แม่ซื้อ เป็นภูติ ผี หรือวิญญาณ ในความเชื่อของคนสมัยก่อน ที่เชื่อว่าเด็กทุกคนที่เกิดมาต้องมีแม่ซื้อประจำวันเกิดคอยดูแล เพื่อพิทักษ์รักษาไม่ให้เด็กเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นความเชื่อที่มีอยู่ทุกภาค โดยในสมัยก่อนจะมีการเขียนภาพแม่ซื้อลงในแผ่นผ้าขาว ลักษณะคล้ายยันต์เพื่อแขวนไว้ที่เปลเด็ก โดยเขียนด้วยยางมะเดื่อ และระบายสีแม่ซื้อตามสีอาภรณ์และสีกายของแม่ซื้อประจำวันนั้นๆ และด้านหลังผ้าขาวนี้ ยังต้องลง ภาพท้าวเวสสุวัณ ทั้งหน้ายักษ์และหน้ามนุษย์ไว้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายต่างๆที่จะเกิดกับเด็ก
ความเชื่อแต่ละภาค
ภาคกลาง เชื่อว่า “แม่ซื้อ” เป็นภูตประจำทารก มีอยู่ ๗ ตน แม่ซื้อทั้งเจ็ดตนนี้ แต่ละตนจะสำแดงเดชให้ทารกได้รับความเจ็บป่วยต่างๆกันไป เช่น ทำให้ปวดท้อง ร้องไม่หยุดหรือบางครั้งก็มีอาการหวาดผวา คนสมัยโบราณจึงคิดวิธีไม่ให้แม่ซื้อให้โทษแก่ทารก โดยทำพิธีที่เรียกว่า พิธีบำบัดพิษแม่ซื้อ โดยผู้ทำพิธีจะทำบัตรขึ้นมาใบหนึ่ง ในบัตรจะใส่ของกินต่างๆ เช่น ข้าว น้ำ กุ้งพล่า ปลา ฯลฯ และตุ๊กตาดินรูปผู้หญิงนั่งพับเพียบประคองเด็กอยู่ในตัก เมื่อเจ้าพิธีกล่าวคำในพิธีจบก็จะหักหัวตุ๊กตาออก เสมือนให้แม่ซื้อเอาไปเล่นแทนได้ ทารกก็จะไม่เจ็บป่วยจากการรบกวนของแม่ซื้ออีก
ส่วนใน ภาคเหนือ แม่ซื้อ จะหมายถึงเทวดาที่คุ้มครองเด็กแรกเกิดหรือเป็นเทวดาประจำตัวทารก ซึ่งก็จะมี ๗ นาง แต่ละนางก็จะมีชื่อเรียกและการแต่งกายคล้ายกับทางภาคกลาง
สำหรับ ภาคใต้ นั้น แม่ซื้อ เป็นสิ่งเร้นลับที่อยู่ในความเชื่อของชาวบ้าน ไม่มีตัวตน จะมีฐานะเป็นเทวดาหรือภูตผีก็ไม่ปรากฏชัด ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงของทารกตั้งแต่แรกเกิดจนอายุ ๑๒ ขวบ มีด้วยกัน ๔ ตนเป็นผู้หญิงชื่อ ผุด ผัด พัดและผล แม้ว่าแม่ซื้อจะถือว่าเป็นพี่เลี้ยงทารก็จริงอยู่ แต่บางครั้งก็ให้โทษได้เช่นกัน จึงมีการจัดพิธี ทำแม่ซื้อ หรือ เสียแม่ซื้อ ขึ้น ทั้งนี้ ด้วยเชื่อว่าจะเป็นสิริมงคลแก่เด็ก การทำพิธีมักจะทำในวันเกิดของเด็ก หากเป็นวันข้างขึ้นก็ให้ใช้วันคี่ ข้างแรมให้ใช้วันคู่
ทางด้านภาคอีสาน เป็นความเชื่อในสังคมเขมร-ส่วย ว่าทุกคนที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดานั้น มีแม่ผู้สร้างทารกและเลี้ยงดูในครรภ์ที่เรียกว่า มนายเดิม หรือ มนายสะโนน (สะโนน แปลว่า ผู้ปั้น”) เป็นภาษาเขมร หมายถึง แม่คนเก่าก่อน ชาวบ้านเชื่อว่าทารกเกิดใหม่ที่มักนอนยิ้มกับอากาศอยู่คนเดียว คือมีผีพรายมาหยอกเล่นกับเด็ก แม่ผีพรายนี้เมื่อเห็นเด็กทารกมีแม่ใหม่ก็หวงแหน อยากได้ลูกกลับไปอยู่เมืองผีกับตน จึงทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆนานา จึงมักมีพิธีแบ่งลูกผีลูกคน พิธีการคือนำเด็กทารกมาใส่กระด้งร่อน แล้วกล่าวว่า “สามวันลูกผี สี่วันลูกคน ลูกของใคร ใครเอาไปเน้อ” ฝ่ายพ่อแม่ก็จะรับว่าเป็นลูกตน คนทำพิธีก็จะส่งลูกให้ แม่มนายเดิมก็จะรู้ว่าทารกนั้นเป็นลูกคนแล้วก็จะไม่มารบกวนอีก
แม่ซื้อประจำวัน
ความเชื่อแต่ละภาค
ภาคกลาง เชื่อว่า “แม่ซื้อ” เป็นภูตประจำทารก มีอยู่ ๗ ตน แม่ซื้อทั้งเจ็ดตนนี้ แต่ละตนจะสำแดงเดชให้ทารกได้รับความเจ็บป่วยต่างๆกันไป เช่น ทำให้ปวดท้อง ร้องไม่หยุดหรือบางครั้งก็มีอาการหวาดผวา คนสมัยโบราณจึงคิดวิธีไม่ให้แม่ซื้อให้โทษแก่ทารก โดยทำพิธีที่เรียกว่า พิธีบำบัดพิษแม่ซื้อ โดยผู้ทำพิธีจะทำบัตรขึ้นมาใบหนึ่ง ในบัตรจะใส่ของกินต่างๆ เช่น ข้าว น้ำ กุ้งพล่า ปลา ฯลฯ และตุ๊กตาดินรูปผู้หญิงนั่งพับเพียบประคองเด็กอยู่ในตัก เมื่อเจ้าพิธีกล่าวคำในพิธีจบก็จะหักหัวตุ๊กตาออก เสมือนให้แม่ซื้อเอาไปเล่นแทนได้ ทารกก็จะไม่เจ็บป่วยจากการรบกวนของแม่ซื้ออีก
ส่วนใน ภาคเหนือ แม่ซื้อ จะหมายถึงเทวดาที่คุ้มครองเด็กแรกเกิดหรือเป็นเทวดาประจำตัวทารก ซึ่งก็จะมี ๗ นาง แต่ละนางก็จะมีชื่อเรียกและการแต่งกายคล้ายกับทางภาคกลาง
สำหรับ ภาคใต้ นั้น แม่ซื้อ เป็นสิ่งเร้นลับที่อยู่ในความเชื่อของชาวบ้าน ไม่มีตัวตน จะมีฐานะเป็นเทวดาหรือภูตผีก็ไม่ปรากฏชัด ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงของทารกตั้งแต่แรกเกิดจนอายุ ๑๒ ขวบ มีด้วยกัน ๔ ตนเป็นผู้หญิงชื่อ ผุด ผัด พัดและผล แม้ว่าแม่ซื้อจะถือว่าเป็นพี่เลี้ยงทารก็จริงอยู่ แต่บางครั้งก็ให้โทษได้เช่นกัน จึงมีการจัดพิธี ทำแม่ซื้อ หรือ เสียแม่ซื้อ ขึ้น ทั้งนี้ ด้วยเชื่อว่าจะเป็นสิริมงคลแก่เด็ก การทำพิธีมักจะทำในวันเกิดของเด็ก หากเป็นวันข้างขึ้นก็ให้ใช้วันคี่ ข้างแรมให้ใช้วันคู่
ทางด้านภาคอีสาน เป็นความเชื่อในสังคมเขมร-ส่วย ว่าทุกคนที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดานั้น มีแม่ผู้สร้างทารกและเลี้ยงดูในครรภ์ที่เรียกว่า มนายเดิม หรือ มนายสะโนน (สะโนน แปลว่า ผู้ปั้น”) เป็นภาษาเขมร หมายถึง แม่คนเก่าก่อน ชาวบ้านเชื่อว่าทารกเกิดใหม่ที่มักนอนยิ้มกับอากาศอยู่คนเดียว คือมีผีพรายมาหยอกเล่นกับเด็ก แม่ผีพรายนี้เมื่อเห็นเด็กทารกมีแม่ใหม่ก็หวงแหน อยากได้ลูกกลับไปอยู่เมืองผีกับตน จึงทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆนานา จึงมักมีพิธีแบ่งลูกผีลูกคน พิธีการคือนำเด็กทารกมาใส่กระด้งร่อน แล้วกล่าวว่า “สามวันลูกผี สี่วันลูกคน ลูกของใคร ใครเอาไปเน้อ” ฝ่ายพ่อแม่ก็จะรับว่าเป็นลูกตน คนทำพิธีก็จะส่งลูกให้ แม่มนายเดิมก็จะรู้ว่าทารกนั้นเป็นลูกคนแล้วก็จะไม่มารบกวนอีก
แม่ซื้อประจำวัน
- วันอาทิตย์ ชื่อว่า วิจิตรมาวรรณ มีหัวเป็นสิงห์ มีผิวกายสีแดง
- วันจันทร์ ชื่อว่า วรรณนงคราญ มีหัวเป็นม้า มีผิวสีขาวนวล
- วันอังคาร ชื่อว่า ยักษบริสุทธิ์ มีหัวเป็นมหิงสา (ควาย)" ผิวกายสีชมพู
- วันพุธชื่อว่า สามลทัศ มีหัวเป็นช้าง ผิวกายสีเขียว
- วันพฤหัสบดีชื่อว่า กาโลทุกข์ มีหัวเป็นกวาง มีผิวกายสีเหลืองอ่อน
- วันศุกร์ชื่อว่า ยักษ์นงเยาว์ มีหัวเป็นโค ผิวกายสีฟ้าอ่อน
- วันเสาร์ชื่อว่า เอกาไลย์ มีหัวเป็นเสือ ผิวกายสีดำ ทุกตนทรงอาภรณ์(เสื้อผ้า)สีทอง