เบญจมาศน้ำเค็ม
ชื่อพฤกษศาสตร์: Wedelia biflora (L.) DC.
ชื่อพื้นเมือง: เบญจมาศน้ำเค็ม
ชื่อท้องถิ่น: ผักคราดทะเล
วงศ์ ASTERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ยาวประมาณ 1 - 5 เมตร ราก มีรากฝอยแตกออกตามข้อรอบ ลำต้นที่สัมผัสดินชื้น ลำต้น ไม้เนื้ออ่อน ลำต้นเล็กเรียว มีกิ่งมาก มักแผ่ทอดยอดคลุมพื้นดิน กิ่ง ใบ และช่อดอก มีขนสั้นสีขาว สากมือ ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่แกมรูปขอบขนานถึงรูปหอก ขนาด 2 - 3.5 X 4.5 - 8 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบหยักคล้าย ฟันเลื่อย ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน เส้นใบเด่นชัด 3 เส้นจากโคนใบ ก้านใบยาว 1 - 2 เซนติเมตร ดอก สมบูรณ์เพศ ช่อแบบกระจุกแน่น เบียดชิดกันแน่นคล้ายดอกเดี่ยว บนปลายก้านช่อตามง่ามใบ ใกล้ยอด และเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 1 - 7 เซนติเมตร ดอกเล็กมากเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 - 2 เซนติเมตร สีเหลือง ผล ผลแห้งรูปไข่กลับ ยาว 0.1 - 0.3 เซนติเมตร
ลักษณะเด่น ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ทอดยอดคลุมพื้นดิน ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน กลีบดอกสีเหลือง
นิเวศวิทยา มักขึ้นอยู่รวมกัน พบได้ทั่วไปตามพื้นที่ป่าชายเลนที่ชื้นแฉะอยู่เสมอ ออกดอกเดือนกรกฎาคม - กันยายน
ประโยชน์ ต้นต้มน้ำกินแก้ปวดหัว และเป็นไข้มาลาเรีย ใบ ใช้บดเป็นยาพอกที่ท้องหญิงคลอดบุตร รักษารอยปริตามผิวหนัง แก้หน้าท้องลาย และใช้พอกตามรอยด่าง แก้ผิวหนังด่าง แผลที่ถูกของมีคมบาด และแก้เส้นเลือดขอด น้ำที่คั้นจากใบนำมาผสมกับนมวัวดื่ม เป็นยาบำรุงหลังคลอดบุตร มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ ดอก เป็นยาถ่ายอย่างแรง ราก ต้มเป็นยาซับระดู ขับปัสสาวะ เป็นยารักษากามโรคชนิดหนองใน และนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
ชื่อพฤกษศาสตร์: Wedelia biflora (L.) DC.
ชื่อพื้นเมือง: เบญจมาศน้ำเค็ม
ชื่อท้องถิ่น: ผักคราดทะเล
วงศ์ ASTERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ยาวประมาณ 1 - 5 เมตร ราก มีรากฝอยแตกออกตามข้อรอบ ลำต้นที่สัมผัสดินชื้น ลำต้น ไม้เนื้ออ่อน ลำต้นเล็กเรียว มีกิ่งมาก มักแผ่ทอดยอดคลุมพื้นดิน กิ่ง ใบ และช่อดอก มีขนสั้นสีขาว สากมือ ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่แกมรูปขอบขนานถึงรูปหอก ขนาด 2 - 3.5 X 4.5 - 8 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบหยักคล้าย ฟันเลื่อย ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน เส้นใบเด่นชัด 3 เส้นจากโคนใบ ก้านใบยาว 1 - 2 เซนติเมตร ดอก สมบูรณ์เพศ ช่อแบบกระจุกแน่น เบียดชิดกันแน่นคล้ายดอกเดี่ยว บนปลายก้านช่อตามง่ามใบ ใกล้ยอด และเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 1 - 7 เซนติเมตร ดอกเล็กมากเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 - 2 เซนติเมตร สีเหลือง ผล ผลแห้งรูปไข่กลับ ยาว 0.1 - 0.3 เซนติเมตร
ลักษณะเด่น ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ทอดยอดคลุมพื้นดิน ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน กลีบดอกสีเหลือง
นิเวศวิทยา มักขึ้นอยู่รวมกัน พบได้ทั่วไปตามพื้นที่ป่าชายเลนที่ชื้นแฉะอยู่เสมอ ออกดอกเดือนกรกฎาคม - กันยายน
ประโยชน์ ต้นต้มน้ำกินแก้ปวดหัว และเป็นไข้มาลาเรีย ใบ ใช้บดเป็นยาพอกที่ท้องหญิงคลอดบุตร รักษารอยปริตามผิวหนัง แก้หน้าท้องลาย และใช้พอกตามรอยด่าง แก้ผิวหนังด่าง แผลที่ถูกของมีคมบาด และแก้เส้นเลือดขอด น้ำที่คั้นจากใบนำมาผสมกับนมวัวดื่ม เป็นยาบำรุงหลังคลอดบุตร มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ ดอก เป็นยาถ่ายอย่างแรง ราก ต้มเป็นยาซับระดู ขับปัสสาวะ เป็นยารักษากามโรคชนิดหนองใน และนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
ปรงทะเล
ชื่อพฤกษศาสตร์: Acrostichum aureum L.
ชื่อพื้นเมือง: ปรงทะเล
ชื่อท้องถิ่น: ปรงไข่
วงศ์ PTERIDACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พื้นล่าง สูง 1 – 3 เมตร พืชพวกเฟิน สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ ราก ระบบรากฝอย บริเวณโคนต้นมีรากค้ำยัน ลำต้น เป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ชูส่วนของใบขึ้นมาเป็นกอ เหง้ามีเกล็ดใหญ่สีน้ำตาลคล้ำ ใบ ลักษณะใบยาว ใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบรูปใบหอก ขนาด 30 - 60 X 60 - 180 เซนติเมตร ก้านใบมีหนามแข็งสั้นๆ ใบย่อยรูปขอบขนานแคบ หรือรูป ใบหอก ขอบเรียบ ขนาด 4 - 8 X 30 - 50 เซนติเมตร มี 15 - 30 คู่ เรียงสลับ ผิวเรียบเป็นมัน ใบที่ไม่สร้างสปอร์ ปลายใบกลม ถึงหยักเว้า และมีติ่งหนามสั้นๆ ฐานใบรูปลิ่มถึงมนกลม สองข้างไม่เท่ากัน เส้นกลางใบนูนเด่น เส้นใบสานกันเป็นร่างแห ก้านใบย่อยสั้น ใบย่อยที่สร้างสปอร์อยู่ตอนปลายกิ่ง มีขนาดเล็กกว่าใบย่อยที่ไม่สร้างสปอร์ซึ่งอยู่ทางด้านโคนใบ กลุ่มของ อับสปอร์เรียงตัวชิดกัน เต็มพื้นที่ด้านล่างของแผ่นใบย่อยที่ปลายยอด สีน้ำตาล
ลักษณะเด่น ใบยาว ใบประกอบยาวได้ถึง 3 เมตร ปลายใบกลม หรือ ตัด มีติ่งหนาม
นิเวศวิทยา มักขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ลุ่มชื้นแฉะ ด้านหลังป่าชายเลน หรือ พื้นที่ป่าชายเลนที่ถูกทำลาย ชายคลอง บริเวณดินเลน
ประโยชน์ ยางจากต้นใช้ทาแผล หรือ ฝีเพื่อดูดหนอง และดับพิษ หัวฝนผสมน้ำข้าวสารทาแก้เริม ต้มพอกแผลที่มีอาการบวมฟกช้ำดำเขียว หัวปรงกับหัวว่าวและหัวจากตำเข้าด้วยกัน ใส่น้ำ ใช้ทาแผลแก้เริม งูสวัด ใบอ่อนสีแดงใช้เป็นอาหาร
ชื่อพฤกษศาสตร์: Acrostichum aureum L.
ชื่อพื้นเมือง: ปรงทะเล
ชื่อท้องถิ่น: ปรงไข่
วงศ์ PTERIDACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พื้นล่าง สูง 1 – 3 เมตร พืชพวกเฟิน สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ ราก ระบบรากฝอย บริเวณโคนต้นมีรากค้ำยัน ลำต้น เป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ชูส่วนของใบขึ้นมาเป็นกอ เหง้ามีเกล็ดใหญ่สีน้ำตาลคล้ำ ใบ ลักษณะใบยาว ใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบรูปใบหอก ขนาด 30 - 60 X 60 - 180 เซนติเมตร ก้านใบมีหนามแข็งสั้นๆ ใบย่อยรูปขอบขนานแคบ หรือรูป ใบหอก ขอบเรียบ ขนาด 4 - 8 X 30 - 50 เซนติเมตร มี 15 - 30 คู่ เรียงสลับ ผิวเรียบเป็นมัน ใบที่ไม่สร้างสปอร์ ปลายใบกลม ถึงหยักเว้า และมีติ่งหนามสั้นๆ ฐานใบรูปลิ่มถึงมนกลม สองข้างไม่เท่ากัน เส้นกลางใบนูนเด่น เส้นใบสานกันเป็นร่างแห ก้านใบย่อยสั้น ใบย่อยที่สร้างสปอร์อยู่ตอนปลายกิ่ง มีขนาดเล็กกว่าใบย่อยที่ไม่สร้างสปอร์ซึ่งอยู่ทางด้านโคนใบ กลุ่มของ อับสปอร์เรียงตัวชิดกัน เต็มพื้นที่ด้านล่างของแผ่นใบย่อยที่ปลายยอด สีน้ำตาล
ลักษณะเด่น ใบยาว ใบประกอบยาวได้ถึง 3 เมตร ปลายใบกลม หรือ ตัด มีติ่งหนาม
นิเวศวิทยา มักขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ลุ่มชื้นแฉะ ด้านหลังป่าชายเลน หรือ พื้นที่ป่าชายเลนที่ถูกทำลาย ชายคลอง บริเวณดินเลน
ประโยชน์ ยางจากต้นใช้ทาแผล หรือ ฝีเพื่อดูดหนอง และดับพิษ หัวฝนผสมน้ำข้าวสารทาแก้เริม ต้มพอกแผลที่มีอาการบวมฟกช้ำดำเขียว หัวปรงกับหัวว่าวและหัวจากตำเข้าด้วยกัน ใส่น้ำ ใช้ทาแผลแก้เริม งูสวัด ใบอ่อนสีแดงใช้เป็นอาหาร
ปรงหนู
ชื่อพฤกษศาสตร์: Acrostichum speciosum Willd.
ชื่อพื้นเมือง: ปรงหนู
ชื่อท้องถิ่น: ปรงหนู
วงศ์ PTERIDACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย พืชจำพวกพวกเฟิน สูง 0.50 - 1 เมตร สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ ราก ระบบรากฝอย เป็นรากเส้นเล็กๆจำนวนมาก ขนาดสม่ำเสมอตลอดความยาวของราก งอกจากรอบๆโคนต้น ลำต้น เป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ชูส่วนของใบขึ้นมาเป็นกอ คล้ายกับปรงทะเล แต่ขนาดเล็กกว่า ส่วนมากจะขึ้นแยกเป็นต้น น้อยครั้งที่จะพบขึ้นเป็นกลุ่มเป็นกอ ใบ ในระยะต้นอ่อนเป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะคล้ายกับปรงทะเล แต่ขนาดเล็กกว่าและสั้นกว่า ลักษณะใบยาว เป็นใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบรูปใบหอก ก้านใบมีหนามแข็งสั้นๆ ใบย่อยรูป ขอบขนานแคบ หรือ รูปใบหอก ขอบเรียบ ขนาด 3 - 4 X 30 - 40 เซนติเมตร ใบที่ไม่สร้างสปอร์ปลายใบเรียวแหลม ก้านใบไม่มีหนามแหลมคม
ลักษณะเด่น ส่วนมากแยกขึ้นเป็นต้นมากกว่าเป็นกลุ่ม ใบสั้นกว่าและมีช่วงห่างระหว่างใบต่อใบมากกว่าปรงทะเล ก้านใบไม่มีหนาม
นิเวศวิทยา พบในป่าชายเลนที่ค่อนข้างสูง มีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นบางครั้ง
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ ตบแต่งสวนหย่อม
หมายเหตุ ปรงหนูไม่มีรากค้ำยัน แยกขึ้นเป็นต้นเดี่ยว ใบขนาดเล็ก ปลายใบเรียวแหลม แตกต่างจากปรงทะเล มีรากค้ำยัน ขึ้นอยู่รวมเป็นกอ ใบใหญ่กว่า ปลายใบกลมมีติ่งหนาม
ชื่อพฤกษศาสตร์: Acrostichum speciosum Willd.
ชื่อพื้นเมือง: ปรงหนู
ชื่อท้องถิ่น: ปรงหนู
วงศ์ PTERIDACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย พืชจำพวกพวกเฟิน สูง 0.50 - 1 เมตร สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ ราก ระบบรากฝอย เป็นรากเส้นเล็กๆจำนวนมาก ขนาดสม่ำเสมอตลอดความยาวของราก งอกจากรอบๆโคนต้น ลำต้น เป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ชูส่วนของใบขึ้นมาเป็นกอ คล้ายกับปรงทะเล แต่ขนาดเล็กกว่า ส่วนมากจะขึ้นแยกเป็นต้น น้อยครั้งที่จะพบขึ้นเป็นกลุ่มเป็นกอ ใบ ในระยะต้นอ่อนเป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะคล้ายกับปรงทะเล แต่ขนาดเล็กกว่าและสั้นกว่า ลักษณะใบยาว เป็นใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบรูปใบหอก ก้านใบมีหนามแข็งสั้นๆ ใบย่อยรูป ขอบขนานแคบ หรือ รูปใบหอก ขอบเรียบ ขนาด 3 - 4 X 30 - 40 เซนติเมตร ใบที่ไม่สร้างสปอร์ปลายใบเรียวแหลม ก้านใบไม่มีหนามแหลมคม
ลักษณะเด่น ส่วนมากแยกขึ้นเป็นต้นมากกว่าเป็นกลุ่ม ใบสั้นกว่าและมีช่วงห่างระหว่างใบต่อใบมากกว่าปรงทะเล ก้านใบไม่มีหนาม
นิเวศวิทยา พบในป่าชายเลนที่ค่อนข้างสูง มีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นบางครั้ง
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ ตบแต่งสวนหย่อม
หมายเหตุ ปรงหนูไม่มีรากค้ำยัน แยกขึ้นเป็นต้นเดี่ยว ใบขนาดเล็ก ปลายใบเรียวแหลม แตกต่างจากปรงทะเล มีรากค้ำยัน ขึ้นอยู่รวมเป็นกอ ใบใหญ่กว่า ปลายใบกลมมีติ่งหนาม
เหงือกปลาหมอดอกขาว
ชื่อพฤกษศาสตร์: Acanthus ebracteatus Vahl
ชื่อพื้นเมือง: เหงือกปลาหมอดอกขาว
ชื่อท้องถิ่น: เหงือกปลาหมอทะเล
วงศ์ ACANTHACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงไม่กิน 1 - 1.5 เมตร ราก พบทั้งรากค้ำจุน และ รากอากาศ เกิดจากลำต้นที่เอนนอน ลำต้น อวบ มีหนามคล้ายกับเหงือกปลาหมอดอกม่วงมาก ใบ ใบเดี่ยว เรียงตัวตรงข้ามสลับฉาก แผ่นใบรูปหอก ขนาด 3 – 5 X 7 – 16 เซนติเมตร จากกลางใบกว้าง และเรียวสอบทางฐานใบ ขอบใบกว้างหยักตื้น มีหนามประปราย ดอก สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อตั้งตรงที่ปลายกิ่ง แบบช่อเชิงลด ช่อดอกมีขนาดไม่แน่นอน ใบประดับ สั้นกว่ากลีบเลี้ยง จะร่วงไปก่อนระยะดอกบาน มีใบประดับย่อยในระยะแรก แต่จะร่วงหล่นเร็วซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างไปจากเหงือกปลาหมอดอกม่วง วงกลีบดอกสมมาตรด้านข้าง ขณะดอกตูมปลายกลีบเชื่อมติดกัน ดอกบาน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 - 2.5 เซนติเมตร สีขาว เกสรเพศผู้ มี 4 อัน เป็นแบบยาว 2 อัน สั้น 2 อัน ติดอยู่บนคอหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมีย มีรังไข่เป็นแบบ รังไข่เหนือวงกลีบ ตอนบนเป็นจะงอย ภายในมี 2 ห้อง เม็ดไข่มาก ก้านเกสรยาวพ้นระดับกลีบดอก ผล ผลแก่ สั้นกว่า 2 เซนติเมตร ซึ่งสั้นกว่าผลของเหงือกปลาหมอดอกม่วง เมล็ดมีขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 - 0.7 เซนติเมตร
ลักษณะเด่น สีของต้นบริเวณยอดอ่อนเป็นสีน้ำตาลอ่อน และดอกสีขาว
นิเวศวิทยา ขึ้นในบริเวณน้ำกร่อย - จืด จะไม่พบในเขตน้ำเค็มจัด ออกดอก - ผล ตลอดปี
ประโยชน์ รากและต้นต้มอาบแก้พิษไข้ ผื่นคันโรคผิวหนังทุกชนิด ถ้าใช้รับประทานเป็นยาแก้พิษฝีดาษ และฝีทั้งปวง รากต้นสดตำให้ละเอียดเอาฟอกปิดหัวฝีหรือแผลเรื้อรังถอนพิษได้
ชื่อพฤกษศาสตร์: Acanthus ebracteatus Vahl
ชื่อพื้นเมือง: เหงือกปลาหมอดอกขาว
ชื่อท้องถิ่น: เหงือกปลาหมอทะเล
วงศ์ ACANTHACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงไม่กิน 1 - 1.5 เมตร ราก พบทั้งรากค้ำจุน และ รากอากาศ เกิดจากลำต้นที่เอนนอน ลำต้น อวบ มีหนามคล้ายกับเหงือกปลาหมอดอกม่วงมาก ใบ ใบเดี่ยว เรียงตัวตรงข้ามสลับฉาก แผ่นใบรูปหอก ขนาด 3 – 5 X 7 – 16 เซนติเมตร จากกลางใบกว้าง และเรียวสอบทางฐานใบ ขอบใบกว้างหยักตื้น มีหนามประปราย ดอก สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อตั้งตรงที่ปลายกิ่ง แบบช่อเชิงลด ช่อดอกมีขนาดไม่แน่นอน ใบประดับ สั้นกว่ากลีบเลี้ยง จะร่วงไปก่อนระยะดอกบาน มีใบประดับย่อยในระยะแรก แต่จะร่วงหล่นเร็วซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างไปจากเหงือกปลาหมอดอกม่วง วงกลีบดอกสมมาตรด้านข้าง ขณะดอกตูมปลายกลีบเชื่อมติดกัน ดอกบาน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 - 2.5 เซนติเมตร สีขาว เกสรเพศผู้ มี 4 อัน เป็นแบบยาว 2 อัน สั้น 2 อัน ติดอยู่บนคอหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมีย มีรังไข่เป็นแบบ รังไข่เหนือวงกลีบ ตอนบนเป็นจะงอย ภายในมี 2 ห้อง เม็ดไข่มาก ก้านเกสรยาวพ้นระดับกลีบดอก ผล ผลแก่ สั้นกว่า 2 เซนติเมตร ซึ่งสั้นกว่าผลของเหงือกปลาหมอดอกม่วง เมล็ดมีขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 - 0.7 เซนติเมตร
ลักษณะเด่น สีของต้นบริเวณยอดอ่อนเป็นสีน้ำตาลอ่อน และดอกสีขาว
นิเวศวิทยา ขึ้นในบริเวณน้ำกร่อย - จืด จะไม่พบในเขตน้ำเค็มจัด ออกดอก - ผล ตลอดปี
ประโยชน์ รากและต้นต้มอาบแก้พิษไข้ ผื่นคันโรคผิวหนังทุกชนิด ถ้าใช้รับประทานเป็นยาแก้พิษฝีดาษ และฝีทั้งปวง รากต้นสดตำให้ละเอียดเอาฟอกปิดหัวฝีหรือแผลเรื้อรังถอนพิษได้
เหงือกปลาหมอดอกม่วง
ชื่อพฤกษศาสตร์: Acanthus ilicifolius L.
ชื่อพื้นเมือง: เหงือกปลาหมอดอกม่วง
ชื่อท้องถิ่น: เหงือกปลาหมอทะเล
วงศ์ ACANTHACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พื้นล่างของป่าชายเลน เป็นไม้พุ่มลำต้นเลื้อย หรือไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูง 0.50 - 2 เมตร ราก พบทั้งรากค้ำจุน และรากหายใจซึ่งเกิดจากลำต้นที่เอนนอน ลำต้น ไม่มีเนื้อไม้ ลำต้นแข็งตั้งตรง กลวงตามแนวจุดศูนย์กลาง มีหนามอ่อนๆตามข้อ แต่เมื่ออายุมากมักจะเอนนอน ลำต้นแก่จะแตกกิ่งออกไป สีเหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้ม ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก มักมีหนามที่โคนก้านใบ 1 คู่ ใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร แผ่นใบรูปหอก ขนาด 3 - 6.5 X 7 - 18 เซนติเมตร เรียวสอบลงมาทางฐานใบ ขอบใบเรียบ ปลายใบกลม หรือ เป็นติ่งหนาม หรือ ขอบใบเว้าหยักเป็นลูกคลื่น มีหนามแหลมที่ปลายหยัก หนามแหลมนี้มักเกิดที่ปลายเส้นใบหลัก และมีหนามขนาดเล็กกว่าแทรก ปลายใบเป็นสามเหลี่ยมกว้างมีหนามที่ปลายใบ ใบสีเขียวอ่อนถึงเข้ม ดอก ออกเป็นช่อตั้งตรงที่ปลายกิ่งแบบช่อเชิงลด ยาว 10 - 15 เซนติเมตร ดอกย่อยไม่มีก้านดอก ออกรอบแกนประมาณ 20 คู่ ใบประดับล่างสุดของแต่ละดอกยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ร่วงหลุดเร็ว ใบประดับย่อยสีเขียวด้านข้าง 2 ใบ รองรับดอกมีความยาวประมาณ 0.7 เซนติเมตร เด่นชัด และติดคงทน วงกลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ สีเขียวอ่อนถึงสีน้ำตาลอมเขียว แยกเป็นกลีบล่าง และกลีบบน กลีบบนใหญ่กว่ากลีบล่าง วงกลีบดอกสมมาตรด้านข้าง ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 - 4 เซนติเมตร กลีบในด้านบนสั้นมาก ความยาวเท่ากับกลีบเลี้ยงประมาณ 1 - 1.5 เซนติเมตร กลีบล่างใหญ่แผ่กว้างและโค้งลง ปลายกลีบเว้าเป็น 3 พูตื้นๆยาว 2 - 2.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มี 4 อัน สีชมพู ดอกสีฟ้าหรือฟ้าอมม่วง หรือ สีน้ำเงินอ่อนหรือม่วงอ่อน มีสีเหลืองตรงกลางกลีบดอก เกสรเพศเมีย รังไข่เหนือ วงกลีบ ตอนบนเป็นจะงอย ภายในมี 2 ห้อง มีเม็ดไข่มาก ก้านเกสรยาวพ้นระดับกลีบดอก ผล เป็นฝักมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ขนาด 0.5 - 0.7 X 1.5 - 2.0 เซนติเมตร ที่ปลายมียอดเกสรเพศเมียแห้งติดอยู่ เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ภายในมีเมล็ด 4 เมล็ด
ลักษณะเด่น สีของต้นบริเวณยอดอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน และมีดอกเป็นสีม่วง
นิเวศวิทยา มักขึ้นอยู่ตามพื้นที่ชายเลนเสื่อมโทรม มีน้ำทะเลท่วมถึง เป็นพื้นที่โล่ง เป็นดินร่วนเหนียว หรือ ตามริมชายฝั่งที่เป็นดินเลน ด้านหลังป่าชายเลน ออกดอก - ผล ตลอดปี
ประโยชน์ ลำต้น ลำต้นสดตำให้ละเอียดฟอกฝีหรือแผลเรื้อรัง หรือนำมาต้มเอาน้ำอาบแก้เป็นผดและผื่นคัน ตำผสมน้ำรักษาวัณโรค ซูบผอม ทาแก้โรคเหน็บชา
ใบ ใบสดนำมาต้มกิน เป็นยาแก้ไข้หัวลม เบาหวาน ขับน้ำเหลืองเสีย พิษฝี แก้ฝีทรวง แก้โรคผิวหนังผื่นคัน แก้ประดง และแก้ฝีทั้งภายนอกและภายใน
เมล็ด ใช้ต้มรวมกับเมล็ดมะเฟือง เปลือกอบเชย และน้ำตาลกรวด เป็น ยาแก้ไอ ขับเลือด หรือนำเมล็ดคั่วให้เกรียม ป่นละเอียด ชงกินกับน้ำเป็นยาแก้ฝี และขับโลหิตระดู
ราก แก้หืด แก้ไอ ขับเสมหะ หรือ รากสดต้มเอาน้ำดื่มแก้โรคงูสวัด
ต้นและราก
-ตำกับขิง คั้นน้ำดื่มแก้ไข้จับสั่น (ไข้หนาวสั่น) ใช้หยอดตารักษาตาเจ็บตาแดง
-ตำกับขมิ้นอ้อย พอกแก้พิษงู ทาแก้ฟกช้ำบวม
-ตำผสมพริกไทย น้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน เป็นยาอายุวัฒนะ
หมายเหตุ: วงกลีบดอกเป็นสีม่วง และใบประดับย่อยรองรับดอกเด่นชัดและติดคงทน ซึ่งต่างจากเหงือกปลาหมอดอกขาว
ชื่อพฤกษศาสตร์: Acanthus ilicifolius L.
ชื่อพื้นเมือง: เหงือกปลาหมอดอกม่วง
ชื่อท้องถิ่น: เหงือกปลาหมอทะเล
วงศ์ ACANTHACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พื้นล่างของป่าชายเลน เป็นไม้พุ่มลำต้นเลื้อย หรือไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูง 0.50 - 2 เมตร ราก พบทั้งรากค้ำจุน และรากหายใจซึ่งเกิดจากลำต้นที่เอนนอน ลำต้น ไม่มีเนื้อไม้ ลำต้นแข็งตั้งตรง กลวงตามแนวจุดศูนย์กลาง มีหนามอ่อนๆตามข้อ แต่เมื่ออายุมากมักจะเอนนอน ลำต้นแก่จะแตกกิ่งออกไป สีเหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้ม ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก มักมีหนามที่โคนก้านใบ 1 คู่ ใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร แผ่นใบรูปหอก ขนาด 3 - 6.5 X 7 - 18 เซนติเมตร เรียวสอบลงมาทางฐานใบ ขอบใบเรียบ ปลายใบกลม หรือ เป็นติ่งหนาม หรือ ขอบใบเว้าหยักเป็นลูกคลื่น มีหนามแหลมที่ปลายหยัก หนามแหลมนี้มักเกิดที่ปลายเส้นใบหลัก และมีหนามขนาดเล็กกว่าแทรก ปลายใบเป็นสามเหลี่ยมกว้างมีหนามที่ปลายใบ ใบสีเขียวอ่อนถึงเข้ม ดอก ออกเป็นช่อตั้งตรงที่ปลายกิ่งแบบช่อเชิงลด ยาว 10 - 15 เซนติเมตร ดอกย่อยไม่มีก้านดอก ออกรอบแกนประมาณ 20 คู่ ใบประดับล่างสุดของแต่ละดอกยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ร่วงหลุดเร็ว ใบประดับย่อยสีเขียวด้านข้าง 2 ใบ รองรับดอกมีความยาวประมาณ 0.7 เซนติเมตร เด่นชัด และติดคงทน วงกลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ สีเขียวอ่อนถึงสีน้ำตาลอมเขียว แยกเป็นกลีบล่าง และกลีบบน กลีบบนใหญ่กว่ากลีบล่าง วงกลีบดอกสมมาตรด้านข้าง ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 - 4 เซนติเมตร กลีบในด้านบนสั้นมาก ความยาวเท่ากับกลีบเลี้ยงประมาณ 1 - 1.5 เซนติเมตร กลีบล่างใหญ่แผ่กว้างและโค้งลง ปลายกลีบเว้าเป็น 3 พูตื้นๆยาว 2 - 2.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มี 4 อัน สีชมพู ดอกสีฟ้าหรือฟ้าอมม่วง หรือ สีน้ำเงินอ่อนหรือม่วงอ่อน มีสีเหลืองตรงกลางกลีบดอก เกสรเพศเมีย รังไข่เหนือ วงกลีบ ตอนบนเป็นจะงอย ภายในมี 2 ห้อง มีเม็ดไข่มาก ก้านเกสรยาวพ้นระดับกลีบดอก ผล เป็นฝักมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ขนาด 0.5 - 0.7 X 1.5 - 2.0 เซนติเมตร ที่ปลายมียอดเกสรเพศเมียแห้งติดอยู่ เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ภายในมีเมล็ด 4 เมล็ด
ลักษณะเด่น สีของต้นบริเวณยอดอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน และมีดอกเป็นสีม่วง
นิเวศวิทยา มักขึ้นอยู่ตามพื้นที่ชายเลนเสื่อมโทรม มีน้ำทะเลท่วมถึง เป็นพื้นที่โล่ง เป็นดินร่วนเหนียว หรือ ตามริมชายฝั่งที่เป็นดินเลน ด้านหลังป่าชายเลน ออกดอก - ผล ตลอดปี
ประโยชน์ ลำต้น ลำต้นสดตำให้ละเอียดฟอกฝีหรือแผลเรื้อรัง หรือนำมาต้มเอาน้ำอาบแก้เป็นผดและผื่นคัน ตำผสมน้ำรักษาวัณโรค ซูบผอม ทาแก้โรคเหน็บชา
ใบ ใบสดนำมาต้มกิน เป็นยาแก้ไข้หัวลม เบาหวาน ขับน้ำเหลืองเสีย พิษฝี แก้ฝีทรวง แก้โรคผิวหนังผื่นคัน แก้ประดง และแก้ฝีทั้งภายนอกและภายใน
เมล็ด ใช้ต้มรวมกับเมล็ดมะเฟือง เปลือกอบเชย และน้ำตาลกรวด เป็น ยาแก้ไอ ขับเลือด หรือนำเมล็ดคั่วให้เกรียม ป่นละเอียด ชงกินกับน้ำเป็นยาแก้ฝี และขับโลหิตระดู
ราก แก้หืด แก้ไอ ขับเสมหะ หรือ รากสดต้มเอาน้ำดื่มแก้โรคงูสวัด
ต้นและราก
-ตำกับขิง คั้นน้ำดื่มแก้ไข้จับสั่น (ไข้หนาวสั่น) ใช้หยอดตารักษาตาเจ็บตาแดง
-ตำกับขมิ้นอ้อย พอกแก้พิษงู ทาแก้ฟกช้ำบวม
-ตำผสมพริกไทย น้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน เป็นยาอายุวัฒนะ
หมายเหตุ: วงกลีบดอกเป็นสีม่วง และใบประดับย่อยรองรับดอกเด่นชัดและติดคงทน ซึ่งต่างจากเหงือกปลาหมอดอกขาว
ผักเบี้ยทะเล
ชื่อพฤกษศาสตร์: Sesuvium portulacastrum L.
ชื่อพื้นเมือง: ผักเบี้ยทะเล
ชื่อท้องถิ่น: ผักเบี้ย
วงศ์ AIZOACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ล้มลุก เป็นพืชทนแล้งได้ดี แตกกิ่งก้านสาขามาก สูงไม่เกิน 50 เซนติเมตร
ราก ระบบรากฝอย มีรากงอกตามข้อลำต้นที่สัมผัสดิน ลำต้น แตกกิ่งก้านโปร่ง แผ่ราบตามพื้นดินอวบน้ำ ทอดเลื้อยไปตามผิวดิน แผ่กระจาย ชูยอดสูง 15 - 30 เซนติเมตร ยอดใหม่แตกตามข้อปล้อง ลำต้นสีเขียวปนแดง หรือม่วง ใบ ใบเดี่ยว อวบน้ำ เรียงแบบตรงข้าม รูปขอบขนาน เป็นมัน ขนาดใบ 3 – 4 เซนติเมตร ก้านใบสั้น ปลายใบโค้งมน ฐานใบเข้าหา เส้นกลางใบ ดอก สมบูรณ์เพศ ออกดอกปลายยอด, ตามซอกใบ ดอกขนาดเล็กสีชมพู กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพู เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมีย 4 - 5 อัน รังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก ผล เป็นแคปซูล มี 4 carpel กลีบเลี้ยงห่อหุ้ม คล้ายดอกยังตูม เมื่อผลแก่จะแตกออก มีหลายเมล็ดสีดำ หลุดออกเหลือเพียงกลีบเลี้ยงแห้งติดต้น
ลักษณะเด่น ลำต้น และใบอวบน้ำ ทนแล้งได้ดี
นิเวศวิทยา ขึ้นทั่วไปบริเวณป่าชายเลน ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ น้ำท่วมไม่ถึง ออกดอก - ผลตลอดปี
ประโยชน์ ต้นเป็นอาหารสัตว์ เช่น สุกร
ชื่อพฤกษศาสตร์: Sesuvium portulacastrum L.
ชื่อพื้นเมือง: ผักเบี้ยทะเล
ชื่อท้องถิ่น: ผักเบี้ย
วงศ์ AIZOACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ล้มลุก เป็นพืชทนแล้งได้ดี แตกกิ่งก้านสาขามาก สูงไม่เกิน 50 เซนติเมตร
ราก ระบบรากฝอย มีรากงอกตามข้อลำต้นที่สัมผัสดิน ลำต้น แตกกิ่งก้านโปร่ง แผ่ราบตามพื้นดินอวบน้ำ ทอดเลื้อยไปตามผิวดิน แผ่กระจาย ชูยอดสูง 15 - 30 เซนติเมตร ยอดใหม่แตกตามข้อปล้อง ลำต้นสีเขียวปนแดง หรือม่วง ใบ ใบเดี่ยว อวบน้ำ เรียงแบบตรงข้าม รูปขอบขนาน เป็นมัน ขนาดใบ 3 – 4 เซนติเมตร ก้านใบสั้น ปลายใบโค้งมน ฐานใบเข้าหา เส้นกลางใบ ดอก สมบูรณ์เพศ ออกดอกปลายยอด, ตามซอกใบ ดอกขนาดเล็กสีชมพู กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพู เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมีย 4 - 5 อัน รังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก ผล เป็นแคปซูล มี 4 carpel กลีบเลี้ยงห่อหุ้ม คล้ายดอกยังตูม เมื่อผลแก่จะแตกออก มีหลายเมล็ดสีดำ หลุดออกเหลือเพียงกลีบเลี้ยงแห้งติดต้น
ลักษณะเด่น ลำต้น และใบอวบน้ำ ทนแล้งได้ดี
นิเวศวิทยา ขึ้นทั่วไปบริเวณป่าชายเลน ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ น้ำท่วมไม่ถึง ออกดอก - ผลตลอดปี
ประโยชน์ ต้นเป็นอาหารสัตว์ เช่น สุกร
ตีนเป็ดทะเล
ชื่อพฤกษศาสตร์: Cerbera odollam Gaertn.
ชื่อพื้นเมือง: ตีนเป็ดทะเล
ชื่อท้องถิ่น: ตีนเป็ด
วงศ์ APOCYNACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 6 - 12 เมตร มักแตกกิ่งต่ำ เรือนยอดแผ่กว้าง ราก เป็นระบบรากแก้ว หยั่งดินลึก ไม่พบทั้งรากหายใจและรากค้ำจุน ลำต้น แข็งตั้งตรง มีเนื้อไม้ เปลือกชั้นนอกเรียบมีช่องอากาศกระจายทั่วไป สีเทา เปลือกชั้นในสีเหลืองอ่อน มียางสีขาว ใบ ใบเดี่ยว ใบยาวเป็นกระจุก อยู่บนส่วนยอด เรียงเวียนรอบกิ่ง แผ่นใบรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ ขนาด 4 - 8 X 15 - 30 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ฐานใบสอบแคบเข้าหาก้านใบ เส้นใบตั้งฉากกับเส้นกลางใบ มี 20 - 30 คู่ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ก้านใบยาว 2 - 3 เซนติเมตร ดอก สมบูรณ์เพศ ออกที่ปลายกิ่ง เป็นช่อกระจุก ดอกสมมาตรด้านข้าง มีกลีบเลี้ยงรูปใบหอก สีเขียวหรือขาวแกมเขียวอ่อน แต่จะร่วงหล่นไปในระยะยังเป็นดอก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดปากแตร ยาว 1.5 - 2 เซนติเมตร ปลายหลอดแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกยาวกว่าหลอด วงกลีบดอกสีขาว ตรงกลางดอกสีเหลือง เกสรเพศผู้ มี 4 - 5 อัน อยู่แยกกัน ก้านเกสรสั้นติดอยู่ที่คอหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมีย มีรังไข่ 2 อัน เป็นแบบรังไข่เหนือวงกลีบ อยู่แยกกันหรืออาจติดกันเล็กน้อยเฉพาะส่วนฐาน แต่ก้านเกสร และยอดเกสรจะติดกัน มีเม็ดไข่มาก ผล เป็นผลเดี่ยว รูปกระสวย ค่อนข้างกลม ขนาด 6 X 7 เซนติเมตร มีสองพูตื้นๆ ผิวผลเกลี้ยง สีเขียวเป็นมัน เมื่อแก่จัดสีเขียว อมม่วงถึงม่วงเข้ม
ลักษณะเด่น ต้นและใบเหมือนต้นลั่นทม ดอกสีขาวมี 5 กลีบ และผลกลม ผิวเรียบ สีเขียวเป็นมัน
นิเวศวิทยา ขึ้นได้ดีในที่ดินเลนแข็ง น้ำทะเลท่วมถึงบางครั้งบางคราว หรือ พบขึ้นตามริมชายฝั่งแม่น้ำที่เป็นดินเลนน้ำท่วมถึงอิทธิพลของน้ำกร่อยทั่วไป ออกดอก - ผล ตลอดปี
ประโยชน์ ผลเผาตำผสมน้ำมันพืช ทาแก้โรคตาปลา โรคผิวหนังเรื้อรัง ผลสดขยี้ทาแก้ปวด ตามข้อ แก้ปวดกล้ามเนื้อ
ข้อควรระวัง ยาง เป็นพิษหากเข้าตาทำให้ตาบอดได้ เนื้อในผล ในเมล็ด ใบและเปลือกทำให้อาเจียน ท้องเดิน
ชื่อพฤกษศาสตร์: Cerbera odollam Gaertn.
ชื่อพื้นเมือง: ตีนเป็ดทะเล
ชื่อท้องถิ่น: ตีนเป็ด
วงศ์ APOCYNACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 6 - 12 เมตร มักแตกกิ่งต่ำ เรือนยอดแผ่กว้าง ราก เป็นระบบรากแก้ว หยั่งดินลึก ไม่พบทั้งรากหายใจและรากค้ำจุน ลำต้น แข็งตั้งตรง มีเนื้อไม้ เปลือกชั้นนอกเรียบมีช่องอากาศกระจายทั่วไป สีเทา เปลือกชั้นในสีเหลืองอ่อน มียางสีขาว ใบ ใบเดี่ยว ใบยาวเป็นกระจุก อยู่บนส่วนยอด เรียงเวียนรอบกิ่ง แผ่นใบรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ ขนาด 4 - 8 X 15 - 30 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ฐานใบสอบแคบเข้าหาก้านใบ เส้นใบตั้งฉากกับเส้นกลางใบ มี 20 - 30 คู่ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ก้านใบยาว 2 - 3 เซนติเมตร ดอก สมบูรณ์เพศ ออกที่ปลายกิ่ง เป็นช่อกระจุก ดอกสมมาตรด้านข้าง มีกลีบเลี้ยงรูปใบหอก สีเขียวหรือขาวแกมเขียวอ่อน แต่จะร่วงหล่นไปในระยะยังเป็นดอก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดปากแตร ยาว 1.5 - 2 เซนติเมตร ปลายหลอดแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกยาวกว่าหลอด วงกลีบดอกสีขาว ตรงกลางดอกสีเหลือง เกสรเพศผู้ มี 4 - 5 อัน อยู่แยกกัน ก้านเกสรสั้นติดอยู่ที่คอหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมีย มีรังไข่ 2 อัน เป็นแบบรังไข่เหนือวงกลีบ อยู่แยกกันหรืออาจติดกันเล็กน้อยเฉพาะส่วนฐาน แต่ก้านเกสร และยอดเกสรจะติดกัน มีเม็ดไข่มาก ผล เป็นผลเดี่ยว รูปกระสวย ค่อนข้างกลม ขนาด 6 X 7 เซนติเมตร มีสองพูตื้นๆ ผิวผลเกลี้ยง สีเขียวเป็นมัน เมื่อแก่จัดสีเขียว อมม่วงถึงม่วงเข้ม
ลักษณะเด่น ต้นและใบเหมือนต้นลั่นทม ดอกสีขาวมี 5 กลีบ และผลกลม ผิวเรียบ สีเขียวเป็นมัน
นิเวศวิทยา ขึ้นได้ดีในที่ดินเลนแข็ง น้ำทะเลท่วมถึงบางครั้งบางคราว หรือ พบขึ้นตามริมชายฝั่งแม่น้ำที่เป็นดินเลนน้ำท่วมถึงอิทธิพลของน้ำกร่อยทั่วไป ออกดอก - ผล ตลอดปี
ประโยชน์ ผลเผาตำผสมน้ำมันพืช ทาแก้โรคตาปลา โรคผิวหนังเรื้อรัง ผลสดขยี้ทาแก้ปวด ตามข้อ แก้ปวดกล้ามเนื้อ
ข้อควรระวัง ยาง เป็นพิษหากเข้าตาทำให้ตาบอดได้ เนื้อในผล ในเมล็ด ใบและเปลือกทำให้อาเจียน ท้องเดิน
จาก
ชื่อพฤกษศาสตร์: Nypa fruticans Wurmb.
ชื่อพื้นเมือง: จาก
ชื่อท้องถิ่น: จาก
วงศ์ ARECACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ไม้ตระกูลเดียวกับปาล์ม เป็นกอ ขนาดเล็ก สูง 3 - 5 เมตร ราก ระบบรากฝอย มีรากอวบอ้วนอัดแน่น ออกเป็นกระจุกบริเวณโคนลำต้น ไม่พบทั้งรากหายใจและรากค้ำจุน ลำต้น สั้นเห็นไม่ชัดเจน สูงจากพื้นดินไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ มักจะจมอยู่ในโคลน และอยู่ใต้น้ำขณะน้ำท่วม ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ยาว 3 - 5 เมตร ลักษณะแข็ง ตั้งตรงขึ้น ก้านใบใหญ่สีเขียว ใบย่อยรูปหอก ปลาย และโคนเรียว ยาว 0.5 - 1 เมตร เรียงตัวสอง แถวคล้ายใบมะพร้าว กาบใหญ่ ฐานใบอ้วนซ้อนทับกัน ผิวใบด้านบนมีสีเขียวเป็นมัน ท้องใบสีเขียวเหลือง มีติ่งหนามเล็กๆอยู่ที่เส้นกลางใบด้านท้องใบ และจะหลุดร่วงไปเมื่อใบย่อยแก่ ดอก ดอกช่อแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ออกที่ง่ามใบบริเวณใกล้ปลายยอด ดอกเพศเมียเป็นช่อกระจุกแน่น มีรังไข่ 1 อันเป็นแบบรังไข่เหนือวงกลีบ ภายในมี 3 carpel รวมกันเป็น 1 ห้อง มีเม็ดไข่ 1 เม็ด ล้อมรอบด้วยดอกเพศผู้ เป็นช่อเชิงลด ขนาดสั้น ซึ่งดอกเพศผู้นี้จะเรียงอยู่บนช่อดอกแบบหางกระรอก เกสรเพศผู้มี 3 อัน ก้านดอกสีน้ำตาล ดอกสีเหลืองแสด ผล ออกเป็นช่อ หรือลักษณะเป็นทะลาย แต่ละช่อมีผลจำนวนมาก ช่อผลห้อยลง ผลอัดกันแน่น เป็นรูปทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางของทะลาย ประมาณ 30 เซนติเมตร ผลเป็นเหลี่ยมรูปทรงรี ยาว 7 - 10 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ ผลแห้งติดอยู่บนต้นก่อนที่จะร่วงหล่น เปลือกของผลแข็ง เป็นเส้นใยอัดกันแน่น ลอยน้ำได้ เมล็ดรูปไข่ แข็ง ยาว 2 - 3 เซนติเมตร สีขาว
ลักษณะเด่น ใบยาวคล้ายใบมะพร้าว ผลมีลักษณะเป็นทะลาย มีเปลือกแข็งสีน้ำตาลหุ้ม
นิเวศวิทยา พบขึ้นในดินเลนค่อนข้างแข็งและเหนียว ตามชายฝั่งริมแม่น้ำ ลำคลองที่เป็นน้ำกร่อย ลึกเข้าไปจากชายฝั่งทะเล ผลแก่ประมาณ เดือนตุลาคม - ธันวาคม
ประโยชน์ ใบ มีรสฝาดแก้ลมจรต่างๆขับเสมหะ ดับพิษทั้งปวง น้ำตาลจาก สมานริดสีดวงทวาร ยอด เคี้ยวแก้เมาเหล้า เมาคลื่น ราก ต้มดื่ม แก้ปัสสาวะขุ่นข้น หัวและรากต้มกับสารส้ม ดื่มเป็นยาแก้นิ่วในไต ขับหินปูน ดอกจาก ผสมดอกระกำและดอกหลุมพี เผาไฟละลายด้วยน้ำอ้อยแก้โรคตานขโมย เนื้อในผล รับประทาน น้ำจากดอก ใช้ทำน้ำส้มจาก หรือน้ำตาลจากประกอบอาหารคาว หวาน ใบทำเป็นตับจาก ใช้มุงหลังคาบ้านพัก ที่อยู่อาศัย ยอดอ่อนเรียวแหลม ใช้มวนทำบุหรี่
ชื่อพฤกษศาสตร์: Nypa fruticans Wurmb.
ชื่อพื้นเมือง: จาก
ชื่อท้องถิ่น: จาก
วงศ์ ARECACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ไม้ตระกูลเดียวกับปาล์ม เป็นกอ ขนาดเล็ก สูง 3 - 5 เมตร ราก ระบบรากฝอย มีรากอวบอ้วนอัดแน่น ออกเป็นกระจุกบริเวณโคนลำต้น ไม่พบทั้งรากหายใจและรากค้ำจุน ลำต้น สั้นเห็นไม่ชัดเจน สูงจากพื้นดินไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ มักจะจมอยู่ในโคลน และอยู่ใต้น้ำขณะน้ำท่วม ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ยาว 3 - 5 เมตร ลักษณะแข็ง ตั้งตรงขึ้น ก้านใบใหญ่สีเขียว ใบย่อยรูปหอก ปลาย และโคนเรียว ยาว 0.5 - 1 เมตร เรียงตัวสอง แถวคล้ายใบมะพร้าว กาบใหญ่ ฐานใบอ้วนซ้อนทับกัน ผิวใบด้านบนมีสีเขียวเป็นมัน ท้องใบสีเขียวเหลือง มีติ่งหนามเล็กๆอยู่ที่เส้นกลางใบด้านท้องใบ และจะหลุดร่วงไปเมื่อใบย่อยแก่ ดอก ดอกช่อแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ออกที่ง่ามใบบริเวณใกล้ปลายยอด ดอกเพศเมียเป็นช่อกระจุกแน่น มีรังไข่ 1 อันเป็นแบบรังไข่เหนือวงกลีบ ภายในมี 3 carpel รวมกันเป็น 1 ห้อง มีเม็ดไข่ 1 เม็ด ล้อมรอบด้วยดอกเพศผู้ เป็นช่อเชิงลด ขนาดสั้น ซึ่งดอกเพศผู้นี้จะเรียงอยู่บนช่อดอกแบบหางกระรอก เกสรเพศผู้มี 3 อัน ก้านดอกสีน้ำตาล ดอกสีเหลืองแสด ผล ออกเป็นช่อ หรือลักษณะเป็นทะลาย แต่ละช่อมีผลจำนวนมาก ช่อผลห้อยลง ผลอัดกันแน่น เป็นรูปทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางของทะลาย ประมาณ 30 เซนติเมตร ผลเป็นเหลี่ยมรูปทรงรี ยาว 7 - 10 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ ผลแห้งติดอยู่บนต้นก่อนที่จะร่วงหล่น เปลือกของผลแข็ง เป็นเส้นใยอัดกันแน่น ลอยน้ำได้ เมล็ดรูปไข่ แข็ง ยาว 2 - 3 เซนติเมตร สีขาว
ลักษณะเด่น ใบยาวคล้ายใบมะพร้าว ผลมีลักษณะเป็นทะลาย มีเปลือกแข็งสีน้ำตาลหุ้ม
นิเวศวิทยา พบขึ้นในดินเลนค่อนข้างแข็งและเหนียว ตามชายฝั่งริมแม่น้ำ ลำคลองที่เป็นน้ำกร่อย ลึกเข้าไปจากชายฝั่งทะเล ผลแก่ประมาณ เดือนตุลาคม - ธันวาคม
ประโยชน์ ใบ มีรสฝาดแก้ลมจรต่างๆขับเสมหะ ดับพิษทั้งปวง น้ำตาลจาก สมานริดสีดวงทวาร ยอด เคี้ยวแก้เมาเหล้า เมาคลื่น ราก ต้มดื่ม แก้ปัสสาวะขุ่นข้น หัวและรากต้มกับสารส้ม ดื่มเป็นยาแก้นิ่วในไต ขับหินปูน ดอกจาก ผสมดอกระกำและดอกหลุมพี เผาไฟละลายด้วยน้ำอ้อยแก้โรคตานขโมย เนื้อในผล รับประทาน น้ำจากดอก ใช้ทำน้ำส้มจาก หรือน้ำตาลจากประกอบอาหารคาว หวาน ใบทำเป็นตับจาก ใช้มุงหลังคาบ้านพัก ที่อยู่อาศัย ยอดอ่อนเรียวแหลม ใช้มวนทำบุหรี่
เป้งทะเล
ชื่อพฤกษศาสตร์: Phoenix paludosa Roxb.
ชื่อพื้นเมือง: เป้งทะเล
ชื่อท้องถิ่น: เป้ง
วงศ์ ARECACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นพวกปาล์ม ขนาดกลาง ลำต้นเกิดเป็นกอ สูง 4 - 10 เมตร ราก มีลักษณะเป็นหนามงอกจากบริเวณโคนต้น ตอนงอกใหม่เป็นรากปกติ หลังจากนั้นเปลือกค่อยๆแข็ง มีลักษณะคล้ายหนาม ช่วยป้องกันโคนต้นได้ ลำต้น มีรูปทรงกระบอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 - 9 เซนติเมตร ขึ้นเป็นกอมีใบหนาแน่นเป็นกลุ่ม ส่วนบนของลำต้นมีก้านใบซึ่งมีหนามติดอยู่ และมีกาบซึ่งเป็นเส้นใยสีเทาหุ้ม ใบ ใบประกอบแบบขนนก ใบมากค่อนข้างสั้น ขนาดประมาณ 0.45 X 1.5 เมตร ใบโค้ง โคนใบมีเส้นใยเป็นกาบหุ้มลำต้น ใบย่อยเล็กแคบยาว ขอบพับเข้าค่อนข้างแข็ง และตรง ปลายใบห้อยลง ตามก้านใบด้านล่างมีหนามเรียวยาว แหลมและแข็ง สีเขียวเป็นมันหรือสีเขียวอมเหลือง ท้องใบสีเทาคล้ายควัน ดอก เป็นดอกแยกเพศต่างต้น ช่อดอกตั้งตรง ออกที่ง่ามใบ มีกาบขนาดใหญ่ 1 อัน หุ้ม แต่กาบนี้จะหลุดไปเมื่อดอกได้รับการผสม ก้านช่อดอกยาวประมาณ 60 เซนติเมตร ประกอบด้วยกลุ่มของช่อดอกย่อย ซึ่งเป็นช่อเชิงลด เรียวตรงจำนวนมาก เรียงทำมุมแคบกับแกนหลักไปทางปลายช่อ ผล เป็นผลสด อ่อนนุ่ม รูปไข่ ขนาด 0.8 - 1 X 1 - 1.5 เซนติเมตร มีเมล็ดเดียว ผลแก่สีส้ม มีผนังชั้นในบางคล้ายกระดาษ
ลักษณะเด่น อยู่รวมเป็นกอ ก้านใบมีหนามเรียวแหลม ท้องใบสีเทา ใบย่อยขอบใบพับเข้า แข็งตรง ผลแก่ สีส้ม
นิเวศวิทยา ขึ้นตามป่าชายเลนค่อนข้างสูง ภายใต้อิทธิพลของน้ำกร่อย
ประโยชน์ หัวต้มน้ำดื่มแก้เสียดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ ต้นอ่อนหรือยอดนำมาต้ม หรือ คั่วผสมน้ำดื่มแก้ลม
ชื่อพฤกษศาสตร์: Phoenix paludosa Roxb.
ชื่อพื้นเมือง: เป้งทะเล
ชื่อท้องถิ่น: เป้ง
วงศ์ ARECACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นพวกปาล์ม ขนาดกลาง ลำต้นเกิดเป็นกอ สูง 4 - 10 เมตร ราก มีลักษณะเป็นหนามงอกจากบริเวณโคนต้น ตอนงอกใหม่เป็นรากปกติ หลังจากนั้นเปลือกค่อยๆแข็ง มีลักษณะคล้ายหนาม ช่วยป้องกันโคนต้นได้ ลำต้น มีรูปทรงกระบอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 - 9 เซนติเมตร ขึ้นเป็นกอมีใบหนาแน่นเป็นกลุ่ม ส่วนบนของลำต้นมีก้านใบซึ่งมีหนามติดอยู่ และมีกาบซึ่งเป็นเส้นใยสีเทาหุ้ม ใบ ใบประกอบแบบขนนก ใบมากค่อนข้างสั้น ขนาดประมาณ 0.45 X 1.5 เมตร ใบโค้ง โคนใบมีเส้นใยเป็นกาบหุ้มลำต้น ใบย่อยเล็กแคบยาว ขอบพับเข้าค่อนข้างแข็ง และตรง ปลายใบห้อยลง ตามก้านใบด้านล่างมีหนามเรียวยาว แหลมและแข็ง สีเขียวเป็นมันหรือสีเขียวอมเหลือง ท้องใบสีเทาคล้ายควัน ดอก เป็นดอกแยกเพศต่างต้น ช่อดอกตั้งตรง ออกที่ง่ามใบ มีกาบขนาดใหญ่ 1 อัน หุ้ม แต่กาบนี้จะหลุดไปเมื่อดอกได้รับการผสม ก้านช่อดอกยาวประมาณ 60 เซนติเมตร ประกอบด้วยกลุ่มของช่อดอกย่อย ซึ่งเป็นช่อเชิงลด เรียวตรงจำนวนมาก เรียงทำมุมแคบกับแกนหลักไปทางปลายช่อ ผล เป็นผลสด อ่อนนุ่ม รูปไข่ ขนาด 0.8 - 1 X 1 - 1.5 เซนติเมตร มีเมล็ดเดียว ผลแก่สีส้ม มีผนังชั้นในบางคล้ายกระดาษ
ลักษณะเด่น อยู่รวมเป็นกอ ก้านใบมีหนามเรียวแหลม ท้องใบสีเทา ใบย่อยขอบใบพับเข้า แข็งตรง ผลแก่ สีส้ม
นิเวศวิทยา ขึ้นตามป่าชายเลนค่อนข้างสูง ภายใต้อิทธิพลของน้ำกร่อย
ประโยชน์ หัวต้มน้ำดื่มแก้เสียดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ ต้นอ่อนหรือยอดนำมาต้ม หรือ คั่วผสมน้ำดื่มแก้ลม
ขลู่
ชื่อพฤกษศาสตร์: Pluchea indica ( L.) Less.
ชื่อพื้นเมือง: ขลู่
ชื่อท้องถิ่น: ขลู่น้ำเค็ม
วงศ์ ASTERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1 - 1.5 เมตร ขึ้นอยู่รวมเป็นกอ ราก ระบบรากแก้วมีรากฝอยแตกออกมารอบๆ ยึดลำต้น ลำต้น พุ่มตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก มีขนเล็กละเอียดปกคลุมตามกิ่ง ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบสลับ แผ่นใบรูปไข่กลับ หรือ รูปช้อนแกมขอบขนาน ขนาด 1 - 2 X 2 - 4 เซนติเมตร ฐานใบสอบเรียว ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย มีขนปกคลุมเล็กน้อย ปลายใบมน หรือ กลม ก้านใบสั้นมาก ใบมีกลิ่นหอมฉุน ดอก สมบูรณ์เพศ เป็นช่อแบบกระจุกแน่น ออกดอกที่ปลายกิ่ง เป็นพุ่มคล้ายดอกสาบเสือ ก้านช่อดอกยาว 0.3 - 0.5 เซนติเมตร วงใบประดับรูประฆัง ฐานกลม ใบประดับเรียงตัวเป็นแถว กลีบดอกเป็นรูปเส้นด้าย ยาว ประมาณ 0.3 เซนติเมตร สีม่วงอ่อน มีกลิ่นหอมเล็กน้อย ผล เป็นแบบผลแห้งเมล็ดล่อน รูปทรงกระบอก ขนาด 0.1 X 0.4 เซนติเมตร ผลเกลี้ยง
ลักษณะเด่น ไม้พุ่ม เป็นกอ ขนเล็กปกคลุมตามกิ่ง ดอกช่อแบบกระจุกแน่น คล้ายดอกสาบเสือ
นิเวศวิทยา มักขึ้นริมน้ำตอนบนของป่าชายเลน เป็นกลุ่มๆ ออกดอก – ผล ตลอดปี
ประโยชน์ ต้น ต้มดื่มแก้โรคปวดเอวปวดหลัง ใช้บำรุงยา ขับปัสสาวะแก้ปัสสาวะพิการ แก้วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง แก้โรคริดสีดวงทวาร เป็นยาช่วยย่อย เปลือกลำต้น ต้มน้ำเอาไอรมทวารหนัก และรับประทานแก้โรคริดสีดวงทวาร ใช้สับตากแห้งมวนบุหรี่ สูบดมแก้โพรงจมูกอักเสบ ไซนัส ริดสีดวงจมูก ใบ ต้มน้ำดื่มแทนน้ำชาเพื่อลดน้ำหนัก แก้ปวดเมื่อย ขับระดูขาว ตำพอกแผลแก้แผลอักเสบ และต้มน้ำอาบบำรุงประสาท ใบสดตำพอกบริเวณที่เป็นแผลแก้แผลอักเสบ ใบและราก แก้โรคบิด ขับเหงื่อ แก้แผลอักเสบ ราก สดตำพอกบริเวณแผล ใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผัก
ชื่อพฤกษศาสตร์: Pluchea indica ( L.) Less.
ชื่อพื้นเมือง: ขลู่
ชื่อท้องถิ่น: ขลู่น้ำเค็ม
วงศ์ ASTERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1 - 1.5 เมตร ขึ้นอยู่รวมเป็นกอ ราก ระบบรากแก้วมีรากฝอยแตกออกมารอบๆ ยึดลำต้น ลำต้น พุ่มตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก มีขนเล็กละเอียดปกคลุมตามกิ่ง ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบสลับ แผ่นใบรูปไข่กลับ หรือ รูปช้อนแกมขอบขนาน ขนาด 1 - 2 X 2 - 4 เซนติเมตร ฐานใบสอบเรียว ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย มีขนปกคลุมเล็กน้อย ปลายใบมน หรือ กลม ก้านใบสั้นมาก ใบมีกลิ่นหอมฉุน ดอก สมบูรณ์เพศ เป็นช่อแบบกระจุกแน่น ออกดอกที่ปลายกิ่ง เป็นพุ่มคล้ายดอกสาบเสือ ก้านช่อดอกยาว 0.3 - 0.5 เซนติเมตร วงใบประดับรูประฆัง ฐานกลม ใบประดับเรียงตัวเป็นแถว กลีบดอกเป็นรูปเส้นด้าย ยาว ประมาณ 0.3 เซนติเมตร สีม่วงอ่อน มีกลิ่นหอมเล็กน้อย ผล เป็นแบบผลแห้งเมล็ดล่อน รูปทรงกระบอก ขนาด 0.1 X 0.4 เซนติเมตร ผลเกลี้ยง
ลักษณะเด่น ไม้พุ่ม เป็นกอ ขนเล็กปกคลุมตามกิ่ง ดอกช่อแบบกระจุกแน่น คล้ายดอกสาบเสือ
นิเวศวิทยา มักขึ้นริมน้ำตอนบนของป่าชายเลน เป็นกลุ่มๆ ออกดอก – ผล ตลอดปี
ประโยชน์ ต้น ต้มดื่มแก้โรคปวดเอวปวดหลัง ใช้บำรุงยา ขับปัสสาวะแก้ปัสสาวะพิการ แก้วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง แก้โรคริดสีดวงทวาร เป็นยาช่วยย่อย เปลือกลำต้น ต้มน้ำเอาไอรมทวารหนัก และรับประทานแก้โรคริดสีดวงทวาร ใช้สับตากแห้งมวนบุหรี่ สูบดมแก้โพรงจมูกอักเสบ ไซนัส ริดสีดวงจมูก ใบ ต้มน้ำดื่มแทนน้ำชาเพื่อลดน้ำหนัก แก้ปวดเมื่อย ขับระดูขาว ตำพอกแผลแก้แผลอักเสบ และต้มน้ำอาบบำรุงประสาท ใบสดตำพอกบริเวณที่เป็นแผลแก้แผลอักเสบ ใบและราก แก้โรคบิด ขับเหงื่อ แก้แผลอักเสบ ราก สดตำพอกบริเวณแผล ใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผัก
แสมขาว
ชื่อพฤกษศาสตร์: Avicennia alba Blume
ชื่อพื้นเมือง: แสมขาว
ชื่อท้องถิ่น: แสมดำ
วงศ์ AVICENNIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดกลาง - ขนาดใหญ่ สูง 8 - 20 เมตร ราก ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายดินสอ ยาว 15 - 30 เซนติเมตร โผล่เหนือผิวดิน หนาแน่นบริเวณโคนต้น ลำต้น มีลำต้นหลักเพียงหนึ่งเห็นได้ชัดเจน เนื้อไม้แข็ง ไม่มีพูพอน ลำต้นแตกกิ่งระดับต่ำ เรือนยอดค่อนข้างกลม แผ่กว้าง หนาทึบ กิ่งห้อยลง เปลือกเรียบสีเทา ลำต้นที่มีอายุมากขึ้น มักจะมีสีสนิมเกิดจากเชื้อรา ติดตามกิ่งและผิวของลำต้น ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปหอกแกมรี หรือรูปใบหอกแกมขอบขนาน ขนาด 2 - 5 X 5 - 16 เซนติเมตร ฐานใบแหลม ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม ก้านใบยาว 1 - 2 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านท้องใบมีขนยาวนุ่ม สีเทาอ่อน หรือ สีเทาเงินถึงสีขาวอมเหลือง ลักษณะของใบเมื่อมองจากระยะไกล จะเห็นเป็นใบละเอียดเล็กสีขาวบรอนซ์ ดอก สมบูรณ์เพศ เป็นช่อที่ปลายยอด หรือ ง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง เป็นช่อยาว 3 - 8 เซนติเมตร มีขนยาวนุ่ม สีน้ำตาล อมเหลืองหม่นปกคลุม ดอกมีขนาดเล็ก ดอกย่อยไม่มีก้านดอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.4 - 0.6 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ ยาว 0.2 - 0.3 เซนติเมตร โคนกลีบติดกัน สีเหลือง ส้ม เกสรเพศผู้ 4 อัน เกสรเพศเมียมี 1 อัน ผล รูปคล้ายพริกแกง พริกชี้ฟ้า หรือ รูปไข่ เบี้ยว แบนด้านข้าง ขนาด 1.5 - 2 X 2.5 - 4 เซนติเมตร ปลายผลมีจะงอยยาวค่อนข้างโค้งสีเขียวอ่อน มีขนยาวนุ่มสีเขียวอ่อนอมเทา ผลแก่เปลือกแตกด้านข้างตามยาวผล และม้วนเป็นหลอดกลม แต่ละผลมี 1 เมล็ด
ลักษณะเด่น ใบรูปหอกปลายแหลม ผลยาวคล้ายพริกแกง หรือ พริกชี้ฟ้า ลำต้นแก่สีค่อนข้างดำ
นิเวศวิทยา เป็นไม้เบิกนำที่ขึ้นได้ดี ในพื้นที่ดินเลนอ่อนปนทราย ที่ระบายน้ำดี ส่วนมากจะอยู่ในป่าชายเลนด้านนอกสุด ส่วนที่ติดกับทะเล มักขึ้นปะปนกับแสมทะเล บางครั้งพบมีซากเปลือกหอยผสมอยู่ เป็นไม้ที่ช่วยให้มีการตกตะกอน ทำให้เกิดแผ่นดินงอกใหม่ ออกดอก - ออกผลตลอดปี
ประโยชน์ ก้านและใบเผาไฟรมควัน แก้พิษจากสัตว์น้ำทุกชนิดโดยเฉพาะปลาทะเลมีพิษ เปลือก เป็นยาบำรุงกำหนัด แก้ปวดฟัน ตำพอกฝีแตก กระพี้ เป็นยาแก้พิษงู แก่น มีรสเค็มเฝื่อน ต้มน้ำ แก้ลมในกระดูก แก้กระษัยโดยมากจะใช้คู่กับแก่นแสมสาน (ขี้เหล็กป่า) เป็นยาขับโลหิตเสียของสตรี หรือ ใช้ดื่มแก้ท้องร่วง ลำต้น เป็นเชื้อเพลิง ทำเป็นแผ่นหนา ปูเป็นไม้พื้น ที่พักชั่วคราว ลำต้นตรงทำสากตำข้าว เสาโป๊ะ ด้ามคิวบิลเลียด เนื้อไม้อ่อนหยาบเลื่อยไสตบแต่งง่าย
ชื่อพฤกษศาสตร์: Avicennia alba Blume
ชื่อพื้นเมือง: แสมขาว
ชื่อท้องถิ่น: แสมดำ
วงศ์ AVICENNIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดกลาง - ขนาดใหญ่ สูง 8 - 20 เมตร ราก ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายดินสอ ยาว 15 - 30 เซนติเมตร โผล่เหนือผิวดิน หนาแน่นบริเวณโคนต้น ลำต้น มีลำต้นหลักเพียงหนึ่งเห็นได้ชัดเจน เนื้อไม้แข็ง ไม่มีพูพอน ลำต้นแตกกิ่งระดับต่ำ เรือนยอดค่อนข้างกลม แผ่กว้าง หนาทึบ กิ่งห้อยลง เปลือกเรียบสีเทา ลำต้นที่มีอายุมากขึ้น มักจะมีสีสนิมเกิดจากเชื้อรา ติดตามกิ่งและผิวของลำต้น ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปหอกแกมรี หรือรูปใบหอกแกมขอบขนาน ขนาด 2 - 5 X 5 - 16 เซนติเมตร ฐานใบแหลม ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม ก้านใบยาว 1 - 2 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านท้องใบมีขนยาวนุ่ม สีเทาอ่อน หรือ สีเทาเงินถึงสีขาวอมเหลือง ลักษณะของใบเมื่อมองจากระยะไกล จะเห็นเป็นใบละเอียดเล็กสีขาวบรอนซ์ ดอก สมบูรณ์เพศ เป็นช่อที่ปลายยอด หรือ ง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง เป็นช่อยาว 3 - 8 เซนติเมตร มีขนยาวนุ่ม สีน้ำตาล อมเหลืองหม่นปกคลุม ดอกมีขนาดเล็ก ดอกย่อยไม่มีก้านดอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.4 - 0.6 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ ยาว 0.2 - 0.3 เซนติเมตร โคนกลีบติดกัน สีเหลือง ส้ม เกสรเพศผู้ 4 อัน เกสรเพศเมียมี 1 อัน ผล รูปคล้ายพริกแกง พริกชี้ฟ้า หรือ รูปไข่ เบี้ยว แบนด้านข้าง ขนาด 1.5 - 2 X 2.5 - 4 เซนติเมตร ปลายผลมีจะงอยยาวค่อนข้างโค้งสีเขียวอ่อน มีขนยาวนุ่มสีเขียวอ่อนอมเทา ผลแก่เปลือกแตกด้านข้างตามยาวผล และม้วนเป็นหลอดกลม แต่ละผลมี 1 เมล็ด
ลักษณะเด่น ใบรูปหอกปลายแหลม ผลยาวคล้ายพริกแกง หรือ พริกชี้ฟ้า ลำต้นแก่สีค่อนข้างดำ
นิเวศวิทยา เป็นไม้เบิกนำที่ขึ้นได้ดี ในพื้นที่ดินเลนอ่อนปนทราย ที่ระบายน้ำดี ส่วนมากจะอยู่ในป่าชายเลนด้านนอกสุด ส่วนที่ติดกับทะเล มักขึ้นปะปนกับแสมทะเล บางครั้งพบมีซากเปลือกหอยผสมอยู่ เป็นไม้ที่ช่วยให้มีการตกตะกอน ทำให้เกิดแผ่นดินงอกใหม่ ออกดอก - ออกผลตลอดปี
ประโยชน์ ก้านและใบเผาไฟรมควัน แก้พิษจากสัตว์น้ำทุกชนิดโดยเฉพาะปลาทะเลมีพิษ เปลือก เป็นยาบำรุงกำหนัด แก้ปวดฟัน ตำพอกฝีแตก กระพี้ เป็นยาแก้พิษงู แก่น มีรสเค็มเฝื่อน ต้มน้ำ แก้ลมในกระดูก แก้กระษัยโดยมากจะใช้คู่กับแก่นแสมสาน (ขี้เหล็กป่า) เป็นยาขับโลหิตเสียของสตรี หรือ ใช้ดื่มแก้ท้องร่วง ลำต้น เป็นเชื้อเพลิง ทำเป็นแผ่นหนา ปูเป็นไม้พื้น ที่พักชั่วคราว ลำต้นตรงทำสากตำข้าว เสาโป๊ะ ด้ามคิวบิลเลียด เนื้อไม้อ่อนหยาบเลื่อยไสตบแต่งง่าย
แสมทะเล
ชื่อพฤกษศาสตร์: Avicennia marina Forssk.
ชื่อพื้นเมือง: แสมทะเล
ชื่อท้องถิ่น: แสมขาว
วงศ์ AVICENNIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก – ขนาดกลาง สูง 2 - 5 เมตร ราก ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจคล้ายดินสอ ยาว 10 - 20 เซนติเมตร เจริญออกมาจากรากแขนง ปลายรากตั้งตรงเหนือผิวดิน ลำต้น บางครั้งแตกกิ่งก้านสาขาคล้ายไม้พุ่ม ส่วนใหญ่จะมีสองลำต้น หรือ มากกว่า ไม่มีพูพอน เรือนยอดโปร่ง เขียว รอบๆโคนต้น เปลือกเรียบเป็นมัน ลำต้นสีขาวอมเทาเล็กน้อย หรือ ขาวอมชมพู ต้นที่อายุมากเปลือกจะหลุดออกเป็นเกล็ดบางๆ หรือ ลอกเป็นแผ่นคล้ายแผ่นกระดาษ และผิวของเปลือกใหม่จะมีสีเขียว ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี หรือ รูปไข่แกมรี หรือ รูปใบหอกแกมรูปไข่ ขนาด 1.5 - 4 X 3 - 12 เซนติเมตร ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบม้วนเข้าหากันทางด้านท้องใบ มีลักษณะคล้ายหลอดกลม ปลายใบมนถึงแหลมเล็กน้อย ใบด้านบนสีเขียวเหลืองอ่อนเป็นมัน ด้านท้องใบขาวอมเทา หรือ ขาวนวลเมื่อแห้งเปลี่ยนเป็นสีดำ ก้านใบยาว 0.4 - 1.4 เซนติเมตร ดอก สมบูรณ์เพศ ช่อกระจุก ที่ปลายยอด หรือง่ามใบใกล้ๆปลายยอด ก้านช่อดอกยาว 1 - 5 เซนติเมตร แต่ละช่อมี 8 - 14 ดอก ช่อดอกย่อยเป็นช่อกระจุก ก้านดอกยาว 0.5 - 1.5 เซนติเมตร ดอกย่อยไม่มีก้าน ดอกมีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดคงทน กลีบดอก 4 กลีบ รูปไข่กว้าง ประมาณ 0.3 เซนติเมตร โคนกลีบติดกันสีเหลืองแสด หรือ สีส้มอมเหลือง เกสรเพศผู้ 4 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน ผล รูปไข่กว้าง เบี้ยว หรือ เกือบกลม แบนด้านข้าง ปลายมนคล้ายรูปหัวใจ ขนาดเล็กกว่าผลแสมดำ ขนาด 1.5 - 2 X 1.5 - 2.5 เซนติเมตร เปลือกอ่อนนุ่ม สีเขียวอมเหลือง มีขนนุ่ม ปลายผลไม่มีจะงอย ผลแก่เปลือกจะแตกด้านข้างตามยาวผล และม้วนเป็นหลอดกลม แต่ละผลมี 1 เมล็ด
ลักษณะเด่น ใบ รูปไข่แกมรี ห่อม้วนกลับเข้าหากัน คล้ายหลอดกลม ผลกลมคล้ายรูปหัวใจ ดอกสีส้มเหลืองถึงแสด
นิเวศวิทยา ไม้เบิกนำที่ขึ้นได้ดี ในที่โล่งติดชายฝั่งทะเล หรือ พื้นที่ดินเลนงอกใหม่ ดินเลนปนทราย ออกดอก - ผลตลอดปี
ประโยชน์ แก่นมีรสเค็มกร่อยเฝื่อน แก้เลือดลม แก้ลมในกระดูก แก้กระษัยฟอกและขับโลหิตระดู ถ่ายระดูเน่าเสีย และแก้ปัสสาวะพิการ
ชื่อพฤกษศาสตร์: Avicennia marina Forssk.
ชื่อพื้นเมือง: แสมทะเล
ชื่อท้องถิ่น: แสมขาว
วงศ์ AVICENNIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก – ขนาดกลาง สูง 2 - 5 เมตร ราก ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจคล้ายดินสอ ยาว 10 - 20 เซนติเมตร เจริญออกมาจากรากแขนง ปลายรากตั้งตรงเหนือผิวดิน ลำต้น บางครั้งแตกกิ่งก้านสาขาคล้ายไม้พุ่ม ส่วนใหญ่จะมีสองลำต้น หรือ มากกว่า ไม่มีพูพอน เรือนยอดโปร่ง เขียว รอบๆโคนต้น เปลือกเรียบเป็นมัน ลำต้นสีขาวอมเทาเล็กน้อย หรือ ขาวอมชมพู ต้นที่อายุมากเปลือกจะหลุดออกเป็นเกล็ดบางๆ หรือ ลอกเป็นแผ่นคล้ายแผ่นกระดาษ และผิวของเปลือกใหม่จะมีสีเขียว ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี หรือ รูปไข่แกมรี หรือ รูปใบหอกแกมรูปไข่ ขนาด 1.5 - 4 X 3 - 12 เซนติเมตร ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบม้วนเข้าหากันทางด้านท้องใบ มีลักษณะคล้ายหลอดกลม ปลายใบมนถึงแหลมเล็กน้อย ใบด้านบนสีเขียวเหลืองอ่อนเป็นมัน ด้านท้องใบขาวอมเทา หรือ ขาวนวลเมื่อแห้งเปลี่ยนเป็นสีดำ ก้านใบยาว 0.4 - 1.4 เซนติเมตร ดอก สมบูรณ์เพศ ช่อกระจุก ที่ปลายยอด หรือง่ามใบใกล้ๆปลายยอด ก้านช่อดอกยาว 1 - 5 เซนติเมตร แต่ละช่อมี 8 - 14 ดอก ช่อดอกย่อยเป็นช่อกระจุก ก้านดอกยาว 0.5 - 1.5 เซนติเมตร ดอกย่อยไม่มีก้าน ดอกมีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดคงทน กลีบดอก 4 กลีบ รูปไข่กว้าง ประมาณ 0.3 เซนติเมตร โคนกลีบติดกันสีเหลืองแสด หรือ สีส้มอมเหลือง เกสรเพศผู้ 4 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน ผล รูปไข่กว้าง เบี้ยว หรือ เกือบกลม แบนด้านข้าง ปลายมนคล้ายรูปหัวใจ ขนาดเล็กกว่าผลแสมดำ ขนาด 1.5 - 2 X 1.5 - 2.5 เซนติเมตร เปลือกอ่อนนุ่ม สีเขียวอมเหลือง มีขนนุ่ม ปลายผลไม่มีจะงอย ผลแก่เปลือกจะแตกด้านข้างตามยาวผล และม้วนเป็นหลอดกลม แต่ละผลมี 1 เมล็ด
ลักษณะเด่น ใบ รูปไข่แกมรี ห่อม้วนกลับเข้าหากัน คล้ายหลอดกลม ผลกลมคล้ายรูปหัวใจ ดอกสีส้มเหลืองถึงแสด
นิเวศวิทยา ไม้เบิกนำที่ขึ้นได้ดี ในที่โล่งติดชายฝั่งทะเล หรือ พื้นที่ดินเลนงอกใหม่ ดินเลนปนทราย ออกดอก - ผลตลอดปี
ประโยชน์ แก่นมีรสเค็มกร่อยเฝื่อน แก้เลือดลม แก้ลมในกระดูก แก้กระษัยฟอกและขับโลหิตระดู ถ่ายระดูเน่าเสีย และแก้ปัสสาวะพิการ
แสมดำ
ชื่อพฤกษศาสตร์: Avicennia officinalis L.
ชื่อพื้นเมือง: แสมดำ
ชื่อท้องถิ่น: แสมขาว
วงศ์ AVICENNIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดกลาง - ขนาดใหญ่ สูง 8 - 25 เมตร ราก ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจคล้ายดินสอ ยาว 15 - 25 เซนติเมตร เหนือผิวดิน ลำต้น เรือนยอดเป็นพุ่มหนาแตกกิ่งระดับต่ำ ไม่มีพูพอน เปลือกเรียบ หรือ แตกเป็นร่องเล็กน้อย สีเทาถึงเทาอมน้ำตาล หรือ น้ำตาลอมเขียว ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี หรือรูปไข่กลับ ขนาด 3 - 5 X 6 - 9 เซนติเมตร ฐานใบแหลม ปลายใบกลม ก้านใบยาว 0.7 - 1.1 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขน ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านท้องใบมีขนยาวนุ่ม สีเทาอมน้ำตาล ดอก สมบูรณ์เพศ ออกปลายกิ่ง หรือง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง เป็นช่อเชิงลดแน่น มี 7 - 10 ดอก ก้านช่อดอกยาว 2 - 6 เซนติเมตร ดอกย่อยไม่มีก้าน เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 - 1.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี 5 แฉก กลีบดอก 4 กลีบ โคนกลีบติดกันเป็นหลอดสั้นๆ แต่ละกลีบ ยาว 0.4 - 0.7 เซนติเมตร สีเหลือง หรือ สีเหลืองส้ม เกสรเพศผู้ 4 อัน อยู่เหนือหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมียมี 1 อัน ผล รูปหัวใจเบี้ยว แบน ขนาด 2 - 2.5 X 2.5 - 3 เซนติเมตร มีขนนุ่มปกคลุมหนาแน่น สีเหลืองอมน้ำตาล ผิวเปลือกอ่อนนุ่ม มีรอยย่น ปลายผลมีจะงอยสั้น ผลแก่เปลือกจะแตกด้านข้างตามยาวผล และม้วนเป็นหลอดกลม ผลสีเหลืองอมเขียว แต่ละผลมี 1 เมล็ด
ลักษณะเด่น ใบกว้างปลายใบกลม ท้องใบสีเทาอมน้ำตาล และผลกลมคล้ายรูปหัวใจ
นิเวศวิทยา มักขึ้นตามริมชายฝั่งแม่น้ำ ตามริมชายฝั่งทะเล ที่เป็นดินเหนียวค่อนข้างแข็ง ไม่พบว่าขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ พบน้อยกว่าแสมขาว และแสมทะเล ออกดอกประมาณเดือนมกราคม – พฤกษาคม
ประโยชน์ ก้านและใบเผาไฟรมควัน แก้พิษจากสัตว์น้ำทุกชนิด โดยเฉพาะปลาทะเลมีพิษทุกชนิด เปลือก เป็นยาบำรุงกำหนัด แก้ปวดฟัน ตำพอกฝีแตก เปลือกให้สีน้ำตาลแกมแดง กระพี้เป็นยาแก้พิษงูได้ แก่น มีรสเค็มเฝื่อน ต้มน้ำแก้ลมในกระดูก แก้กระษัยโดยมากจะใช้คู่กับแก่นแสมสาน (ขี้เหล็กป่า) เป็นยาขับโลหิตเสียของสตรี หรือ ใช้ดื่มแก้ท้องร่วง ลำต้นเป็นเชื้อเพลิง ทำแผ่นหนาปูเป็นไม้พื้น ที่พักชั่วคราว ลำต้นตรงทำสากตำข้าว เสาโป๊ะ ด้ามคิวบิลเลียด เนื้อไม้อ่อนหยาบ เลื่อยไส ตบแต่งได้ง่าย เปลือกให้น้ำฝาดใช้ในการย้อมผ้า อวน แห
หมายเหตุ แสมดำปลายใบกลม ท้องใบสีเทาอมน้ำตาล ผลรูปหัวใจ ซึ่งแตกต่างจากแสมขาวที่มีปลายใบเรียวแหลมยาว ท้องใบสีเงิน มองระยะไกลเห็นเป็นสีขาวบรอนซ์ ผลยาว รูปพริกชี้ฟ้า ปลายผลมีจะงอยยาวค่อนข้างโค้ง ส่วนแสมทะเล ใบเรียบม้วนเข้าหากันคล้ายหลอดกลม
ผลกลมกว่าแสมดำ
ชื่อพฤกษศาสตร์: Avicennia officinalis L.
ชื่อพื้นเมือง: แสมดำ
ชื่อท้องถิ่น: แสมขาว
วงศ์ AVICENNIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดกลาง - ขนาดใหญ่ สูง 8 - 25 เมตร ราก ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจคล้ายดินสอ ยาว 15 - 25 เซนติเมตร เหนือผิวดิน ลำต้น เรือนยอดเป็นพุ่มหนาแตกกิ่งระดับต่ำ ไม่มีพูพอน เปลือกเรียบ หรือ แตกเป็นร่องเล็กน้อย สีเทาถึงเทาอมน้ำตาล หรือ น้ำตาลอมเขียว ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี หรือรูปไข่กลับ ขนาด 3 - 5 X 6 - 9 เซนติเมตร ฐานใบแหลม ปลายใบกลม ก้านใบยาว 0.7 - 1.1 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขน ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านท้องใบมีขนยาวนุ่ม สีเทาอมน้ำตาล ดอก สมบูรณ์เพศ ออกปลายกิ่ง หรือง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง เป็นช่อเชิงลดแน่น มี 7 - 10 ดอก ก้านช่อดอกยาว 2 - 6 เซนติเมตร ดอกย่อยไม่มีก้าน เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 - 1.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี 5 แฉก กลีบดอก 4 กลีบ โคนกลีบติดกันเป็นหลอดสั้นๆ แต่ละกลีบ ยาว 0.4 - 0.7 เซนติเมตร สีเหลือง หรือ สีเหลืองส้ม เกสรเพศผู้ 4 อัน อยู่เหนือหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมียมี 1 อัน ผล รูปหัวใจเบี้ยว แบน ขนาด 2 - 2.5 X 2.5 - 3 เซนติเมตร มีขนนุ่มปกคลุมหนาแน่น สีเหลืองอมน้ำตาล ผิวเปลือกอ่อนนุ่ม มีรอยย่น ปลายผลมีจะงอยสั้น ผลแก่เปลือกจะแตกด้านข้างตามยาวผล และม้วนเป็นหลอดกลม ผลสีเหลืองอมเขียว แต่ละผลมี 1 เมล็ด
ลักษณะเด่น ใบกว้างปลายใบกลม ท้องใบสีเทาอมน้ำตาล และผลกลมคล้ายรูปหัวใจ
นิเวศวิทยา มักขึ้นตามริมชายฝั่งแม่น้ำ ตามริมชายฝั่งทะเล ที่เป็นดินเหนียวค่อนข้างแข็ง ไม่พบว่าขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ พบน้อยกว่าแสมขาว และแสมทะเล ออกดอกประมาณเดือนมกราคม – พฤกษาคม
ประโยชน์ ก้านและใบเผาไฟรมควัน แก้พิษจากสัตว์น้ำทุกชนิด โดยเฉพาะปลาทะเลมีพิษทุกชนิด เปลือก เป็นยาบำรุงกำหนัด แก้ปวดฟัน ตำพอกฝีแตก เปลือกให้สีน้ำตาลแกมแดง กระพี้เป็นยาแก้พิษงูได้ แก่น มีรสเค็มเฝื่อน ต้มน้ำแก้ลมในกระดูก แก้กระษัยโดยมากจะใช้คู่กับแก่นแสมสาน (ขี้เหล็กป่า) เป็นยาขับโลหิตเสียของสตรี หรือ ใช้ดื่มแก้ท้องร่วง ลำต้นเป็นเชื้อเพลิง ทำแผ่นหนาปูเป็นไม้พื้น ที่พักชั่วคราว ลำต้นตรงทำสากตำข้าว เสาโป๊ะ ด้ามคิวบิลเลียด เนื้อไม้อ่อนหยาบ เลื่อยไส ตบแต่งได้ง่าย เปลือกให้น้ำฝาดใช้ในการย้อมผ้า อวน แห
หมายเหตุ แสมดำปลายใบกลม ท้องใบสีเทาอมน้ำตาล ผลรูปหัวใจ ซึ่งแตกต่างจากแสมขาวที่มีปลายใบเรียวแหลมยาว ท้องใบสีเงิน มองระยะไกลเห็นเป็นสีขาวบรอนซ์ ผลยาว รูปพริกชี้ฟ้า ปลายผลมีจะงอยยาวค่อนข้างโค้ง ส่วนแสมทะเล ใบเรียบม้วนเข้าหากันคล้ายหลอดกลม
ผลกลมกว่าแสมดำ
แคทะเล
แคทะเล
ชื่อพฤกษศาสตร์: Dolichandrone spathacea
(L.f.) K.Schum.
ชื่อพื้นเมือง: แคทะเล
ชื่อท้องถิ่น: แคป่า
วงศ์ BIGNONIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4 - 10 เมตร ไม่ผลัดใบ ราก ระบบรากแก้ว หยั่งดินลึก ไม่พบทั้งรากหายใจและรากค้ำยัน ลำต้น ไม้เนื้อแข็ง ตั้งตรง แตกกิ่งก้านน้อย เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือกเรียบ หรือ แตกเป็นร่องตื้นๆ มีช่องอากาศตามลำต้น สีเทา แต่ละส่วนเมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงตรงข้ามกัน ก้านใบ ยาว 10 - 30 เซนติเมตร ใบย่อย 2 – 4 คู่ ขนาดไม่เท่ากัน ใบรูปไข่ รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือ รูปใบหอกถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ขนาด 2.5 - 7 X 7 - 16 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมยาวคล้ายหาง ฐานใบเบี้ยว หรือแหลมถึงกลม ขอบใบเรียบ มีต่อมเรียงไปตามเส้นกลางใบทางด้านท้องใบ ก้านใบย่อย ยาว 0.4 - 1 เซนติเมตร ดอก สมบูรณ์เพศ แบบช่อกระจะ ช่อดอกสั้นออกตามปลายกิ่ง ยาว 3 -5 เซนติเมตร แต่ละช่อมี 3 - 7 ดอก ก้านดอกย่อยยาว 1.5 - 3.3 เซนติเมตร บานครั้งละหนึ่งดอก วงกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปแตร ยาว 12 - 17 เซนติเมตร ปากแตรแยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกมีรอยยับย่น และหยักมนตามขอบ สีขาว มีกลิ่นหอม เกสรเพศผู้ 2 คู่ แต่ละคู่สั้น - ยาวไม่เท่ากัน เกสรเพศเมีย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ก้านเกสรยาวพ้นระดับกลีบดอก ยอดเกสรแยกเป็น 2 แฉก มีเม็ดไข่จำนวนมาก ผล เป็นฝักเรียวยาว 2 - 3 X 30 - 60 เซนติเมตร บิดเป็นเกลียว เมื่อแห้งแตกออกเป็นสองซีก เมล็ดจำนวนมาก เมล็ดหนาแบนมีปีก รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 0.6 - 0.8 X 1.3 - 1.8 เซนติเมตร
ลักษณะเด่น ฝักเรียวยาวบิดเป็นเกลียว เมื่อแห้งแตกออกเป็นสองซีก เมล็ดจำนวนมาก เมล็ดหนามีปีกรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า
นิเวศวิทยา แคทะเลขึ้นในป่าบริเวณน้ำกร่อย มีเขตการกระจายพันธุ์ ทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ของประเทศไทย ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี แต่จะออกมาก เดือน เมษายน – พฤษภาคมและติดผลเดือนกรกฎาคม - กันยายน
ประโยชน์ รากแก้ไข้ขับเสมหะ เลือดลม เปลือกแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ดอกแก้ไข้ เมล็ดแก้ปวดประสาท ใบแก้ไข้แก้คัน เป็นยาบ้วนปากรักษาแผล ดอก และยอด ใช้รับประทานเป็นผัก เนื้อไม้ ใช้ทำเครื่องเรือน และหีบใส่ของ
ชื่อพฤกษศาสตร์: Dolichandrone spathacea
(L.f.) K.Schum.
ชื่อพื้นเมือง: แคทะเล
ชื่อท้องถิ่น: แคป่า
วงศ์ BIGNONIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4 - 10 เมตร ไม่ผลัดใบ ราก ระบบรากแก้ว หยั่งดินลึก ไม่พบทั้งรากหายใจและรากค้ำยัน ลำต้น ไม้เนื้อแข็ง ตั้งตรง แตกกิ่งก้านน้อย เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือกเรียบ หรือ แตกเป็นร่องตื้นๆ มีช่องอากาศตามลำต้น สีเทา แต่ละส่วนเมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงตรงข้ามกัน ก้านใบ ยาว 10 - 30 เซนติเมตร ใบย่อย 2 – 4 คู่ ขนาดไม่เท่ากัน ใบรูปไข่ รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือ รูปใบหอกถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ขนาด 2.5 - 7 X 7 - 16 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมยาวคล้ายหาง ฐานใบเบี้ยว หรือแหลมถึงกลม ขอบใบเรียบ มีต่อมเรียงไปตามเส้นกลางใบทางด้านท้องใบ ก้านใบย่อย ยาว 0.4 - 1 เซนติเมตร ดอก สมบูรณ์เพศ แบบช่อกระจะ ช่อดอกสั้นออกตามปลายกิ่ง ยาว 3 -5 เซนติเมตร แต่ละช่อมี 3 - 7 ดอก ก้านดอกย่อยยาว 1.5 - 3.3 เซนติเมตร บานครั้งละหนึ่งดอก วงกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปแตร ยาว 12 - 17 เซนติเมตร ปากแตรแยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกมีรอยยับย่น และหยักมนตามขอบ สีขาว มีกลิ่นหอม เกสรเพศผู้ 2 คู่ แต่ละคู่สั้น - ยาวไม่เท่ากัน เกสรเพศเมีย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ก้านเกสรยาวพ้นระดับกลีบดอก ยอดเกสรแยกเป็น 2 แฉก มีเม็ดไข่จำนวนมาก ผล เป็นฝักเรียวยาว 2 - 3 X 30 - 60 เซนติเมตร บิดเป็นเกลียว เมื่อแห้งแตกออกเป็นสองซีก เมล็ดจำนวนมาก เมล็ดหนาแบนมีปีก รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 0.6 - 0.8 X 1.3 - 1.8 เซนติเมตร
ลักษณะเด่น ฝักเรียวยาวบิดเป็นเกลียว เมื่อแห้งแตกออกเป็นสองซีก เมล็ดจำนวนมาก เมล็ดหนามีปีกรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า
นิเวศวิทยา แคทะเลขึ้นในป่าบริเวณน้ำกร่อย มีเขตการกระจายพันธุ์ ทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ของประเทศไทย ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี แต่จะออกมาก เดือน เมษายน – พฤษภาคมและติดผลเดือนกรกฎาคม - กันยายน
ประโยชน์ รากแก้ไข้ขับเสมหะ เลือดลม เปลือกแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ดอกแก้ไข้ เมล็ดแก้ปวดประสาท ใบแก้ไข้แก้คัน เป็นยาบ้วนปากรักษาแผล ดอก และยอด ใช้รับประทานเป็นผัก เนื้อไม้ ใช้ทำเครื่องเรือน และหีบใส่ของ
ชะคราม
ชะคราม
ชื่อพฤกษศาสตร์: Suaeda maritima (L.) Dumort.
ชื่อพื้นเมือง: ชะคราม
ชื่อท้องถิ่น: ผักชักคราม
วงศ์ CHENOPODIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ล้มลุก หรือ ไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 1 - 1.5 เมตร ราก มีรากงอกบริเวณข้อระดับต่ำ ลำต้น ลำต้นเดี่ยว ทรงพุ่มแผ่กระจาย แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ลำต้นแก่มีผิวหยาบจากรอยแผล ที่เกิดจากใบที่ร่วงหล่นไปแล้ว เมื่อมีอายุมากขึ้นลำต้นจะมีเนื้อ ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับกันแน่น ไม่มีก้านใบ ใบรูปแถบยาว 1 - 3 เซนติเมตร ใบอวบน้ำ สีเขียว สำหรับต้นที่ขึ้นบริเวณแห้งแล้ง แดดจัดมีสีเขียวอมม่วง ดอกสมบูรณ์เพศ แบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายยอด ช่อดอก ยาว 3 - 10 เซนติเมตร แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ใบประดับที่อยู่ระดับต่ำมีขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายใบ และมีขนาดเล็กลงไปที่ปลายช่อ ใบประดับย่อยที่ฐาน วงกลีบรวมมี 2 - 3 ใบ รูปขอบขนานมน โปร่งใส มีผลึกเกลือเกาะตามผิวและติดทน วงกลีบรวมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.1 - 0.2 เซนติเมตร สีเขียว หรือ สีเขียวอมม่วง ผล มีลักษณะกลมขนาดเล็กมาก เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.1 - 0.3 เซนติเมตร
ลักษณะเด่น ใบเดี่ยวมีขนาดเล็ก ดอก ผล ขนาดเล็กมาก
นิเวศวิทยา ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด หรือ พบทั่วไปบริเวณดินเค็มที่มีน้ำทะเลท่วมถึง หรือ มักพบในพื้นที่ราบโล่งที่เป็นดินเลน และดินที่มีความเค็มสูง ทนแล้ง และความเค็มได้ดีออกดอก - ผลตลอดปี
ประโยชน์ ต้นมีรสเค็มเย็นกินขับปัสสาวะ แก้หนองใน รักษารากผม แก้ผมพิการ
ชื่อพฤกษศาสตร์: Suaeda maritima (L.) Dumort.
ชื่อพื้นเมือง: ชะคราม
ชื่อท้องถิ่น: ผักชักคราม
วงศ์ CHENOPODIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ล้มลุก หรือ ไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 1 - 1.5 เมตร ราก มีรากงอกบริเวณข้อระดับต่ำ ลำต้น ลำต้นเดี่ยว ทรงพุ่มแผ่กระจาย แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ลำต้นแก่มีผิวหยาบจากรอยแผล ที่เกิดจากใบที่ร่วงหล่นไปแล้ว เมื่อมีอายุมากขึ้นลำต้นจะมีเนื้อ ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับกันแน่น ไม่มีก้านใบ ใบรูปแถบยาว 1 - 3 เซนติเมตร ใบอวบน้ำ สีเขียว สำหรับต้นที่ขึ้นบริเวณแห้งแล้ง แดดจัดมีสีเขียวอมม่วง ดอกสมบูรณ์เพศ แบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายยอด ช่อดอก ยาว 3 - 10 เซนติเมตร แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ใบประดับที่อยู่ระดับต่ำมีขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายใบ และมีขนาดเล็กลงไปที่ปลายช่อ ใบประดับย่อยที่ฐาน วงกลีบรวมมี 2 - 3 ใบ รูปขอบขนานมน โปร่งใส มีผลึกเกลือเกาะตามผิวและติดทน วงกลีบรวมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.1 - 0.2 เซนติเมตร สีเขียว หรือ สีเขียวอมม่วง ผล มีลักษณะกลมขนาดเล็กมาก เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.1 - 0.3 เซนติเมตร
ลักษณะเด่น ใบเดี่ยวมีขนาดเล็ก ดอก ผล ขนาดเล็กมาก
นิเวศวิทยา ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด หรือ พบทั่วไปบริเวณดินเค็มที่มีน้ำทะเลท่วมถึง หรือ มักพบในพื้นที่ราบโล่งที่เป็นดินเลน และดินที่มีความเค็มสูง ทนแล้ง และความเค็มได้ดีออกดอก - ผลตลอดปี
ประโยชน์ ต้นมีรสเค็มเย็นกินขับปัสสาวะ แก้หนองใน รักษารากผม แก้ผมพิการ
สารภีทะเล
ชื่อพฤกษศาสตร์: Calophyllum inophyllum L.
ชื่อพื้นเมือง: สารภีทะเล
ชื่อท้องถิ่น: กระทิง
วงศ์ CLUSIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย ไม้ต้นขนาดกลาง - ใหญ่ สูง 5 - 7 เมตร ไม่ผลัดใบ ราก ระบบรากแก้ว รากหยั่งดินลึก ไม่พบทั้งรากหายใจและรากค้ำจุน ลำต้น ไม่มีพูพอน กิ่งค่อนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม เปลือกมีรอยแตกเป็นร่องลึก สีน้ำตาลถึงสีเทาค่อนข้างเข้ม มีน้ำยางเหนียว สีขาวอมเหลือง ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี รูปไข่ รูปไข่กลับ หรือ รูปขอบขนาน ขนาด 4 - 10 X 8 - 17 เซนติเมตร ฐานใบรูปลิ่มถึงกลม เป็นครีบที่โคน ขอบใบเรียบเป็นคลื่นยาว ปลายใบกลมถึงเว้าบุ๋ม หรือ แหลมเล็กน้อย เนื้อใบหนาคล้ายหนัง เส้นใบมีจำนวนมากเรียงชิด และขนานกัน ก้านใบยาว 1 - 2.8 เซนติเมตร ใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบน สีเขียวเป็นมัน ด้านท้องใบสีจางกว่า ดอก สมบูรณ์เพศ ออกตามง่ามใบ เป็นช่อกระจะ ช่อดอกยาว 10 - 16 เซนติเมตร แต่ละช่อมี 5 - 15 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร กลีบรวม 8 กลีบ เรียงซ้อนเป็นสองชั้น ชั้นนอก 2 คู่ เรียงตรงข้างสลับตั้งฉากกัน ชั้นใน 4 กลีบ เรียงเป็นวงซ้อนเหลื่อมกัน สีขาว เกสรเพศผู้มีจำนวนไม่แน่นอน โคนก้านติดกัน เกสรตัวเมียรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ยอดเกสรแยกเป็นแฉกเท่าจำนวนห้องในรังไข่ ผล เมล็ดเดียว รูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 - 4 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวเป็นมัน ผลแก่สีน้ำตาลอมเขียว มีรอยย่น
ลักษณะเด่น เปลือกมีน้ำยางสีขาวแกมเหลือง เนื้อใบหนาคล้ายหนัง ดอกสีขาว ผลกลม
นิเวศวิทยา พบได้ทั่วไปตามแนวเขตรอยต่อระหว่างป่าชายเลนกับป่าบก หรือ ชายหาดเป็นทราย ออกดอกเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม และ ออกผลเดือนกรกฎาคม - พฤศจิกายน
ประโยชน์ ลำต้นใช้ทำฟืน
ชื่อพฤกษศาสตร์: Calophyllum inophyllum L.
ชื่อพื้นเมือง: สารภีทะเล
ชื่อท้องถิ่น: กระทิง
วงศ์ CLUSIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย ไม้ต้นขนาดกลาง - ใหญ่ สูง 5 - 7 เมตร ไม่ผลัดใบ ราก ระบบรากแก้ว รากหยั่งดินลึก ไม่พบทั้งรากหายใจและรากค้ำจุน ลำต้น ไม่มีพูพอน กิ่งค่อนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม เปลือกมีรอยแตกเป็นร่องลึก สีน้ำตาลถึงสีเทาค่อนข้างเข้ม มีน้ำยางเหนียว สีขาวอมเหลือง ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี รูปไข่ รูปไข่กลับ หรือ รูปขอบขนาน ขนาด 4 - 10 X 8 - 17 เซนติเมตร ฐานใบรูปลิ่มถึงกลม เป็นครีบที่โคน ขอบใบเรียบเป็นคลื่นยาว ปลายใบกลมถึงเว้าบุ๋ม หรือ แหลมเล็กน้อย เนื้อใบหนาคล้ายหนัง เส้นใบมีจำนวนมากเรียงชิด และขนานกัน ก้านใบยาว 1 - 2.8 เซนติเมตร ใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบน สีเขียวเป็นมัน ด้านท้องใบสีจางกว่า ดอก สมบูรณ์เพศ ออกตามง่ามใบ เป็นช่อกระจะ ช่อดอกยาว 10 - 16 เซนติเมตร แต่ละช่อมี 5 - 15 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร กลีบรวม 8 กลีบ เรียงซ้อนเป็นสองชั้น ชั้นนอก 2 คู่ เรียงตรงข้างสลับตั้งฉากกัน ชั้นใน 4 กลีบ เรียงเป็นวงซ้อนเหลื่อมกัน สีขาว เกสรเพศผู้มีจำนวนไม่แน่นอน โคนก้านติดกัน เกสรตัวเมียรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ยอดเกสรแยกเป็นแฉกเท่าจำนวนห้องในรังไข่ ผล เมล็ดเดียว รูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 - 4 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวเป็นมัน ผลแก่สีน้ำตาลอมเขียว มีรอยย่น
ลักษณะเด่น เปลือกมีน้ำยางสีขาวแกมเหลือง เนื้อใบหนาคล้ายหนัง ดอกสีขาว ผลกลม
นิเวศวิทยา พบได้ทั่วไปตามแนวเขตรอยต่อระหว่างป่าชายเลนกับป่าบก หรือ ชายหาดเป็นทราย ออกดอกเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม และ ออกผลเดือนกรกฎาคม - พฤศจิกายน
ประโยชน์ ลำต้นใช้ทำฟืน
ฝาดดอกแดง
ชื่อพฤกษศาสตร์: Lumnitzera littorea
(Jack) Voigt
ชื่อพื้นเมือง: ฝาดดอกแดง
ชื่อท้องถิ่น: ฝาดดอกแดง
วงศ์ COMBRETACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดกลาง - ใหญ่ สูง 10 - 30 เมตร ราก ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายเข่า ลำต้น เปลือก มีรอยแตกเป็นร่องลึก สีน้ำตาล เปลือกในสีแดงเข้ม หรือ สีส้ม ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง หนาแน่นที่ปลายกิ่ง แผ่นใบหนา รูปรีแกมรูปไข่กลับ หรือ รูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ขนาด 1 - 3 X 3 - 9 เซนติเมตร ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบหยักมน มีต่อมขนาดเล็ก ปลายใบกลม เว้าตื้น ก้านใบสั้น ใบสีเขียวเข้ม ดอก สมบูรณ์เพศ ออกปลายกิ่ง ช่อกระจะ แต่ละช่อยาว 2 - 5 เซนติเมตร มีดอก 5 - 15 ดอกฐานรองดอกเป็นหลอด ขนาด 0.4 X 0.8 - 1.2 เซนติเมตร แบนด้านข้าง ใต้ส่วนปลายคอดเล็กน้อย แล้วกว้างออกไปทางกลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่กว้าง สีเขียว ขอบกลีบมีขน มีใบประดับย่อย 2 ใบ ขนาดเล็ก กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน สีแดง แต่ละกลีบไม่ติดกัน เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวเป็น สองเท่าของกลีบดอก เกสรเพศเมีย มีรังไข่ใต้วงกลีบ 1 อัน ภายในมี 4 - 5 ห้อง เชื่อมรวมกันเป็นสันออกมา เท่าจำนวนกลีบเลี้ยง และเรียงตัวสลับกับตำแหน่งของกลีบเลี้ยง ก้านเกสรยาว มีเม็ดไข่ 2 - 5 เม็ด ผล รูปกระสวย ป่องตรงกลาง มีสันตามยาวเล็กน้อย ขนาดผล 0.4 X 1.3 - 2 เซนติเมตร ผลแก่สีน้ำตาลแดง
ลักษณะเด่น ดอกสีแดง ดอกออกเป็นกระจุก ที่ปลายยอด และใบค่อนข้างหนาที่ปลายกิ่ง
นิเวศวิทยา เจริญเติบโตได้ดีบริเวณด้านในของป่าชายเลน ที่เป็นดินร่วนและมีความเค็มน้อย และมักพบขึ้นเป็นกลุ่มบริเวณปากแม่น้ำ ที่เป็นดินเลนแข็ง หรือ ดินทราย ซึ่งทำให้ส่วนใหญ่มีลำต้นขนาดเล็ก ออกดอก ผลเดือนพฤศจิกายน - เมษายน
ประโยชน์ เนื้อไม้ใช้สร้างบ้านเรือน ทำฟืน ทำถ่าน เปลือก นำมาทุบแช่น้ำให้สีฝาด ย้อมผ้า ย้อมจีวรพระสงฆ์
ชื่อพฤกษศาสตร์: Lumnitzera littorea
(Jack) Voigt
ชื่อพื้นเมือง: ฝาดดอกแดง
ชื่อท้องถิ่น: ฝาดดอกแดง
วงศ์ COMBRETACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดกลาง - ใหญ่ สูง 10 - 30 เมตร ราก ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายเข่า ลำต้น เปลือก มีรอยแตกเป็นร่องลึก สีน้ำตาล เปลือกในสีแดงเข้ม หรือ สีส้ม ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง หนาแน่นที่ปลายกิ่ง แผ่นใบหนา รูปรีแกมรูปไข่กลับ หรือ รูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ขนาด 1 - 3 X 3 - 9 เซนติเมตร ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบหยักมน มีต่อมขนาดเล็ก ปลายใบกลม เว้าตื้น ก้านใบสั้น ใบสีเขียวเข้ม ดอก สมบูรณ์เพศ ออกปลายกิ่ง ช่อกระจะ แต่ละช่อยาว 2 - 5 เซนติเมตร มีดอก 5 - 15 ดอกฐานรองดอกเป็นหลอด ขนาด 0.4 X 0.8 - 1.2 เซนติเมตร แบนด้านข้าง ใต้ส่วนปลายคอดเล็กน้อย แล้วกว้างออกไปทางกลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่กว้าง สีเขียว ขอบกลีบมีขน มีใบประดับย่อย 2 ใบ ขนาดเล็ก กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน สีแดง แต่ละกลีบไม่ติดกัน เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวเป็น สองเท่าของกลีบดอก เกสรเพศเมีย มีรังไข่ใต้วงกลีบ 1 อัน ภายในมี 4 - 5 ห้อง เชื่อมรวมกันเป็นสันออกมา เท่าจำนวนกลีบเลี้ยง และเรียงตัวสลับกับตำแหน่งของกลีบเลี้ยง ก้านเกสรยาว มีเม็ดไข่ 2 - 5 เม็ด ผล รูปกระสวย ป่องตรงกลาง มีสันตามยาวเล็กน้อย ขนาดผล 0.4 X 1.3 - 2 เซนติเมตร ผลแก่สีน้ำตาลแดง
ลักษณะเด่น ดอกสีแดง ดอกออกเป็นกระจุก ที่ปลายยอด และใบค่อนข้างหนาที่ปลายกิ่ง
นิเวศวิทยา เจริญเติบโตได้ดีบริเวณด้านในของป่าชายเลน ที่เป็นดินร่วนและมีความเค็มน้อย และมักพบขึ้นเป็นกลุ่มบริเวณปากแม่น้ำ ที่เป็นดินเลนแข็ง หรือ ดินทราย ซึ่งทำให้ส่วนใหญ่มีลำต้นขนาดเล็ก ออกดอก ผลเดือนพฤศจิกายน - เมษายน
ประโยชน์ เนื้อไม้ใช้สร้างบ้านเรือน ทำฟืน ทำถ่าน เปลือก นำมาทุบแช่น้ำให้สีฝาด ย้อมผ้า ย้อมจีวรพระสงฆ์
ฝาดดอกขาว
ชื่อพฤกษศาสตร์: Lumnitzera racemosa Willd .
ชื่อพื้นเมือง: ฝาดดอกขาว
ชื่อท้องถิ่น: ฝาดดอกขาว
วงศ์ COMBRETACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นกึ่งไม้พุ่มขนาดเล็ก - ขนาดกลาง สูง 5 - 10 เมตร ราก ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปเข่าไม่ชัดเจน ลำต้น ลำต้นตรง เนื้อแข็ง เปลือกเรียบ สีน้ำตาลอ่อน ใบ ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับหนาแน่นที่ปลายกิ่งรอบกิ่งกระจายตลอดกิ่ง ใบเล็ก เนื้อใบหนามันคล้ายแผ่นหนังทั้งสองด้าน อวบน้ำ แผ่นใบแคบ รูปไข่กลับ ขนาด 1 - 3 X 3 - 9 เซนติเมตร ปลายใบกลมเว้าตื้น ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ หรือ หยักมนถี่ แผ่นใบสีเขียวอ่อน ก้านใบสั้นมาก ดอก สมบูรณ์เพศ ออกปลายกิ่งหรือง่ามใบ ช่อคล้ายช่อกระจุก ยาว 2 - 3 เซนติเมตร ไม่มีก้านดอก ฐานรองดอก และหลอดกลีบเลี้ยงรูปท่อ แบนด้านข้าง ยาว 0.6 - 0.9 เซนติเมตร แคบลงทางส่วนปลาย ใบประดับย่อย 2 ใบ รูปไข่กว้าง เชื่อมติดกับฐานรองดอกใน ทิศตรงกันข้าม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สั้นมาก รูปไข่กว้าง เรียวแหลม กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีแคบถึงรูปใบหอก สีขาว เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวเท่ากับ กลีบดอก เกสรเพศเมียรังไข่ใต้วงกลีบ ผล เป็นกระจุก รูปทรงรี แบนด้านข้าง มีเหลี่ยมมน ขนาด 0.3 - 0.5 X 1 - 1.3 เซนติเมตร ผิวผลเกลี้ยง
ลักษณะเด่น สีของดอกมีสีขาว ออกที่ปลายกิ่งและตามง่ามใบ ใบมีลักษณะปลายมนและหนา ก้านใบสีเขียว
นิเวศวิทยา ขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ พบมากในบริเวณดินเลนค่อนข้างแข็ง ขึ้นตามหลังป่าชายเลน หรือที่ราบหาดเลนในพื้นที่น้ำท่วมถึง เมื่อน้ำขึ้นสูงสุดเท่านั้น
ประโยชน์ ลำต้นที่มีขนาดใหญ่เนื้อไม้ใช้สร้างบ้านเรือน ทำฟืน ทำถ่าน เปลือกนำมาทุบแช่น้ำ ให้ สีฝาด ใช้ย้อมผ้า ย้อมจีวรพระสงฆ์
ชื่อพฤกษศาสตร์: Lumnitzera racemosa Willd .
ชื่อพื้นเมือง: ฝาดดอกขาว
ชื่อท้องถิ่น: ฝาดดอกขาว
วงศ์ COMBRETACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นกึ่งไม้พุ่มขนาดเล็ก - ขนาดกลาง สูง 5 - 10 เมตร ราก ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปเข่าไม่ชัดเจน ลำต้น ลำต้นตรง เนื้อแข็ง เปลือกเรียบ สีน้ำตาลอ่อน ใบ ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับหนาแน่นที่ปลายกิ่งรอบกิ่งกระจายตลอดกิ่ง ใบเล็ก เนื้อใบหนามันคล้ายแผ่นหนังทั้งสองด้าน อวบน้ำ แผ่นใบแคบ รูปไข่กลับ ขนาด 1 - 3 X 3 - 9 เซนติเมตร ปลายใบกลมเว้าตื้น ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ หรือ หยักมนถี่ แผ่นใบสีเขียวอ่อน ก้านใบสั้นมาก ดอก สมบูรณ์เพศ ออกปลายกิ่งหรือง่ามใบ ช่อคล้ายช่อกระจุก ยาว 2 - 3 เซนติเมตร ไม่มีก้านดอก ฐานรองดอก และหลอดกลีบเลี้ยงรูปท่อ แบนด้านข้าง ยาว 0.6 - 0.9 เซนติเมตร แคบลงทางส่วนปลาย ใบประดับย่อย 2 ใบ รูปไข่กว้าง เชื่อมติดกับฐานรองดอกใน ทิศตรงกันข้าม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สั้นมาก รูปไข่กว้าง เรียวแหลม กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีแคบถึงรูปใบหอก สีขาว เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวเท่ากับ กลีบดอก เกสรเพศเมียรังไข่ใต้วงกลีบ ผล เป็นกระจุก รูปทรงรี แบนด้านข้าง มีเหลี่ยมมน ขนาด 0.3 - 0.5 X 1 - 1.3 เซนติเมตร ผิวผลเกลี้ยง
ลักษณะเด่น สีของดอกมีสีขาว ออกที่ปลายกิ่งและตามง่ามใบ ใบมีลักษณะปลายมนและหนา ก้านใบสีเขียว
นิเวศวิทยา ขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ พบมากในบริเวณดินเลนค่อนข้างแข็ง ขึ้นตามหลังป่าชายเลน หรือที่ราบหาดเลนในพื้นที่น้ำท่วมถึง เมื่อน้ำขึ้นสูงสุดเท่านั้น
ประโยชน์ ลำต้นที่มีขนาดใหญ่เนื้อไม้ใช้สร้างบ้านเรือน ทำฟืน ทำถ่าน เปลือกนำมาทุบแช่น้ำ ให้ สีฝาด ใช้ย้อมผ้า ย้อมจีวรพระสงฆ์
ตาตุ่มทะเล
ชื่อพฤกษศาสตร์: Excoecaria agallocha L.
ชื่อพื้นเมือง: ตาตุ่มทะเล
ชื่อท้องถิ่น: ตาตุ่ม
วงศ์ EUPHORBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก - ขนาดกลาง ต้นแยกเพศ สูง 5 - 10 เมตร ผลัดใบในฤดูแล้ง ราก ระบบรากแก้ว ไม่พบทั้งรากหายใจและรากค้ำจุน ลำต้น ลักษณะต้นส่วนมากตรง เป็นตุ่มเป็นตา ปุ่มกระจายทั่วลำต้น มักแตกกิ่งในระดับต่ำ บางครั้งดูคล้ายไม้พุ่ม เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอมเทา เมื่อหักหรือทำให้เป็นแผล มียางสีขาวไหลออกมามาก ใบ ใบเดี่ยว ติดเรียงสลับ รูปรี หรือ รูปไข่แกมรีถึงรูปไข่กลับ ขนาด 2 - 5 X 4 - 9 เซนติเมตร ฐานใบมน ขอบใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลมมน ก้านใบเรียวยาว 1 - 2 เซนติเมตร ใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน มีสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบแก่จัดใกล้ร่วง จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเหลืองทั้งต้น ดอก แยกเพศต่างต้น ดอกเพศผู้เป็นช่อแยกแขนง ตามง่ามใบ สมมาตรตามรัศมี มีขนาดเล็กมาก ติดกันเป็นกระจุก ช่อดอก ยาว 3 - 6 เซนติเมตร ดอกสีเหลืองแกมเขียว เกสรเพศผู้ 5 – 10 อัน อับเรณูเปิดโดย รอยแยก ดอกเพศเมีย เกสรเพศเมีย 3 อัน รังไข่เหนือวงกลีบ ภายในมี 3 ห้อง เชื่อมติดกันแต่ละห้องมีเม็ดไข่ 1 – 2 เม็ด ผล แบบผลแห้งแตก ขนาดเล็ก มี 3 พู รูปเกือบกลม ขนาด 0.2 - 0.3 X 0.3 - 0.4 เซนติเมตร ผลเกลี้ยง สีเขียวถึงน้ำตาลเข้ม
ลักษณะเด่น ใบมีหลายสีปะปนกันบนต้นเดียวกัน เมื่อทำให้ต้นเป็นแผลมียางไหลออกมา
นิเวศวิทยา พบทั่วไปในที่โล่งด้านหลังป่าชายเลน หรือ ตามชายฝั่ง ตามริมแม่น้ำที่เป็นพื้นที่สูงที่มีดินเลนปนทราย หรือ ดินเลนค่อนข้างแข็งค่อนข้างแข็ง และน้ำท่วมถึง ออกดอก - ออกผล เดือนพฤกษาคม – พฤศจิกายน
ประโยชน์ เนื้อไม้นำมาเผา และควันที่เกิดจากการเผาใช้รักษาโรคเรื้อน แก่นไม้ใช้เป็นส่วนผสมในการปรุงยาช่วยในการขับลมแก้ไข้ลม กัดเสมหะ รากใช้ตำผสมกับขิงทำเป็นยาพอก หรือ ยาทาแก้อาการบวมตามมือ และเท้า หรือ นำรากมาฝนทาแก้บวมแก้คัน ยางใช้ทารักษาโรคโลน สังคัง ยางต้มกับน้ำมันพืชใช้ทาแก้โรคเรื้อน ทาถูนวดแก้ปวดตามข้อ และอัมพาต กินยางของตาตุ่มทะเลในจำนวนน้อยจะเป็นยาถ่าย ใบแก้ลมบ้าหมู
ข้อควรระวัง ยางของตาตุ่มทะเลมีสารพิษ หากเข้าตาอาจจะทำให้ปวดอักเสบมาก อาจทำให้ ตาบอด หรือ ยางนี้ถูกตามผิวหนัง อาจจะทำให้เกิดอาการเป็นผื่นคัน หรือ บวม หรือ หากจะกินเข้าไปจะทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรงถึงตาย วิธีแก้พิษดื่มน้ำมะพร้าว
ชื่อพฤกษศาสตร์: Excoecaria agallocha L.
ชื่อพื้นเมือง: ตาตุ่มทะเล
ชื่อท้องถิ่น: ตาตุ่ม
วงศ์ EUPHORBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก - ขนาดกลาง ต้นแยกเพศ สูง 5 - 10 เมตร ผลัดใบในฤดูแล้ง ราก ระบบรากแก้ว ไม่พบทั้งรากหายใจและรากค้ำจุน ลำต้น ลักษณะต้นส่วนมากตรง เป็นตุ่มเป็นตา ปุ่มกระจายทั่วลำต้น มักแตกกิ่งในระดับต่ำ บางครั้งดูคล้ายไม้พุ่ม เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอมเทา เมื่อหักหรือทำให้เป็นแผล มียางสีขาวไหลออกมามาก ใบ ใบเดี่ยว ติดเรียงสลับ รูปรี หรือ รูปไข่แกมรีถึงรูปไข่กลับ ขนาด 2 - 5 X 4 - 9 เซนติเมตร ฐานใบมน ขอบใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลมมน ก้านใบเรียวยาว 1 - 2 เซนติเมตร ใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน มีสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบแก่จัดใกล้ร่วง จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเหลืองทั้งต้น ดอก แยกเพศต่างต้น ดอกเพศผู้เป็นช่อแยกแขนง ตามง่ามใบ สมมาตรตามรัศมี มีขนาดเล็กมาก ติดกันเป็นกระจุก ช่อดอก ยาว 3 - 6 เซนติเมตร ดอกสีเหลืองแกมเขียว เกสรเพศผู้ 5 – 10 อัน อับเรณูเปิดโดย รอยแยก ดอกเพศเมีย เกสรเพศเมีย 3 อัน รังไข่เหนือวงกลีบ ภายในมี 3 ห้อง เชื่อมติดกันแต่ละห้องมีเม็ดไข่ 1 – 2 เม็ด ผล แบบผลแห้งแตก ขนาดเล็ก มี 3 พู รูปเกือบกลม ขนาด 0.2 - 0.3 X 0.3 - 0.4 เซนติเมตร ผลเกลี้ยง สีเขียวถึงน้ำตาลเข้ม
ลักษณะเด่น ใบมีหลายสีปะปนกันบนต้นเดียวกัน เมื่อทำให้ต้นเป็นแผลมียางไหลออกมา
นิเวศวิทยา พบทั่วไปในที่โล่งด้านหลังป่าชายเลน หรือ ตามชายฝั่ง ตามริมแม่น้ำที่เป็นพื้นที่สูงที่มีดินเลนปนทราย หรือ ดินเลนค่อนข้างแข็งค่อนข้างแข็ง และน้ำท่วมถึง ออกดอก - ออกผล เดือนพฤกษาคม – พฤศจิกายน
ประโยชน์ เนื้อไม้นำมาเผา และควันที่เกิดจากการเผาใช้รักษาโรคเรื้อน แก่นไม้ใช้เป็นส่วนผสมในการปรุงยาช่วยในการขับลมแก้ไข้ลม กัดเสมหะ รากใช้ตำผสมกับขิงทำเป็นยาพอก หรือ ยาทาแก้อาการบวมตามมือ และเท้า หรือ นำรากมาฝนทาแก้บวมแก้คัน ยางใช้ทารักษาโรคโลน สังคัง ยางต้มกับน้ำมันพืชใช้ทาแก้โรคเรื้อน ทาถูนวดแก้ปวดตามข้อ และอัมพาต กินยางของตาตุ่มทะเลในจำนวนน้อยจะเป็นยาถ่าย ใบแก้ลมบ้าหมู
ข้อควรระวัง ยางของตาตุ่มทะเลมีสารพิษ หากเข้าตาอาจจะทำให้ปวดอักเสบมาก อาจทำให้ ตาบอด หรือ ยางนี้ถูกตามผิวหนัง อาจจะทำให้เกิดอาการเป็นผื่นคัน หรือ บวม หรือ หากจะกินเข้าไปจะทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรงถึงตาย วิธีแก้พิษดื่มน้ำมะพร้าว
ถั่วคล้า
ชื่อพฤกษศาสตร์: Canavalia rosea (Sw.) DC.
ชื่อพื้นเมือง: ถั่วคล้า
ชื่อท้องถิ่น: ถั่วแปป
วงศ์ FABACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย ไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามไม้พุ่ม หรือ พื้นดิน ยาว 5 - 10 เมตร ราก ระบบรากแก้ว มีรากฝอยแตกรอบๆลำต้นยึดดิน ต้น ขนาดเล็ก สีเขียว ใบ เรียงสลับใบประกอบแบบใบย่อยสามใบ ใบย่อยรูปไข่ค่อนข้างกว้าง ปลายใบเป็นติ่งแหลม ผิวเกลี้ยง ดอก สมบูรณ์เพศ ดอกสมมาตรด้านข้าง ออกเป็นช่อ ติดที่ซอกใบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ กลีบบนสุดเรียงอยู่รอบนอกกลีบดอกคู่ล่างเชื่อมประสานกันด้านล่าง เกสรเพศผู้ 8 – 10 อัน เกสรเพศเมียรังไข่เหนือวงกลีบ 1 อัน ดอกสีชมพูอมม่วง ผล ชนิดฝักแบบถั่ว ตรง หรือ โค้งแบน ขนาด 2 - 3 X 5 - 8 เซนติเมตร ฝักมีเมล็ด 3 - 6 เมล็ด รูปไข่
ลักษณะเด่น ดอกเป็นช่อ ออกซอกใบ กลีบดอกชมพูอมม่วง ผลเป็นฝักแบนหนา
นิเวศวิทยา พบทั่วไปตามป่าชายเลนที่ถูกทำลาย หรือ พื้นที่เป็นดินเลนแข็งใกล้ทะเล
ประโยชน์ ดอกใส่แกงส้ม นำมาลวก ดอง หรือ ทอดกับไข่ รับประทานกับน้ำพริก ฝักใส่แกงส้ม หรือรับประทานสด หรือ ต้ม จิ้มน้ำพริก
ชื่อพฤกษศาสตร์: Canavalia rosea (Sw.) DC.
ชื่อพื้นเมือง: ถั่วคล้า
ชื่อท้องถิ่น: ถั่วแปป
วงศ์ FABACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย ไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามไม้พุ่ม หรือ พื้นดิน ยาว 5 - 10 เมตร ราก ระบบรากแก้ว มีรากฝอยแตกรอบๆลำต้นยึดดิน ต้น ขนาดเล็ก สีเขียว ใบ เรียงสลับใบประกอบแบบใบย่อยสามใบ ใบย่อยรูปไข่ค่อนข้างกว้าง ปลายใบเป็นติ่งแหลม ผิวเกลี้ยง ดอก สมบูรณ์เพศ ดอกสมมาตรด้านข้าง ออกเป็นช่อ ติดที่ซอกใบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ กลีบบนสุดเรียงอยู่รอบนอกกลีบดอกคู่ล่างเชื่อมประสานกันด้านล่าง เกสรเพศผู้ 8 – 10 อัน เกสรเพศเมียรังไข่เหนือวงกลีบ 1 อัน ดอกสีชมพูอมม่วง ผล ชนิดฝักแบบถั่ว ตรง หรือ โค้งแบน ขนาด 2 - 3 X 5 - 8 เซนติเมตร ฝักมีเมล็ด 3 - 6 เมล็ด รูปไข่
ลักษณะเด่น ดอกเป็นช่อ ออกซอกใบ กลีบดอกชมพูอมม่วง ผลเป็นฝักแบนหนา
นิเวศวิทยา พบทั่วไปตามป่าชายเลนที่ถูกทำลาย หรือ พื้นที่เป็นดินเลนแข็งใกล้ทะเล
ประโยชน์ ดอกใส่แกงส้ม นำมาลวก ดอง หรือ ทอดกับไข่ รับประทานกับน้ำพริก ฝักใส่แกงส้ม หรือรับประทานสด หรือ ต้ม จิ้มน้ำพริก
ถอบแถบน้ำ
ชื่อพฤกษศาสตร์: Derris trifoliata Lour.
ชื่อพื้นเมือง: ถอบแถบน้ำ
ชื่อท้องถิ่น: ถอบแถบทะเล
วงศ์ FABACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย. ไม้เลื้อย ไม้เถา ยาว 5 - 10 เมตร ราก ระบบรากแก้ว มีรากฝอยช่วยหยั่งยึดดินโคลน ลำต้น ขนาดเล็ก สีน้ำตาล มักเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน กิ่งเรียวยาว ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียน ก้านใบยาว 10 - 15 เซนติเมตร มีใบย่อย 1 - 2 คู่ และที่ปลาย อีก 1 ใบ ก้านใบย่อยสั้น แผ่นใบย่อยรูปไข่แกมรูปขอบขนาน หรือ รูปหอก ขนาด 1.5 - 4 X 3 - 7 เซนติเมตร โคนมนโค้ง เส้นใบ 8 - 10 คู่ ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบเกลี้ยงสีเขียวเข้มทั้งสองด้าน ดอก สมบูรณ์เพศ ดอกสมมาตรด้านข้าง ช่อเดี่ยวออกตามง่ามใบ ช่อดอก ยาว 5 - 12 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร สีขาว ผล เป็นฝัก เบี้ยว แบน เล็กรูปขอบขนาน คล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขอบฝักเป็นสันบางแคบ สันฝักด้านบนกว้างกว่าด้านล่าง ขนาด 2 X 2.5 เซนติเมตร มี 1 เมล็ด เมล็ดรูปไตยาว 1 - 1.2 เซนติเมตร
ลักษณะเด่น ต้นเป็นเถา มีลักษณะเหนียวใช้แทนเชือกได้
นิเวศวิทยา พบทั่วไปตามป่าชายเลนที่ถูกทำลาย หรือ ขึ้นตามฝั่งแม่น้ำ และพื้นที่เป็นดินเลนแข็งใกล้ทะเล ออกดอกระหว่างเดือนพฤกษาคม - ธันวาคม
ประโยชน์ ต้น ราก และ ใบนำมารับประทานเป็นยาระบาย แก้พิษตานซาง ถ่ายเสมหะ
ชื่อพฤกษศาสตร์: Derris trifoliata Lour.
ชื่อพื้นเมือง: ถอบแถบน้ำ
ชื่อท้องถิ่น: ถอบแถบทะเล
วงศ์ FABACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย. ไม้เลื้อย ไม้เถา ยาว 5 - 10 เมตร ราก ระบบรากแก้ว มีรากฝอยช่วยหยั่งยึดดินโคลน ลำต้น ขนาดเล็ก สีน้ำตาล มักเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน กิ่งเรียวยาว ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียน ก้านใบยาว 10 - 15 เซนติเมตร มีใบย่อย 1 - 2 คู่ และที่ปลาย อีก 1 ใบ ก้านใบย่อยสั้น แผ่นใบย่อยรูปไข่แกมรูปขอบขนาน หรือ รูปหอก ขนาด 1.5 - 4 X 3 - 7 เซนติเมตร โคนมนโค้ง เส้นใบ 8 - 10 คู่ ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบเกลี้ยงสีเขียวเข้มทั้งสองด้าน ดอก สมบูรณ์เพศ ดอกสมมาตรด้านข้าง ช่อเดี่ยวออกตามง่ามใบ ช่อดอก ยาว 5 - 12 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร สีขาว ผล เป็นฝัก เบี้ยว แบน เล็กรูปขอบขนาน คล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขอบฝักเป็นสันบางแคบ สันฝักด้านบนกว้างกว่าด้านล่าง ขนาด 2 X 2.5 เซนติเมตร มี 1 เมล็ด เมล็ดรูปไตยาว 1 - 1.2 เซนติเมตร
ลักษณะเด่น ต้นเป็นเถา มีลักษณะเหนียวใช้แทนเชือกได้
นิเวศวิทยา พบทั่วไปตามป่าชายเลนที่ถูกทำลาย หรือ ขึ้นตามฝั่งแม่น้ำ และพื้นที่เป็นดินเลนแข็งใกล้ทะเล ออกดอกระหว่างเดือนพฤกษาคม - ธันวาคม
ประโยชน์ ต้น ราก และ ใบนำมารับประทานเป็นยาระบาย แก้พิษตานซาง ถ่ายเสมหะ
หวายลิง
ชื่อพฤกษศาสตร์: Flagellaria indica L.
ชื่อพื้นเมือง: หวายลิง
ชื่อท้องถิ่น: หวายลิง
วงศ์ FLAGELLARIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้เลื้อย แตกกิ่งยาว 3 - 5 เมตร หรือ บางต้นยาวได้ถึง 10 เมตร ราก ระบบรากฝอย ลำต้น แข็งคล้ายหวาย เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3 - 0.8 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว แต่เมื่อลำต้นแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเทา ใบ เรียวยาว รูปขอบขนานแกมรูปไข่ถึงรูปใบหอก ขนาด 0.5 - 2 X 7.5 - 20 เซนติเมตร ฐานใบกว้าง มีกาบใบหุ้มรอบลำต้น เรียงเวียนซ้อนทับกันเป็นระยะคล้ายกาบหวาย ไม่มีหนาม ปลายใบเรียวยาว ม้วนงอ และแข็ง ทำหน้าที่เกาะไม้อื่น เพื่อพยุงลำต้นให้เลื้อยทอดสูงขึ้น ดอก สมบูรณ์เพศ เป็นช่อแยกแขนง สั้นๆที่ปลายกิ่ง ขนาดเล็ก แต่ละช่อประกอบด้วยดอกจำนวนมาก สีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผล กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร ปลายผลมีติ่งแหลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อแก่จัดจะเป็นสีชมพูอมแดง เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร ผลมี 1 เมล็ด
ลักษณะเด่น ลำหวายมีข้อปล้องสั้น ผลมีลักษณะกลมก้นแหลม พบมากบนจอมแม่หอบ
นิเวศวิทยา. หวายลิงพบมากในพื้นที่ป่าชายเลนที่เป็นดินเลนแข็ง พื้นที่ค่อนข้างสูง มีระดับน้ำท่วมถึงเป็นครั้งคราว ออกดอก – ผล ตลอดปี
ประโยชน์ ลำต้นเหนียวใช้ทำเชือก และทำเครื่องจักรสาน
ชื่อพฤกษศาสตร์: Flagellaria indica L.
ชื่อพื้นเมือง: หวายลิง
ชื่อท้องถิ่น: หวายลิง
วงศ์ FLAGELLARIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้เลื้อย แตกกิ่งยาว 3 - 5 เมตร หรือ บางต้นยาวได้ถึง 10 เมตร ราก ระบบรากฝอย ลำต้น แข็งคล้ายหวาย เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3 - 0.8 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว แต่เมื่อลำต้นแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเทา ใบ เรียวยาว รูปขอบขนานแกมรูปไข่ถึงรูปใบหอก ขนาด 0.5 - 2 X 7.5 - 20 เซนติเมตร ฐานใบกว้าง มีกาบใบหุ้มรอบลำต้น เรียงเวียนซ้อนทับกันเป็นระยะคล้ายกาบหวาย ไม่มีหนาม ปลายใบเรียวยาว ม้วนงอ และแข็ง ทำหน้าที่เกาะไม้อื่น เพื่อพยุงลำต้นให้เลื้อยทอดสูงขึ้น ดอก สมบูรณ์เพศ เป็นช่อแยกแขนง สั้นๆที่ปลายกิ่ง ขนาดเล็ก แต่ละช่อประกอบด้วยดอกจำนวนมาก สีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผล กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร ปลายผลมีติ่งแหลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อแก่จัดจะเป็นสีชมพูอมแดง เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร ผลมี 1 เมล็ด
ลักษณะเด่น ลำหวายมีข้อปล้องสั้น ผลมีลักษณะกลมก้นแหลม พบมากบนจอมแม่หอบ
นิเวศวิทยา. หวายลิงพบมากในพื้นที่ป่าชายเลนที่เป็นดินเลนแข็ง พื้นที่ค่อนข้างสูง มีระดับน้ำท่วมถึงเป็นครั้งคราว ออกดอก – ผล ตลอดปี
ประโยชน์ ลำต้นเหนียวใช้ทำเชือก และทำเครื่องจักรสาน
ปอทะเล
ชื่อพฤกษศาสตร์: Hibiscus tiliaceus L.
ชื่อพื้นเมือง: ปอทะเล
ชื่อท้องถิ่น: ปอทะเล
วงศ์ MALVACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3 - 7 เมตร ราก ระบบรากแก้ว ไม่พบทั้งรากหายใจและ รากค้ำจุน ลำต้น มักคดงอ แตกกิ่งมาก เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือก เรียบ หรือ แตกเป็นร่องตื้นๆ สีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน เปลือกชั้นในสีชมพูประขาว เหนียว สามารถลอกออกจากลำต้นได้ง่าย ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปหัวใจฐานกว้าง ขนาด 7 - 15 X 8 - 15 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบเว้าลึก ขอบใบหยักมนถี่ เส้นใบออกจากโคนใบ 7 - 9 เส้น และที่เส้นกลางใบอีก 4 - 6 คู่ มีหูใบขนาดใหญ่ ยาว 3 เซนติเมตร ที่โคนก้านใบ ร่วงง่าย ก้านใบยาว 3.5 - 10 เซนติเมตร มีขนยาวนุ่ม ผิวใบด้านบนมีขนบางๆถึงเกลี้ยง ด้านท้องใบมีขนละเอียดสีขาว ดอก สมบูรณ์เพศ ออกที่ปลายกิ่ง เป็นช่อกระจุกหรือช่อแยกแขนง ก้านดอกยาว ประมาณ 1 เซนติเมตร ริ้วประดับรูปถ้วย ยาว 0.8 - 1 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉกลึก 8 - 11 แฉก แต่ละแฉกเป็นรูปสามเหลี่ยม วงกลีบเลี้ยงรูประฆังยาว 2 เซนติเมตร มี 5 กลีบ มีขนละเอียดหนาแน่น แต่ละกลีบรูปใบหอก ยาวกว่าหลอดกลีบเลี้ยง กลีบดอก 5 กลีบ วงกลีบดอกใหญ่รูปไข่กว้าง เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 - 10 เซนติเมตร โคนกลีบดอกด้านในยาวกว่าหลอดเกสรเพศผู้ สีแดงเข้ม เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านเกสรมีสีเหลืองและเชื่อมรวมกัน เป็นหลอดหุ้ม ล้อมก้านเกสรเพศเมีย โคนของหลอดเชื่อมติดกับโคนของกลีบดอก อับเกสรสีเหลืองรูปไต ละอองเกสรขนาดใหญ่ กลม รี และมีผิวเป็นหนาม อับเกสรมี 1 ห้อง เกสรเพศเมียรังไข่เหนือวงกลีบ ภายในห้อง 5 ห้อง เชื่อมติดกัน ก้านเกสรยาวทอด ขึ้นไปกลางหลอดเกสรเพศผู้ ยอดเกสรแยกเป็นแฉกเท่าจำนวนห้องรังไข่ มีเม็ดไข่มาก กลีบดอก สีเหลืองก่อนจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ผล รูปไข่ เกือบกลม กว้าง 1.5 เซนติเมตร มีขนละเอียดหนาแน่น มีจะงอยสั้น ผลอยู่ภายในวงกลีบเลี้ยงรูปถ้วยที่ติดคงทน ผลแก่แตกตามยาว 5 พูเมล็ดเล็กมีจำนวนมาก
ลักษณะเด่น ใบใหญ่ค่อนข้างกลม ปลายแหลมแต่สั้น ดอกสีเหลืองแสด ดอกใกล้จะโรยเปลี่ยนเป็นสีแดง
นิเวศวิทยา ขึ้นตามชายทะเล แม่น้ำลำคลอง ภายใต้อิทธิพลของน้ำกร่อย หรือ ป่าชายเลน ค่อนข้างสูง ออกดอก - ผลเกือบตลอดปี
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ เปลือกใช้ทำเชือก และหมันยาเรือ
ชื่อพฤกษศาสตร์: Hibiscus tiliaceus L.
ชื่อพื้นเมือง: ปอทะเล
ชื่อท้องถิ่น: ปอทะเล
วงศ์ MALVACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3 - 7 เมตร ราก ระบบรากแก้ว ไม่พบทั้งรากหายใจและ รากค้ำจุน ลำต้น มักคดงอ แตกกิ่งมาก เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือก เรียบ หรือ แตกเป็นร่องตื้นๆ สีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน เปลือกชั้นในสีชมพูประขาว เหนียว สามารถลอกออกจากลำต้นได้ง่าย ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปหัวใจฐานกว้าง ขนาด 7 - 15 X 8 - 15 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบเว้าลึก ขอบใบหยักมนถี่ เส้นใบออกจากโคนใบ 7 - 9 เส้น และที่เส้นกลางใบอีก 4 - 6 คู่ มีหูใบขนาดใหญ่ ยาว 3 เซนติเมตร ที่โคนก้านใบ ร่วงง่าย ก้านใบยาว 3.5 - 10 เซนติเมตร มีขนยาวนุ่ม ผิวใบด้านบนมีขนบางๆถึงเกลี้ยง ด้านท้องใบมีขนละเอียดสีขาว ดอก สมบูรณ์เพศ ออกที่ปลายกิ่ง เป็นช่อกระจุกหรือช่อแยกแขนง ก้านดอกยาว ประมาณ 1 เซนติเมตร ริ้วประดับรูปถ้วย ยาว 0.8 - 1 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉกลึก 8 - 11 แฉก แต่ละแฉกเป็นรูปสามเหลี่ยม วงกลีบเลี้ยงรูประฆังยาว 2 เซนติเมตร มี 5 กลีบ มีขนละเอียดหนาแน่น แต่ละกลีบรูปใบหอก ยาวกว่าหลอดกลีบเลี้ยง กลีบดอก 5 กลีบ วงกลีบดอกใหญ่รูปไข่กว้าง เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 - 10 เซนติเมตร โคนกลีบดอกด้านในยาวกว่าหลอดเกสรเพศผู้ สีแดงเข้ม เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านเกสรมีสีเหลืองและเชื่อมรวมกัน เป็นหลอดหุ้ม ล้อมก้านเกสรเพศเมีย โคนของหลอดเชื่อมติดกับโคนของกลีบดอก อับเกสรสีเหลืองรูปไต ละอองเกสรขนาดใหญ่ กลม รี และมีผิวเป็นหนาม อับเกสรมี 1 ห้อง เกสรเพศเมียรังไข่เหนือวงกลีบ ภายในห้อง 5 ห้อง เชื่อมติดกัน ก้านเกสรยาวทอด ขึ้นไปกลางหลอดเกสรเพศผู้ ยอดเกสรแยกเป็นแฉกเท่าจำนวนห้องรังไข่ มีเม็ดไข่มาก กลีบดอก สีเหลืองก่อนจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ผล รูปไข่ เกือบกลม กว้าง 1.5 เซนติเมตร มีขนละเอียดหนาแน่น มีจะงอยสั้น ผลอยู่ภายในวงกลีบเลี้ยงรูปถ้วยที่ติดคงทน ผลแก่แตกตามยาว 5 พูเมล็ดเล็กมีจำนวนมาก
ลักษณะเด่น ใบใหญ่ค่อนข้างกลม ปลายแหลมแต่สั้น ดอกสีเหลืองแสด ดอกใกล้จะโรยเปลี่ยนเป็นสีแดง
นิเวศวิทยา ขึ้นตามชายทะเล แม่น้ำลำคลอง ภายใต้อิทธิพลของน้ำกร่อย หรือ ป่าชายเลน ค่อนข้างสูง ออกดอก - ผลเกือบตลอดปี
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ เปลือกใช้ทำเชือก และหมันยาเรือ
ตะบูนขาว
ชื่อพฤกษศาสตร์: Xylocarpus granatum Koenig
ชื่อพื้นเมือง: ตะบูนขาว
ชื่อท้องถิ่น: กะบูน
วงศ์ MELIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดกลาง - ขนาดใหญ่ สูง 8 - 15 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ราก ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงไปในดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจ หรือ รากค้ำจุน ลักษณะแบนคล้ายแผ่นกระดานบ้าง กลมบ้าง ทอดตัวในแนวรัศมีรอบลำต้น ลำต้น ลำต้นสั้น ตรง เนื้อไม้แข็ง แตกกิ่งใกล้โคนต้น มีพูพอนแผ่ออกคดเคี้ยว ต่อเนื่องกับรากหายใจ เปลือกเรียบบาง สีเหลืองแกมเขียวอ่อน หรือ สีน้ำตาลอ่อนมีสีขาวปะปนลักษณะคล้ายเปลือกต้นฝรั่ง หรือ ต้นตะแบก เปลือกหลุดออกเป็นแผ่นรูปทรงไม่แน่นอน ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายใบคู่ หรือ รูปใบพายปลายมน ชั้นเดียว ไม่มีใบยอด เรียงสลับ ใบย่อยมีก้านเห็นชัดไม่เบี้ยวมี 1 - 2 คู่ เรียงตรงข้าม หรือ เยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปไข่กลับ หรือ รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ขนาด 2 - 5 X 7 - 14 เซนติเมตร แผ่นใบสมมาตรกัน ปลายใบมักจะทู่ หรือ กลม ฐานใบรูปลิ่ม ใบหนามัน ดอก ไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อที่ง่ามใบ ตามปลายกิ่ง ช่อดอกแบบ ช่อแยกแขนง ยาว 3 - 6 เซนติเมตร แต่ละช่อมี 8 - 20 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 - 1.2 เซนติเมตร ก้านดอกย่อย ยาว 0.4 - 1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร กลีบดอก 4 กลีบ ไม่ติดกัน มีสีขาวครีม เกสรเพศผู้ 8 อัน ดอกมีกลิ่นหอมเย็นเวลาบ่ายถึงกลางคืน ผล ลักษณะกลมแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 - 15 เซนติเมตร แบ่งเป็น 4 พู เท่าๆกัน แต่ละผล มี 4 - 17 เมล็ด ลักษณะโค้งนูนหนึ่งด้าน กว้าง 6 - 10 เซนติเมตร ผลแก่ หรือ สุกสีน้ำตาลแดงคล้ายผลทับทิม หรือ ผลส้ม
ลักษณะเด่น ลำต้น ผล และราก เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน ผลกลมคล้ายผลทับทิม เปลือกเรียบมีสีน้ำตาล
นิเวศวิทยา มักขึ้นปะปนกับพันธุ์ไม้ป่าชายเลนบางชนิด เช่น พังกาหัวสุมดอกขาว ถั่วดำ ตาตุ่มทะเล และโกงกางใบเล็ก ขึ้นได้ดีในน้ำกร่อย ดินเลนแข็ง น้ำท่วมถึงเล็กน้อย สภาพดินเป็นกรด หรือดินโคลนปนทราย พบบ้างเล็กน้อยในบริเวณน้ำจืด ออกดอก - ผลตลอดปี
ประโยชน์
เปลือกไม้จะมีรสฝาดใช้แก้อาการท้องเสีย อาการอักเสบในลำไส้ อาการผิดปกติใน ช่องท้อง ใช้เป็นยาลดไข้ รักษาแผลภายใน หรือ ต้มตำให้ละเอียด พอกแผลสดเป็นหนอง แผลบวม ฟอกช้ำ
เปลือก และผลนำมาต้มกับน้ำใช้ล้างทำความสะอาดบาดแผลได้ดี
ผล นำไปต้มใช้ดื่มแก้ท้องเสีย ป่วงลม หรือ ตากแห้งแล้วเผาไฟ ผสมเห็ดพังกาเผากับน้ำมะพร้าว เป็นยาทาแก้มะเร็งผิวหนัง หรือ ผสมเปลือกพังกา จะทำให้แผลมะเร็งยุบตัวเร็ว
เมล็ดรับประทานแก้ท้องร่วง
เปลือก หรือ เมล็ด 1 - 2 เมล็ด ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง ใช้ฝาดสมานแก้ท้องเสีย แก้บิด
เนื้อไม้ตะบูนขาวมีสีและลวดลายสวยงาม ใช้ตกแต่งทำเฟอร์นิเจอร์ได้ดี
เปลือกไม้ใช้ในการฟอกหนัง สำหรับใช้เป็นพื้นรองเท้า (heavy leather) ใช้ย้อมแห อวน บางครั้งใช้ย้อมสีเสื้อเป็นสีน้ำตาล ทำดินสอ
ชื่อพฤกษศาสตร์: Xylocarpus granatum Koenig
ชื่อพื้นเมือง: ตะบูนขาว
ชื่อท้องถิ่น: กะบูน
วงศ์ MELIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดกลาง - ขนาดใหญ่ สูง 8 - 15 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ราก ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงไปในดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจ หรือ รากค้ำจุน ลักษณะแบนคล้ายแผ่นกระดานบ้าง กลมบ้าง ทอดตัวในแนวรัศมีรอบลำต้น ลำต้น ลำต้นสั้น ตรง เนื้อไม้แข็ง แตกกิ่งใกล้โคนต้น มีพูพอนแผ่ออกคดเคี้ยว ต่อเนื่องกับรากหายใจ เปลือกเรียบบาง สีเหลืองแกมเขียวอ่อน หรือ สีน้ำตาลอ่อนมีสีขาวปะปนลักษณะคล้ายเปลือกต้นฝรั่ง หรือ ต้นตะแบก เปลือกหลุดออกเป็นแผ่นรูปทรงไม่แน่นอน ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายใบคู่ หรือ รูปใบพายปลายมน ชั้นเดียว ไม่มีใบยอด เรียงสลับ ใบย่อยมีก้านเห็นชัดไม่เบี้ยวมี 1 - 2 คู่ เรียงตรงข้าม หรือ เยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปไข่กลับ หรือ รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ขนาด 2 - 5 X 7 - 14 เซนติเมตร แผ่นใบสมมาตรกัน ปลายใบมักจะทู่ หรือ กลม ฐานใบรูปลิ่ม ใบหนามัน ดอก ไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อที่ง่ามใบ ตามปลายกิ่ง ช่อดอกแบบ ช่อแยกแขนง ยาว 3 - 6 เซนติเมตร แต่ละช่อมี 8 - 20 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 - 1.2 เซนติเมตร ก้านดอกย่อย ยาว 0.4 - 1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร กลีบดอก 4 กลีบ ไม่ติดกัน มีสีขาวครีม เกสรเพศผู้ 8 อัน ดอกมีกลิ่นหอมเย็นเวลาบ่ายถึงกลางคืน ผล ลักษณะกลมแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 - 15 เซนติเมตร แบ่งเป็น 4 พู เท่าๆกัน แต่ละผล มี 4 - 17 เมล็ด ลักษณะโค้งนูนหนึ่งด้าน กว้าง 6 - 10 เซนติเมตร ผลแก่ หรือ สุกสีน้ำตาลแดงคล้ายผลทับทิม หรือ ผลส้ม
ลักษณะเด่น ลำต้น ผล และราก เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน ผลกลมคล้ายผลทับทิม เปลือกเรียบมีสีน้ำตาล
นิเวศวิทยา มักขึ้นปะปนกับพันธุ์ไม้ป่าชายเลนบางชนิด เช่น พังกาหัวสุมดอกขาว ถั่วดำ ตาตุ่มทะเล และโกงกางใบเล็ก ขึ้นได้ดีในน้ำกร่อย ดินเลนแข็ง น้ำท่วมถึงเล็กน้อย สภาพดินเป็นกรด หรือดินโคลนปนทราย พบบ้างเล็กน้อยในบริเวณน้ำจืด ออกดอก - ผลตลอดปี
ประโยชน์
เปลือกไม้จะมีรสฝาดใช้แก้อาการท้องเสีย อาการอักเสบในลำไส้ อาการผิดปกติใน ช่องท้อง ใช้เป็นยาลดไข้ รักษาแผลภายใน หรือ ต้มตำให้ละเอียด พอกแผลสดเป็นหนอง แผลบวม ฟอกช้ำ
เปลือก และผลนำมาต้มกับน้ำใช้ล้างทำความสะอาดบาดแผลได้ดี
ผล นำไปต้มใช้ดื่มแก้ท้องเสีย ป่วงลม หรือ ตากแห้งแล้วเผาไฟ ผสมเห็ดพังกาเผากับน้ำมะพร้าว เป็นยาทาแก้มะเร็งผิวหนัง หรือ ผสมเปลือกพังกา จะทำให้แผลมะเร็งยุบตัวเร็ว
เมล็ดรับประทานแก้ท้องร่วง
เปลือก หรือ เมล็ด 1 - 2 เมล็ด ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง ใช้ฝาดสมานแก้ท้องเสีย แก้บิด
เนื้อไม้ตะบูนขาวมีสีและลวดลายสวยงาม ใช้ตกแต่งทำเฟอร์นิเจอร์ได้ดี
เปลือกไม้ใช้ในการฟอกหนัง สำหรับใช้เป็นพื้นรองเท้า (heavy leather) ใช้ย้อมแห อวน บางครั้งใช้ย้อมสีเสื้อเป็นสีน้ำตาล ทำดินสอ
ตะบูนดำ
ชื่อพฤกษศาสตร์: Xylocarpus moluccensis
(Lam.) M.Roem.
ชื่อพื้นเมือง: ตะบูนดำ
ชื่อท้องถิ่น: ตะบัน
วงศ์ MELIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 10 - 15 เมตร ไม้ผลัดใบ ราก ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงไปในดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายกรวยคว่ำ กลม หรือ แบน ปลายมน ยาว 20 - 40 เซนติเมตร โผล่ขึ้นจากผิวดินรอบโคนต้น ลำต้น เปลาตรง เนื้อไม้แข็ง โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกขรุขระแตกเป็นร่องตามยาว ต้นแก่เปลือกสามารถลอกเป็นแถบแคบๆ เปลือกหนาสีน้ำตาลเข้ม หรือ แดงดำ เนื้อไม้สีน้ำตาล ใบ ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายใบคู่ ไม่มีใบยอด เรียงสลับ ใบย่อย 1 - 3 คู่ เรียงตรงข้าม แผ่นใบรี รูปใบพาย หรือ รูปขอบขนานแกมรี ขนาด 2 - 4 X 5 - 7 เซนติเมตร โคนใบกลมมน ปลายใบมน ฐานใบแหลม ผิวใบเป็นมัน สีเขียวเข้ม และเปลี่ยนเป็นสีส้มอมเหลืองทั้งต้นก่อนร่วง ดอก ออกตามง่ามใบ แบบช่อแยกแขนง ช่อดอกยาว 7 - 17 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอกจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ แต่ละกลีบยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร กลีบดอก 4 กลีบไม่ติดกัน รูปขอบขนาน ยาว 0.4 - 0.8 เซนติเมตร สีขาวครีม เกสรเพศผู้ 8 อัน กลิ่นหอมเวลาเย็นถึงค่ำ ผล ค่อนข้างกลมผิวเรียบมีร่องเล็กน้อย สีเขียว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 - 6 เซนติเมตร แต่ละผลมี 4 พู มี 7 - 11 เมล็ด ลักษณะโค้งนูนหนึ่งด้าน กว้าง 4 - 6 เซนติเมตร
ลักษณะเด่น มีรากหายใจกลมบ้าง แบนบ้าง แล้วแต่สภาพของดินเลน โคนต้นมีพูพอน ต้นเล็ก สภาพลำต้นจะแตกต่างไปบ้างคือ เปลือกเรียบ สีออกดำแดง มีร่องสีขาวเป็นทางยาวตามลำต้น และเป็นไม้ผลัดใบชนิดหนึ่งของป่าชายเลน ( ผลัดใบช่วงเดือน พ.ย. - ธ.ค. )
นิเวศวิทยา ขึ้นกระจายในบริเวณที่เป็นดินเลนค่อนข้างแข็ง ออกดอกพร้อมๆกับแตกใบใหม่ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ผลแก่ประมาณเดือนสิงหาคม - ตุลาคม
ประโยชน์
เปลือกไม้มีรสฝาดใช้แก้อาการท้องเสีย อาการอักเสบในลำไส้ อาการผิดปกติใน ช่องท้อง ใช้เป็นยาลดไข้ เปลือกและผลนำมาต้มกับน้ำใช้ล้างทำความสะอาดบาดแผลได้ดี หรือต้มน้ำดื่มรักษาแผลภายใน ต้มแล้วตำให้ละเอียด พอกแผลสด แผลบวม พกช้ำ เป็นหนอง
ผลต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย บิด อหิวาต์ ผลแห้งตากแห้งเผาไฟร่วมกับเห็ดพังกาและน้ำมันมะพร้าว ทาแก้มะเร็งผิวหนัง เมล็ดรับประทานแก้ท้องร่วง
เนื้อไม้มีสีและลวดลายสวยงาม ใช้ตกแต่งเฟอร์นิเจอร์และก่อสร้างได้ เปลือกไม้ใช้ในการฟอกหนังสำหรับใช้เป็นพื้นรองเท้า (heavy leather) ใช้ย้อมแห อวน บางครั้งใช้ย้อมสีเสื้อเป็น สีน้ำตาล ทำดินสอ
หมายเหตุ ตะบูนดำ ไม้ผลัดใบ รากหายใจรูปกรวยคว่ำ ปลายใบมนหนาเป็นมัน ผลค่อนข้างกลมมีร่องสีเขียว ส่วนตะบูนขาว ไม่ผลัดใบ รากหายใจแบนคล้ายแผ่นกระดาน ผลสีน้ำตาลแดงคล้ายผลทับทิม
ชื่อพฤกษศาสตร์: Xylocarpus moluccensis
(Lam.) M.Roem.
ชื่อพื้นเมือง: ตะบูนดำ
ชื่อท้องถิ่น: ตะบัน
วงศ์ MELIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 10 - 15 เมตร ไม้ผลัดใบ ราก ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงไปในดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายกรวยคว่ำ กลม หรือ แบน ปลายมน ยาว 20 - 40 เซนติเมตร โผล่ขึ้นจากผิวดินรอบโคนต้น ลำต้น เปลาตรง เนื้อไม้แข็ง โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกขรุขระแตกเป็นร่องตามยาว ต้นแก่เปลือกสามารถลอกเป็นแถบแคบๆ เปลือกหนาสีน้ำตาลเข้ม หรือ แดงดำ เนื้อไม้สีน้ำตาล ใบ ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายใบคู่ ไม่มีใบยอด เรียงสลับ ใบย่อย 1 - 3 คู่ เรียงตรงข้าม แผ่นใบรี รูปใบพาย หรือ รูปขอบขนานแกมรี ขนาด 2 - 4 X 5 - 7 เซนติเมตร โคนใบกลมมน ปลายใบมน ฐานใบแหลม ผิวใบเป็นมัน สีเขียวเข้ม และเปลี่ยนเป็นสีส้มอมเหลืองทั้งต้นก่อนร่วง ดอก ออกตามง่ามใบ แบบช่อแยกแขนง ช่อดอกยาว 7 - 17 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอกจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ แต่ละกลีบยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร กลีบดอก 4 กลีบไม่ติดกัน รูปขอบขนาน ยาว 0.4 - 0.8 เซนติเมตร สีขาวครีม เกสรเพศผู้ 8 อัน กลิ่นหอมเวลาเย็นถึงค่ำ ผล ค่อนข้างกลมผิวเรียบมีร่องเล็กน้อย สีเขียว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 - 6 เซนติเมตร แต่ละผลมี 4 พู มี 7 - 11 เมล็ด ลักษณะโค้งนูนหนึ่งด้าน กว้าง 4 - 6 เซนติเมตร
ลักษณะเด่น มีรากหายใจกลมบ้าง แบนบ้าง แล้วแต่สภาพของดินเลน โคนต้นมีพูพอน ต้นเล็ก สภาพลำต้นจะแตกต่างไปบ้างคือ เปลือกเรียบ สีออกดำแดง มีร่องสีขาวเป็นทางยาวตามลำต้น และเป็นไม้ผลัดใบชนิดหนึ่งของป่าชายเลน ( ผลัดใบช่วงเดือน พ.ย. - ธ.ค. )
นิเวศวิทยา ขึ้นกระจายในบริเวณที่เป็นดินเลนค่อนข้างแข็ง ออกดอกพร้อมๆกับแตกใบใหม่ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ผลแก่ประมาณเดือนสิงหาคม - ตุลาคม
ประโยชน์
เปลือกไม้มีรสฝาดใช้แก้อาการท้องเสีย อาการอักเสบในลำไส้ อาการผิดปกติใน ช่องท้อง ใช้เป็นยาลดไข้ เปลือกและผลนำมาต้มกับน้ำใช้ล้างทำความสะอาดบาดแผลได้ดี หรือต้มน้ำดื่มรักษาแผลภายใน ต้มแล้วตำให้ละเอียด พอกแผลสด แผลบวม พกช้ำ เป็นหนอง
ผลต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย บิด อหิวาต์ ผลแห้งตากแห้งเผาไฟร่วมกับเห็ดพังกาและน้ำมันมะพร้าว ทาแก้มะเร็งผิวหนัง เมล็ดรับประทานแก้ท้องร่วง
เนื้อไม้มีสีและลวดลายสวยงาม ใช้ตกแต่งเฟอร์นิเจอร์และก่อสร้างได้ เปลือกไม้ใช้ในการฟอกหนังสำหรับใช้เป็นพื้นรองเท้า (heavy leather) ใช้ย้อมแห อวน บางครั้งใช้ย้อมสีเสื้อเป็น สีน้ำตาล ทำดินสอ
หมายเหตุ ตะบูนดำ ไม้ผลัดใบ รากหายใจรูปกรวยคว่ำ ปลายใบมนหนาเป็นมัน ผลค่อนข้างกลมมีร่องสีเขียว ส่วนตะบูนขาว ไม่ผลัดใบ รากหายใจแบนคล้ายแผ่นกระดาน ผลสีน้ำตาลแดงคล้ายผลทับทิม
จิกทะเล
ชื่อพฤกษศาสตร์: Barringtonia asiatica (L.) Kurz
ชื่อพื้นเมือง: จิกทะเล
ชื่อท้องถิ่น: จิกทะเล
วงศ์ LECYTHIDACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 8 - 15 เมตร ราก ระบบรากแก้ว ไม่พบทั้งรากหายใจและ รากค้ำจุน ลำต้น ตั้งตรง ไม้เนื้อแข็ง แตกกิ่งระดับต่ำ เรือนยอดแน่นทึบ เปลือกหยาบสีเทาเข้ม ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง หนาแน่นที่ ปลายกิ่ง แผ่นใบรูปไข่กลับ ขนาด 10 - 25 X 25 - 40 เซนติเมตร ฐานใบแหลม หรือ รูปติ่งหู ปลายใบกลม หรือแหลมกว้าง แผ่นใบนุ่มก้านใบอ้วนสั้น ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ใบเกลี้ยงทั้งหน้าและหลังใบ ดอก แบบช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ช่อดอกสั้น ตั้งตรง ดอกใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 7 - 10 เซนติเมตร ใบประดับรูปไข่ไม่มีก้าน ก้านดอกย่อยยาว 4 - 5 เซนติเมตร หลอดกลีบเลี้ยงเปิดออกเป็นสองแฉก ขนาดไม่เท่ากัน ดอกตูมมีสีขาวคล้ายดอกยี่หุบ กลีบดอก 4 กลีบ สีขาวไม่ติดกันรูปรีโค้งออก เกสรเพศผู้จำนวนมากสีแดงและขาว เกสรเพศเมียรังไข่ใต้วงกลีบ ห้องในรังไข่ตั้งแต่ 1 ห้อง มีเม็ดไข่มาก บานตอนกลางคืน โรยตอนกลางวัน ผล มีขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-15 เซนติเมตร รูปปิระมิด - สี่เหลี่ยม เห็นเป็นเหลี่ยมชัดเจน ปลายมนป้าน เปลือกเป็นเส้นใย หนาคล้ายเปลือกมะพร้าวลอยน้ำได้ ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่สีน้ำตาล ผลแก่ไม่แตก มี 1 เมล็ด
ลักษณะเด่น เมื่อเป็นดอกตูมสีขาวคล้ายดอกยี่หุบ เมื่อบานจะเห็นเกสรด้านในชัดเจน ผลเป็นเหลี่ยม คล้ายลูกดิ่ง ปลายแหลมเล็กน้อย
นิเวศวิทยา เป็นพันธุ์ไม้ที่พบได้ริมชายฝั่งทะเลที่เป็นดินทราย, โขดหิน หรือ ที่มีดินเลนและขึ้นได้ดีในที่มีดินเลนแข็ง ออกดอก - ผลระหว่างเดือนสิงหาคม - พฤศจิกายน
ประโยชน์ เปลือกต้มทำเป็นยาทาภายนอก แก้ปวดข้อ รากฝนผสมกับน้ำมะนาว ใช้ปิดปากแผลที่ถูกงูกัด แก้พิษงู ผลชงน้ำดื่ม แก้ไอ แก้หืด แก้ท้องเสีย เมล็ดทุบให้แตก ชงน้ำดื่มแก้จุกเสียด บีบให้น้ำมัน ใช้เป็นเชื้อไฟให้ความสว่าง เปลือกของเมล็ด ทุบให้แตกตีกับน้ำใส่บ่อใช้เบื่อปลา
ชื่อพฤกษศาสตร์: Barringtonia asiatica (L.) Kurz
ชื่อพื้นเมือง: จิกทะเล
ชื่อท้องถิ่น: จิกทะเล
วงศ์ LECYTHIDACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 8 - 15 เมตร ราก ระบบรากแก้ว ไม่พบทั้งรากหายใจและ รากค้ำจุน ลำต้น ตั้งตรง ไม้เนื้อแข็ง แตกกิ่งระดับต่ำ เรือนยอดแน่นทึบ เปลือกหยาบสีเทาเข้ม ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง หนาแน่นที่ ปลายกิ่ง แผ่นใบรูปไข่กลับ ขนาด 10 - 25 X 25 - 40 เซนติเมตร ฐานใบแหลม หรือ รูปติ่งหู ปลายใบกลม หรือแหลมกว้าง แผ่นใบนุ่มก้านใบอ้วนสั้น ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ใบเกลี้ยงทั้งหน้าและหลังใบ ดอก แบบช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ช่อดอกสั้น ตั้งตรง ดอกใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 7 - 10 เซนติเมตร ใบประดับรูปไข่ไม่มีก้าน ก้านดอกย่อยยาว 4 - 5 เซนติเมตร หลอดกลีบเลี้ยงเปิดออกเป็นสองแฉก ขนาดไม่เท่ากัน ดอกตูมมีสีขาวคล้ายดอกยี่หุบ กลีบดอก 4 กลีบ สีขาวไม่ติดกันรูปรีโค้งออก เกสรเพศผู้จำนวนมากสีแดงและขาว เกสรเพศเมียรังไข่ใต้วงกลีบ ห้องในรังไข่ตั้งแต่ 1 ห้อง มีเม็ดไข่มาก บานตอนกลางคืน โรยตอนกลางวัน ผล มีขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-15 เซนติเมตร รูปปิระมิด - สี่เหลี่ยม เห็นเป็นเหลี่ยมชัดเจน ปลายมนป้าน เปลือกเป็นเส้นใย หนาคล้ายเปลือกมะพร้าวลอยน้ำได้ ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่สีน้ำตาล ผลแก่ไม่แตก มี 1 เมล็ด
ลักษณะเด่น เมื่อเป็นดอกตูมสีขาวคล้ายดอกยี่หุบ เมื่อบานจะเห็นเกสรด้านในชัดเจน ผลเป็นเหลี่ยม คล้ายลูกดิ่ง ปลายแหลมเล็กน้อย
นิเวศวิทยา เป็นพันธุ์ไม้ที่พบได้ริมชายฝั่งทะเลที่เป็นดินทราย, โขดหิน หรือ ที่มีดินเลนและขึ้นได้ดีในที่มีดินเลนแข็ง ออกดอก - ผลระหว่างเดือนสิงหาคม - พฤศจิกายน
ประโยชน์ เปลือกต้มทำเป็นยาทาภายนอก แก้ปวดข้อ รากฝนผสมกับน้ำมะนาว ใช้ปิดปากแผลที่ถูกงูกัด แก้พิษงู ผลชงน้ำดื่ม แก้ไอ แก้หืด แก้ท้องเสีย เมล็ดทุบให้แตก ชงน้ำดื่มแก้จุกเสียด บีบให้น้ำมัน ใช้เป็นเชื้อไฟให้ความสว่าง เปลือกของเมล็ด ทุบให้แตกตีกับน้ำใส่บ่อใช้เบื่อปลา
ถั่วขาว
ชื่อพฤกษศาสตร์: Bruguiera cylindrica (L.) Bume.
ชื่อพื้นเมือง: ถั่วขาว
ชื่อท้องถิ่น: ต้นรุ่ย, ต้นคลัก
วงศ์ RHIZOPHORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย ไม้ต้นขนาดเล็ก – ขนาดกลาง สูง 5 - 10 เมตร ราก ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายเข่า ยาว 10 - 15 เซนติเมตร โผล่เหนือผิวดิน ลำต้น ตั้งตรง มีเนื้อไม้ โคนต้นมีพูพอนน้อยแต่แผ่ออกกว้างคล้ายปีก สำหรับ ช่วยพยุงลำต้น ลำต้นกลม เรือนยอดแน่นทึบรูปปิระมิด เปลือก เรียบถึงหยาบเล็กน้อย มีตุ่มขาวขนาดเล็กตลอดลำต้น สีเทา หรือ สีน้ำตาล กิ่งอ่อนสีเขียว ใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับทิศทาง แผ่นใบรูปรี ขนาด 3 - 8 X 7 - 19 เซนติเมตร ฐานใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลมขอบใบม้วนลง เส้นกลางใบสีเขียว เส้นใบเว้าลงมองเห็นได้ชัดเจน เส้นใบ 7 คู่ ก้านใบตรง ยาว 1.5 - 4 เซนติเมตร ผิวใบด้านบน สีเขียวเข้มท้องใบสีจางกว่า เกลี้ยงทั้งสองด้าน ดอก สมบูรณ์เพศ เป็นกระจุกที่ง่ามใบ ช่อละ 3 ดอก ก้านช่อดอกยาว 0.6 - 0.9 เซนติเมตร วงกลีบเลี้ยงรูประฆัง โคนกลีบติดกันเป็นหลอด ขนาด 0.2 - 0.3 X 0.4 - 0.6 เซนติเมตร ผิวเรียบสีเขียว ปลายแยกเป็น 8 แฉก กลีบเลี้ยงยาวเท่าหลอด ปลายกลีบโค้งกลับ กลีบดอก 8 กลีบ สีขาวรูปขอบขนาน ยาว 0.3 - 0.4 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 2 แฉก ขอบกลีบมีขนสีขาว ปลายกลีบมีขนแข็งสีน้ำตาล 2 - 3 เส้น ยาวประมาณ 0.1 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มีจำนวน สองเท่าของกลีบ ติดอยู่บนขอบของ กลีบเลี้ยง ก้านเกสร สั้นมาก เกสรเพศเมียรังไข่ใต้วงกลีบ ภายในมี 2 - 5 ห้องติดกัน มีเม็ดไข่ห้องละ 2 เม็ด ยอดเกสรมีสภาพคงทน ผล เป็นผลแบบงอกตั้งแต่ติดอยู่บนต้น ผลสีเขียว ยาว 1 - 1.4 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงหุ้มผลรูปดาว กลีบโค้งกลับงอขึ้นไม่หุ้มผล ลำต้นใต้ใบเลี้ยงหรือ”ฝัก” รูปทรงกระบอกเรียวโค้ง ขนาด 0.4 - 0.6 X 7 - 14 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวและเมื่อฝักแก่เต็มที่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมม่วง มีร่องตามความยาวของฝัก
ลักษณะเด่น หนึ่งช่อดอกมีเพียง 3 ดอกเท่านั้น และผลมีกลีบเลี้ยงงอขึ้น
นิเวศวิทยา ขึ้นในที่ดินเลนตื้น เหนียวและแข็ง ตามริมชายฝั่ง หรือ พื้นที่ที่ถูกเปิดโล่ง หรือ เขตน้ำกร่อยที่มีดินเลนค่อนข้างแข็ง ออกดอก - ผลเกือบตลอดปี
ประโยชน์ ฝักรับประทานได้ ลำต้นใช้ทำฟืน ทำเสาเข็ม เผาถ่าน เครื่องมือจับปลา ทำหลักเลี้ยงหอยแมลงภู่
ชื่อพฤกษศาสตร์: Bruguiera cylindrica (L.) Bume.
ชื่อพื้นเมือง: ถั่วขาว
ชื่อท้องถิ่น: ต้นรุ่ย, ต้นคลัก
วงศ์ RHIZOPHORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย ไม้ต้นขนาดเล็ก – ขนาดกลาง สูง 5 - 10 เมตร ราก ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายเข่า ยาว 10 - 15 เซนติเมตร โผล่เหนือผิวดิน ลำต้น ตั้งตรง มีเนื้อไม้ โคนต้นมีพูพอนน้อยแต่แผ่ออกกว้างคล้ายปีก สำหรับ ช่วยพยุงลำต้น ลำต้นกลม เรือนยอดแน่นทึบรูปปิระมิด เปลือก เรียบถึงหยาบเล็กน้อย มีตุ่มขาวขนาดเล็กตลอดลำต้น สีเทา หรือ สีน้ำตาล กิ่งอ่อนสีเขียว ใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับทิศทาง แผ่นใบรูปรี ขนาด 3 - 8 X 7 - 19 เซนติเมตร ฐานใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลมขอบใบม้วนลง เส้นกลางใบสีเขียว เส้นใบเว้าลงมองเห็นได้ชัดเจน เส้นใบ 7 คู่ ก้านใบตรง ยาว 1.5 - 4 เซนติเมตร ผิวใบด้านบน สีเขียวเข้มท้องใบสีจางกว่า เกลี้ยงทั้งสองด้าน ดอก สมบูรณ์เพศ เป็นกระจุกที่ง่ามใบ ช่อละ 3 ดอก ก้านช่อดอกยาว 0.6 - 0.9 เซนติเมตร วงกลีบเลี้ยงรูประฆัง โคนกลีบติดกันเป็นหลอด ขนาด 0.2 - 0.3 X 0.4 - 0.6 เซนติเมตร ผิวเรียบสีเขียว ปลายแยกเป็น 8 แฉก กลีบเลี้ยงยาวเท่าหลอด ปลายกลีบโค้งกลับ กลีบดอก 8 กลีบ สีขาวรูปขอบขนาน ยาว 0.3 - 0.4 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 2 แฉก ขอบกลีบมีขนสีขาว ปลายกลีบมีขนแข็งสีน้ำตาล 2 - 3 เส้น ยาวประมาณ 0.1 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มีจำนวน สองเท่าของกลีบ ติดอยู่บนขอบของ กลีบเลี้ยง ก้านเกสร สั้นมาก เกสรเพศเมียรังไข่ใต้วงกลีบ ภายในมี 2 - 5 ห้องติดกัน มีเม็ดไข่ห้องละ 2 เม็ด ยอดเกสรมีสภาพคงทน ผล เป็นผลแบบงอกตั้งแต่ติดอยู่บนต้น ผลสีเขียว ยาว 1 - 1.4 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงหุ้มผลรูปดาว กลีบโค้งกลับงอขึ้นไม่หุ้มผล ลำต้นใต้ใบเลี้ยงหรือ”ฝัก” รูปทรงกระบอกเรียวโค้ง ขนาด 0.4 - 0.6 X 7 - 14 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวและเมื่อฝักแก่เต็มที่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมม่วง มีร่องตามความยาวของฝัก
ลักษณะเด่น หนึ่งช่อดอกมีเพียง 3 ดอกเท่านั้น และผลมีกลีบเลี้ยงงอขึ้น
นิเวศวิทยา ขึ้นในที่ดินเลนตื้น เหนียวและแข็ง ตามริมชายฝั่ง หรือ พื้นที่ที่ถูกเปิดโล่ง หรือ เขตน้ำกร่อยที่มีดินเลนค่อนข้างแข็ง ออกดอก - ผลเกือบตลอดปี
ประโยชน์ ฝักรับประทานได้ ลำต้นใช้ทำฟืน ทำเสาเข็ม เผาถ่าน เครื่องมือจับปลา ทำหลักเลี้ยงหอยแมลงภู่
พังกาหัวสุมดอกแดง
ชื่อพฤกษศาสตร์: Bruguiera gymnorrhiza (L.) Savigny
ชื่อพื้นเมือง: พังกาหัวสุมดอกแดง
ชื่อท้องถิ่น: ประสักดอกแดง
วงศ์ RHIZOPHORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดกลาง - ขนาดใหญ่ สูง 25 - 35 เมตร ราก ระบบรากแก้วหยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจคล้ายเข่า ลำต้น ตั้งตรง เนื้อไม้แข็ง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เป็นชั้นเหมือนฉัตร ทึบ โคนต้นเป็นเหลี่ยม ต้นใหญ่มีลักษณะเป็นพูพอนสูง มีช่องอากาศขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป เปลือกลำต้นหยาบ เปลือกเป็นเกล็ดหนา แตกเป็นร่องสม่ำเสมอตามยาวไม่เป็นระเบียบ สีน้ำตาลดำถึงดำแบบสีชอคโกแล็ต ใบ ใบเดี่ยว ลักษณะคล้ายโกงกาง ใบเล็ก แต่ไม่มีจุดดำที่ท้องใบ เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี หรือ รูปไข่แกมรี ขนาด 4 - 9 X 8 - 20 เซนติเมตร ฐานใบมน ปลายใบแหลมสั้น ไม่มีติ่ง ผิวใบเรียบหนา คล้ายแผ่นหนัง ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบเขียวอมเหลือง มีเส้นใบ 8 - 10 คู่ เส้นกลางใบด้านล่างมีสีแดงเรื่อๆ ก้านใบกลมยาว 2 - 5 เซนติเมตร มีสีแดงเรื่อๆ หูใบแหลมยาวมักมียางขาว ดอก สมบูรณ์เพศ ดอกเดี่ยว ตามง่ามใบ สีแดง หรือ แดงอมชมพู ก้านดอกยาว 3 - 4 เซนติเมตร โค้งลงล่าง ดอกตูมรูปกระสวย ยาว 2.5 - 3.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีแดงปนเขียว โคนติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกแคบๆ ถึงลึกลงครึ่งหนึ่ง มี 10 - 16 แฉก แต่ละแฉกมีขนาด 0.3 - 0.5 X 1.5 - 2 เซนติเมตร ท้องกลีบเลี้ยงส่วนบนที่ปลายมีสัน กลีบดอก 10 - 16 กลีบ รูปขอบขนาน ปลายกลีบเว้า หยักลึกลงเกือบถึงกลางกลีบ เป็น 2 แฉก ปลายแหลม มีขนสั้นๆปกคลุมและมีเส้นแข็งติดที่ปลาย 3 - 4 เส้น ยาว 0.1 เซนติเมตร สีขาว หรือ สีเหลืองอมเขียว เมื่อดอกบานจะมีลักษณะคล้ายสุ่ม ผล รูปลูกข่าง ยาว 2 - 3 เซนติเมตร ผิวเรียบ จะงอกตั้งแต่ผล ติดอยู่บนต้นเรียกว่า “ฝัก” หรือ ลำต้นใต้ใบเลี้ยง รูปกระสวย ขนาด 1.5 - 2 X 7 - 25 เซนติเมตร เป็นเหลี่ยม หรือมีสันเล็กน้อย สีเขียวเข้มแกมม่วง เมื่อแก่จัดมีสีม่วงดำ
ลักษณะเด่น ทรงพุ่มเป็นชั้นเหมือนฉัตร ดอกสีแดง สัมผัสผิวราบเรียบไม่สะดุดมือ ฝัก หรือ ผลคล้ายรูปบุหรี่ซิการ์ ใบคล้ายโกงกางใบเล็ก แต่ไม่มีจุดดำที่ท้องใบ
นิเวศวิทยา พบขึ้นทั่วไปในป่าชายเลน ในบริเวณดินเลนแข็ง หรือ ดินค่อนข้างแข็งและเหนียวและน้ำทะเลท่วมถึงบางครั้งบางคราว ออกดอก - ผลเกือบตลอดปี
ประโยชน์ เป็นยาฝาดสมานแก้ท้องเสียและมาลาเรีย ใช้กินกับหมากในบางครั้งและใช้หยอดตา
ลำต้นเนื้อไม้ค่อนข้างแข็งนำไปใช้เป็นเสา เสาเรือน แพ คันเบ็ด เสาโทรเลข ทำฟืน เผาถ่าน สร้างที่อยู่อาศัย ทำเครื่องมือประมง เสาไม้ที่มีอายุประมาณ 10 ปี เพราะทนทานต่อการทำลายของปลวกและเพรียงน้ำจืด
ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษแต่กระดาษคุณภาพต่ำ ทำกาว เปลือก ให้น้ำฝาด ให้สีย้อมผ้า ย้อมอวนชนิดหนา และย้อมหนังได้อย่างดี
ฝักเชื่อมรับประทานเป็นของหวาน คล้ายสาเกเชื่อม
ชื่อพฤกษศาสตร์: Bruguiera gymnorrhiza (L.) Savigny
ชื่อพื้นเมือง: พังกาหัวสุมดอกแดง
ชื่อท้องถิ่น: ประสักดอกแดง
วงศ์ RHIZOPHORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดกลาง - ขนาดใหญ่ สูง 25 - 35 เมตร ราก ระบบรากแก้วหยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจคล้ายเข่า ลำต้น ตั้งตรง เนื้อไม้แข็ง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เป็นชั้นเหมือนฉัตร ทึบ โคนต้นเป็นเหลี่ยม ต้นใหญ่มีลักษณะเป็นพูพอนสูง มีช่องอากาศขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป เปลือกลำต้นหยาบ เปลือกเป็นเกล็ดหนา แตกเป็นร่องสม่ำเสมอตามยาวไม่เป็นระเบียบ สีน้ำตาลดำถึงดำแบบสีชอคโกแล็ต ใบ ใบเดี่ยว ลักษณะคล้ายโกงกาง ใบเล็ก แต่ไม่มีจุดดำที่ท้องใบ เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี หรือ รูปไข่แกมรี ขนาด 4 - 9 X 8 - 20 เซนติเมตร ฐานใบมน ปลายใบแหลมสั้น ไม่มีติ่ง ผิวใบเรียบหนา คล้ายแผ่นหนัง ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบเขียวอมเหลือง มีเส้นใบ 8 - 10 คู่ เส้นกลางใบด้านล่างมีสีแดงเรื่อๆ ก้านใบกลมยาว 2 - 5 เซนติเมตร มีสีแดงเรื่อๆ หูใบแหลมยาวมักมียางขาว ดอก สมบูรณ์เพศ ดอกเดี่ยว ตามง่ามใบ สีแดง หรือ แดงอมชมพู ก้านดอกยาว 3 - 4 เซนติเมตร โค้งลงล่าง ดอกตูมรูปกระสวย ยาว 2.5 - 3.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีแดงปนเขียว โคนติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกแคบๆ ถึงลึกลงครึ่งหนึ่ง มี 10 - 16 แฉก แต่ละแฉกมีขนาด 0.3 - 0.5 X 1.5 - 2 เซนติเมตร ท้องกลีบเลี้ยงส่วนบนที่ปลายมีสัน กลีบดอก 10 - 16 กลีบ รูปขอบขนาน ปลายกลีบเว้า หยักลึกลงเกือบถึงกลางกลีบ เป็น 2 แฉก ปลายแหลม มีขนสั้นๆปกคลุมและมีเส้นแข็งติดที่ปลาย 3 - 4 เส้น ยาว 0.1 เซนติเมตร สีขาว หรือ สีเหลืองอมเขียว เมื่อดอกบานจะมีลักษณะคล้ายสุ่ม ผล รูปลูกข่าง ยาว 2 - 3 เซนติเมตร ผิวเรียบ จะงอกตั้งแต่ผล ติดอยู่บนต้นเรียกว่า “ฝัก” หรือ ลำต้นใต้ใบเลี้ยง รูปกระสวย ขนาด 1.5 - 2 X 7 - 25 เซนติเมตร เป็นเหลี่ยม หรือมีสันเล็กน้อย สีเขียวเข้มแกมม่วง เมื่อแก่จัดมีสีม่วงดำ
ลักษณะเด่น ทรงพุ่มเป็นชั้นเหมือนฉัตร ดอกสีแดง สัมผัสผิวราบเรียบไม่สะดุดมือ ฝัก หรือ ผลคล้ายรูปบุหรี่ซิการ์ ใบคล้ายโกงกางใบเล็ก แต่ไม่มีจุดดำที่ท้องใบ
นิเวศวิทยา พบขึ้นทั่วไปในป่าชายเลน ในบริเวณดินเลนแข็ง หรือ ดินค่อนข้างแข็งและเหนียวและน้ำทะเลท่วมถึงบางครั้งบางคราว ออกดอก - ผลเกือบตลอดปี
ประโยชน์ เป็นยาฝาดสมานแก้ท้องเสียและมาลาเรีย ใช้กินกับหมากในบางครั้งและใช้หยอดตา
ลำต้นเนื้อไม้ค่อนข้างแข็งนำไปใช้เป็นเสา เสาเรือน แพ คันเบ็ด เสาโทรเลข ทำฟืน เผาถ่าน สร้างที่อยู่อาศัย ทำเครื่องมือประมง เสาไม้ที่มีอายุประมาณ 10 ปี เพราะทนทานต่อการทำลายของปลวกและเพรียงน้ำจืด
ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษแต่กระดาษคุณภาพต่ำ ทำกาว เปลือก ให้น้ำฝาด ให้สีย้อมผ้า ย้อมอวนชนิดหนา และย้อมหนังได้อย่างดี
ฝักเชื่อมรับประทานเป็นของหวาน คล้ายสาเกเชื่อม
พังกาหัวสุมดอกขาว
ชื่อพฤกษศาสตร์: Bruguiera sexangula (Lour.) Poir.
ชื่อพื้นเมือง: พังกาหัวสุมดอกขาว
ชื่อท้องถิ่น : ประสักดอกขาว
วงศ์ RHIZOPHORACEA
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 20 - 30 เมตร ราก ระบบรากแก้วหยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นหายใจรูปคล้ายเข่า มีรากค้ำจุนขนาดเล็ก ลำต้น โคนต้นมีพูพอนสูง กิ่งอ่อนสีเขียว บางครั้งเหมือนถูกย้อมด้วยสีแดง ผิวเปลือกหยาบมีตุ่มขาว เป็นจุดประตลอด ลำต้น แตกเป็นร่องตามยาว ช่องอากาศขนาดใหญ่มีน้อยมีเฉพาะที่พูพอน เปลือกสีเทาเข้มถึง สีน้ำตาลอมเทา ใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับทิศทาง แผ่นใบรูปรีถึงรูปขอบขนาน แกมรูปรี ขนาด 3 - 6 X 8 - 16 เซนติเมตร ปลายใบและฐานใบแหลม เส้นใบ 7 - 11 คู่ ก้านใบยาว 1 - 5 เซนติเมตร หูใบยาว 4 - 10 เซนติเมตร สีเหลืองอ่อน หรือเ ขียว ดอก สมบูรณ์เพศ ออกเดี่ยวตามง่ามใบยาว 2 - 4 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 0.6 - 1.5 เซนติเมตร สีเขียว กลีบเลี้ยง 10 - 12 กลีบ สีเหลืองอ่อน หรือ เขียวอมเหลือง หรือ เขียวอมชมพู หลอดกลีบเลี้ยงยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร มีสัน กลีบดอกเป็นเหลี่ยม ยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร สัมผัสรู้สึกสาก ขอบกลีบมีขนสีขาว ผล รูปคล้ายลูกข่างยาว 2 - 3 เซนติเมตร ผิวเรียบ เป็นผลแบบงอกตั้งแต่ยังติดอยู่บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงหรือ”ฝัก”รูปซิการ์ ขนาด 1 - 1.5 X 5 - 10 เซนติเมตร มีเหลี่ยมเล็กน้อย โคนสอบทู่ สีเขียว
ลักษณะเด่น ทรงพุ่มของเรือนยอดเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกสีขาว ผลเป็นเหลี่ยม ผิวไม่เรียบ สัมผัสด้วยมือรู้สึกสาก
นิเวศวิทยา ขึ้นกระจายถัดเข้าไปจากแนวโกงกางใบเล็ก บนพื้นที่ดินค่อนข้างแข็ง เหนียว และ น้ำท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ หรือ เขตป่าชายเลนที่มีความเค็มของน้ำค่อนข้างต่ำ ออกดอก - ผลเกือบตลอดปี
ประโยชน์ ลำต้นใช้ทำฟืน เผาถ่าน ทำที่อยู่อาศัย เครื่องมือประมง เสาโป๊ะ หลักเลี้ยงหอยแมลงภู่
หมายเหตุ พังกาหัวสุมดอกขาว กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกสีขาว ฝักคล้ายรูปซิการ์ แตกต่างจากพังกาหัวสุมดอกแดงที่มีกลีบเลี้ยงสีแดงปนเขียว กลีบดอกสีแดงอมชมพู ฝักคล้ายรูปกระสวย
ชื่อพฤกษศาสตร์: Bruguiera sexangula (Lour.) Poir.
ชื่อพื้นเมือง: พังกาหัวสุมดอกขาว
ชื่อท้องถิ่น : ประสักดอกขาว
วงศ์ RHIZOPHORACEA
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 20 - 30 เมตร ราก ระบบรากแก้วหยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นหายใจรูปคล้ายเข่า มีรากค้ำจุนขนาดเล็ก ลำต้น โคนต้นมีพูพอนสูง กิ่งอ่อนสีเขียว บางครั้งเหมือนถูกย้อมด้วยสีแดง ผิวเปลือกหยาบมีตุ่มขาว เป็นจุดประตลอด ลำต้น แตกเป็นร่องตามยาว ช่องอากาศขนาดใหญ่มีน้อยมีเฉพาะที่พูพอน เปลือกสีเทาเข้มถึง สีน้ำตาลอมเทา ใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับทิศทาง แผ่นใบรูปรีถึงรูปขอบขนาน แกมรูปรี ขนาด 3 - 6 X 8 - 16 เซนติเมตร ปลายใบและฐานใบแหลม เส้นใบ 7 - 11 คู่ ก้านใบยาว 1 - 5 เซนติเมตร หูใบยาว 4 - 10 เซนติเมตร สีเหลืองอ่อน หรือเ ขียว ดอก สมบูรณ์เพศ ออกเดี่ยวตามง่ามใบยาว 2 - 4 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 0.6 - 1.5 เซนติเมตร สีเขียว กลีบเลี้ยง 10 - 12 กลีบ สีเหลืองอ่อน หรือ เขียวอมเหลือง หรือ เขียวอมชมพู หลอดกลีบเลี้ยงยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร มีสัน กลีบดอกเป็นเหลี่ยม ยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร สัมผัสรู้สึกสาก ขอบกลีบมีขนสีขาว ผล รูปคล้ายลูกข่างยาว 2 - 3 เซนติเมตร ผิวเรียบ เป็นผลแบบงอกตั้งแต่ยังติดอยู่บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงหรือ”ฝัก”รูปซิการ์ ขนาด 1 - 1.5 X 5 - 10 เซนติเมตร มีเหลี่ยมเล็กน้อย โคนสอบทู่ สีเขียว
ลักษณะเด่น ทรงพุ่มของเรือนยอดเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกสีขาว ผลเป็นเหลี่ยม ผิวไม่เรียบ สัมผัสด้วยมือรู้สึกสาก
นิเวศวิทยา ขึ้นกระจายถัดเข้าไปจากแนวโกงกางใบเล็ก บนพื้นที่ดินค่อนข้างแข็ง เหนียว และ น้ำท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ หรือ เขตป่าชายเลนที่มีความเค็มของน้ำค่อนข้างต่ำ ออกดอก - ผลเกือบตลอดปี
ประโยชน์ ลำต้นใช้ทำฟืน เผาถ่าน ทำที่อยู่อาศัย เครื่องมือประมง เสาโป๊ะ หลักเลี้ยงหอยแมลงภู่
หมายเหตุ พังกาหัวสุมดอกขาว กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกสีขาว ฝักคล้ายรูปซิการ์ แตกต่างจากพังกาหัวสุมดอกแดงที่มีกลีบเลี้ยงสีแดงปนเขียว กลีบดอกสีแดงอมชมพู ฝักคล้ายรูปกระสวย
โปรงแดง
ชื่อพฤกษศาสตร์: Ceriops tagal (Perr.) C.B.Rob.
ชื่อพื้นเมือง: โปรงแดง
ชื่อท้องถิ่น : ปุโรงแดง
วงศ์ RHIZOPHORACEA
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก - กลาง สูง 7 - 15 เมตร ราก ระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปในดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นค้ำจุนขนาดเล็ก และรากหายใจรูปคล้ายเข่า (ภาพที่ 4 C) อ้วนกลมยาว 12 - 20 เซนติเมตร เหนือผิวดิน สีน้ำตาลอมชมพู ลำต้น ต้นตั้งตรง เนื้อแข็งโคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย เรือนยอดเป็นกลุ่มกลม สีเข้ม กิ่งสีเขียว มีช่องอากาศเล็กๆ เปลือกสีชมพูเรื่อๆ หรือ น้ำตาลอ่อน เรียบถึงแตกเป็นสะเก็ด ต้นแก่มีรอยแผลเป็นช่องอากาศเห็นชัดเจนสีน้ำตาลอ่อน ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับทิศทาง เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง แผ่นใบชี้ไปที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับแกมขอบขนานถึงรูปไข่กลับ ขนาด 3 - 8 X 5 - 12 เซนติเมตร ฐานใบรูปลิ่ม ปลายใบ ป้านมน หรือ เว้าตื้นๆ ขอบใบมักเป็นคลื่น ก้านใบยาว 1.5 - 4 เซนติเมตร หูใบยาว 1 - 3 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีซีด ดอก สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อกระจุกตามง่ามใบ แต่ละช่อมี 4 - 8 ดอก ก้านช่อดอกเรียวยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยสั้น วงกลีบเลี้ยงยาว 0.5 - 0.7 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงหยักลึก 5 กลีบ รูปไข่ยาว 0.4 - 0.5 เซนติเมตร แผ่บานออก ปลายโค้งเข้าหาผล ใบประดับเชื่อมติดกันที่โคนหลอดกลีบเลี้ยง กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนาน สีขาว ผล รูปแพร์กลับ ยาว 1 - 3 เซนติเมตร สีเขียวถึงสีน้ำตาลแกมเขียว เป็นผลแบบงอกตั้งแต่ติดอยู่บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงหรือ “ฝัก” รูปทรงกระบอกขนาด 0.5 X 15 - 35 เซนติเมตร ปลายเล็กขยายใหญ่ไปทางส่วนโคน แล้วสอบแหลม มีสันแหลมตามยาว ผิวขรุขระ สีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ห้อยลงในแนวดิ่ง
ลักษณะเด่น ฝักเป็นเหลี่ยมสันนูน
นิเวศวิทยา ขึ้นอยู่ด้านในของป่าชายเลน ตามริมชายฝั่งแม่น้ำ ที่น้ำท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ และดินมีการระบายน้ำดี หรือ ขึ้นในป่าโปรงแดงล้วน ที่ดินเลนมีสภาพเป็นกรด ค่อนข้างเป็นที่ดอน ออกดอก - ผลเกือบตลอดปี
ประโยชน์ เปลือกตำให้ละเอียดฟอกแผล ห้ามเลือด ต้มกับน้ำชะล้างบาดแผล แก้ท้องร่วง
ลำต้นใช้ทำฟืน เผาถ่าน ทำที่อยู่อาศัย เครื่องมือประมง
ชื่อพฤกษศาสตร์: Ceriops tagal (Perr.) C.B.Rob.
ชื่อพื้นเมือง: โปรงแดง
ชื่อท้องถิ่น : ปุโรงแดง
วงศ์ RHIZOPHORACEA
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก - กลาง สูง 7 - 15 เมตร ราก ระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปในดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นค้ำจุนขนาดเล็ก และรากหายใจรูปคล้ายเข่า (ภาพที่ 4 C) อ้วนกลมยาว 12 - 20 เซนติเมตร เหนือผิวดิน สีน้ำตาลอมชมพู ลำต้น ต้นตั้งตรง เนื้อแข็งโคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย เรือนยอดเป็นกลุ่มกลม สีเข้ม กิ่งสีเขียว มีช่องอากาศเล็กๆ เปลือกสีชมพูเรื่อๆ หรือ น้ำตาลอ่อน เรียบถึงแตกเป็นสะเก็ด ต้นแก่มีรอยแผลเป็นช่องอากาศเห็นชัดเจนสีน้ำตาลอ่อน ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับทิศทาง เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง แผ่นใบชี้ไปที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับแกมขอบขนานถึงรูปไข่กลับ ขนาด 3 - 8 X 5 - 12 เซนติเมตร ฐานใบรูปลิ่ม ปลายใบ ป้านมน หรือ เว้าตื้นๆ ขอบใบมักเป็นคลื่น ก้านใบยาว 1.5 - 4 เซนติเมตร หูใบยาว 1 - 3 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีซีด ดอก สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อกระจุกตามง่ามใบ แต่ละช่อมี 4 - 8 ดอก ก้านช่อดอกเรียวยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยสั้น วงกลีบเลี้ยงยาว 0.5 - 0.7 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงหยักลึก 5 กลีบ รูปไข่ยาว 0.4 - 0.5 เซนติเมตร แผ่บานออก ปลายโค้งเข้าหาผล ใบประดับเชื่อมติดกันที่โคนหลอดกลีบเลี้ยง กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนาน สีขาว ผล รูปแพร์กลับ ยาว 1 - 3 เซนติเมตร สีเขียวถึงสีน้ำตาลแกมเขียว เป็นผลแบบงอกตั้งแต่ติดอยู่บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงหรือ “ฝัก” รูปทรงกระบอกขนาด 0.5 X 15 - 35 เซนติเมตร ปลายเล็กขยายใหญ่ไปทางส่วนโคน แล้วสอบแหลม มีสันแหลมตามยาว ผิวขรุขระ สีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ห้อยลงในแนวดิ่ง
ลักษณะเด่น ฝักเป็นเหลี่ยมสันนูน
นิเวศวิทยา ขึ้นอยู่ด้านในของป่าชายเลน ตามริมชายฝั่งแม่น้ำ ที่น้ำท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ และดินมีการระบายน้ำดี หรือ ขึ้นในป่าโปรงแดงล้วน ที่ดินเลนมีสภาพเป็นกรด ค่อนข้างเป็นที่ดอน ออกดอก - ผลเกือบตลอดปี
ประโยชน์ เปลือกตำให้ละเอียดฟอกแผล ห้ามเลือด ต้มกับน้ำชะล้างบาดแผล แก้ท้องร่วง
ลำต้นใช้ทำฟืน เผาถ่าน ทำที่อยู่อาศัย เครื่องมือประมง
โกงกางใบเล็ก
ชื่อพฤกษศาสตร์: Rhizophora apiculata Blume
ชื่อพื้นเมือง: โกงกางใบเล็ก
ชื่อท้องถิ่น: โกงกาง
วงศ์ RHIZOPHORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดกลาง - ขนาดใหญ่ สูง 8 - 15 เมตร ราก ระบบรากแก้ว บริเวณโคนลำต้น มีรากเสริมออกมาเหนือโคนต้น 1 - 3 เมตร รากที่โคนต้นหรือรากค้ำจุนลำต้น แตกแขนงระเกะระกะไม่เป็นระเบียบ มีหนึ่งหรือสองราก ที่ทำมุมเกือบตั้งฉากกับลำต้นและหักเป็นมุมฉากลงดิน เพื่อช่วยพยุงลำต้นให้ตั้งตรง ลำต้น ตั้งตรงเนื้อไม้แข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 - 30 เซนติเมตร เรือนยอดรูปกรวยคว่ำแคบๆเปลือกสีเทาคล้ำหรือเทาอมชมพู แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาวทั่วไป และอาจมีร่องสั้นๆแตกตามขวางคั่นระหว่างร่องยาวอย่างไม่เป็นระเบียบ ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับทิศทางตั้งฉากใบคู่ล่างๆจะร่วงไปเหลืออยู่ 2 - 4 คู่ เป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง แผ่นใบรูปรีหรือรูปขอบขนานแกมรี กว้าง 4 - 8 เซนติเมตร ยาว 7 - 18 เซนติเมตร ปลายแหลมเรียวเล็กน้อย โคนใบรูปลิ่ม เส้นกลางใบด้านล่างสีแดงอมชมพู เส้นแขนงใบปรากฏรางๆ แผ่นใบหนา ก้านใบยาว 1.5 - 3.5 เซนติเมตร ก้านใบและหูใบมักมีสีแดงเรื่อๆ ท้องใบเป็นสีเขียวอมดำ ปลายใบเป็นติ่ง มองแต่ไกลเป็นสีดำขนาดใบเล็กกว่าโกงกางใบใหญ่ ดอก สมบูรณ์เพศ ช่อดอกอยู่ใต้เรือนใบ ช่อดอกสั้นมาก ออกดอกช่อละคู่ตามง่ามใบ ก้านช่อดอกสั้นกว่าก้านใบ ยาวประมาณ 0.6 - 2 เซนติเมตร ตรงปลายก้านช่อมีดอกที่ไม่มีก้านดอกย่อย หรือมีก้านสั้น 1 คู่ ดอกตูมรูปไข่ ยาว 1.2 - 1.6 เซนติเมตร ใบประดับที่ฐานดอกติดกันคล้ายรูปถ้วย กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบหนา ปลายแหลมต่อลงมาจนโค้งลงเกือบแนบก้านดอก กลีบดอก 4 กลีบ ร่วงง่ายรูปใบหอก ขนาดกว้าง 1 - 2 มิลลิเมตร ยาว 0.7 - 1.2 เซนติเมตร สีเหลืองอมเขียวหรือเหลืองอ่อน ขอบกลีบไม่มีขน เกสรเพศผู้ 12 อัน ก้านชูอับเรณูสั้นมากหรือไม่ปรากฏชัด ผล ผลรูปแพร์กลับ หรือ คล้ายรูปไข่กลับยาว 2 - 3 เซนติเมตร ผิวค่อนข้างขรุขระ สีน้ำตาลคล้ำ เมล็ดงอกได้ในขณะที่ผลยังติดอยู่กับต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงรูปทรงกระบอก เรียวโค้งเล็กน้อย ยาว 20 - 40 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 - 1.2 เซนติเมตร ขนาดโตขึ้นที่ส่วนปลาย ผิวเป็นมัน เขียวหรือเขียวอมม่วง ค่อนข้างเรียบหรือมีตุ่มขรุขระกระจัดกระจาย เมื่อแก่เต็มที่ฝักจะหลุดเองได้
ลักษณะเด่น ดอกมีก้านดอกสั้นออกช่อละคู่ รากมีหนึ่งหรือสองรากทีทำมุมตั้งฉากกับลำต้นและหักเป็นมุมฉากลงดิน ใบมีขนาดเล็กและท้องใบมีสีเขียวเข้ม ลำต้นใต้ใบเลี้ยงโค้ง เปลือกเทาอมชมพู ก้านใบสีแดงอ่อนจนถึงกึ่งกลางเส้นใบ
นิเวศวิทยา ขึ้นในป่าชายเลนตามฝั่งทะเลทั่วไป ริมแม่น้ำ ชายคลอง ในบริเวณที่มีดินเลนค่อนข้างอ่อน ลึกและมีน้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอตลอดเวลา มักขึ้นเป็นหมู่อาจมีโกงกางใบใหญ่ขึ้นปะปนอยู่บ้าง ออกดอกในราวเดือนกันยายน - มกราคม
ประโยชน์
เปลือกใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาสมาน แก้ท้องร่วง คลื่นเหียน อาเจียน แก้บิดเรื้อรัง หรือตำให้ละเอียดพอกห้ามเลือดบาดแผลสดได้ดี ใบอ่อนนำมาบด หรือ เคี้ยวให้ละเอียดพอกแผลสดห้ามเลือดและป้องกันเชื้อโรคได้
ลำต้นใช้ก่อสร้างเผาถ่าน ฝักทำไวน์ เปลือกสกัดแทนนิน สีจากเปลือกใช้ย้อม แห อวน เชือก
ชื่อพฤกษศาสตร์: Rhizophora apiculata Blume
ชื่อพื้นเมือง: โกงกางใบเล็ก
ชื่อท้องถิ่น: โกงกาง
วงศ์ RHIZOPHORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดกลาง - ขนาดใหญ่ สูง 8 - 15 เมตร ราก ระบบรากแก้ว บริเวณโคนลำต้น มีรากเสริมออกมาเหนือโคนต้น 1 - 3 เมตร รากที่โคนต้นหรือรากค้ำจุนลำต้น แตกแขนงระเกะระกะไม่เป็นระเบียบ มีหนึ่งหรือสองราก ที่ทำมุมเกือบตั้งฉากกับลำต้นและหักเป็นมุมฉากลงดิน เพื่อช่วยพยุงลำต้นให้ตั้งตรง ลำต้น ตั้งตรงเนื้อไม้แข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 - 30 เซนติเมตร เรือนยอดรูปกรวยคว่ำแคบๆเปลือกสีเทาคล้ำหรือเทาอมชมพู แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาวทั่วไป และอาจมีร่องสั้นๆแตกตามขวางคั่นระหว่างร่องยาวอย่างไม่เป็นระเบียบ ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับทิศทางตั้งฉากใบคู่ล่างๆจะร่วงไปเหลืออยู่ 2 - 4 คู่ เป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง แผ่นใบรูปรีหรือรูปขอบขนานแกมรี กว้าง 4 - 8 เซนติเมตร ยาว 7 - 18 เซนติเมตร ปลายแหลมเรียวเล็กน้อย โคนใบรูปลิ่ม เส้นกลางใบด้านล่างสีแดงอมชมพู เส้นแขนงใบปรากฏรางๆ แผ่นใบหนา ก้านใบยาว 1.5 - 3.5 เซนติเมตร ก้านใบและหูใบมักมีสีแดงเรื่อๆ ท้องใบเป็นสีเขียวอมดำ ปลายใบเป็นติ่ง มองแต่ไกลเป็นสีดำขนาดใบเล็กกว่าโกงกางใบใหญ่ ดอก สมบูรณ์เพศ ช่อดอกอยู่ใต้เรือนใบ ช่อดอกสั้นมาก ออกดอกช่อละคู่ตามง่ามใบ ก้านช่อดอกสั้นกว่าก้านใบ ยาวประมาณ 0.6 - 2 เซนติเมตร ตรงปลายก้านช่อมีดอกที่ไม่มีก้านดอกย่อย หรือมีก้านสั้น 1 คู่ ดอกตูมรูปไข่ ยาว 1.2 - 1.6 เซนติเมตร ใบประดับที่ฐานดอกติดกันคล้ายรูปถ้วย กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบหนา ปลายแหลมต่อลงมาจนโค้งลงเกือบแนบก้านดอก กลีบดอก 4 กลีบ ร่วงง่ายรูปใบหอก ขนาดกว้าง 1 - 2 มิลลิเมตร ยาว 0.7 - 1.2 เซนติเมตร สีเหลืองอมเขียวหรือเหลืองอ่อน ขอบกลีบไม่มีขน เกสรเพศผู้ 12 อัน ก้านชูอับเรณูสั้นมากหรือไม่ปรากฏชัด ผล ผลรูปแพร์กลับ หรือ คล้ายรูปไข่กลับยาว 2 - 3 เซนติเมตร ผิวค่อนข้างขรุขระ สีน้ำตาลคล้ำ เมล็ดงอกได้ในขณะที่ผลยังติดอยู่กับต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงรูปทรงกระบอก เรียวโค้งเล็กน้อย ยาว 20 - 40 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 - 1.2 เซนติเมตร ขนาดโตขึ้นที่ส่วนปลาย ผิวเป็นมัน เขียวหรือเขียวอมม่วง ค่อนข้างเรียบหรือมีตุ่มขรุขระกระจัดกระจาย เมื่อแก่เต็มที่ฝักจะหลุดเองได้
ลักษณะเด่น ดอกมีก้านดอกสั้นออกช่อละคู่ รากมีหนึ่งหรือสองรากทีทำมุมตั้งฉากกับลำต้นและหักเป็นมุมฉากลงดิน ใบมีขนาดเล็กและท้องใบมีสีเขียวเข้ม ลำต้นใต้ใบเลี้ยงโค้ง เปลือกเทาอมชมพู ก้านใบสีแดงอ่อนจนถึงกึ่งกลางเส้นใบ
นิเวศวิทยา ขึ้นในป่าชายเลนตามฝั่งทะเลทั่วไป ริมแม่น้ำ ชายคลอง ในบริเวณที่มีดินเลนค่อนข้างอ่อน ลึกและมีน้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอตลอดเวลา มักขึ้นเป็นหมู่อาจมีโกงกางใบใหญ่ขึ้นปะปนอยู่บ้าง ออกดอกในราวเดือนกันยายน - มกราคม
ประโยชน์
เปลือกใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาสมาน แก้ท้องร่วง คลื่นเหียน อาเจียน แก้บิดเรื้อรัง หรือตำให้ละเอียดพอกห้ามเลือดบาดแผลสดได้ดี ใบอ่อนนำมาบด หรือ เคี้ยวให้ละเอียดพอกแผลสดห้ามเลือดและป้องกันเชื้อโรคได้
ลำต้นใช้ก่อสร้างเผาถ่าน ฝักทำไวน์ เปลือกสกัดแทนนิน สีจากเปลือกใช้ย้อม แห อวน เชือก
โกงกางใบใหญ่
ชื่อพฤกษศาสตร์: Rhizophora mucronata Poir.
ชื่อพื้นเมือง: โกงกางใบใหญ่
ชื่อท้องถิ่น: โกงกางนอก
วงศ์ RHIZOPHORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดกลาง – ขนาดใหญ่ สูง 15 - 20 เมตร ราก ระบบรากแก้ว โคนต้นมี รากค้ำจุนหรือรากหายใจ ออกมาเหนือโคนต้น ยาว 2 - 7 เมตร เพื่อช่วยพยุงลำต้น รากที่โคนต้นหรือรากค้ำจุน ลำต้น แตกแขนงระเกะระกะ รากแตกจากโคนต้นและค่อยๆโค้งจรดดินไม่หักเป็นมุมฉากดังเช่นรากค้ำจุนของโกงกางใบเล็ก ลำต้น ตั้งตรง ไม้เนื้อแข็ง เรือนยอดรูปกรวยคว่ำแคบๆเปลือกหยาบ แตกเป็นร่องตื้นๆตามยาวและตามขวาง เป็นตารางทั่วไป เปลือกสีเทาคล้ำถึงดำ ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบคู่ล่างๆ จะหลุดร่วงไปเหลือกลุ่มใบที่ปลายกิ่ง ใบรูปรีถึงรีกว้าง อวบใหญ่ ขนาด 5 - 13 X 8 - 24 เซนติเมตร ปลายมนหรือแหลม มีติ่งแหลมเล็กและแข็ง โคนรูปลิ่ม เส้นกลางใบด้านล่างสีเขียว เส้นแขนงใบเห็นไม่ชัด แผ่นใบหนา มีจุดเล็กๆสีดำกระจัดกระจายทั่วไปทางด้านล่าง ก้านใบยาว 2.5 - 6 เซนติเมตร สีเขียว หูใบสีเขียวอมเหลือง สีของหลังใบจะมีสีเขียวอ่อน ท้องใบเป็นสีเหลือง ลักษณะเด่นมาก เมื่อมองระยะไกล ดอก สมบูรณ์เพศ ดอกช่อ ช่อดอกเกิดในกลุ่มเรือนใบ หรือ ออกตามง่ามใบที่ใบติดอยู่ หรือ ร่วงไปในเวลาต่อมา ก้านช่อดอกยาวกว่าก้านใบ ความยาว 3 - 7 เซนติเมตร แตกแขนงสั้นๆ มีดอกตั้งแต่ 2 - 12 ดอก ก้านดอกยาว 0.4 - 1 เซนติเมตร ดอกตูมรูปไข่ มีใบประดับรองรับที่ฐานดอก โคนใบประดับติดกัน ปลายแยกเป็น 2 แฉก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปไข่ หรือ รูปสามเหลี่ยม ขนาด 5 - 7 X 1.2 - 1.5 เซนติเมตร ปลายกลีบจะโค้งลงเกือบแนบก้านดอก กลีบดอก 4 กลีบ ร่วงง่ายรูปใบหอก ยาว 0.6 - 1 เซนติเมตร สีขาว หรือ เหลืองอ่อน ขอบกลีบมีขนหนาแน่น มีเกสรเพศผู้ 8 อัน ผล คล้ายรูปไข่ ยาวแคบลงทางส่วนปลายผล เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 - 3.5 เซนติเมตร ยาว 3 - 8 เซนติเมตร งอกเป็นฝักตั้งแต่อยู่บนต้น ผิวฝักหยาบ สีน้ำตาลอมเขียว ลำต้นใต้ใบเลี้ยงรูปทรงกระบอก เรียว ค่อนข้างตรง ยาว 30 - 80 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.4 - 1.9 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลมยาว ผิวเป็นมัน สีเขียว มีตุ่มขรุขระทั่วไป
ลักษณะเด่น รากโค้งจรดดิน ไม่หักเป็นมุมฉาก หลังใบสีเขียวอ่อน ท้องใบสีเหลือง ปลายใบเป็นติ่งแหลมเล็กและแข็งมาก ผิวเปลือกหยาบ ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว
นิเวศวิทยา ขึ้นในป่าชายเลนตามฝั่งทะเลทั่วไป เป็นกลุ่มเดียวล้วนๆ ชอบขึ้นในดินเลนค่อนข้างลึก บริเวณชายฝั่งแม่น้ำ หรือ ชายคลองด้านนอกที่มีน้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอเป็นเวลานาน หรือ ติดกับทะเลที่มีลักษณะดินเป็นสีดำและมีกลิ่นเหม็นคล้ายไข่เน่า ออกดอกเดือนกันยายน - ตุลาคม ฝักแก่เดือนมีนาคม - สิงหาคม
ประโยชน์
ใบชงน้ำดื่มแก้ไข้ ใบอ่อนบดหรือเคี้ยวให้ละเอียด พอกแผลสด ห้ามเลือดและป้องกันเชื้อโรค เปลือกลำต้นต้มกับน้ำดื่ม ห้ามโลหิต แก้อาเจียนเป็นโลหิต สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้บิดเรื้อรัง บำบัดเบาหวาน แก้แผลฟกช้ำ บวม น้ำเหลืองเสีย หรือตำพอกห้ามเลือด และบาดแผลสด หรือเผาใส่แผลสด รากอ่อน กินเป็นยาบำรุงกำลัง ผลอ่อน เคี้ยวพ่นใส่แผล แก้พิษปลาดุกทะเล ปลากระเบนทะเล
เปลือกลำต้นไม้โกงกางเป็นแหล่งผลิตแทนนินที่สำคัญ ใช้ในการฟอกหนัง ฟอกย้อมและเพิ่มความแข็งแรงของเชือกและแห อวนในการทำประมง ใช้ในการผลิตกาวในอุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัด
ลำต้นใช้เผาทำถ่านเป็นไม้เชื้อเพลิงคุณภาพดี ใช้ทำกับดักปลา ก่อสร้าง
หมายเหตุ โกงกางใบใหญ่ รากหายใจไม่หักเป็นมุมฉาก มีใบขนาดใหญ่ ก้านใบสีเขียวอมเหลือง ออกดอกตั้งแต่ 2 – 12 ดอก ช่อดอกยาว หูใบสีเขียวอมเหลือง ผลคล้ายรูปไข่ปลายขอด ซึ่งแตกต่างจากโกงกางใบเล็ก รากหายใจ 1 – 2 ราก ที่หักเป็นมุมฉากลงดิน ใบเล็กกว่า หูใบ ก้านใบมีสีแดงเรื่อๆ ออกดอกเป็นคู่ ก้านดอกสั้น ผลรูปแพร์กลับ
ชื่อพฤกษศาสตร์: Rhizophora mucronata Poir.
ชื่อพื้นเมือง: โกงกางใบใหญ่
ชื่อท้องถิ่น: โกงกางนอก
วงศ์ RHIZOPHORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดกลาง – ขนาดใหญ่ สูง 15 - 20 เมตร ราก ระบบรากแก้ว โคนต้นมี รากค้ำจุนหรือรากหายใจ ออกมาเหนือโคนต้น ยาว 2 - 7 เมตร เพื่อช่วยพยุงลำต้น รากที่โคนต้นหรือรากค้ำจุน ลำต้น แตกแขนงระเกะระกะ รากแตกจากโคนต้นและค่อยๆโค้งจรดดินไม่หักเป็นมุมฉากดังเช่นรากค้ำจุนของโกงกางใบเล็ก ลำต้น ตั้งตรง ไม้เนื้อแข็ง เรือนยอดรูปกรวยคว่ำแคบๆเปลือกหยาบ แตกเป็นร่องตื้นๆตามยาวและตามขวาง เป็นตารางทั่วไป เปลือกสีเทาคล้ำถึงดำ ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบคู่ล่างๆ จะหลุดร่วงไปเหลือกลุ่มใบที่ปลายกิ่ง ใบรูปรีถึงรีกว้าง อวบใหญ่ ขนาด 5 - 13 X 8 - 24 เซนติเมตร ปลายมนหรือแหลม มีติ่งแหลมเล็กและแข็ง โคนรูปลิ่ม เส้นกลางใบด้านล่างสีเขียว เส้นแขนงใบเห็นไม่ชัด แผ่นใบหนา มีจุดเล็กๆสีดำกระจัดกระจายทั่วไปทางด้านล่าง ก้านใบยาว 2.5 - 6 เซนติเมตร สีเขียว หูใบสีเขียวอมเหลือง สีของหลังใบจะมีสีเขียวอ่อน ท้องใบเป็นสีเหลือง ลักษณะเด่นมาก เมื่อมองระยะไกล ดอก สมบูรณ์เพศ ดอกช่อ ช่อดอกเกิดในกลุ่มเรือนใบ หรือ ออกตามง่ามใบที่ใบติดอยู่ หรือ ร่วงไปในเวลาต่อมา ก้านช่อดอกยาวกว่าก้านใบ ความยาว 3 - 7 เซนติเมตร แตกแขนงสั้นๆ มีดอกตั้งแต่ 2 - 12 ดอก ก้านดอกยาว 0.4 - 1 เซนติเมตร ดอกตูมรูปไข่ มีใบประดับรองรับที่ฐานดอก โคนใบประดับติดกัน ปลายแยกเป็น 2 แฉก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปไข่ หรือ รูปสามเหลี่ยม ขนาด 5 - 7 X 1.2 - 1.5 เซนติเมตร ปลายกลีบจะโค้งลงเกือบแนบก้านดอก กลีบดอก 4 กลีบ ร่วงง่ายรูปใบหอก ยาว 0.6 - 1 เซนติเมตร สีขาว หรือ เหลืองอ่อน ขอบกลีบมีขนหนาแน่น มีเกสรเพศผู้ 8 อัน ผล คล้ายรูปไข่ ยาวแคบลงทางส่วนปลายผล เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 - 3.5 เซนติเมตร ยาว 3 - 8 เซนติเมตร งอกเป็นฝักตั้งแต่อยู่บนต้น ผิวฝักหยาบ สีน้ำตาลอมเขียว ลำต้นใต้ใบเลี้ยงรูปทรงกระบอก เรียว ค่อนข้างตรง ยาว 30 - 80 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.4 - 1.9 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลมยาว ผิวเป็นมัน สีเขียว มีตุ่มขรุขระทั่วไป
ลักษณะเด่น รากโค้งจรดดิน ไม่หักเป็นมุมฉาก หลังใบสีเขียวอ่อน ท้องใบสีเหลือง ปลายใบเป็นติ่งแหลมเล็กและแข็งมาก ผิวเปลือกหยาบ ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว
นิเวศวิทยา ขึ้นในป่าชายเลนตามฝั่งทะเลทั่วไป เป็นกลุ่มเดียวล้วนๆ ชอบขึ้นในดินเลนค่อนข้างลึก บริเวณชายฝั่งแม่น้ำ หรือ ชายคลองด้านนอกที่มีน้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอเป็นเวลานาน หรือ ติดกับทะเลที่มีลักษณะดินเป็นสีดำและมีกลิ่นเหม็นคล้ายไข่เน่า ออกดอกเดือนกันยายน - ตุลาคม ฝักแก่เดือนมีนาคม - สิงหาคม
ประโยชน์
ใบชงน้ำดื่มแก้ไข้ ใบอ่อนบดหรือเคี้ยวให้ละเอียด พอกแผลสด ห้ามเลือดและป้องกันเชื้อโรค เปลือกลำต้นต้มกับน้ำดื่ม ห้ามโลหิต แก้อาเจียนเป็นโลหิต สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้บิดเรื้อรัง บำบัดเบาหวาน แก้แผลฟกช้ำ บวม น้ำเหลืองเสีย หรือตำพอกห้ามเลือด และบาดแผลสด หรือเผาใส่แผลสด รากอ่อน กินเป็นยาบำรุงกำลัง ผลอ่อน เคี้ยวพ่นใส่แผล แก้พิษปลาดุกทะเล ปลากระเบนทะเล
เปลือกลำต้นไม้โกงกางเป็นแหล่งผลิตแทนนินที่สำคัญ ใช้ในการฟอกหนัง ฟอกย้อมและเพิ่มความแข็งแรงของเชือกและแห อวนในการทำประมง ใช้ในการผลิตกาวในอุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัด
ลำต้นใช้เผาทำถ่านเป็นไม้เชื้อเพลิงคุณภาพดี ใช้ทำกับดักปลา ก่อสร้าง
หมายเหตุ โกงกางใบใหญ่ รากหายใจไม่หักเป็นมุมฉาก มีใบขนาดใหญ่ ก้านใบสีเขียวอมเหลือง ออกดอกตั้งแต่ 2 – 12 ดอก ช่อดอกยาว หูใบสีเขียวอมเหลือง ผลคล้ายรูปไข่ปลายขอด ซึ่งแตกต่างจากโกงกางใบเล็ก รากหายใจ 1 – 2 ราก ที่หักเป็นมุมฉากลงดิน ใบเล็กกว่า หูใบ ก้านใบมีสีแดงเรื่อๆ ออกดอกเป็นคู่ ก้านดอกสั้น ผลรูปแพร์กลับ
พุงดอ
ชื่อพฤกษศาสตร์: Azima sarmentosa (Blume) Benth.
ชื่อพื้นเมือง : พุงดอ
ชื่อท้องถิ่น : หนามพุงดอ
วงศ์ SALVADORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พุ่ม สูง 1.5 – 2.5 เมตร ราก ระบบรากแก้ว ลำต้น แตกกิ่งก้านมากห้อยลู่ลงปลายกิ่งสัมผัสพื้นดิน มีหนามแหลมตามซอกใบ 2 อัน ยาว 0.5 - 1 เซนติเมตร ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี หรือ รูปไข่กลับ กว้าง 2 - 4 เซนติเมตร ยาว 4 - 8 เซนติเมตร เนื้อใบหนา สีเขียวสดและเป็นมัน ดอก ดอกออกเป็นช่อ อยู่ที่ปลายยอด ซอกใบ กลีบเลี้ยงรูประฆัง กลีบดอก 4 กลีบ สีเหลือง อับละอองเรณู 4 อัน ผล ผลมีเมล็ดแข็ง เมล็ดมี 1 เมล็ ใน 1 ผล เป็นรูปทรงกลม แข็ง
ลักษณะเด่น ใบรูปไข่กลับ มีหนามตามข้อใบ ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน
นิเวศวิทยา พบตามริมน้ำ ที่ชื้นแฉะ แนวป่าชายทะเลทั่วไป
ประโยชน์ รากแก้บวม แก้ลม แก้พิษฝีตานซาง ดับพิษทั่วไป ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้ ร้อนใน แก้องคชาติที่บวมร้อนและอักเสบ ทำให้ยุบบวม แก้ลมตานซาง ใช้ฝนกับสุราทาแก้คางทูมเปลือกและต้น แก้พิษประดงผื่นคัน แก้น้ำเหลืองเสีย หนาม แก้ฝีประคำร้อย แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ
ชื่อพฤกษศาสตร์: Azima sarmentosa (Blume) Benth.
ชื่อพื้นเมือง : พุงดอ
ชื่อท้องถิ่น : หนามพุงดอ
วงศ์ SALVADORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พุ่ม สูง 1.5 – 2.5 เมตร ราก ระบบรากแก้ว ลำต้น แตกกิ่งก้านมากห้อยลู่ลงปลายกิ่งสัมผัสพื้นดิน มีหนามแหลมตามซอกใบ 2 อัน ยาว 0.5 - 1 เซนติเมตร ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี หรือ รูปไข่กลับ กว้าง 2 - 4 เซนติเมตร ยาว 4 - 8 เซนติเมตร เนื้อใบหนา สีเขียวสดและเป็นมัน ดอก ดอกออกเป็นช่อ อยู่ที่ปลายยอด ซอกใบ กลีบเลี้ยงรูประฆัง กลีบดอก 4 กลีบ สีเหลือง อับละอองเรณู 4 อัน ผล ผลมีเมล็ดแข็ง เมล็ดมี 1 เมล็ ใน 1 ผล เป็นรูปทรงกลม แข็ง
ลักษณะเด่น ใบรูปไข่กลับ มีหนามตามข้อใบ ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน
นิเวศวิทยา พบตามริมน้ำ ที่ชื้นแฉะ แนวป่าชายทะเลทั่วไป
ประโยชน์ รากแก้บวม แก้ลม แก้พิษฝีตานซาง ดับพิษทั่วไป ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้ ร้อนใน แก้องคชาติที่บวมร้อนและอักเสบ ทำให้ยุบบวม แก้ลมตานซาง ใช้ฝนกับสุราทาแก้คางทูมเปลือกและต้น แก้พิษประดงผื่นคัน แก้น้ำเหลืองเสีย หนาม แก้ฝีประคำร้อย แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ
มะแว้งเครือ
ชื่อพฤกษศาสตร์: Solanum trilobatum L.
ชื่อพื้นเมือง: มะแว้งเครือ
ชื่อท้องถิ่น: มะแว้ง
วงศ์ SOLANACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พุ่ม ขนาดเล็ก สูง 1 - 2 เมตร ราก ระบบรากแก้ว ยึดลำต้น ลำต้น เล็ก สีเขียว มีหนามแหลมคมตลอดลำต้น ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่ ขนาด 3 - 5 X 4 - 6 เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าตื้นๆ 2 - 5 หยัก ผิวใบมีหนามเล็กๆตามเส้นกลางใบ สีเขียวด้านหลังใบ สีเข้มกว่าด้านท้องใบ ดอก เป็นช่อกระจุก ตามซอกใบ ช่อละ 2 - 6 ดอก ก้านช่อดอกยาว 2 - 4 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาว 0.5 - 1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียว กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายกลีบแยกออกเป็น 5 แฉก สีม่วง เกสรเพศผู้ ติดบนหลอดกลีบดอก 5 อัน สีเหลืองสด เกสรเพศเมีย รังไข่เหนือวงกลีบ มีเม็ดไข่มาก ยอดเกสรเพศเมีย ยื่นยาวกว่า เกสรเพศผู้เล็กน้อย ผล ผลอ่อนสีเขียวขนาดเล็กกว่าผลมะเขือพวง มีลาย ผลแก่ หรือ สุกเป็นสีแดงสด ข้างในมีเมล็ดแบนๆจำนวนมาก ผลมีรสขม
ลักษณะเด่น กลีบดอกสีม่วง ผลสุกเป็นสีแดงสด
นิเวศวิทยา พบขึ้นตามที่ทิ้งร้างกลางแจ้ง ริมทางเรือกสวน การเกษตรทั่วไป ขึ้นได้ทั้งที่แห้งและ ที่เป็นดินชื้นแฉะหรือดินที่มีความเค็ม
ประโยชน์ รากใช้เป็นยาแก้ไอ ขับลม ขับปัสสาวะ ผลใช้ทั้งผลดิบและผลสุกเป็นยาขมเจริญอาหาร ขับเสมหะแก้ไอ ลดน้ำตาลในเส้นเลือด และเป็นน้ำกระสาย ยากวาด เป็นต้น
ชื่อพฤกษศาสตร์: Solanum trilobatum L.
ชื่อพื้นเมือง: มะแว้งเครือ
ชื่อท้องถิ่น: มะแว้ง
วงศ์ SOLANACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พุ่ม ขนาดเล็ก สูง 1 - 2 เมตร ราก ระบบรากแก้ว ยึดลำต้น ลำต้น เล็ก สีเขียว มีหนามแหลมคมตลอดลำต้น ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่ ขนาด 3 - 5 X 4 - 6 เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าตื้นๆ 2 - 5 หยัก ผิวใบมีหนามเล็กๆตามเส้นกลางใบ สีเขียวด้านหลังใบ สีเข้มกว่าด้านท้องใบ ดอก เป็นช่อกระจุก ตามซอกใบ ช่อละ 2 - 6 ดอก ก้านช่อดอกยาว 2 - 4 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาว 0.5 - 1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียว กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายกลีบแยกออกเป็น 5 แฉก สีม่วง เกสรเพศผู้ ติดบนหลอดกลีบดอก 5 อัน สีเหลืองสด เกสรเพศเมีย รังไข่เหนือวงกลีบ มีเม็ดไข่มาก ยอดเกสรเพศเมีย ยื่นยาวกว่า เกสรเพศผู้เล็กน้อย ผล ผลอ่อนสีเขียวขนาดเล็กกว่าผลมะเขือพวง มีลาย ผลแก่ หรือ สุกเป็นสีแดงสด ข้างในมีเมล็ดแบนๆจำนวนมาก ผลมีรสขม
ลักษณะเด่น กลีบดอกสีม่วง ผลสุกเป็นสีแดงสด
นิเวศวิทยา พบขึ้นตามที่ทิ้งร้างกลางแจ้ง ริมทางเรือกสวน การเกษตรทั่วไป ขึ้นได้ทั้งที่แห้งและ ที่เป็นดินชื้นแฉะหรือดินที่มีความเค็ม
ประโยชน์ รากใช้เป็นยาแก้ไอ ขับลม ขับปัสสาวะ ผลใช้ทั้งผลดิบและผลสุกเป็นยาขมเจริญอาหาร ขับเสมหะแก้ไอ ลดน้ำตาลในเส้นเลือด และเป็นน้ำกระสาย ยากวาด เป็นต้น
ลำพู
ชื่อพฤกษศาสตร์: Sonneratia caseolaris (L.) Engler
ชื่อพื้นเมือง: ลำพู
ชื่อท้องถิ่น: ลำพู
วงศ์ SONNERATIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย ไม้ต้นขนาดกลาง – ขนาดใหญ่ สูง 8 - 20 เมตร ราก ระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปในดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายกรวยคว่ำ ยาว 70 เซนติเมตร หรือยาวกว่า เส้นผ่านศูนย์กลางที่โคนราก 4 - 5 เซนติเมตร เรียวแหลมไปทางปลายราก ลำต้น ต้นตรงมีเนื้อไม้ ไม่ผลัดใบ กิ่งห้อยย้อยลง ต้นที่อายุน้อยเปลือกเรียบ แต่เมื่ออายุมากขึ้นเปลือกจะหยาบ แตกเป็นร่องลึกเป็นสะเก็ด ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี รูปรีแกมขอบขนาน ขนาด 2 - 5 X 4 - 13 เซนติเมตร ฐานใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลมทู่ หรือ เรียวแหลมสั้น หรือ มนเป็นติ่งสั้น เส้นใบไม่เด่นชัด ก้านใบค่อนข้างแบน ยาว 0.2 - 0.4 เซนติเมตร สีแดงเรื่อๆ ดอก สมบูรณ์เพศ ดอกเดี่ยว ที่ปลายกิ่ง วงกลีบเลี้ยงเป็นหลอดตื้นๆรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉกลึก 8 แฉก รูปใบหอกแกมรูปสามเหลี่ยม แฉกยาวกว่าหลอด โคนกลีบเลี้ยงด้านในสีแดงอมชมพู กลีบดอกรูปแถบ หรือ ขอบขนานแคบ ขนาด 0.1 - 0.2 X 1.5 - 2.5 เซนติเมตร สีแดงเข้ม อยู่ระหว่างกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูยาว 2.5 - 4 เซนติเมตร โคนก้านสีแดงปลายสีขาวชมพู ร่วงง่ายภายในวันเดียว เกสรเพศเมีย รังไข่ใต้วงกลีบ ภายในมี 4 ห้องติดกัน ก้านเกสรยาว มีเม็ดไข่มาก ผล เป็นผลมีเนื้อและมีเมล็ดขนาดเล็กหลายเมล็ดฝังอยู่ในเนื้อผล ผลรูปกลม ด้านแนวนอนยาวกว่าแนวตั้ง 4.5 - 7 X 2.5 - 3.5 เซนติเมตร สีเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงติดแน่นกับผลแบน ไม่มีสันแผ่แฉกกว้าง บานออกไม่หุ้มฐานของผล
ลักษณะเด่น ฐานกลีบดอกด้านในเป็นวงสีแดงเลือดนก มีจุดประขาวอยู่ในวงสีแดง โคนใบ หรือบริเวณกิ่งและก้านตรง ยอดอ่อนเป็นสีชมพู
นิเวศวิทยา ขึ้นในเขตป่าชายเลนที่น้ำกร่อยจนถึงน้ำค่อนข้างจืด หรือ มีช่วงระยะเวลาที่ระดับความเค็มของน้ำน้อยกว่า 10 % เป็นเวลานาน มักขึ้นเป็นกลุ่มตามริมชายฝั่งแม่น้ำที่เป็นดินเลนเหนียวและลึก ออกดอกเดือนสิงหาคม - ธันวาคม และออกผลเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์
ประโยชน์ ผลสุกมีกลิ่นหอมและนิ่มรับประทานได้ รากหายใจ นำไปทำจุกไม้ก๊อกปิดขวด ทำเป็นทุ่นลอยในการประมง
ชื่อพฤกษศาสตร์: Sonneratia caseolaris (L.) Engler
ชื่อพื้นเมือง: ลำพู
ชื่อท้องถิ่น: ลำพู
วงศ์ SONNERATIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย ไม้ต้นขนาดกลาง – ขนาดใหญ่ สูง 8 - 20 เมตร ราก ระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปในดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายกรวยคว่ำ ยาว 70 เซนติเมตร หรือยาวกว่า เส้นผ่านศูนย์กลางที่โคนราก 4 - 5 เซนติเมตร เรียวแหลมไปทางปลายราก ลำต้น ต้นตรงมีเนื้อไม้ ไม่ผลัดใบ กิ่งห้อยย้อยลง ต้นที่อายุน้อยเปลือกเรียบ แต่เมื่ออายุมากขึ้นเปลือกจะหยาบ แตกเป็นร่องลึกเป็นสะเก็ด ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี รูปรีแกมขอบขนาน ขนาด 2 - 5 X 4 - 13 เซนติเมตร ฐานใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลมทู่ หรือ เรียวแหลมสั้น หรือ มนเป็นติ่งสั้น เส้นใบไม่เด่นชัด ก้านใบค่อนข้างแบน ยาว 0.2 - 0.4 เซนติเมตร สีแดงเรื่อๆ ดอก สมบูรณ์เพศ ดอกเดี่ยว ที่ปลายกิ่ง วงกลีบเลี้ยงเป็นหลอดตื้นๆรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉกลึก 8 แฉก รูปใบหอกแกมรูปสามเหลี่ยม แฉกยาวกว่าหลอด โคนกลีบเลี้ยงด้านในสีแดงอมชมพู กลีบดอกรูปแถบ หรือ ขอบขนานแคบ ขนาด 0.1 - 0.2 X 1.5 - 2.5 เซนติเมตร สีแดงเข้ม อยู่ระหว่างกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูยาว 2.5 - 4 เซนติเมตร โคนก้านสีแดงปลายสีขาวชมพู ร่วงง่ายภายในวันเดียว เกสรเพศเมีย รังไข่ใต้วงกลีบ ภายในมี 4 ห้องติดกัน ก้านเกสรยาว มีเม็ดไข่มาก ผล เป็นผลมีเนื้อและมีเมล็ดขนาดเล็กหลายเมล็ดฝังอยู่ในเนื้อผล ผลรูปกลม ด้านแนวนอนยาวกว่าแนวตั้ง 4.5 - 7 X 2.5 - 3.5 เซนติเมตร สีเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงติดแน่นกับผลแบน ไม่มีสันแผ่แฉกกว้าง บานออกไม่หุ้มฐานของผล
ลักษณะเด่น ฐานกลีบดอกด้านในเป็นวงสีแดงเลือดนก มีจุดประขาวอยู่ในวงสีแดง โคนใบ หรือบริเวณกิ่งและก้านตรง ยอดอ่อนเป็นสีชมพู
นิเวศวิทยา ขึ้นในเขตป่าชายเลนที่น้ำกร่อยจนถึงน้ำค่อนข้างจืด หรือ มีช่วงระยะเวลาที่ระดับความเค็มของน้ำน้อยกว่า 10 % เป็นเวลานาน มักขึ้นเป็นกลุ่มตามริมชายฝั่งแม่น้ำที่เป็นดินเลนเหนียวและลึก ออกดอกเดือนสิงหาคม - ธันวาคม และออกผลเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์
ประโยชน์ ผลสุกมีกลิ่นหอมและนิ่มรับประทานได้ รากหายใจ นำไปทำจุกไม้ก๊อกปิดขวด ทำเป็นทุ่นลอยในการประมง
ลำแพน
ชื่อพฤกษศาสตร์: Sonneratia ovata Backer
ชื่อพื้นเมือง: ลำแพน
ชื่อท้องถิ่น: ลำแพนทะเล
วงศ์ SONNERATIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย ไม้ต้นขนาดเล็ก - ขนาดกลาง สูง 4 - 12 เมตร ราก ระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปในดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายหมุด ยาว 15 - 30 เซนติเมตร เหนือผิวดิน ลำต้น ตั้งตรง มีเนื้อไม้ กิ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยม ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามแผ่นใบรูปไข่กว้าง หรือ รูปเกือบกลม ขนาด 3 - 8 X 4 - 9 เซนติเมตร โคนใบไม่สอบแคบมักกลม ฐานใบกลม สีเขียวเข้ม ปลายใบกลมกว้าง ก้านใบยาว 0.3 - 1.5 เซนติเมตร ต้นที่มีอายุมาก ใบมักจะบิดเบี้ยวไม่สมมาตร ดอก สมบูรณ์เพศ ออกเดี่ยวๆ หรือ เป็นช่อกระจุก ช่อละ 3 ดอก ก้านดอกย่อยยาว1 - 2 เซนติเมตร บางครั้งไม่มีก้านดอกย่อย วงกลีบเลี้ยงรูปไข่กว้าง ยาว 2 - 3 เซนติเมตร หลอดกลีบเลี้ยงรูปถ้วย มีสันเด่นชัด กลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ รูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ยาวกว่าหลอดเล็กน้อย สีเขียวและสีชมพูเรื่อๆที่โคนกลีบด้านใน ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้จำนวนมาก สีขาว เกสรเพศเมีย ก้านเกสรยาว มีรังไข่ใต้วงกลีบ ภายในมี 4 ห้องติดกัน มีเม็ดไข่มาก ผล เป็นผลมีเนื้อและมีหลายเมล็ด ผลกลม ด้านแนวนอนยาวกว่าแนวตั้ง ขนาด 3 - 4.5 X 2.5 - 3.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงติดแน่นกับผล เป็นรูปถ้วย หรือ รูปลูกข่าง มีสัน กลีบเลี้ยงงอหุ้มติดผล ท่อกลีบเลี้ยงยาว 0.5 - 1 เซนติเมตร แฉกชี้ขึ้น
ลักษณะเด่น กลีบเลี้ยงของผลจะหุ้มห่อผลตลอดเวลา ใบค่อนข้างกลมมีปลายแหลมเล็กน้อย
นิเวศวิทยา ขึ้นในพื้นที่ที่มีความเค็มน้อยกว่า 10 % และดินค่อนข้างเหนียว น้ำท่วมถึง ออกดอก - ผลตลอดปี ประโยชน์ ผลมีรสออกเปรี้ยว สามารถนำมารับประทาน แก้กระหายน้ำได้ ยอดและใบแก่ตำให้ละเอียดผสมน้ำฉีดพ่น ป้องกันยุงลาย
หมายเหตุ ลำแพน มีใบรูปไข่กว้างปลายใบมนกลม กลีบเลี้ยงติดแน่นกับผล ก้านชูอับเรณูสีขาว แตกต่างจากลำพู ใบรูปรีแกมขอบขนาน ก้านใบสีแดง กลีบเลี้ยงแฉกกว้างบานออก โคนกลีบเลี้ยงด้านในสีแดงอมชมพู ก้านชูอับเรณูโคนสีแดงปลายสีขาวชมพู
ชื่อพฤกษศาสตร์: Sonneratia ovata Backer
ชื่อพื้นเมือง: ลำแพน
ชื่อท้องถิ่น: ลำแพนทะเล
วงศ์ SONNERATIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย ไม้ต้นขนาดเล็ก - ขนาดกลาง สูง 4 - 12 เมตร ราก ระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปในดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายหมุด ยาว 15 - 30 เซนติเมตร เหนือผิวดิน ลำต้น ตั้งตรง มีเนื้อไม้ กิ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยม ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามแผ่นใบรูปไข่กว้าง หรือ รูปเกือบกลม ขนาด 3 - 8 X 4 - 9 เซนติเมตร โคนใบไม่สอบแคบมักกลม ฐานใบกลม สีเขียวเข้ม ปลายใบกลมกว้าง ก้านใบยาว 0.3 - 1.5 เซนติเมตร ต้นที่มีอายุมาก ใบมักจะบิดเบี้ยวไม่สมมาตร ดอก สมบูรณ์เพศ ออกเดี่ยวๆ หรือ เป็นช่อกระจุก ช่อละ 3 ดอก ก้านดอกย่อยยาว1 - 2 เซนติเมตร บางครั้งไม่มีก้านดอกย่อย วงกลีบเลี้ยงรูปไข่กว้าง ยาว 2 - 3 เซนติเมตร หลอดกลีบเลี้ยงรูปถ้วย มีสันเด่นชัด กลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ รูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ยาวกว่าหลอดเล็กน้อย สีเขียวและสีชมพูเรื่อๆที่โคนกลีบด้านใน ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้จำนวนมาก สีขาว เกสรเพศเมีย ก้านเกสรยาว มีรังไข่ใต้วงกลีบ ภายในมี 4 ห้องติดกัน มีเม็ดไข่มาก ผล เป็นผลมีเนื้อและมีหลายเมล็ด ผลกลม ด้านแนวนอนยาวกว่าแนวตั้ง ขนาด 3 - 4.5 X 2.5 - 3.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงติดแน่นกับผล เป็นรูปถ้วย หรือ รูปลูกข่าง มีสัน กลีบเลี้ยงงอหุ้มติดผล ท่อกลีบเลี้ยงยาว 0.5 - 1 เซนติเมตร แฉกชี้ขึ้น
ลักษณะเด่น กลีบเลี้ยงของผลจะหุ้มห่อผลตลอดเวลา ใบค่อนข้างกลมมีปลายแหลมเล็กน้อย
นิเวศวิทยา ขึ้นในพื้นที่ที่มีความเค็มน้อยกว่า 10 % และดินค่อนข้างเหนียว น้ำท่วมถึง ออกดอก - ผลตลอดปี ประโยชน์ ผลมีรสออกเปรี้ยว สามารถนำมารับประทาน แก้กระหายน้ำได้ ยอดและใบแก่ตำให้ละเอียดผสมน้ำฉีดพ่น ป้องกันยุงลาย
หมายเหตุ ลำแพน มีใบรูปไข่กว้างปลายใบมนกลม กลีบเลี้ยงติดแน่นกับผล ก้านชูอับเรณูสีขาว แตกต่างจากลำพู ใบรูปรีแกมขอบขนาน ก้านใบสีแดง กลีบเลี้ยงแฉกกว้างบานออก โคนกลีบเลี้ยงด้านในสีแดงอมชมพู ก้านชูอับเรณูโคนสีแดงปลายสีขาวชมพู
สำมะง่า
ชื่อพฤกษศาสตร์: Clerodendrum inerme (L.) Gaertneer
ชื่อพื้นเมือง: สำมะง่า
ชื่อท้องถิ่น: สำมะงา
วงศ์ VERBENACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 2 - 3 เมตร ราก ระบบรากแก้ว ลำต้น ทอดนอน แผ่กระจัดกระจาย มีขนนุ่มปกคลุมตามส่วนอ่อนๆทั้งหมด ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปหอก หรือ รูปรี ขนาด 1.5 - 4 X 3 - 8 เซนติเมตร ฐานใบแหลม ปลายใบแหลมหรือทู่ ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยง หรือ อาจมีขนประปราย ทางด้านท้องใบ เส้นใบ 6 - 8 คู่ ปลายเส้นเชื่อมกับเส้นถัดไป ก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 0.4 - 1 เซนติเมตร มีขนนุ่ม ดอก สมบูรณ์เพศ ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง เป็นช่อกระจุก มี 3 ดอก ช่อดอกยาว 4 - 8 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 2 - 5 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาว 0.5 - 1 เซนติเมตร วงกลีบเลี้ยงรูประฆังยาว 0.3 - 0.4 เซนติเมตร ปลายเป็นแฉกตื้นๆ 5 แฉก หลอดกลีบดอกติดกันเป็นหลอดเล็กๆยาว 2 - 3 เซนติเมตร สีขาวอมชมพู กลีบดอก 5 กลีบ เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8 เซนติเมตร สีขาว เกสรเพศผู้ มี 4 อัน อยู่เหนือหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูสีแดงอมม่วง ปลายเกสรและปลายหลอดท่อรังไข่ ยาวยื่นออกมาพ้นปากหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมียมีรังไข่เหนือวงกลีบ ผล กลมหรือรูปไข่กลับ กว้าง 1.2 - 1.8 เซนติเมตร เมื่อแห้งจะมีร่องตามยาว 4 ร่อง ผิวเกลี้ยง มีกลีบเลี้ยง ติดอยู่ที่ขั้วผล ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีออกดำ เมล็ดแข็งมาก มี 1 - 4 เมล็ด
ลักษณะเด่น ดอกสีม่วงเกสรเพศผู้ยาวพ้นออกมา ปากหลอดกลีบดอก และผลมีลักษณะคล้าย รูปไข่
นิเวศวิทยา ส่วนมากขึ้นบริเวณที่ชื้นแฉะและตอนบนของป่าชายเลน ออกดอก - ผลเกือบตลอดปี
ประโยชน์ ใบสดต้มกับน้ำทำความสะอาดชะล้างบาดแผล ฆ่าพยาธิโรคผิวหนัง ใบแห้งบดเป็นผงโรยบริเวณที่เป็นแผลแก้เชื้อ ใบสดผสมเหล้าองุ่นต้มพออุ่นๆใช้ทา แก้รอยฟกช้ำหรือบวม รากแห้งต้มกับน้ำดื่มมีรสขม กลิ่นเหม็น แก้ไข้หวัด ตับอักเสบ ตับโตม้ามโตและแผลบวมจากการหกล้ม หรือถูกกระแทกได้
ชื่อพฤกษศาสตร์: Clerodendrum inerme (L.) Gaertneer
ชื่อพื้นเมือง: สำมะง่า
ชื่อท้องถิ่น: สำมะงา
วงศ์ VERBENACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 2 - 3 เมตร ราก ระบบรากแก้ว ลำต้น ทอดนอน แผ่กระจัดกระจาย มีขนนุ่มปกคลุมตามส่วนอ่อนๆทั้งหมด ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปหอก หรือ รูปรี ขนาด 1.5 - 4 X 3 - 8 เซนติเมตร ฐานใบแหลม ปลายใบแหลมหรือทู่ ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยง หรือ อาจมีขนประปราย ทางด้านท้องใบ เส้นใบ 6 - 8 คู่ ปลายเส้นเชื่อมกับเส้นถัดไป ก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 0.4 - 1 เซนติเมตร มีขนนุ่ม ดอก สมบูรณ์เพศ ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง เป็นช่อกระจุก มี 3 ดอก ช่อดอกยาว 4 - 8 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 2 - 5 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาว 0.5 - 1 เซนติเมตร วงกลีบเลี้ยงรูประฆังยาว 0.3 - 0.4 เซนติเมตร ปลายเป็นแฉกตื้นๆ 5 แฉก หลอดกลีบดอกติดกันเป็นหลอดเล็กๆยาว 2 - 3 เซนติเมตร สีขาวอมชมพู กลีบดอก 5 กลีบ เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8 เซนติเมตร สีขาว เกสรเพศผู้ มี 4 อัน อยู่เหนือหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูสีแดงอมม่วง ปลายเกสรและปลายหลอดท่อรังไข่ ยาวยื่นออกมาพ้นปากหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมียมีรังไข่เหนือวงกลีบ ผล กลมหรือรูปไข่กลับ กว้าง 1.2 - 1.8 เซนติเมตร เมื่อแห้งจะมีร่องตามยาว 4 ร่อง ผิวเกลี้ยง มีกลีบเลี้ยง ติดอยู่ที่ขั้วผล ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีออกดำ เมล็ดแข็งมาก มี 1 - 4 เมล็ด
ลักษณะเด่น ดอกสีม่วงเกสรเพศผู้ยาวพ้นออกมา ปากหลอดกลีบดอก และผลมีลักษณะคล้าย รูปไข่
นิเวศวิทยา ส่วนมากขึ้นบริเวณที่ชื้นแฉะและตอนบนของป่าชายเลน ออกดอก - ผลเกือบตลอดปี
ประโยชน์ ใบสดต้มกับน้ำทำความสะอาดชะล้างบาดแผล ฆ่าพยาธิโรคผิวหนัง ใบแห้งบดเป็นผงโรยบริเวณที่เป็นแผลแก้เชื้อ ใบสดผสมเหล้าองุ่นต้มพออุ่นๆใช้ทา แก้รอยฟกช้ำหรือบวม รากแห้งต้มกับน้ำดื่มมีรสขม กลิ่นเหม็น แก้ไข้หวัด ตับอักเสบ ตับโตม้ามโตและแผลบวมจากการหกล้ม หรือถูกกระแทกได้
ช้าเลือด
ชื่อพฤกษศาสตร์: Premna obtusifolia R.Br.
ชื่อพื้นเมือง: ช้าเลือด
ชื่อท้องถิ่น: สามปะงา
วงศ์ VERBENACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย สูง 1 - 4 เมตร ราก ระบบรากแก้ว หยั่งยึดดิน ลำต้น แตกกิ่งมาก กิ่งอ่อนในระยะแรกๆ มีขนประปราย และจะหลุดร่วงไปเมื่อกิ่งแก่ขึ้น ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ๆ สลับทิศทางกัน แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรีถึงรีกว้าง ขนาด 4 - 9 X 6 - 13 เซนติเมตร ปลายใบทู่ ฐานใบมน หรือ ค่อนข้างสอบแคบ และมักเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ท้องใบสีจางมีต่อมหลายต่อม มักมีเส้นใบ 3 เส้น จากจุดโคนใบเส้นใบ 2 - 3 คู่ เห็นได้ชัดทางด้านท้องใบ ก้านใบ ยาว 1.5 - 4 เซนติเมตร มีขนนุ่ม เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นเหม็น ดอก สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง แบบช่อเชิงหลั่น ด้านบนดอกเสมอกัน ยาว 6 - 15 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม หรือ เกือบเกลี้ยง ก้านช่อดอกยาว 3 - 6 เซนติเมตร แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกขนาดเล็ก ยาว 0.2 - 0.4 เซนติเมตร สีขาวอมเขียว ก้านดอกย่อยสั้นมาก กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วยเล็กๆ ที่ขอบแยกเป็นจักเล็กๆ 4 แฉก มีขนประปรายตามผิวด้านนอก กลีบดอกติดกันเป็นหลอดปลายผายกว้างออก มีขนตามผิวด้านใน เกสรเพศผู้ 4 อัน แยกเป็น 2 คู่ ติดอยู่ใกล้ๆปากหลอดด้านใน เกสรเพศเมียรังไข่เหนือวงกลีบ ผล เล็กกลม เมื่อสุกสีดำ ภายในมีเมล็ดแข็งหนึ่งเมล็ด
ลักษณะเด่น ใบเมื่อจับใบขยี้แล้วดมกลิ่นจะเหม็นมาก
นิเวศวิทยา ขึ้นตามที่โล่งและชายฝั่งทะเลทั่วๆไป
ประโยชน์ ใบต้มแก้เม็ดผดผื่นคัน
ชื่อพฤกษศาสตร์: Premna obtusifolia R.Br.
ชื่อพื้นเมือง: ช้าเลือด
ชื่อท้องถิ่น: สามปะงา
วงศ์ VERBENACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย สูง 1 - 4 เมตร ราก ระบบรากแก้ว หยั่งยึดดิน ลำต้น แตกกิ่งมาก กิ่งอ่อนในระยะแรกๆ มีขนประปราย และจะหลุดร่วงไปเมื่อกิ่งแก่ขึ้น ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ๆ สลับทิศทางกัน แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรีถึงรีกว้าง ขนาด 4 - 9 X 6 - 13 เซนติเมตร ปลายใบทู่ ฐานใบมน หรือ ค่อนข้างสอบแคบ และมักเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ท้องใบสีจางมีต่อมหลายต่อม มักมีเส้นใบ 3 เส้น จากจุดโคนใบเส้นใบ 2 - 3 คู่ เห็นได้ชัดทางด้านท้องใบ ก้านใบ ยาว 1.5 - 4 เซนติเมตร มีขนนุ่ม เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นเหม็น ดอก สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง แบบช่อเชิงหลั่น ด้านบนดอกเสมอกัน ยาว 6 - 15 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม หรือ เกือบเกลี้ยง ก้านช่อดอกยาว 3 - 6 เซนติเมตร แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกขนาดเล็ก ยาว 0.2 - 0.4 เซนติเมตร สีขาวอมเขียว ก้านดอกย่อยสั้นมาก กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วยเล็กๆ ที่ขอบแยกเป็นจักเล็กๆ 4 แฉก มีขนประปรายตามผิวด้านนอก กลีบดอกติดกันเป็นหลอดปลายผายกว้างออก มีขนตามผิวด้านใน เกสรเพศผู้ 4 อัน แยกเป็น 2 คู่ ติดอยู่ใกล้ๆปากหลอดด้านใน เกสรเพศเมียรังไข่เหนือวงกลีบ ผล เล็กกลม เมื่อสุกสีดำ ภายในมีเมล็ดแข็งหนึ่งเมล็ด
ลักษณะเด่น ใบเมื่อจับใบขยี้แล้วดมกลิ่นจะเหม็นมาก
นิเวศวิทยา ขึ้นตามที่โล่งและชายฝั่งทะเลทั่วๆไป
ประโยชน์ ใบต้มแก้เม็ดผดผื่นคัน