Siripat Thai-Med Online School
  • Home
  • หลักสูตร
    • แพทย์แผนไทย >
      • เภสัชกรรมไทย >
        • เภสัชวัตถุ >
          • สมุนไพร ป่าชายเลน
        • สรรพคุณเภสัช
        • คณาเภสัช
        • หลักเภสัชกรรมไทย >
          • ตัวยาอันตราย
          • การสะตุ ประสะ ฆ่าฤทธิ์ตัวยา
          • ยาสามัญประจำบ้าน
        • แนวข้อสอบ เภสัชกรรมไทย
      • เวชกรรมไทย >
        • พระคัมภีร์ ฉันทศาสตร์
        • พระคัมภีร์ ปฐมจินดา
        • ตำรายา
        • แนวข้อสอบเวชกรรมไทย
      • ผดุงครรภ์ไทย >
        • แม๋ซื้อ
        • ห่วงเต้า
      • การนวดไทย >
        • กายวิภาคศาสตร์
        • การนวดราชสำนัก
        • ท่าบริหารฤาษีดัดตน
        • ท่าบริหารโยคะ
        • การหายใจบำบัดโรค
        • การนวดย่ำขาง
        • การนวดรักษา
        • แนวข้อสอบการนวดไทย
      • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง >
        • เฉลยข้อสอบ พ.ร.บ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.$
        • พ.ร.บ การประกอบโรคศิลปะ >
          • แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒
        • พ.ร.บ สถานพยาบาล >
          • แนวข้อสอบ พ.ร.บ สถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑
        • พ.ร.บ ยา >
          • ประกาศยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ พ.ศ. ๒๕๕๖
          • แนวข้อสอบ พ.ร.บ ยา พ.ศ. ๒๕๑๐
    • การแพทย์ทางเลือก >
      • การนวดจัดกระดูก
      • นวดไทยเพื่อสุขภาพ
      • กดจุดสะท้อนฝ่าเท้า
      • กวาซา
    • ประกาศผลสอบ แพทย์แผนไทย ประจำปี ๒๕๕๔
    • งานวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย
  • ประวัติปู่ชีวกโกมารภัจจ์/โรงเรียน
    • ประวัติ อ.ประสิทธิ์/พิธีไหว้ครู
    • ข้อมูลหลักสูตร >
      • ระเบียบการสมัครเรียน/สอบ
    • ทำเนียบครูแพทย์แผนไทย
    • ทำเนียบนักเรียน
    • เพลงแพทย์แผนไทย
  • สิริภัจจ์ สหคลินิก
    • กายภาพบำบัด
    • ยาแผนไทย
    • สมุนไพรบำบัด >
      • โรคสะเก็ดเงิน
    • นวดบำบัด
    • นวดจัดกระดูก
  • แผนที่โรงเรียน/คลินิก
  • ปรึกษาแพทย์ ฟรี
  • มารู้จัก มะเร็ง(โรคสาร) กันเถอะ
    • ตำหรับยา รักษามะเร็ง
    • ยารักษามะเร็ง/โจ๊กดอกไม้
  • ตำรายารักษาโรคต่างๆ
    • ยาแก้ไฟใหม้ -น้ำร้อนลวก
    • ยาแก้ งูสวัด เริม ไฟลามทุ่ง
    • ยารักษา โรคความดันโลหิตสูง
    • ยารักษาโรคไซนัสอักเสบและริดสีดวงจมูก
    • ยาแก้ไอ
    • ยาแก้ปวดหู
    • ยารักษาไข้หวัด
    • ยารักษาโรคตา
  • เครื่องมือทดสอบคุณภาพยาสมุนไพร
โรงเรียนสิริภัจจ์ การแพทย์แผนไทย อ.ประสิทธิ์ คงทรัพย์
                          การรับสมัครบุคคลเพื่อขอสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็น

                                     ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย


 

1.คุณสมบัติและความรู้ในวิชาชีพของผู้มีสิทธิขอขึ้นทะเบียน

            ผู้มีสิทธิขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 ดังนี้

                        1.1.1.มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์

                        1.1.2.เป็นผู้มีความรู้ในวิชาชีพตามาตรา 33(1)

                        1.1.3.ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสียหายซึ่งคณะกรรมการวิชาชีพเห็นว่าอาจจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติแห่งวิชาชีพ

                        1.1.4.ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่คณะกรรมการวิชาชีพเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติแห่งวิชาชีพ

                        1.1.5.ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ

                        1.1.6.ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพหรือเป็นโรคที่คณะกรรมการวิชาชีพเห็นว่าไม่สมควรให้ประกอบโรคศิลปะ

                        1.1.7.ไม่เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

            1.2.ผู้มีสิทธิขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ต้องมีคุณสมบัติ ตามมาตรา 32 และต้องมีความรู้ในวิชาชีพตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542

2.การยื่นใบมอบตัวศิษย์

            การยื่นใบมอบตัวศิษย์สาขาการแพทย์แผนไทย ตามข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2479 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตามมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 กำหนดให้ผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาชาการแพทย์แผนไทยประเภทต่าง ต้องยื่นใบมอบตัวศิษย์ เพื่อแสดงว่าได้เข้ารับการอบรมศึกษาสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยไว้กับครู

            2.1.สำหรับผู้มีภูมิลำเนาในส่วนภูมิภาค ให้ยื่นใบมอบตัวศิษย์ดังนี้

                        2.1.1.ใบมอบตัวศิษย์แต่ละสาขาๆละ 1 ฉบับ ติดภาพถ่ายที่มุมล่างขวามือของใบมอบตัวศิษย์

(รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว สาขาละ 1รูป) ห้ามใช้รูปถ่ายชนิดโพาลารอยด์

            2.1.2.ภาพถ่ายทะเบียนบ้านของครูผู้ให้การอบรม(รับรองสำเนาด้วย)

                        2.1.3.ภาพถ่ายทะเบียนบ้านของศิษย์(รับรองสำเนาด้วย)

2.1.4.ภาพถ่ายหนังสือรับรองของครูที่ได้ผ่านการอบรมสัมมนาเพื่อพัฒนาแนวการสอนของครูผู้รับมอบตัวศิษย์(รับรองสำเนาด้วย)

ให้ยื่นใบมอบตัวศิษย์และเอกสารตามข้อ 2.1.1.-2.1.4. ในเขตที่ผู้มอบตัวศิษย์มีภูมิลำเนาอยู่

(ต้องมีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน  ครูและศิษย์ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดเดียวกันหรือเขตการสอบเดียวกัน)

2.2.ก่อนที่จะนำใบมอบตัวศิษย์และเอกสารตามข้อ 21..1-2.1.4 ไปยื่นต่อ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค)  ครูผู้ให้การอบรมศึกษาและศิษย์ ต้องกรอกรายละเอียดในใบมอบตัวศิษย์ให้เรียบร้อยและครบถ้วนลงนามผู้ขอและลงนามครูผู้ให้การอบรม

-          ครูผู้ประกอบโรคศิลปะประเภทเวชกรรมไทย      มีสิทธิรับรองการอบรมได้ทั้งประเภทเวชกรรมไทยและเภสัชกรรมไทย

-          ครูผู้ประกอบโรคศิลปะประเภทเภสัชกรรมไทย หรือประเภทการผดุงครรภ์ไทย จะรับรอง

การอบรมได้เฉพาะสาขาที่ตนได้รับใบประกอบโรคศิลปะเท่านั้น

3.ระยะเวลาการอบรม

(1)   ประเภทเวชกรรมไทย ต้องเป็นผู้ได้รับการอบรมศึกษาเป็นเวลาสืบเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปี จาก

ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย เวชกรรมไทย

(2)   ประเภทเภสัชกรรมไทย ต้องเป็นผู้ได้รับการอบรมศึกษาเป็นเวลาสืบเนื่องไม่น้อยกว่า ๒  ปี จาก

ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย เวชกรรมไทยหรือเภสัชกรรมไทย

(3)   ประเภทผดุงครรภ์ไทย ต้องเป็นผู้ได้รับการอบรมศึกษาเป็นเวลาสืบเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี จาก

ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทผดุงครรภ์ไทย

(4) ประเภทการนวดไทย   ต้องเป็นผู้ได้รับการอบรมศึกษาเป็นเวลาสืบเนื่องไม่น้อยกว่า  ๒ ปี จากผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประเภท การนวดไทย

ทั้งนี้การยื่นเอกสารใบมอบตัวศิษย์แก่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

ต้องไม่เกินเดือนธันวาคม ของปีที่ทำการเรียน

4.การสอบขึ้นทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย

          บุคคลที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ จะต้องยื่นใบมอบตัวศิษย์ครบกำหนดระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้

-          ประเภทเวชกรรมไทย      ต้องยื่นใบมอบตัวศิษย์ไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วัน  ยื่นคำขอใบมอบตัวศิษย์

-          ประเภทเภสัชกรรมไทย    ต้องยื่นใบมอบตัวศิษย์ไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วัน   ยื่นคำขอใบมอบตัวศิษย์

-          ประเภทผดุงครรภ์ไทย    ต้องยื่นใบมอบตัวศิษย์ไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วัน   ยื่นคำขอใบมอบตัวศิษย์

-           ประเภทการนวดไทย       ต้องยื่นใบมอบตัวศิษย์ไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า  2 ปีนับแต่วัน ยื่นคำขอใบมอบต้วศิษย์ 

การสอบขึ้นทะเบียนแบ่งเป็น 12 เขต

เขต

สนามสอบ

จังหวัดที่เข้าสอบ

1

กรุงเทพมหานคร *

กรุงเทพฯ  นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สมุทรปราการ

2

ลพบุรี *

ลพบุรี  ชัยนาท  สิงห์บุรี  สระบุรี  นครนายก  สุพรรณบุรี

3

ชลบุรี *

ชลบุรี  ฉะเชิงเทรา  จันทบุรี  ตราด  ปราจีนบุรี  ระยอง  สระแก้ว 

4

นครปฐม *

นครปฐม  กาญจนบุรี  ประจวบคีรีขันธ์  เพชรบุรี   ราชบุรี  สมุทรสงคราม   สมุทรสาคร

5

นครราชสีมา *

นครราชสีมา  ชัยภูมิ  บุรีรัมย์  สุรินทร์  มหาสารคาม

6

ขอนแก่น *

ขอนแก่น  กาฬสินธุ์  เลย  สกลนคร  อุดรธานี  หนองคาย  หนองบัวลำภู

7

อุบลราชธานี *

อุบลราชธานี  ศรีสะเกษ  ยโสธร ร้อยเอ็ด นครพนม อำนาจเจริญ มุกดาหาร

8

นครสวรรค์ *

นครสวรรค์  ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร  อุทัยธานี

9

พิษณุโลก *

พิษณุโลก พิจิตร  เพชรบูรณ์  แพร่ อุตรดิตถ์  น่าน

10

เชียงใหม่ *

เชียงใหม่ เชียงราย  พะเยา ลำปาง ลำพูน  แม่ฮ่องสอน

11

นครศรีธรรมราช *

นครศรีธรรมราช สุราษฎ์ธานี ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่

12

สงขลา *

สงขลา ตรัง นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สตูล

* คือตัวแทนเป็นหน่วยประสานงานจังหวัดภายในแต่ละเขต

หมายเหตุ         การสอบอาจมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่สอบ ตามความเหมาะสม

5.การสมัครสอบ

            5.1.เมื่อผู้ยื่นใบมอบตัวศิษย์ได้ยื่นใบมอบตัวศิษย์จนครบกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว จึงจะมีสิทธิยื่นคำขอสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะโดยจะต้องยื่นหลักฐานต่างๆ

ดังนี้

                        5.1.1.กรอกรายละเอียดในคำขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาละ 1 ฉบับ และลงลายมือชื่อผู้ขอฯ(ตามแบบ ร.ศ.1)

                        5.1.2.ใบรับรองแพทย์ครบ 7โรค  คือ(อยู่ด้านหลังแบบ ร.ศ.1)

-          โรคเรื้อน

-          วัณโรคระยะอันตราย

-          โรคติดยาเสพติดให้โทษ

-          โรคพิษสุราเรื้อรัง

-          โรคจิตต่างๆ

-          โรคคุดทะราดหรือโรคผิวหนังอันเป็นที่น่ารังเกียจ

-          กามโรคระยะที่ 2 หมายถึงระยะที่มีผื่นแผลตามผิวหนัง

5.1.3.ใบรับรองความประพฤติ ที่รับรองโดยข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป หรือนายทหารหรือ

นายตำรวจชั้นสัญญาบัตรขึ้นไป หรือที่ผู้อำนวยการกองประกอบโรคศิลปะเห็นสมควร

                        5.1.4.ภาพถ่ายทะเบียนบ้าน(ต้องรับรองสำเนาด้วย) สาขาละ 1ฉบับ

            5.1.5.ภาพถ่ายขนาด 2 นิ้ว( 4*5 เซนติเมตร) หน้าตรง ท่าปกติ ไม่สวมหมวกหรือแว่นตา ถ่ายไว้

ไม่เกิน 6 เดือน สาขาละ 3 ภาพ และห้ามใช้รูปถ่ายชนิดโพลารอยด์ + 2 ภาพ ไว้ติดบัตรสอบ(รวม 5 ภาพ)

                        5.1.6.ภาพถ่ายใบรับมอบตัวศิษย์แต่ละสาขา(รับรองสำเนาด้วย)

                        5.1.7.ใบรายงานแสดงความรู้ความชำนาญ

                        5.1.8.ใบรายงานแสดงคนไข้ฯ(ประเภทเวชกรรมไทยและประเภทผดุงครรภ์ไทย)

                        5.1.9.ใบรายงานแสดงการปรุงหรือทำยาฯ(ประเภทเภสัชกรรมไทย)

                        5.1.10.ต้องยื่นคำขอภายในเดือนธันวาคมของทุกปี

                        5.1.11.ให้ผู้เข้าสอบส่งซองเปล่าติดแสตมป์ราคา 3 บาท พร้อมจ่าหน้าซองถึงตัวเอง ตามที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ ส่งให้กองประกอบโรคศิลปะจำนวน 3ซอง พร้อมคำขอสอบ เพื่อความสะดวกในการติดต่อในกรณีที่ผู้ขอสมัครสอบ ส่งหลักฐานบกพร่องหรือผู้สมัครสอบสามารถสอบได้

            5.2.การยื่นขอสอบแก้ตัวภาคทฤษฎี

ถ้าผู้ที่เคยสอบความรู้มาแล้วแต่สอบไม่ผ่านในการสอบแต่ละครั้ง ประสงค์จะสอบแก้

ตัว ให้ยื่นหลักฐานตามข้อ 5.1.1- 5.1.7 และ5.1.11

            5.3.การยื่นขอสอบแก้ตัวภาคปฏิบัติ

                        ผู้ที่สอบผ่านความรู้ภาคทฤษฎีแล้ว จะมีสิทธิสอบภาคปฏิบัติได้ไม่เกิน 3 ครั้งติดต่อกัน นับแต่ปีที่สอบผ่านความรู้ภาคทฤษฎี การสอบแก้ตัวให้ยื่นหลักฐานตามข้อ 5.1.1.-5.1.7 และ 5.1.11               

            5.4.การยื่นคำขอสอบ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จะต้องยื่นคำขอสอบภายในเดือนธันวาคมของทุกปี โดยจะถือวันลงรับในส่วนภูมิภาคที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำหรับส่วนกลางให้ยื่นที่กองประกอบโรคศิลปะ

            5.5.ผู้ไม่มีสิทธิเข้าสอบ คือ

                                    5.5.1.ผู้ที่ไม่ได้ยื่นใบมอบตัวศิษย์

                                    5.5.2.ผู้ที่ใบมอบตัวศิษย์ไม่ครบกำหนด

                                    5.5.3.ผู้ที่ไม่มีชื่อในบัญชีเข้าสอบ

                                    5.5.4.ผู้ที่เป็นนักพรต นักบวช หรือแม่ชี

6.ข้อปฏิบัติอื่นๆ

                        6.1.การยื่นคำขอขึ้นทะเบียนส่วนภูมิภาค ยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่(มีชื่อในทะเบียนบ้าน)

                        6.2.ผู้ที่ยื่นใบมอบตัวศิษย์ไว้จนครบระยะเวลาการอบรมศึกษา หรือผู้ที่เคยสอบความรู้มาแล้วแต่สอบไม่ได้ หากย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ ณ จังหวัดใด และประสงค์จะสอบความรู้หรือขอสอบแก้ตัวให้ยื่นหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่ตามรายละเอียดในข้อ 2 และ 3 แล้วแต่กรณี โดยหมายเหตุท้ายคำขอขึ้นทะเบียนว่า เคยยื่นใบมอบตัวศิษย์ไว้ ณ จังหวัดใด และปี พ.ศ.ใดด้วย

                        6.3.อำเภอหรือจังหวัดที่ได้รับคำขอสอบความรู้จะต้องเรียกเก็บเงิน ค่าสอบความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย ต่อสาขาคนละ  500 บาท และค่าคู่มือสอบ 20 บาท

                        6.4.ถ้ายื่นคำขอสอบแก้ตัวภาคปฏิบัติ ให้ยื่นระบุบนคำขอว่า(สอบแก้ตัวภาคปฏิบัติ)และต้องยื่นภายในเดือนธันวาคมของทุกปีด้วย

                        6.5.ผู้เข้าสอบจะต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัตินี้โดยถูกต้องครบถ้วย จึงจะอนุมัติให้มีชื่อในบัญชีในบัญชีรายชื่อผู้เข้าสอบ

การดำเนินการในส่วนสาธารณสุขอำเภอ             1.การยื่นมอบตัวศิษย์   ตรวจสอบเอกสารในการยื่นมอบตัวศิษย์ ตามข้อ 2.1.1-2.1.4 ทั้งนี้ข้อสำคัญในการรับมอบตัวศิษย์คือ

1)ตรวจดูสำเนาทะเบียนบ้านว่าอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนหรือไม่

ไม่อยู่                                                                 อยู่

 ไม่รับเรื่อง                                                          รับเรื่อง แนะนำให้ให้ไปยื่น ณ จังหวัดที่มีสำเนาทะเบียนบ้านนั้นๆอยู่อยู่

                        2) ตรวจดูภูมิลำเนาของอาจารย์ที่รับมอบตัวศิษย์ ต้องมีคุณสมบัติครบ คือ

                                     - ภูมิลำเนาอาจารย์ อยู่ในเขตเดียวกัน

เชียงใหม่ เชียงราย  พะเยา ลำปาง ลำพูน  แม่ฮ่องสอน

-          ต้องมีใบประกอบโรคศิลปะ

ถ้าสาขาเวชกรรม รับศิษย์ได้ทั้งเวชกรรมและเภสัชกรรม

      ถ้าสาขาเภสัชกรรม รับศิษย์ได้เฉพาะเภสัชกรรม

      ถ้าผดุงครรภ์            รับศิษย์ได้เฉพาะผดุงครรภ์

-          ต้องมีใบแจ้งผ่านการอบรมครู

หมายเหตุ         ต้องมีครบทั้งสามข้อ จึงจะถือว่าอาจารย์มีคุณสมบัติครบ

2.เอกสารที่ยื่นให้ผู้ขอมอบตัวศิษย์ยื่นเอกสาร 4 ชุด

-          ลงรับที่ สสอ.  และเก็บไว้ 1 ชุด

-          ส่งให้ สสจ. 2 ชุด(ตัวจริง)

-          ส่งคืนผู้มอบตัวศิษย์ 1 ชุด

3.ลงสมุดผู้มอบตัวศิษย์(สีเหลือง) กรอกข้อมูลให้เรียบร้อยและให้คำแนะนำ

            

สมัคร เรียนติดต่อ       siripatclinic@gmail.com     โทร. 089=2867225 /081-8556590/087-1639644 

สมัครเรียนติดต่อ siripatclinic@gmail.com โทร.087-1639644,