มอาการของโรคริดสีดวง
3. กลุ่มอาการของโรคกระเพาะอาหาร
4. กลุ่มโรคเรื้อรังเนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย
87. กระษัยในข้อใดเกิดในลำไส้
1. กระษัยเต่า 2. กระษัยปลาหมอ
3. กระษัยปลาดุก 4. กระษัยลิ้นกระบือ
88. กษัยลม เกิดเพื่อลม 6 จำพวก ตั้งอยู่ 4 แห่ง อยู่อย่างไร ข้อไหนที่ตั้งไม่ถูก
1. ใต้สะดือ 1 แห่ง 2. เหนือสะดือ 1 แห่ง
3. ริมสะดือซ้าย 1 แห่ง 4. ริมฝีปากขวา 1 แห่ง
89. อาการที่ท้องน้อยและหัวเหน่าแข็งดุจแผ่นศิลา เคลื่อนไหวตัวไม่ได้ นานเข้าลามมาถึงยอดอกบริโภคอาหารไม่ได้ ปวดขบดังจะขาดใจตาย เป็นอาการของกระษัยอะไร
1. กระษัยราก 2. กระษัยเหล็ก
3. กระษัยศิลา 4. กระษัยดาน
90. กาฬต่อไปนี้เป็นกาฬอะไร เป็นตั้งแต่ดีลงมาอุจจาระปัสสาวะเนื้อตัวเหลืองดังขมิ้นทา กระหายน้ำหอบหายใจขัด ละเมือเพ้อพก 3 วันจักอาสัญ
1. กาฬสิงคลี 2. กาฬมูตร
3. กาฬสูตร 4. กาฬพิพิธ
91. ตรีสัณฑะฆาต ถ้าบังเกิดแก่ผู้ใด มักให้มีอาการต่างๆ ถ้าเกิดขึ้นในปอดจะมีอาการอย่างไร
1. เจรจาด้วยผี พูดเพ้อไป คลั่งเพ้อต่างๆ
2. ลงเป็นโลหิต แล้วเป็นผีเข้าสิง เข้าจำอยู่
3. ให้จุกเสียด ท้องเฟ้อ เป็นมาน
4. ทำให้กระหายน้ำเป็นอันมาก
92. ทุราวาสามี 4 จำพวก จำพวกใดที่รักษาไม่ได้
1. ปัสสาวะออกมาเป็นสีขาว
2. ปัสสาวะออกมาเป็นสีเหลือง
3. ปัสสาวะออกมาเป็นสีโลหิตสด ๆ
4. ปัสสาวะออกมาเป็นสีดำดังน้ำคราม
93. ปัสสาวะออกมาแดงขุ่นข้น เป็นสีดำดุจดั่งน้ำคราม คือ
1. มุตฆาต 2. มุตกิด 3. ทุราวสา 4. ถูกทุกข้อ
94. อุจจาระมีกลิ่นเหมือนหญ้าเน่ามีอาการอย่างไร
1. เจ็บหน้าอก น้ำลายไหล ตาแดง
2. เจ็บคอ คัดจมูก เมื่อยตัว
3. เจ็บหน้าอก เจ็บในท้อง เจ็บในกระดูก
4. ปากแห้ง คอแห้ง วิงเวียน
95. กลิ่นอุจจาระเหม็นดังข้าวบูด เกิดเพราะกองสมุฏฐานใดเป็นเหตุ
1. ปถวี 2. อาโป 3. วาโย 4. เตโช
96. ท่านเห็นว่ากองมหาภูตรูปใดผิด
1. กองมหาภูตรูปดิน 20 2. กองมหาภูตรูปอากาศ 10
3. กองมหาภูตรูปอาโป 12 4. กองมหาภูตรูปวาโย 6
97. โทษ 15 ประการในโรคอุจจาระธาตุ ข้อใดที่ไม่ถูกต้อง
1. ให้แน่นในอกคับใจ 2. ให้คันไปทั่วร่างกาย
3. ให้ร้อนกระหายน้ำ 4. ให้เจรจาพร่ำพรู
98. ธาตุสมุฏฐานทั้ง 4 นั้น มีธาตุอะไรเป็นที่ตั้งแห่งภูมิโรคทั้งหลาย
1. ปถวีธาตุ 2. อาโปธาตุ
3. วาโยธาตุ 4. เตโชธาตุ
99. ในคัมภีร์อุทรโรค ท่านหมายเอาโรคอะไร
1. โรคกระเพาะอาหาร 2. โรคท้องมาน
3. โรคกระษัย 4. โรคชรา
100. อาโปธาตุพิการ ลักษณะของอุจจาระธาตุมีสีอะไร
1. ดำ 2. ขาว 3. เขียว 4. แดง
โรงเรียน สิริภัจจ์ การแพทย์แผนไทย
อ.ประสิทธิ์ คงทรัพย์
ข้อสอบวิชาเวชกรรมไทย
1
(
2546
)
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียวเท่านั้น
1. การโฆษณายาแบบใดที่ผู้อนุญาตมีอำนาจอนุมัติข้อความที่โฆษณาได้
1. การโฆษณายาโดยการร้องเพลง
2. การโฆษณาสรรพคุณยาอันตราย
3. การโฆษณายาแก้เบาหวานโดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ
4. การโฆษณายาโดยให้ผู้ประกอบโรคศิลปะเป็นผู้รับรองสรรพคุณ
2. ถ้าผู้รับอนุญาตตาย และมีบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติอาจเป็นผู้รับอนุญาตได้ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.
2510 ต้องแสดงความจำนงต่อผู้อนุญาตภายในกี่วัน
1. 15 วัน 2. 7 วัน 3. 30 วัน 4. 25 วัน
3. นาย ก. จะทำยาสระผมโดยมีดอกอัญชันเป็นส่วนประกอบ และแสดงสรรพคุณบนฉลากว่าใช้สระผม
ทำให้สวย กรณีเช่นนี้ยาสระผมดังกล่าวจะจัดเป็น “ยา” ตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และ
ฉบับที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบันหรือไม่ เพราะเหตุใด
1. เป็นยา เพราะมีการแสดงสรรพคุณเป็นยา
2. เป็นยา เพราะยาสระผมจัดเป็นยาแล้ว
3. เป็นยา เพราะอัญชันเป็นตัวยาสมุนไพร
4. ไม่เป็นยา เพราะยาสระผมเป็นเครื่องสำอางและไม่มีการแสดงสรรพคุณที่เป็นยา
4. นายเชี่ยวชาญเป็นผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ต่อมาต้องการแก้ไข
รายละเอียด เกี่ยวกับรูปแบบของฉลากยา กรณีนี้นายเชี่ยวขาญจะต้องดำเนินการอย่างไรให้ถูกต้องตาม
กฎหมายยา
1. สามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเพราะเป็นการแก้ไขส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ
2. ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบเมื่อมีการแก้ไขแล้ว
3. ต้องขอขึ้นทะเบียนตำรับยาใหม่
4. ต้องขอแก้ไขทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนจึงจะทำได้
5. สหกรณ์บ้านนาสารได้สนับสนุนให้สมาชิกทำยาฟ้าทลายโจร โดยนำฟ้าทลายโจรมาตากแห้งแล้ว
จำหน่าย กรณีนี้ให้วินิจฉัยว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับที่มี
ผลบังคับใช้ในปัจจุบันเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายยา
1. ต้องขอขึ้นทะเบียนตำรับยาก่อน จึงจะขายได้
2. ต้องขอใช้ฉลากยาก่อน จึงจะขายได้
3. ต้องขอมีเลขทะเบียนยาก่อน จึงจะทำขายได้
4. สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนตำรับยา เนื่องจากยาสมุนไพรได้รับยกเว้นไม่ต้องขึ้น
ทะเบียนตำรับยา
6. คำว่า ผู้อนุญาต ในพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 หมายความว่า
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
2. ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ
3. ปลัดกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ที่ปลัดมอบหมาย
4. อธิบดีกรมการแพทย์
7. ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างไร
1. เข้าไปในสถานพยาบาลในระหว่างเวลาทำการเพื่อตรวจสอบ
2. เข้าไปในสถานพยาบาลได้ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพื่อตรวจสอบ
3. ทำการจับกุมผู้รับอนุญาตมาควบคุมเพื่อให้ถ้อยคำ
4. ริบบรรดาเอาสารหรือสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด
8. ผู้ใดดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 24 วรรคหนึ่ง มีโทษ
ประการใด
1. จำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. จำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. ปรับไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท
9. ผู้ใดต่อไปนี้มีลักษณะต้องห้ามเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล
1. แม่ชีจิตอายุ 70 ปี
2. นางสาวใจอยู่ที่ประเทศอเมริกา
3. นายจืดขับรถประมาทชนคนบาดเจ็บสาหัส ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หนึ่งปี
4. นายจุก เสียการพนันฟุตบอลไปจนมีหนี้สินรุงรัง
10. เมื่อท่านเป็นผู้ป่วย และเข้าไปรักษาในคลินิกแพทย์ สิ่งสำคัญที่ท่านควรจะต้องตรวจสอบในคลินิก
นั้นคืออะไร
1. ป้ายชื่อคลินิกตรงกับชื่อแพทย์หรือไม่
2. ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
3. วุฒิบัตรแสดงความรู้หรือคุณวุฒิของแพทย์
4. อุปกรณ์การแพทย์รวมทั้งเวชภัณฑ์
11. การขอขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การออกหนังสือรับรองความรู้ความ
ชำนาญเฉพาะทางในการประกอบโรคศิลปะ การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทน
ใบอนุญาตให้เป็นไปตามข้อใด
1. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
2. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในระเบียบ
3. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศ
4. ผิดทุกข้อ
12. การช่วยเหลือคนเป็นลมข้างถนน โดยให้นวดและใช้ยาทาถูนวดตามร่างกาย จะเป็นความผิดตาม
พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 อย่างไรหรือไม่ ถ้าผู้ช่วยเหลือนั้นไม่ได้เป็นผู้ประกอบโรค
ศิลปะ
1. มีความผิดฐาน ประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต
2. มีความผิดฐาน ประกอบโรคศิลปะในที่สาธารณะ
3. มีความผิดฐาน แสดงตนว่าพร้อมที่จะประกอบโรคศิลปะ
4. ไม่มีความผิด เพราะเป็นการช่วยเหลือตามธรรมจรรยา
13. คุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะที่สำคัญคือ
1. อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ 2. บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส
3. อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ 4. อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์
14. ถ้าผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขาใดสาขาหนึ่งประกอบโรคศิลปะในสาขาอื่นที่ตนมิได้ขึ้นทะเบียน
และรับใบอนุญาตจะระวางโทษอย่างไร
1. จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
15. นาย ก. เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยได้ลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับ
ผลงานที่ได้รักษาผู้ป่วย ดังนี้ถือว่านาย ก.
1. ไม่สามารถทำได้เพราะผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
2. ไม่สามารถทำได้เพราะเป็นข้อความที่ผิดกฎหมาย
3. ไม่สามารถทำได้เพราะเป็นการแจ้งความ
4. ไม่สามารถทำได้เพราะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลเฉพาะบุคคล
16. นายสงบเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทเวชกรรมไทย จัดรายการวิทยุโดย
แนะนำเกี่ยวกับยาสมุนไพรต่างๆ และบอกให้ผู้ฟังที่มีปัญหาความเจ็บป่วยไปรับการรักษาที่
สถานพยาบาลของตน นายสงบกระทำผิดหรือไม่ ด้วยเหตุใด
1. ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เพราะเป็นการโฆษณาความรู้ความชำนาญในการประกอบโรค
ศิลปะของตน
2. ไม่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เพราะเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ
3. ไม่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เพราะเป็นการทำงานในหน้าที่
4. ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เพราะเป็นการจงใจชักชวนคนเจ็บไข้ให้รับการรักษาพยาบาลของ
ตนเพื่อผลประโยชน์
17. นายสงวนถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกในคดีฝ่าฝืนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต คดีถึงที่สุดแล้ว
คณะกรรมการวิชาชีพจะดำเนินการกับนายสงวนอย่างไร
1. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิชาชีพดำเนินการสืบสวน
2. ไม่ดำเนินการอย่างใดเพราะถูกจำคุกแล้ว
3. สั่งเพิกถอนใบอนุญาตโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ศาลพิพากษาถึงที่สุด
4. ผิดทุกข้อ
18. ในการประชุม ถ้าประธานกรรมการวิชาชีพไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ การประชุมก็ต้องเลื่อนไป คำ
กล่าวนี้ถูกต้องหรือไม่
1. ไม่ถูกต้อง เพราะมีรองประธานทำหน้าที่แทน
2. ถูกต้อง เพราะการประชุมต้องมีประธานทำหน้าที่ตามกฎหมาย
3.ไม่ถูกต้อง เพราะที่ประชุมสามารถเลือกกรรมการคนอื่นทำหน้าที่แทน
4. ถูกต้อง เพราะประธานไม่ได้มอบหน้าที่ให้กรรมการคนอื่นทำหน้าที่แทน
19. ผู้ที่เป็นทั้งกรรมการการประกอบโรคศิลปะและกรรมการวิชาชีพสาขาทางการแพทย์แผนไทยคือ
1. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2. ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย
3. ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ 4. ทุกข้อที่กล่าว
20. วิชาชีพใด เมื่อจะทำการประกอบวิชาชีพ ต้องขึ้นทะเบียนและขอใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
1. แพทย์ 2. พยาบาล
3. ทันตแพทย์ 4. เทคนิคการแพทย์
21. ปกติโลหิต หมายความว่าอย่างไร?
1. โลหิตบริบูรณ์ 2. โลหิตแล่นสะดวก
3. โลหิต กำเดา ดี 4. โลหิตประจำเดือน
22. โลหิตคลอดบุตร เมื่อบังเกิดทำให้โลหิตคั่ง เดินไม่สะดวก แล้วตั้งขึ้นเป็นลิ่ม เป็นก้อน สมมุติไว้ว่า
อย่างไร
1. เป็นบ้า แยกเขี้ยว 2. ให้แดกขึ้นแดกลง
3. บางทีให้คลั่งเพ้อ 4. ปีศาจเข้าสิง
23. โลหิตต้องพิฆาต หมายถึงข้อใด
1. ตกต้นไม้ ถูกทุบถอง โลหิตกระทบช้ำ ระคนกับโลหิตระดู
2. โลหิตกระทบช้ำ โลหิตแห้งกรัง โลหิตพิการ คลอดบุตร
3. ถูกทุบถอง โลหิตคลอดบุตร โลหิตเน่า
4. โลหิตตกหมกช้ำ ถูกทุบถอง โลหิตกระทบช้ำ ระดูพิการ
24. ว่าด้วยริดสีดวงมหากาฬ 4 จำพวก ว่าเกิดที่ใดบ้าง
1. เกิดที่ลิ้น 2. เกิดที่กระเพาะอาหาร
3. เกิดที่ตับ 3. ผิดทุกข้อ
25. สตรีผู้ใดที่มีสามีแล้วมิได้มีสามีก็ดี เมื่อระดูจะมานั้นมีอาการกระทำให้ท้องขึ้นท้องพอง
ให้จุกเสียดเป็นกำลัง ให้ตัวร้อนจับเป็นเวลา ให้คลื่นเหียนให้อาเจียนลมเปล่า ระดูไม่สะดวก มีสีดัง
ดอกคำจาง เป็นโลหิตเกิดจากกองธาตุใด
1. โลหิตระดูเกิด 2. โลหิตระดูเกิดแต่กองเตโชธาตุ
3. โลหิตระดูเกิดแต่กองวาโยธาตุ 4. โลหิตระดูเกิดแต่กองปถวี
26. “เบญจกัลยาณี” เป็นลักษณะแม่นมที่ดีมีกี่จำพวก
1. 2 จำพวก 2. 3 จำพวก
3. 4 จำพวก 4. 5 จำพวก
27. คัมภีร์ปฐมจินดาได้กล่าวถึงโรคอะไร ?
1. โรคเกี่ยวกับบุรุษ 2. โรคเกี่ยวกับสตรี มารดา และทารก
3. โรคเกี่ยวกับความเสื่อมของร่างกาย 4. โรคเกี่ยวกับต้นเหตุของการเกิดโรคเรื้อน
28. ช่วงที่ทารกคลอดออกจากครรภ์มารดา เรียกว่าอะไร
1. ครรภ์กำเนิด 2. ครรภ์ปฏิสนธิ
3. ครรภ์ประสูติ 4. ครรภ์ปริมณฑล
29. ด้วยอำนาจแห่งลมกัมมัชวาตพัดให้กำเริบ หมายถึงลมอะไร
1. ลมบ้าหมู 2. ลมสลาตัน
3. ลมเหมันต์ฤดู 4. ลมพัดให้ศีรษะลง
30. ในคัมภีร์ปฐมจินดากล่าวถึงครรภ์วิปลาสมีกี่ประการ?
1. 3 ประการ 2. 4 ประการ
3. 5 ประการ 4. 6 ประการ
31. มนุษย์ทั้งหลายถือปฏิสนธิออกจากครรภ์มารดา สตรีจะมีประเภทผิดจากบุรุษอย่างไร
1. มีหน้าที่ดูแล ฟูมฟักลูก 2. การปฏิสนธิของทารกจากมารดา
3. มีต่อมเลือด น้ำนมสำหรับเลี้ยงลูก 4. หลังจากคลอดลูกต้องมีน้ำนมให้ลูกกิน
32. ลักษณะน้ำนมที่ไม่ควรนำมาเลี้ยงกุมาร ต้องมีลักษณะอย่างไร?
1. น้ำนมจาง สีเขียวดังน้ำต้มหอย 2. น้ำนมจาง มีรสเปรี้ยว
3. น้ำนมเป็นฟองลอย 4. ถูกทุกข้อ
33. ลักษณะน้ำนมให้โทษแก่กุมาร เกิดในสตรีที่มีกลิ่นตัวชนิดใด
1. กลิ่นตัวสาบดังกลิ่นบุรุษ 2. กลิ่นตัวสาบดังกลิ่นเนย
3. กลิ่นตัวสาบดังกลิ่นนกกา 4. กลิ่นตัวสาบดังกลิ่นสุนัข
34. สตรีมีโลหิตปกติโทษ คือ สัตว์ที่จะมีปฏิสนธิในท้องมารดาได้เพราะ?
1. โลหิตระดูมีมาทุกเดือน 2. โลหิตระดูบริบูรณ์
3. มารดาท้องครบ 10 เดือน 4. มารดาไม่บริโภคอาหารเผ็ดร้อน
35. ซางนี้เกิดในกระหม่อม แล้วมาขึ้นในเพดาน ยอด 1 หรือ 3 ยอด 4 ยอด ครั้นได้ 2 เดือน 3 เดือน ก็
กลายออกมาขึ้นเหงือกและกรามทั้ง 2 ข้าง ให้เจ็บปวดมีพิษทั่วไป คือ ซาง
1. ซางโจร 2. ซางนิล
3. ซางไฟ 4. ซางม้า
36. พระคัมภีร์มุขโรคเป็นโรคที่เกิดในปากในคอ ท่านว่าเป็นเพราะอะไร
1. เป็นเพราะดี 2. เป็นเพราะลม 3. เป็นเพราะโลหิต 4. เป็นเพราะเสมหะ
37. โรคที่เกิดขึ้นตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์มุขโรคนั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร
1. โลหิต 2. ลม 3. น้ำเหลือง 4. เสมหะ
38. ข้อสำคัญของลำบองราหูอันบังเกิดใน 12 เดือน คือข้อใด
1. จับข้างขึ้นไม่ตาย 2. จับข้างแรมตาย
3. จับข้างขึ้นไม่ตายจับข้างแรมตาย 4. จับข้างขึ้นตายจับข้างแรมไม่ตาย
39. ไข้ชนิดใดที่เมื่อเป็นแล้ว มีอายุอยู่ได้เพียงวันเดียว
1. ไข้คด 2. ไข้คดและไข้แหงน 3. ไข้แหงน 4. ไม่มีข้อใดถูก
40. ไข้ใดกระทำพิษให้ร้อนเป็นที่สุดให้ร้อนเป็นเปลว จับเอาหัวอกดำ จมูกดำ หน้าสีดำเป็นด้าน ข้อใด
ถูกต้อง
1. ไข้สายฟ้าฟาด 2. ไข้ไฟเดือนห้า 3. ไข้ระบุชาด 4. ไข้เปลวไฟฟ้า
41. ไข้ที่มีอาการให้ปวดศีรษะ ตัวร้อนจัด นัยน์ตาแดง อาเจียน นอนไม่หลับ คือไข้อะไร
1. ไข้หวัดน้อย 2. ไข้หวัดใหญ่ 3. ไข้กำเดาน้อย 4. ไข้กำเดาใหญ่
42. ไข้ประเภทลายตามตัว มีอาการเพ้อละเมอไป ผู้อื่นพูดด้วยได้ยิน (หูอื้อ) จัดเป็นไข้ประเภทใด
1. ไข้เอกโทษ 2. ไข้ทุวันโทษ 3. ไข้ตรีโทษ 4. ไข้สันนิบาต
43. ไข้สำประชวร หมายถึงไข้เกิดเนื่องจากอะไร
1. อาการของไข้ที่แสดงออกทางผิวหนัง 5 ประการ
2. อาการของไข้ที่แสดงออกทางนัยน์ตา 5 ประการ
3. อาการของไข้ที่แสดงออกทางปาก 5 ประการ
4. ถูกหมดทุกข้อ
44. ไข้ออกหัด มีลักษณะการผุดอย่างไร
1. ผุดขึ้นมาเหมือนฝีดาษทั่วทั้งตัว 2. ผุดขึ้นมาเหมือนเม็ดข้าวสารหัก
3. ผุดขึ้นมาเหมือนเม็ดทรายทั่วทั้งตัว มียอดแหลมๆ 4. ผิดทุกข้อ
45. คนไข้สะท้านร้อนสะท้านหนาว ปวดศีรษะ ไอ จาม น้ำมูกตกมาก ตัวร้อน อาเจียน ปากแห้ง ปาก
เปรี้ยว ปากขม กินอาหารไม่ได้ แล้วแปรไปให้ไอมาก ทำพิษให้คอแห้ง ปากแห้ง ฟันแห้ง น้ำมูกแห้ง
ท่านเห็นว่าเขาป่วยเป็นอะไร
1. ไข้กำเดาน้อย 2. ไข้กำเดาใหญ่ 3. ไข้หวัดใหญ่ 4. ไข้สามฤดู
46. ถ้ามีคนไข้มีอาการหน้าผากตึง นัยน์ตาดูไม่รู้จักอะไรมองไม่เห็นแล้วกลับเห็น หูตึง แล้วกลับได้ยิน
จมูกไม่รู้กลิ่นแล้วกลับรู้ ลิ้นไม่รู้รสอาหารแล้วกลับรู้ กายไม่รู้สึกสัมผัสแล้วกลับรู้ มีอาการเปลี่ยนไป
1. สันตปปัคคี 2. ปริณาหัคคี 3. ชิรณัคคี 4. ปริทัยหัคคี
47. ที่กล่าวว่าไข้สำประชวรให้แพทย์สังเกตนัยน์ตาคนไข้นั้น ถ้าคนไข้มีนัยน์ตาแดงดังโลหิตและมีน้ำตา
คลอเบ้า เป็นไข้สำประชวรอะไร
1. ไข้เพื่อกำเดา 2. ไข้เพื่อโลหิต 3. ไข้เพื่อดี 4. ไข้เพื่อลม
48. ในการพิจารณาการรักษาไข้พิษไข้กาฬ มีข้อห้ามไว้อย่างไรบ้าง
1. ห้ามวางยารสร้อน รสเผ็ด รสเปรี้ยว
2. ห้ามเอาโลหิตออก ห้ามถูกน้ำมัน ห้ามถูกเหล้า ห้ามนวด
3. ห้ามประคบ ห้ากิน ห้ามอาบน้ำร้อน ห้ามรับประทานส้มมีผิวมีควัน กะทิ น้ำมัน
4. ถูกทุกข้อ
49. ในคิมหันตฤดู คือ เดือน 5 -6 -7 -8 ท่านกล่าวว่าเป็นไข้เพื่ออะไร
1. ไข้เพื่อลม 2. ไข้เพื่อโลหิต 3. ไข้เพื่อกำเดา 4. ไข้เพื่อเสมหะ
50. มีลักษณะผุดขึ้นมาดังยุงกัดทั้งตัว ทำพิษให้คันปวดแสบปวดร้อน ตามคัมภีร์ตักศิลาตรงตามข้อใด
1. ไข้ประดงแมว 2. ไข้ประดงลิง 3. ไข้ประดงมด 4. ผิดทุกข้อ
51. มีลักษณะผุดขึ้นมาเป็นหมู่เป็นริ้วคล้ายตัวปลิงทั่วกาย ขนาด 1 – 3 นิ้ว สีดำเหมือนดินหม้อ เป็นอาการ
ของไข้อะไร
1. ไข้รากสาดปานเขียว 2. ไข้รากสาดปานแดง
3. ไข้รากสาดพนันเมือง 4. ไข้รากสาดสามสหาย
52. เมื่อเวลาจับไข้ มีอาการจับตัวร้อนเป็นเปลว เท้าเย็นมือเย็น ให้เชื่อมมัว ไม่มีสติสมปฤดี ให้หอบ ให้
สะอึก จับตัวแข็งเหมือนท่อนไม้ ให้ลิ้นกระด้างคางแข็ง จับไม่เป็นเวลา ถ้าพระอาทิตย์ตกพิษก็คลาย
ลง เป็นลักษณะของไข้อะไร
1. ไข้จันทรสูตร 2. ไข้สุริยสูตร 3. ไข้เมฆสูตร 4. ถูกหมดทุกข้อ
53. ลักษณะการผุดของฝีกาฬ ผุดขึ้นมามีสัณฐานเรียวเล็กเท่าหวายตะคล้า ขนาด 1-2 นิ้ว ผุดขึ้นมาบั้นเอว
ก้นกบ ขาทั้งสองข้าง ในที่ลับ ท้องน้อย ราวข้างใต้รักแร้คืออาการของกาฬชนิดใด
1. กาฬแม่ตะงาว 2. กาฬฟองสมุทร 3. กาฬตะบองพะลำ 4. กาฬตะบองชนวน
54. ลักษณะไข้พิษไข้กาฬ จากคัมภีร์ตักศิลา ผุดเป็นแผ่นเท่าใบพุทรา ขึ้นทั้งตัวมีสีดำ อาการจับมือเย็นเท้า
เย็น ตัวร้อนเป็นเปลวเพลิง ตาแดงดังโลหิต ปวดศีรษะ ร้อนเป็นตอน เย็นเป็นตอนไม่เสมอกัน จับรุ่ง
จนเที่ยง เที่ยงจนค่ำ เป็นลักษณะอาการของไข้
1. ไข้อีดำ 2. ไข้ปานดำ 3. ไข้ปานแดง 4. ไข้ดานหิน
55. ลักษณะไข้มีอาการจับหนาวสะท้าน แสยงขน จุกแน่นในอก หายใจขัดไม่สะดวก เหงื่อตก
1. ทุวันโทษลม และเสมหะ 2. ทุวันโทษลม และกำเดา
3. ทุวันโทษกำเดา และโลหิต 4. ทุวันโทษกำเดา และเสมหะ
56. ลักษณะที่เรียกว่า เอกโทษ ทุวันโทษ และตรีโทษ มีอาการอย่างไร
1. เอกโทษ คือ ไข้ที่มีโทษอย่างเดียว 2. ทุวันโทษ คือ ไข้ที่มีสิ่งที่เกิดโทษรวมกัน 2 อย่าง
3. ตรีโทษ คือ ไข้ที่มีสิ่งให้โทษ 3 สถาน 4. ถูกทุกข้อ
57. ให้เชื่อมมัวไปไม่ได้สติ เอารังมดแดงเคาะกัดจนทั่วตัวยังไม่รู้สึก หมายถึง อะไร
1. ไข้กระด้านหิน 2. ไข้ดานหิน 3. ไข้กระโดงน้ำ 4. ไข้กระโดงแกลบ
58. การพิเคราะห์ลักษณะประเภทไข้ อาการให้หนาว ให้ร้อน แสยงขน จุกอก ให้หลับใหล กินไม่ได้
อ่อนแรง ฝ่ามือ ฝ่าเท้าซีดเผือด ให้ปากหวาน ให้ราก เป็นไข้ เพื่ออะไร
1. ไข้เพื่อเสมหะเอกโทษ 2. ไข้เพื่อกำเดาเอกโทษ
3. ไข้เพื่อโลหิตเอกโทษ 4. ไข้เพื่อลมเอกโทษ
59. ข้อใดมิใช่สมุฏฐาน 3 ประการ ที่เป็นสาเหตุของสันนิบาต
1. ปิตตะ 2. วาตะ 3. เสมหะ 4. โลหิต
60. ไข้ที่เกิดจากเสมหะมีกำลังกี่วัน
1. 7 วัน 2. 10 วัน 3. 12 วัน 4. 15 วัน
61. คนไข้ผิวเนื้อขาว มีโลหิตรสใด และควรใช้ยารสใด ตามการพิเคราะห์ใช้ยารักษาโรคตามโลหิตฉวี
1. โลหิตรสหวาน ใช้ยารสเผ็ด ร้อน ขม 2. โลหิตรสหวาน ใช้ยารสหวาน
3. โลหิตรสเปรี้ยว ใช้ยารสเค็ม 4. โลหิตรสเค็มและเย็นมาก ใช้ยารสหวาน
62. คนไข้มีผิวเนื้อขาวเหลือง ควรใช้ยารสอะไร
1. ยารสหวาน 2. ยารสเปรี้ยว 3. ยารสเค็ม 4. ยารสขม
63. คนไข้มีอาการหนังสากชาไปทั้งตัว แม้แมลงวันจะจับหรือไต่ที่ตัวก็ไม่รู้สึก ให้แสบร้อนเป็นกำลัง
สาเหตุอะไรพิการ
1. เนื้อพิการ 2. หนังพิการ 3. ผมพิการ 4. เอ็นพิการ
64. คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ ฤดู 3 ให้ธาตุพิการ คิมหันตฤดู เตโชธาตุพิการ โลหิตเป็นต้นไข้ ให้โทษ
นานาประการ ตั้งแต่เมื่อใด
1. แรม 1 ค่ำ เดือน 4 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 2. แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
3. แรม 1 ค่ำ เดือน 12 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 4. แรม 1 ค่ำ เดือน 5 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
65. ตามคัมภีร์ธาตุวิภังค์กล่าวถึงธาตุเมื่อจะสิ้นอายุ ธาตุน้ำขาดไปตามลำดับจนเหลืออยู่ 1 อย่าง คืออะไร
1. น้ำเลือด 2. น้ำดี 3. น้ำมูก 4. น้ำตา
66. โทษหนึ่ง ให้วิงเวียนหน้าตา จะลุกขึ้นให้หาวเรอ ให้ขัดอก และเสียดสีข้าง ให้เจ็บหลัง เจ็บเอวให้ไอ
เสมหะขึ้นคอ ร้อนคอ ร้อนท้องน้อย เรอ ตกเลือด ตกหนอง เหตุเพราะอะไรพิการ
1. พังผืดพิการ 2. ปอดพิการ 3. ลำไส้ใหญ่พิการ 4. ม้ามพิการ
67. ในพระคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัยนั้น เราเริ่มนับฤดูฝนจากเวลาใดไปจนถึงเวลาใด
1. เดือนกรกฎาคม ถึง เดือน ตุลาคม 2. เดือนสิงหาคม ถึง เดือนตุลาคม
3. แรม 1 ค่ำ เดือน 4 ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 4. แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
68. ในฤดู 6 คิมหันตฤดู แบ่งออกดังนี้ ข้อใดที่ไม่ใช่
1. พัทธปิตตะ 2. อพัทธปิตตะ 3. กำเดา 4. หทัยวาตะ
69. ปถวีธาตุพิการ อาการให้คลุ้มคลั่งดุจเป็นบ้า หาแรงมิได้ ถ้ามิฉะนั้นให้หิวโหย ให้ทุรนทุราย ยิ่งนัก
เหตุเพราะอะไรพิการ
1. เป็นเพราะเนื้อพิการ 2. เป็นเพราะเอ็นพิการ
3. เป็นหฤทัยพิการ 4. เป็นเพราะไตพิการ
70. พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงประเทศสมุฏฐานนั้น แบ่งประเทศที่เกิดออกเป็นกี่ประการ
1. 2 ประการ 2. 3 ประการ 3. 4 ประการ 4. 5 ประการ
71. พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงผิวกาย รสโลหิตและรสยารักษานั้น ถ้าคนไข้เป็นคนผิวขาวเหลือง
โลหิตเปรี้ยว จะประกอบยารสอะไรรักษาจึงจะหายเร็ว
1. รสเค็ม 2. รสหวาน 3. ทุกรสเว้นรสเค็ม 4. รสเผ็ดร้อนและขม
72. พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงลักษณะอาการของทุวันโทษนั้น ถ้ามีอาการ “เป็นไข้ ปากขม ตัวสั่น พูด
พร่ำเพ้อ ให้หนาวๆ ร้อนๆ และไอ” เป็นเหตุอะไร
1. เสมหะ กับวาตะ 2. เสมหะ กับปิตตะ 3. ปิตตะ กับวาตะ 4. ปิตตะ กับโลหิต
73. พัทธปิตตะ หมายถึงอะไร
1. ดีนอกฝัก 2. กำเดา 3. ดีในฝัก 4. ถุงน้ำดี
74. มูลเหตุให้โทษทำให้ เกิดโรคต่างๆ มีกี่ประการ ตามคัมภีร์ธาตุวิวรณ์
1. 4 ประการ 2. 6 ประการ 3. 8 ประการ 4. 10 ประการ
75. ลมกองใดที่พัดอยู่ในลำไส้และในท้อง
1. ลมอุทธังคมาวาตา 2. ลมอโธคมาวาตา
3. ลมกุจฉิสยาวาตา 4. ลมโกฏฐาสยาวาตา
76. วาโยธาตุสมุฏฐานพิการ พระอาทิตย์สถิตในราศีใด
1. มังกร 2. กุมภ์ 3. มีน 4. กรกฎ
77. สะระทะฤดู เป็นพิกัดวาตะสมุฏฐาน มีอะไรระคนให้เป็นเหตุ
1. ปิตตะสมุฏฐาน 2. วาตะสมุฎฐาน
3. เสมหะสมุฏฐาน 4. สันนิปาตะสมุฏฐาน
78. สาเหตุของการตายโดยปัจจุบันโรคตามพระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ คือข้อใด
1. อหิวาตกโรค 2. ธาตุทั้ง 4 ขาดไป
3. ถูกทุบถองให้บอบช้ำ 4. ถูกราชอาญาให้ประหารชีวิต
79. อาการดังนี้เป็นอาการข้อใด มักให้เป็นบ้า ถ้ายังอ่อนอยู่ให้คุ้มดี คุ้มร้าย มักขึ้งโกรธ บางทีให้
ระส่ำระ