โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ( ลมปลายปัตฆาต)
โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง : Myofascial pain syndrome
โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
( Myofascial pain syndrome : MPS )
อาการปวดกล้ามเนื้อเป็นอาการที่พบบ่อยมาก เกือบทุกคนคงต้องเคยเผชิญกับการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก่อนซึ่งส่วนใหญ่มักรักษาตัวเองด้วยการพัก ซื้อยามารับประทานเอง ซึ่งบางส่วนอาการผู้ป่วยก็จะหายเองได้
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายมีอาการปวดเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นการปวดต่อเนื่องหรือมีอาการปวดเป็นหาย ๆ ซึ่งสร้างความรำคาญให้แก่การดำเนินชีวิตเป็นอย่างยิ่ง และผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังมักไปพบแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์แผนปัจจุบันหรือแพทย์แผนโบราณ
หรืออาจไปให้หมอนวด นวดให้เพื่อบรรเทาอาการปวดได้
หนึ่งในโรคปวดที่เป็นเรื้อรังได้แก่ “ โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ”
หรือเรียกว่า Myofascial pain syndrome (MPS) ซึ่งนอกจาก
สร้างความทุกข์กายทุกใจให้ผู้ป่วยแล้ว ยังสร้างความลำบากในการรักษาด้วยเนื่องจากรักษายากและผู้ป่วยมักไม่หายเสียที
อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยรู้เท่าทันโรคและวิธีในการปฏิบัติตัวในการรักษาแล้วก็สามารถวางแผนการรักษาร่วมกับแพทย์ได้
MPS คืออะไร ?
MPS เป็นโรคปวดกล้ามเนื้อที่เป็นอาการปวดเรื้อรัง โดยอาการปวดของโรคนี้จะเกิดขึ้นในบริเวณของศูนย์รวมความปวดของกล้ามเนื้อ หรือที่เรียกกันว่า จุดกดเจ็บ (Trigger points) จุดกระตุ้นกล้ามเนื้อในกล้ามเนื้อของผู้ป่วยจะมีอาการปวดเป็นบริเวณและมีการกระจายของอาการปวดไปตามส่วนของกล้ามเนื้อนั้น ๆ
ส่วนใหญ่คนทุก ๆคนมักเคยมีอาการปวดกล้ามเนื้อแต่มักหายเอง แต่ผู้ป่วย MPS มักมีอาการปวดที่เป็นเรื้อรังและมีอาการปวดที่แย่ลง โดยโรค MPS มีความสัมพันธ์กับโรคที่เกี่ยวกับความปวดอื่น ๆได้แก่ ไมเกรน ปวดกราม ปวดต้นคอ ปวดเอว หรือแม้แต่ปวดแขนขา เป็นต้น
ปัจจุบันมีประชากรกว่าร้อยละ 30 มีปัญหาเรื่องโรคปวดเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในสำนักงาน ที่ต้องนั่งทำงานและใช้ คอมพิวเตอร์นานๆ
สาเหตุที่ทำให้มีการปวดมีอาการเรื้อรัง เกิดจากการหดเกร็งสะสมของกล้ามเนื้อ จนเป็นก้อนเล็กๆ ขนาด 0.5-1 ซม.
ที่เรียกว่า Trigger Point หรือ จุดกดเจ็บ จำนวนมากซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ การเกิด Trigger Point ทำให้กล้ามเนื้อนั้นขาดเลือดและออกซิเจนเข้าไปเลี้ยง จนทำให้เกิดการอักเสบ และเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบบริเวณที่มี Trigger Point โดยการอักเสบของ Trigger Point จะส่งอาการปวดไปที่กล้ามเนื้อบริเวณจุดรวมของ Trigger Point และปวดร้าวไปยังบริเวณที่อยู่ใกล้เคียง
อาการของ MPS เป็นอย่างไร ?
อาการและอาการแสดงมีดังนี้
รูปแสดงจุดกดเจ็บที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรค MPS
1.มีอาการปวดร้าวลึกๆ ของกล้ามเนื้อ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยอาจปวดตลอดเวลาหรือปวดเฉพาะเวลาทำงาน
2.ความรุนแรงของการปวด มีได้ตั้งแต่แค่เมื่อยล้าพอรำคาญ จนไปถึงปวดทรมานจนไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดได้
3.บางกรณีมีอาการชามือและชาขาร่วมด้วย
4.บางรายมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง อาการนอนไม่หลับ
5.มีอาการผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย เช่น ไหล่สูงต่ำไม่เท่ากัน หลังงอ คอตก ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค MPS ?
•กล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ เช่น การออกกำลังที่หักโหมจนอาจเกิดกล้ามเนื้อฉีก การใช้งานกล้ามเนื้อหนักจนเกินไป
•การขาดการออกกำลังกาย ถ้าคุณไม่ได้ออกกำลังกล้ามเนื้อเลย เช่น อาจเกิดหลังผ่าตัดทำให้ต้องนอนติดเตียงนาน เมื่อฟื้นก็ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังได้
•ความเครียด มีความเชื่อกันว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสที่จะบีบนวดแบบเค้นกล้ามเนื้อตัวเองสูงทำให้กล้ามเนื้อสร้างจุดกดเจ็บขึ้น
•อายุ ส่วนใหญ่ ผู้ป่วยมักอยู่ในวัยทำงาน ต้องมีการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความเครียด นั่งนานเช่นทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
•เพศ พบว่าส่วนใหญ่ผู้หญิงมักมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย
โรค MPS เป็นแล้วมีอันตรายหรือไม่อย่างไร ?
เมื่อผู้ป่วยโรค MPS มีอาการปวดเรื้อรัง อาจมีผลข้างเคียงดังนี้
อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
MPS อาจทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้หากเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเกิดเนื่องด้วยผู้ป่วยไม่ค่อยขยับกล้ามเนื้อที่เป็นทำให้กล้ามเนื้อไม่ได้ใช้งานระยะยาว จึงเกิดอ่อนแรงขึ้นได้
ความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับ
อาการของ MPS อาจทำให้นอนไม่หลับ และทำให้หาท่านอนหลับที่สบายไม่ได้ โดยถ้าผู้ป่วยขยับตัวอาจไปกระตุ้นจุดกดเจ็บทำให้ตื่นตอนกลางคืนได้
การรักษาทางกายภาพบำบัด
นักกายภาพจะใช้วิธีที่ทำให้อาการปวดดีขึ้นหลายเทคนิคได้แก่
•การประคบร้อน
•การนวด
•การยืดกล้ามเนื้อ
•การรักษาด้วยคลื่นเสียง (Ultrasound)
•การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
•การสอนท่าการออกกำลังกายที่เหมาะสม
ผู้ป่วยควรปรับปรุงชีวิตประจำวันอย่างไร ?
การดูแลตัวเองมีความสำคัญมากเนื่องจากโรคนี้มีความเกี่ยวพันกับการใช้ชีวิตประสำวันสูง ได้แก่
•ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
•หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด
•ไม่ควรทำงานอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานาน
•ยืดคลายกล้ามเนื้อเมื่อต้องทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน
•นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรอดหลับอดนอน หรือนอนดึกติดต่อกันหลายวัน
•เลือกใช้เตียงนอนที่ไม่นุ่มหรือแข็งมากเกินไป
•ปรับความสูง-ต่ำของหมอนหนุนให้รองรับพอดีกับคอ
•ปรับความสูง-ต่ำของโต๊ะ-เก้าอี้ที่ทำงานให้นั่งแล้วสบาย หรือรู้สึกเมื่อยน้อยที่สุด
•ดูแลเรื่องอาหารการกิน ควรรับประทานอาหารที่มีกากสูง
โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
( Myofascial pain syndrome : MPS )
อาการปวดกล้ามเนื้อเป็นอาการที่พบบ่อยมาก เกือบทุกคนคงต้องเคยเผชิญกับการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก่อนซึ่งส่วนใหญ่มักรักษาตัวเองด้วยการพัก ซื้อยามารับประทานเอง ซึ่งบางส่วนอาการผู้ป่วยก็จะหายเองได้
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายมีอาการปวดเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นการปวดต่อเนื่องหรือมีอาการปวดเป็นหาย ๆ ซึ่งสร้างความรำคาญให้แก่การดำเนินชีวิตเป็นอย่างยิ่ง และผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังมักไปพบแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์แผนปัจจุบันหรือแพทย์แผนโบราณ
หรืออาจไปให้หมอนวด นวดให้เพื่อบรรเทาอาการปวดได้
หนึ่งในโรคปวดที่เป็นเรื้อรังได้แก่ “ โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ”
หรือเรียกว่า Myofascial pain syndrome (MPS) ซึ่งนอกจาก
สร้างความทุกข์กายทุกใจให้ผู้ป่วยแล้ว ยังสร้างความลำบากในการรักษาด้วยเนื่องจากรักษายากและผู้ป่วยมักไม่หายเสียที
อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยรู้เท่าทันโรคและวิธีในการปฏิบัติตัวในการรักษาแล้วก็สามารถวางแผนการรักษาร่วมกับแพทย์ได้
MPS คืออะไร ?
MPS เป็นโรคปวดกล้ามเนื้อที่เป็นอาการปวดเรื้อรัง โดยอาการปวดของโรคนี้จะเกิดขึ้นในบริเวณของศูนย์รวมความปวดของกล้ามเนื้อ หรือที่เรียกกันว่า จุดกดเจ็บ (Trigger points) จุดกระตุ้นกล้ามเนื้อในกล้ามเนื้อของผู้ป่วยจะมีอาการปวดเป็นบริเวณและมีการกระจายของอาการปวดไปตามส่วนของกล้ามเนื้อนั้น ๆ
ส่วนใหญ่คนทุก ๆคนมักเคยมีอาการปวดกล้ามเนื้อแต่มักหายเอง แต่ผู้ป่วย MPS มักมีอาการปวดที่เป็นเรื้อรังและมีอาการปวดที่แย่ลง โดยโรค MPS มีความสัมพันธ์กับโรคที่เกี่ยวกับความปวดอื่น ๆได้แก่ ไมเกรน ปวดกราม ปวดต้นคอ ปวดเอว หรือแม้แต่ปวดแขนขา เป็นต้น
ปัจจุบันมีประชากรกว่าร้อยละ 30 มีปัญหาเรื่องโรคปวดเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในสำนักงาน ที่ต้องนั่งทำงานและใช้ คอมพิวเตอร์นานๆ
สาเหตุที่ทำให้มีการปวดมีอาการเรื้อรัง เกิดจากการหดเกร็งสะสมของกล้ามเนื้อ จนเป็นก้อนเล็กๆ ขนาด 0.5-1 ซม.
ที่เรียกว่า Trigger Point หรือ จุดกดเจ็บ จำนวนมากซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ การเกิด Trigger Point ทำให้กล้ามเนื้อนั้นขาดเลือดและออกซิเจนเข้าไปเลี้ยง จนทำให้เกิดการอักเสบ และเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบบริเวณที่มี Trigger Point โดยการอักเสบของ Trigger Point จะส่งอาการปวดไปที่กล้ามเนื้อบริเวณจุดรวมของ Trigger Point และปวดร้าวไปยังบริเวณที่อยู่ใกล้เคียง
อาการของ MPS เป็นอย่างไร ?
อาการและอาการแสดงมีดังนี้
รูปแสดงจุดกดเจ็บที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรค MPS
1.มีอาการปวดร้าวลึกๆ ของกล้ามเนื้อ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยอาจปวดตลอดเวลาหรือปวดเฉพาะเวลาทำงาน
2.ความรุนแรงของการปวด มีได้ตั้งแต่แค่เมื่อยล้าพอรำคาญ จนไปถึงปวดทรมานจนไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดได้
3.บางกรณีมีอาการชามือและชาขาร่วมด้วย
4.บางรายมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง อาการนอนไม่หลับ
5.มีอาการผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย เช่น ไหล่สูงต่ำไม่เท่ากัน หลังงอ คอตก ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค MPS ?
•กล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ เช่น การออกกำลังที่หักโหมจนอาจเกิดกล้ามเนื้อฉีก การใช้งานกล้ามเนื้อหนักจนเกินไป
•การขาดการออกกำลังกาย ถ้าคุณไม่ได้ออกกำลังกล้ามเนื้อเลย เช่น อาจเกิดหลังผ่าตัดทำให้ต้องนอนติดเตียงนาน เมื่อฟื้นก็ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังได้
•ความเครียด มีความเชื่อกันว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสที่จะบีบนวดแบบเค้นกล้ามเนื้อตัวเองสูงทำให้กล้ามเนื้อสร้างจุดกดเจ็บขึ้น
•อายุ ส่วนใหญ่ ผู้ป่วยมักอยู่ในวัยทำงาน ต้องมีการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความเครียด นั่งนานเช่นทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
•เพศ พบว่าส่วนใหญ่ผู้หญิงมักมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย
โรค MPS เป็นแล้วมีอันตรายหรือไม่อย่างไร ?
เมื่อผู้ป่วยโรค MPS มีอาการปวดเรื้อรัง อาจมีผลข้างเคียงดังนี้
อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
MPS อาจทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้หากเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเกิดเนื่องด้วยผู้ป่วยไม่ค่อยขยับกล้ามเนื้อที่เป็นทำให้กล้ามเนื้อไม่ได้ใช้งานระยะยาว จึงเกิดอ่อนแรงขึ้นได้
ความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับ
อาการของ MPS อาจทำให้นอนไม่หลับ และทำให้หาท่านอนหลับที่สบายไม่ได้ โดยถ้าผู้ป่วยขยับตัวอาจไปกระตุ้นจุดกดเจ็บทำให้ตื่นตอนกลางคืนได้
การรักษาทางกายภาพบำบัด
นักกายภาพจะใช้วิธีที่ทำให้อาการปวดดีขึ้นหลายเทคนิคได้แก่
•การประคบร้อน
•การนวด
•การยืดกล้ามเนื้อ
•การรักษาด้วยคลื่นเสียง (Ultrasound)
•การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
•การสอนท่าการออกกำลังกายที่เหมาะสม
ผู้ป่วยควรปรับปรุงชีวิตประจำวันอย่างไร ?
การดูแลตัวเองมีความสำคัญมากเนื่องจากโรคนี้มีความเกี่ยวพันกับการใช้ชีวิตประสำวันสูง ได้แก่
•ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
•หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด
•ไม่ควรทำงานอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานาน
•ยืดคลายกล้ามเนื้อเมื่อต้องทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน
•นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรอดหลับอดนอน หรือนอนดึกติดต่อกันหลายวัน
•เลือกใช้เตียงนอนที่ไม่นุ่มหรือแข็งมากเกินไป
•ปรับความสูง-ต่ำของหมอนหนุนให้รองรับพอดีกับคอ
•ปรับความสูง-ต่ำของโต๊ะ-เก้าอี้ที่ทำงานให้นั่งแล้วสบาย หรือรู้สึกเมื่อยน้อยที่สุด
•ดูแลเรื่องอาหารการกิน ควรรับประทานอาหารที่มีกากสูง
การนวดบำบัด (massage therapy)
แพทย์ที่คลินิกได้ผสมผสานระหว่างการนวดไทยกับการนวดทาง
กายภาพบำบัด เข้าด้วยกันและทำให้เกิดประสิทธิภาพในการนวดอย่างดี
การนวดที่ดีต้องมีความรู้อย่างแท้จริงเกี่ยวกับสาเหตุของโรค
ความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ที่ดี
มีความแม่นยำในหลักการนวดอย่างถูกต้อง
และต้องรู้จักผสมผสานกับศาสตร์การรักษาต่างได้อย่างเหมาะสม
และปลอดภัย
ดำเนินการและควบคุมโดย
อ.ประสิทธิ์ คงทรัพย์(พท.บ/พท.ว/พท.ภ/พท.ผ/พท.น/วท.บ)
แพทย์ที่คลินิกได้ผสมผสานระหว่างการนวดไทยกับการนวดทาง
กายภาพบำบัด เข้าด้วยกันและทำให้เกิดประสิทธิภาพในการนวดอย่างดี
การนวดที่ดีต้องมีความรู้อย่างแท้จริงเกี่ยวกับสาเหตุของโรค
ความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ที่ดี
มีความแม่นยำในหลักการนวดอย่างถูกต้อง
และต้องรู้จักผสมผสานกับศาสตร์การรักษาต่างได้อย่างเหมาะสม
และปลอดภัย
ดำเนินการและควบคุมโดย
อ.ประสิทธิ์ คงทรัพย์(พท.บ/พท.ว/พท.ภ/พท.ผ/พท.น/วท.บ)