แนวข้อสอบ เภสัชวัตถุ ๑ โรงเรียนสิริภัจจ์การแพทย์แผนไทย
อ.ประสิทธิ์ คงทรัพย์ แนวข้อสอบ เภสัชกรรมไทย “เภสัชวัตถุ (๑)” คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว ๑. ข้อใดกล่าวถึงรสและสรรพคุณของ “กรรณิการ์” ได้ถูกต้อง ๑. ต้น รสขมเย็น สรรพคุณแก้ปวดศีรษะ ๒. ใบ รสขม สรรพคุณ แก้ไข, แก้ลมวิงเวียน ๓. ดอก รสขมหวาน สรรพคุณ บำรุงน้ำดี ๔. ราก รสหวาน สรรพคุณ บำรุงเส้นผม, บำรุงธาตุ, บำรุงกำลัง ๒. เนื้อในฝักของ “กัลปพฤกษ์” มีสรรพคุณอย่างไร ๑. สมานบาดแผล, แก้ท้องเสีย ๒. แก้ไข้ตัวร้อน ๓. บำรุงหัวใจ ๔. ระบายท้อง, แก้พรรดึก ๓. “กัลปังหา” ส่วนของเนื้อไม้และต้น มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสฝาด สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง, กลาก-เกลื้อน ๒. รสฝาด สรรพคุณ สมานบาดแผล, แก้เนื้อหนังฉีกขาด ๓. รสขม สรรพคุณ แก้น้ำดีพิการ ๔. รสเปรี้ยว สรรพคุณ แก้เสมหะเป็นพิษ ๔. น้ำมันในเมล็ดของต้นกระทิง มีสรรพคุณอย่างไร ๑. แก้ตาแดง ตาฝ้า ตามัว ๒. บำรุงหัวใจ ๓. ทาถูนวดแก้ปวดข้อ แก้เคล็ดขัดยอกฟกบวม ๔. แก้ท้องเสีย ๕. เปลือกต้นกระแบก มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสฝาด สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง กลาก-เกลื้อน ๒. รสฝาด สรรพคุณ คุมธาตุ ๓. รสเย็น สรรพคุณ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ๔. รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้พยาธิตัวจี๊ด ๖. คำว่า “กระเพราทั้ง ๕” หมายถึงอะไร ๑. กะเพราจำนวน ๕ สายพันธุ์ ๒. ส่วนของต้น, ใบ, ดอก, ลูก, รากของกะเพรา ๓. พิกัดยาที่มีชื่อกะเพรา ๕ อย่าง ๔. ส่วนของกิ่ง, ก้าน, ดอก, ใบ, ฝักของกะเพรา ๗. ข้อใดกล่าวถึงสรรพคุณของกระเจี๊ยบแดงได้ไม่ถูกต้อง ๑. ใบ รสเปรี้ยว กัดเสลด ทำให้โลหิตไหลเวียนดี ๒. เมล็ดใน รสจืด แก้อ่อนเพลีย, บำรุงกำลัง, บำรุงธาตุ ๓. กระเจี๊ยบทั้ง ๕ รสเปรี้ยว แก้พยาธิตัวจี๊ด ๔. ผล รสจืดเมาเล็กน้อย ขับพยาธิ ๘. ส่วนของต้น กิ่ง ก้าน ใบ กระดังงาไทย รสเฝื่อน มีสรรพคุณอย่างไร ๑. บำรุงหัวใจ ๒. ขับพยาธิ ๓. ขับปัสสาวะ ๔. บำรุงกำลัง ๙. ดอกกระถินไทย รสมัน มีสรรพคุณอย่างไร ๑. บำรุงตับ, แก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา ๒. ขับน้ำคาวปลา, แก้สันนิบาตหน้าเพลิง ๓. สมานบาดแผล แก้ท้องร่วง ๔. บำรุงกระดูก ๑๐. ส่วนใดของต้นกระทู้เจ็ดแบกที่มีสรรพคุณขับน้ำคาวปลา แก้สันนิบาตหน้าเพลิงและขับเลือดหลังการคลอดบุตร ๑. ดอก ๒. ใบ ๓. ต้น ๔. ราก ๑๑. ดอกต้นกาหลง มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสจืด สรรพคุณ ขับปัสสาวะ, แก้ปัสสาวะพิการ ๒. รสจืด สรรพคุณ แก้ปวดศีรษะ, ลดความดันโลหิตสูง ๓. รสจืด สรรพคุณ แก้พิษฝี พิษสัตว์กัดต่อย ๔. รสจืด สรรพคุณ แก้ริดสีดวงทวาร ๑๒. รากของต้นปู่เจ้าคาคลอง มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสจืดเย็น สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ๒. รสเปรี้ยว สรรพคุณ แก้เสมหะพิการ ๓. รสจืดเย็น สรรพคุณ แก้พิษไข้หัว, ลดความร้อน ๔. รสร้อน สรรพคุณ แก้ปวดท้อง, จุกเสียด ๑๓. น้ำมันจากดอกกานพลู มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสร้อน สรรพคุณ ทาผิวหนังทำให้ชา ระงับอาการกระตุก ตะคริว ๒. รสร้อน สรรพคุณ ขับผายลม แก้ปวดท้อง จุกเสียด ๓. รสร้อน สรรพคุณ ชุบสำลีอุดฟันแก้ปวดฟัน, แก้ท้องขึ้น ปวดท้องในเด็ก ๔. ถูกทุกข้อ ๑๔. ส่วนใดของต้นก้ามปูที่มีสรรพคุณ “แก้ริดสีดวงทวาร” ๑. เมล็ด ๒. เปลือกต้น ๓. ใบ ๔. ราก ๑๕. ถ้าต้อง “ขับโลหิตระดูสตรี” จะใช้ส่วนใดของต้นแก้ว ๑. รากสด ๒. รากแห้ง ๓. ใบ ๔. กิ่ง-ก้าน ๑๖. ทั้งต้นของต้น “โกฐจุฬาลัมพา” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสจืดเย็น สรรพคุณ แก้ไข้รากสาด, หืด, ไอ ๒. รสจืดเย็น สรรพคุณ แก้ไข้เจรียง, ไข้ที่มีผื่นขึ้นทั้งตัว ๓. รสขมหอม สรรพคุณ แก้ไข้เจรียง ๔. รสขมหอม สรรพคุณ แก้กระษัย, แก้ริดสีดวงทวาร ๑๗. “ขันทองพยาบาท” ส่วนของเปลือกต้น มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้ประดง, แก้พิษในกระดูก, แก้โรคผิวหนัง ๒. รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้กระษัย-ไตพิการ, ปวดบั้นเอว ๓. รสขม สรรพคุณ แก้พิษไข้กลับซ้ำ, แก้ร้อนในกระหายน้ำ ๔. รสขม สรรพคุณ แก้ลมพิษ, แก้ไข้, แก้กามโรค ๑๘. “แก่นขี้เหล็กบ้าน” มีสรรพคุณอย่างไร ๑. แก้กามโรค, แก้เหน็บชา, แก้กระษัย ๒. แก้ระดูขาว, แก้นิ่ว, ขับปัสสาวะ ๓. แก้ร้อนรุ่ม, แก้กระสับกระส่ายเพราะพิษไข้ ๔. แก้ไข้กลับ, ไข้ซ้ำ ๑๙. “แก่นขี้เหล็กเลือด” มีสรรพคุณอย่างไร ๑. แก้กระษัยไตพิการ, ขับปัสสาวะ, บำรุงโลหิต ๒. แก้ริดสีดวงทวาร, ระบายท้อง ๓. แก้โรคเรื้อน, มะเร็ง, คุดทะราด ๔. แก้ลมพิษ, แก้กามโรค ๒๐. “รากเข็มขาว” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสหวาน สรรพคุณ บำรุงกำลัง, บำรุงธาตุ ๒. รสหวาน สรรพคุณ แก้โรคตา, เจริญอาหาร ๓. รสขม สรรพคุณ แก้ไข้, แก้ตัวร้อน ๔. รสขม สรรพคุณ แก้น้ำดีพิการ, เจริญไฟธาต ๒๑. “รากเข็มแดง” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสหวานเย็น สรรพคุณ แก้เสมหะ, แก้กำเดา ๒. รสหวานเย็น สรรพคุณ บำรุงธาตุ ๓. รสหวานเย็น สรรพคุณ แก้บวม ๔. ถูกทุกข้อ ๒๒. “เปลือกข่อย” มีรสเมาเบื่อ มีสรรพคุณอย่างไร ๑. แก้ริดสีดวงจมูก ๒. ฆ่าพยาธิ ๓. แก้แมงกินฟัน ๔. ระบายอ่อน ๆ ๒๓. “รากต้นเล็บครุฑ” มีรสจืดเย็น มีสรรพคุณอย่างไร ๑. แก้กระษัยไตพิการ ๒. แก้ปวดศีรษะ ๓. แก้ไข้สันนิบาต ๔. ถูกทุกข้อ ๒๔. “เปลือกต้นไข่เน่า” มีรสฝาดหวานชุ่ม มีสรรพคุณอย่างไร ๑. แก้พิษตานซาง, แก้อุจจาระเป็นฟอง, แก้ท้องเสีย ๒. แก้กระษัยไตพิการ, ขับปัสสาวะ, แก้พิษซาง ๓. บำรุงโลหิต, ขับลม ๔. แก้ลม, แก้มุตกิด, บำรุงธาตุ ๒๕. ใบ/เปลือก/ต้นของต้นคงคาเดือด มีสรรพคุณอย่างไร ๑. ต้มอาบน้ำแก้คัน, แก้ซางตัวร้อน ๒. แก้ท้องร่วง, คุมธาตุ ๓. แก้ไข้เปลี่ยนอากาศ ๔. ขับลม, บำรุงธาตุ ๒๖. “ครอบจักรวาล” เรียกชื่ออีกอย่างว่าอะไร ๑. มะก่องช้างหลวง ๒. ตอบแตบ ๓. สารข้าวเปลือก ๔. โผงเผง ๒๗. ส่วนใดของต้นแคที่ใช้แก้ไข้เปลี่ยนอากาศ ๑. ต้น ๒. เปลือก ๓. ใบ ๔. ราก ๒๘. ใบของต้นคว่ำตายหงายเป็น มีสรรพคุณอย่างไร ๑. ตำพอกแก้ปวด, แก้อักเสบ, ฟกบวม ๒. น้ำที่คั้นจากใบผสมกับการบูรใช้ทาถูนวด แก้เคล็ด ขัด แพลง ๓. น้ำคั้นจากใบทาแก้กลากเกลื้อน ๔. ถูกข้อ ๑, ๒ ๒๙. เนื้อในฝักคูณ มีสรรพคุณอย่างไร ๑. ระบายท้อง ๒. บรรเทาอาการแน่นหน้าอก ๓. แก้ฟกช้ำ, แก้ลมเข้าข้อ ๔. ถูกทุกข้อ ๓๐. “ดอกคำไทย” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสหวาน สรรพคุณ บำรุงโลหิต, แก้โลหิตจาง ๒. รสหวาน สรรพคุณ ระบายท้อง, ขับเสมหะ ๓. รสหวาน สรรพคุณ แก้โรคขัดข้อ ๔. รสหวาน สรรพคุณ แก้ไข้, แก้หละ-ซาง ๓๑. ดอกคำฝอย มีสรรพคุณอย่างไร ๑. บำรุงประสาท, บำรุงหัวใจ ๒. แก้ไข้, แก้ร้อนในกระหายน้ำ ๓. ขับโลหิตระดูสตรี, ขับน้ำคาวปลา ๔. แก้ปวดท้อง, จุกเสียด ๓๒. ใบของต้นฆ้องสามย่าน มีสรรพคุณอย่างไร ๑. ตำพอกฝี ถอนพิษ แก้ปวด ๒. รับประทานดับพิษร้อนภายใน ๓. ใบผสมน้ำประสานทองสะตุ ตำตากแดดให้แห้ง บดเป็นผง ทาลิ้นเด็ก แก้ละอองซาง ๔. ถูกทุกข้อ ๓๓. ส่วนใดของต้นเหงือกปลาหมอมีสรรพคุณ “ขับโลหิตอย่างแรง” ๑. ใบ ๒. ลูก ๓. ราก ๔. ต้น ๓๔. “แก่นจันทร์แดง” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. ดับพิษร้อน, ดับพิษไข้ทุกชนิด ๒. ขับลม, บำรุงธาตุ ๓. แก้ปัสสาวะพิการ, ขับปัสสาวะ ๔. แก้โรคผิวหนัง, กลาก-เกลื้อน ๓๕. “นมจาก” มีสรรพคุณอย่างไร ๑. ดับพิษประดง, ผื่นคัน ๒. แก้ริดสีดวงจมูก ๓. แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาวละออง ๔. แก้โรคผิวหนัง ๓๖. “เมล็ดของต้นจามจุรี” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสร้อน สรรพคุณ แก้โรคตา, แก้หนาวและเย็น ๒. รสฝาดเมา สรรพคุณ แก้โรคกลาก-เกลื้อน ๓. รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ขับพยาธิไส้เดือน ๔. รสเปรี้ยว สรรพคุณ แก้ไข้ตัวร้อน ๓๗. ส่วนรากของต้นเจตมูลเพลิงขาวมีสรรพคุณอย่างไร ๑. ขับโลหิตประจำเดือนสตรี ๒. แก้โรคตา ๓. แก้ลมและเสมหะ ๔. แก้ริดสีดวงทวาร ๓๘. “รากของต้นเจตมูลเพลิงแดง” หากรับประทานมากจะมีโทษอย่างไร ๑. ทำให้ท้องร่วงอย่างแรง ๒. ทำให้แท้งลูก ๓. ทำให้ปวดท้องรุนแรง ๔. ทำให้ชักกระตุก ๓๙. ส่วนต้นของ “ชะมดต้น” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้เกลื้อนช้าง/เกลื้อนใหญ่/เรื้อนกวาง ๒. รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้พิษดีและพิษโลหิต ๓. รสเย็น สรรพคุณ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ๔. รสเย็น สรรพคุณ ขับปัสสาวะ, บำรุงหัวใจ ๔๐. ใบของต้นชะมวง มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสเปรี้ยว สรรพคุณ ระบายท้อง, กัดฟอกเสมหะ ๒. รสเปรี้ยว สรรพคุณ แก้ไข้ตัวร้อน, แก้ปวดศีรษะ ๓. รสร้อน สรรพคุณ ขับลม, แก้ท้องอืด-เฟ้อ ๔. รสร้อน สรรพคุณ ขับน้ำคาวปลา, แก้สันนิบาตหน้าเพลิง ๔๑. ส่วนใดของต้นชบาที่นำมาตำพอกแก้พิษฝี, ฟกบวมได้ ๑. รากแห้ง ๒. รากสด ๓. ดอก ๔. ใบ ๔๒. “รากชะอม” มีรสร้อนเล็กน้อย มีสรรพคุณอย่างไร ๑. ขับลม, แก้ปวดเสียวในมดลูก ๒. ระบายท้อง, บำรุงธาตุ ๓. รักษาแผล, สมานบาดแผล ๔. บำรุงกำลัง, บำรุงโลหิต ๔๓. ข้อใดกล่าวถึงต้นช้าพลูได้ไม่ถูกต้อง ๑. ราก รสเผ็ดร้อนเล็กน้อย แก้คูถเสมหะ ๒. ต้น รสเผ็ดร้อนเล็กน้อย แก้เสมหะในทรวงอก ๓. ลูก (ดอก) รสเผ็ดร้อนเล็กน้อย แก้เสมหะในลำคอ ๔. ใบ รสเผ็ดร้อนเล็กน้อย ทำให้เสมหะเฟ้อ ๔๔. ถ้าต้องใช้ชุมเห็ดเทศระบายท้อง ควรใช้ส่วนใดของต้นชุมเห็ดเทศ ๑. ใบ ๒. ต้น ๓. ดอก ๔. ฝัก ๔๕. ส่วนใดของต้น “ตะโกนา” มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ๑. เปลือกต้น ๒. ใบ ๓. เปลือกลูก ๔. ราก ๔๖. ส่วนใบของ “ตีนเป็ดต้น” มีสรรพคุณอย่างไร ๑. แก้ไข้เพื่อดีพิการ ๒. แก้ไข้หวัด ๓. ขับผายลม ๔. ขับโลหิตให้ตก ๔๗. “ใบต้นตะขบไทย” มีสรรพคุณอย่างไร ๑. แก้ท้องร่วง ๒. กล่อมเสมหะและอาจม ๓. ขับเหงื่อ ๔. ขับปัสสาวะ ๔๘. ใบของต้น “ตีนเป็ดน้ำ” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสจืดเฝื่อน สรรพคุณ แก้นิ่ว, แก้ไข้ ๒. รสเบื่อเมา สรรพคุณ แก้นิ่ว, ขับปัสสาวะ ๓. รสเบื่อเมา สรรพคุณ ฆ่าพยาธิผิวหนัง, กลาก-เกลื้อน ๔. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง ๔๙. “รากเตยหอม” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสเย็นหอม สรรพคุณ บำรุงหัวใจ, ดับพิษไข้, ชูกำลัง ๒. รสจืดหอม สรรพคุณ แก้กระษัย, ไตพิการ, ขับปัสสาวะ ๓. รสจืดหอม สรรพคุณ ขับพยาธิไส้เดือน ๔. รสเย็นหอม สรรพคุณ ขับผายลมให้เรอ ๕๐. รากของต้น “ถั่วแระผี” รสจืดขื่น มีสรรพคุณอย่างไร ๑. แก้ท้องร่วง, คุมธาตุ ๒. ระบายท้องอ่อน ๆ ๓. แก้ไข้เพื่อโลหิต ๔. ขับละลายก้อนนิ่วที่เกิดในไต ๕๑. เมล็ดของต้น “ถั่วแระต้น” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสจืด สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ๒. รสจืด สรรพคุณ แก้ปัสสาวะพิการ ๓. รสมัน สรรพคุณ บำรุงเส้นเอ็น ๔. รสมัน สรรพคุณ แก้ตาฟาง, ตาแฉะ ๕๒. รากของต้น “ทับทิม” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสเบื่อเมา สรรพคุณ ขับพยาธิตัวตืด, พยาธิไส้เดือน ๒. รสฝาด สรรพคุณ แก้เด็กท้องร่วง, แก้บิดมูกเลือด ๓. รสฝาด สรรพคุณ แก้กลาก-เกลื้อน ๔. รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้พิษสัตว์กัดต่อย ๕๓. “รากทรงบาดาล” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสเบื่อเมา สรรพคุณ แก้โรคเรื้อน, มะเร็ง, คุดทะราด ๒. รสเบื่อขม สรรพคุณ ถอนพิษผิดสำแดง/แก้สะอึก ๓. รสเย็น สรรพคุณ แก้คันตามผิวหนัง ๔. รสเย็น สรรพคุณ แก้ไข้ที่มีพิษร้อน ๕๔. รากของต้น “เท้ายายม่อม” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสจืดขื่น สรรพคุณ แก้พิษงู, แก้พิษฝี ๒. รสจืดขื่น สรรพคุณ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ๓. รสจืดขื่น สรรพคุณ แก้อาเจียน, แก้หืดไอ ๔. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา ๕๕. “เนื้อในลูกทุเรียน” มีธาตุอะไรอยู่มากและมีสรรพคุณอย่างไร ๑. ธาตุเหล็ก สรรพคุณ บำรุงโลหิต ๒. ธาตุแคลเซียม สรรพคุณ บำรุงกระดูก ๓. ธาตุกำมะถัน สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง, ขับพยาธิ ๔. ธาตุทองแดง สรรพคุณ บำรุงประสาท ๕๖. “รากต้นทองพันชั่ง” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสเบื่อเย็น สรรพคุณ ดับพิษไข้, แก้ไข้ตัวร้อน ๒. รสฝาดเมา สรรพคุณ แก้ไส้ด้วน, ไส้ลาม ๓. รสขมเย็น สรรพคุณ แก้น้ำดีพิการ ๔. รสเบื่อเมา สรรพคุณ แก้กลาก-เกลื้อน, ผื่นคัน ๕๗. “รากต้นทองหลาง (หนาม)” มีสรรพคุณอย่างไร ๑. แก้พยาธิในท้อง, แก้ตาฟาง, แก้เสมหะ ๒. แก้กลากเกลื้อน, เรื้อนกวาง ๓. แก้ฝีในท้อง ๔. แก้เสมหะ, แก้ลม ๕๘. “รากต้นทองหลางใบมน (ทองหลางบก)” มีสรรพคุณอย่างไร ๑. แก้ไข้ทั้งปวง ๒. แก้พิษทั้งปวง ๓. บำรุงธาตุ ๔. ขับโลหิตระดู ๕๙. ใบสดของต้น “ทองหลางใบมน (ด่าง)” มีสรรพคุณอย่างไร ๑. แก้พิษฝีภายใน ๒. ระบายท้อง ๓. แก้พิษร้อนภายใน ๔. ขับปัสสาวะ ๖๐. ใบของต้น “เทียนย้อมมือ” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสฝาด สรรพคุณ แก้เล็บถอด, อักเสบช้ำ ๒. รสฝาด สรรพคุณ แก้ท้องเสีย, บิดมูกเลือด ๓. รสขม สรรพคุณ แก้ไข้ตัวร้อน ๔. รสขม สรรพคุณ แก้พิษโลหิตและดี ๖๑. ใบของต้นเทียนดอก (นิยมใช้ดอกสีขาว) มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสเย็น สรรพคุณ แก้พิษตานซางเด็ก ๒. รสเย็น สรรพคุณ แก้เล็บขบ, ถอนพิษอักเสบ ๓. รสฝาดเย็น สรรพคุณ แก้ไข้ท้องเสีย ๔. รสเค็ม สรรพคุณ ชำระเมือกมันในลำไส้ ๖๒. “รากอากาศ” ของต้นไทรย้อย มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสเย็น สรรพคุณ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ๒. รสเย็น สรรพคุณ แก้ไข้พิษ, ไข้กาฬ ๓. รสจืด สรรพคุณ แก้ไข้ที่มีพิษร้อน ๔. รสจืด สรรพคุณ ขับปัสสาวะ, แก้กระษัยไตพิการ ๖๓. “รากต้นธรณีสาร” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสฝาด สรรพคุณ ชำระล้างบาดแผล, สมานบาดแผล ๒. รสเย็นจืด สรรพคุณ แก้ไข้ตัวร้อน, แก้พิษตานซางเด็ก ๓. รสขมเย็น สรรพคุณ แก้ไข้เพื่อดี, บำรุงธาตุ ๔. รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้พิษสัตว์กัดต่อย ๖๔. “เปลือกต้นนนทรี” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสเย็น สรรพคุณ แก้พิษฝีภายใน, ขับปัสสาวะ ๒. รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ฆ่าเชื้อโรค, ฆ่าพยาธิ ๓. รสฝาด สรรพคุณ กล่อมเสมหะและโลหิต, แก้ท้องร่วง ๔. รสขมเอียน สรรพคุณ ระบายท้อง ๖๕.น้ำมันในเมล็ดนุ่นมีประโยชน์อย่างไร ๑. ระบายท้อง, ขับปัสสาวะ ๒. แก้ไข้, แก้ร้อนใน ๓. สมานแผล, ปิดธาตุ ๔. แก้พิษฝี ๖๖. เปลือกลูกของต้น “น้อยหน่า” มีสรรพคุณอย่างไร ๑. สมานบาดแผล, ปิดธาตุ ๒. ระบายท้อง ๓. ฝนกับสุราทาแก้พิษงูกัด ๔. ฆ่าเชื้อโรค, ขับตัวกิมิชาติในลำไส้ ๖๗. รากของต้น “นางแย้ม” มีสรรพคุณอย่างไร ๑. แก้พิษฝีภายใน ๒. ขับปัสสาวะ, แก้กระษัยไตพิการ ๓. แก้โรคลำไส้ ๔. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา ๖๘. ใบของต้น “น้อยโหน่ง” มีสรรพคุณอย่างไร ๑. ตำพอกแก้ฟกบวม ๒. แก้บิด, ท้องร่วง ๓. แก้ไข้, แก้ร้อนใน ๔. ขับพยาธิไส้เดือนในท้อง ๖๙. “เบญจมาศบ้าน” ส่วนดอกมีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสหอมเย็น สรรพคุณ บำรุงประสาท ๒. รสหอมเย็น สรรพคุณ บำรุงหัวใจ ๓. รสขม สรรพคุณ แก้ไข้, แก้ร้อนในกระหายน้ำ ๔. รสขม สรรพคุณ แก้พิษตานซาง ๗๐. “ใบเงิน” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสเย็น สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ๒. รสเย็น สรรพคุณ แก้เสมหะพิการ ๓. รสเย็น สรรพคุณ ดับพิษ ๔. รสเย็น สรรพคุณ ระบายท้อง ๗๑. “ใบทอง” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสเย็น สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ๒. รสเย็น สรรพคุณ แก้เสมหะพิการ ๓. รสเย็น สรรพคุณ แก้ไข้พิษร้อน ๔. รสเย็น สรรพคุณ ระบายท้อง ๗๒. “ใบนาค” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสเย็น สรรพคุณ ขับเสมหะ ๒. รสเย็น สรรพคุณ แก้เสมหะพิการ ๓. รสเย็น สรรพคุณ ล้อมตับดับพิษ ๔. รสเย็น สรรพคุณ ระบายท้อง ๗๓. รากต้นประยงค์ (หอมไกล) มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสเย็น สรรพคุณ แก้ไข้, แก้ร้อนในกระหายน้ำ ๒. รสเย็น สรรพคุณ บำรุงหัวใจ, บำรุงประสาท ๓. รสเบื่อเอียน สรรพคุณ ถอนพิษยาเบื่อเมา, ทำให้อาเจียน ๔. รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้พิษสัตว์กัดต่อย ๗๔.รากของต้น “ปีบ” มีสรรพคุณอย่างไร ๑. รสเฝื่อน สรรพคุณ ถอนพิษยาเบื่อเมา, บำรุงประสาท ๒. รสเฝื่อน สรรพคุณ แก้วัณโรค, แก้ไอ, บำรุงปอด ๓. รสเย็น สรรพคุณ แก้ไข้, แก้ร้อนใน ๔. รสเย็น สรรพคุณ ล้อมตับดับพิษ ๗๕. ส่วนใดของต้น “ฝรั่ง” ที่มีสรรพคุณระบายท้อง, กล่อมอาจม, ดูดกลิ่น ๑. ทั้ง ๕ ๒. ยอดอ่อน ๓. ใบสด ๔. ลูกสุก ๗๖. ส่วนยางของฝิ่น ก่อนที่จะนำมาใช้เป็นยาแก้ลงแดง, แก้บิดเรื้อรัง, ทาแก้เจ็บปวด, ทาหัวแก้ริดสีดวงทวาร ต้องทำอย่างไรก่อนจึงทำเป็นยาได้ ๑. นำยางไปต้มให้เดือด ๒. นำไปเคี่ยวให้สุก ๓. ใบไปย่างให้สุก ๔. นำไปตากแดดให้สุก ๗๗. ถ้าต้องการแก้อาการ “ปวดเมื่อยตามร่างกาย” จะต้องใช้ส่วนใดของต้นฝิ่นต้น มาทำยา ๑. ราก ๒. ดอก ๓. ยางจากใบ ๔. เปลือกต้น ๗๘. วิธีการที่ก่อนจะนำใบพลับพลึงไปรักษาอาการเคล็ดยอก, บวม, แพลง, ถอนพิษ ต้องทำอย่างไร ๑. นำไปพันบริเวณที่มีอาการได้ทันที ๒. นำไปลนไฟให้ตายนึ่ง ๓. นำไปลวกให้สุกก่อน ๔. นำไปต้มให้สุกก่อน ๗๙. ส่วนใดของต้นพิกุลที่มีสรรพคุณบำรุงโลหิต ๑. ราก, แก่น ๒. กะพี้, ดอก ๓. ใบ, เปลือกต้น ๔. ใบ, กะพี้ ๘๐. รากของต้น “พุดตาน” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสเย็น สรรพคุณ บำรุงหัวใจ, บำรุงประสาท ๒. รสขม สรรพคุณ แก้เสมหะในลำคอ, ทำให้ชุ่มคอ ๓. รสเย็น สรรพคุณ ขับพยาธิไส้เดือน, บำรุงเนื้อหนังให้บริบูรณ์ ๔. รสเย็น สรรพคุณ แก้ไข้, แก้ประดงผื่นตันตามผิวหนัง ๘๑. ส่วนใดของต้น “แพงพวยบก” ที่มีสรรพคุณแก้มะเร็ง, น้ำเหลืองเสีย ๑. ราก ๒. ต้น ๓. ใบ ๔. ดอก ๘๒. “พุมเรียงบ้าน” ส่วนของรากมีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสเย็น สรรพคุณ แก้พิษประดงผื่นคัน ๒. รสเบื่อจืดขม สรรพคุณ แก้ไข้เหนือ, แก้ไข้สันนิบาต ๓. รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้โรคเรื้อน, มะเร็ง, คุดทะราด ๔. รสเปรี้ยวเย็น สรรพคุณ แก้น้ำเหลืองเสีย, แก้ฝีภายใน ๘๓. “รากต้นมะกรูด” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสขม สรรพคุณ แก้น้ำดีพิการ, บำรุงธาตุ ๒. รสปร่า สรรพคุณ กระทุ้งพิษไข้, พิษฝีภายใน ๓. รสเย็น สรรพคุณ ขับปัสสาวะ, แก้กระษัย ๔. รสเปรี้ยว สรรพคุณ ฟอกเสมหะ, แก้เสมหะพิการ ๘๔. ส่วนใดของต้น “มะกอกน้ำ” ที่มีสรรพคุณแก้เสมหะในลำคอ, ทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ ๑. ราก ๒. ใบ ๓. เมล็ด ๔. เปลือกต้น ๘๕. เปลือกต้น “มะกอกป่า” รสฝาดเย็นเปรี้ยว มีสรรพคุณอย่างไร ๑. คั้นเอาน้ำหยอดหู แก้ฝีในหู, แก้ปวดหู ๒. แก้เลือดออกตามไรฟัน ๓. แก้บิด, แก้ธาตุพิการ, แก้น้ำดีไม่ปกติ ๔. ดับพิษกาฬ, แก้ร้อนในอย่างแรง, แก้ลงท้อง, แก้ปวดมวน, แก้สะอึก ๘๖. ส่วนใดของต้นมะขามเทศที่รสฝาดและมีสรรพคุณแก้ท้องร่วง, คุมธาตุ, สมานบาดแผล ๑. ใบ ๒. ดอก ๓. เปลือกต้น ๔. เปลือกฝัก ๘๗. “รกมะขาม” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสฝาดเย็น สรรพคุณ ขับพยาธิไส้เดือน ๒. รสฝาดเปรี้ยว สรรพคุณ แก้ท้องเสีย ๓. รสเปรี้ยวฝาด สรรพคุณ แก้บิด, แก้ไอ ๔. รสมันเบื่อ สรรพคุณ แก้พิษฝีภายใน ๘๘. ผลแก่ของต้นมะขามป้อม มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสเปรี้ยวฝาดขม สรรพคุณ แก้ไข้เจือลม, แก้เสมหะ ๒. รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ ขับลม, บำรุงธาตุ ๓. รสฝาดขม สรรพคุณ บำรุงเนื้อหนังให้บริบูรณ์ ๔. รสเค็ม สรรพคุณ ชำระเมือกมันในลำไส้ ๘๙. ส่วนใบและเปลือกต้นของต้น “มะขวิด” มีรสฝาด มีสรรพคุณอย่างไร ๑. แก้ท้องร่วง, แก้พยาธิ ๒. แก้ฝีเปื่อย ๓. แก้ตกเลือด, ห้ามระดูสตรี ๔. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา ๙๐. “รากมะเขือขื่น” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสปร่าซ่าขื่น สรรพคุณ แก้พิษไข้, แก้สติเผลอ ๒. รสฝาดหอม สรรพคุณ บำรุงโลหิต, แก้ปากเปื่อย ๓. รสขื่นเอียนเปรี้ยว สรรพคุณ แก้น้ำลายเหนียว, ขับเสมหะ ๔. รสเย็น สรรพคุณ แก้ปวดศีรษะ, แก้ความดันโลหิตสูง ๙๑. “รากมะตูม” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสปร่าเย็น สรรพคุณ แก้กาฬขึ้นภายนอก-ภายใน ๒. รสปร่าซ่าขื่น สรรพคุณ แก้พิษไข้, แก้สติเผลอ, รักษาน้ำดี ๓. รสเปรี้ยวหวาน สรรพคุณ ขับปัสสาวะ, แก้กามโรค ๔. รสฝาดเย็น สรรพคุณ แก้พิษไข้รากสาด, แก้พิษผิดสำแดง ๙๒. “เมล็ดมะนาว” คั่วไฟ จะมีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสขมหอม สรรพคุณ แก้ซางเด็ก, ขับเสมหะ ๒. รสเปรี้ยวขม สรรพคุณ แก้อ่อนเพลีย, สมานลำไส้ ๓. รสหอมเย็น สรรพคุณ บำรุงหัวใจ, บำรุงโลหิต ๔. รสฝาดเย็น สรรพคุณ ถอนพิษไข้, แก้พิษผิดสำแดง ๙๓. “รากมะปรางหวาน” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสจืดเย็น สรรพคุณ ถอนพิษไข้กลับซ้ำ, ถอนพิษผิดสำแดง ๒. รสหอมเย็น สรรพคุณ บำรุงประสาท, บำรุงโลหิต ๓. รสเปรี้ยวหวาน สรรพคุณ แก้ไอ, ขับเสมหะ ๔. รสเย็น สรรพคุณ แก้พิษเห็ด ๙๔. “ดอกมะพร้าว” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสปร่าซ่าขื่น สรรพคุณ แก้พิษร้อนภายใน ๒. รสสุขุม สรรพคุณ แก้ลม, บำรุงหัวใจ ๓. รสฝาดหอม สรรพคุณ บำรุงโลหิต, แก้ปากเปื่อย ๔. รสเย็น สรรพคุณ แก้ไข้, แก้ร้อนใน ๙๕. “รากมะเฟือง” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสเย็น สรรพคุณ แก้ไข้, ดับพิษร้อน ๒. รสเย็น สรรพคุณ บำรุงตับ, ปอด, หัวใจ ๓. รสขม สรรพคุณ ขับน้ำดี, บำรุงไต ๔. รสเปรี้ยวหวาน สรรพคุณ กัดละลายเสมหะ ๙๖. “กาฝากมะม่วง” รสเย็น มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. แก้พิษร้อนภายใน ๒. แก้ปวดศีรษะ, แก้ความดันโลหิตสูง ๓. แก้สติเผลอ, บำรุงน้ำดี ๔. ช่วยย่อยอาหาร, ระบายท้อง ๙๗. ยางเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ มีสรรพคุณอย่างไร ๑. แก้โรคผิวหนัง กลาก-เกลื้อน ๒. กัดทำลายหูด-ตาปลา ๓. แก้เล็บถอด-เล็บขบอักเสบ ๔. ระบายท้อง ๙๘. “รากมะยม” มีรสจืดเย็นติดเปรี้ยว มีสรรพคุณอย่างไร ๑. แก้ไข้เพื่อโลหิต ๒. ดับพิษฝีภายใน ๓. แก้เม็ดประดงผื่นคัน, น้ำเหลืองเสีย ๔. แก้บวม, บำรุงไฟธาตุ ๙๙. “เปลือกต้นมะรุม” มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสเย็น สรรพคุณ แก้พิษไข้ตานซางสำหรับเด็ก ๒. รสฝาด สรรพคุณ สมานบาดแผล, แก้ท้องร่วง ๓. รสขม สรรพคุณ แก้ไข้ร้อนในกระหายน้ำ ๔. รสร้อน สรรพคุณ ขับลมในลำไส้ให้ผายเรอ ๑๐๐. “รากแก่มะละกอ” มีสรรพคุณอย่างไร ๑. ขับปัสสาวะ, แก้กามโรค ๒. บำรุงน้ำนม ๓. กัดแผล, หัวหูด, สิว ๔. แก้เบาหวาน, บำรุงน้ำดี œ |
แนวข้อสอบ เภสัชวัตถุ ๒ โรงเรียนสิริภัจจ์การแพทย์แผนไทย
อ.ประสิทธิ์ คงทรัพย์ แนวข้อสอบ เภสัชกรรมไทย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเภสัชกรรมและเภสัชวัตถุ คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว ๑. ข้อใดกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของการแพทย์โบราณได้ไม่ถูกต้อง ๑. หมอชีวกโกมารภัจจ์ ศึกษาวิชาแพทย์ที่สำนักทิศาปาโมกข์แห่งเมืองตักศิลา ๒. หมอชีวกโกมารภัจจ์ ใช้เวลาศึกษาวิชาแพทย์เป็นเวลา ๑๗ ปี ๓. หมอชีวกโกมารภัจจ์ รักษาอาการพระคันทละของพระเจ้าพิมพิสารโดยใช้ยาทาเพียง ครั้งเดียวหาย ๔. หมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นแพทย์ประจำในราชสำนักของพระเจ้าพิมพิสารและเป็น แพทย์ประจำพระพุทธเจ้า ๒. ในปี พ.ศ.๑๗๒๕-๑๗๒๙ อาณาจักรขอม กษัตริย์องค์ใดที่ทรงสร้างอโรคยาศาลา ๑. พระเจ้าชัยวรมันที่ ๓ ๒. พระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ ๓. พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ๔. พระเจ้าชัยวรมันที่ ๙ ๓. ในอโรคยาศาลา มีพิธีกรรมบวงสรวงด้วยอาหารและยา ก่อนนำไปแจกจ่ายให้ผู้ป่วยแก่องค์ พระโพธิสัตย์องค์ใด ๑. เจ้าแม่กวนอิม ๒. พระพุทธเจ้า ๓. พระไภสัชยคุรุไวฑูรย์ ๔. พระศรีอาริยเมตไตย ๔. หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของการแพทย์แผนโบราณในสมัยทวาราวดีที่ถูกค้นพบคืออะไร ๑. ศิลาจารึก ๒. หินบดยา ๓. คัมภีร์ยาโบราณ ๔. เครื่องมือผ่าตัด ๕. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับประวัติการแพทย์แผนโบราณ ๑. ในอโรคยาศาลามีแพทย์ พยาบาล เภสัชกร จำนวน ๙๑ คน ๒. เขาหลวงหรือเขาสรรพยาเป็นสวนสมุนไพรในสมัยสุโขทัย เราทราบประวัติศาสตร์นี้ ได้จากคำบอกเล่าของบรรพบุรุษ ๓. ระบบการจัดหายาที่ชัดเจนสำหรับราษฎร มีแหล่งจำหน่ายยาสมุนไพรทั้งในและนอก กำแพงเมือง เป็นประวัติการแพทย์แผนโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตรงกับสมัยพระ นารายณ์มหาราช ๔. สมัยอยุธยามีการรวบรวมตำราขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า “ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์” ๖. มิชชันนารีชาวฝรั่งเศสนำเทคนิคอะไรมาเผยแพร่ในสมัยอยุธยา ๑. สูติกรรมสมัยใหม่ ๒. การเย็บแผลด้วยเข็มและด้าย ๓. การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ ๔. การใช้ยาเม็ดควินินรักษาโรคไข้จับสั่น ๗. มิชชันนารีชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเผยแพร่เทคนิคการแพทย์แผนตะวันตกในสมัยอยุธยาคือใคร ๑. หมอบลัดเลย์ ๒. เซวาริเอ เดอ ฟอแบง ๓. นายแพทย์แดน บี บลัดเลย์ ๔. ถูกข้อ ๑, ๓ ๘. การแบ่งหมอออกเป็นหมอวังและหมอราษฎร์ (หมอเชลยศักดิ์) เกิดขึ้นในรัชสมัยใด ๑. รัชกาลที่ ๑ ๒. รัชกาลที่ ๒ ๓. รัชกาลที่ ๓ ๔. รัชกาลที่ ๔ ๙. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การแพทย์แผนโบราณในสมัยรัชกาลที่ ๑ ๑. ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม ๒. ทรงสร้างรูปหล่อฤาษีดัดตนด้วยโลหะชิน ๓. ทรงจารึกตำราไว้ตามศาลารายของวัดโพธิ์ ๔. ทรงจัดตั้งกรมหมอและโรงพระโอสถคล้ายกับสมัยอยุธยา ๑๐. “กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย” ถูกตราขึ้นในสมัยใด ๑. รัชกาลที่ ๑ ๒. รัชกาลที่ ๒ ๓. รัชกาลที่ ๕ ๔. รัชกาลที่ ๗ ๑๑. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับประวัติการแพทย์โบราณสมัยของพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑. ทรงจัดตั้งโรงเรียนแพทย์โบราณแห่งแรกคือโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์ ๒. ทรงปั้นฤาษีดัดตนด้วยปูนจำนวน ๘๐ ตนไว้รอบวัดโพธิ์ ๓. ทรงจารึกตำรายาไว้บนหินอ่อน, ผนังพระอุโบสถ, ศาลาราย, เสา, กำแพงวิหารคด ๔. แพทย์ชาวตะวันตกมาเผยแพร่วิธีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ ๑๒. “สูติกรรมสมัยใหม่” ถูกนำมาเผยแพร่ในรัชสมัยใดในกรุงรัตนโกสินทร์ ๑. รัชกาลที่ ๔ ๒. รัชกาลที่ ๕ ๓. รัชกาลที่ ๖ ๔. รัชกาลที่ ๗ ๑๓.ในปี พ.ศ.๒๔๓๑ มีประวัติศาสตร์ทางการแพทย์ที่สำคัญอย่างไร ๑. จัดตั้งกรมสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ๒. จัดตั้งโรงเรียนแพทยาลัยขึ้นเป็นครั้งแรก ๓. จัดตั้งโรงพยาบาลแห่งแรก ๔. พิมพ์ตำราแพทย์เป็นครั้งแรก ๑๔. ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ที่แต่งโดยพระยาพิษณุประสาทเวชและได้รับการยกย่อง ให้เป็นตำราแห่งชาติฉบับแรก ถูกพิมพ์ขึ้นในปีใด ๑. พ.ศ.๒๔๓๑ ๒. พ.ศ.๒๔๓๒ ๓. พ.ศ.๒๔๓๘ ๔. พ.ศ.๒๔๔๗ ๑๕.ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ที่มีเนื้อหากล่าวถึงการแพทย์ตะวันตกเกือบทั้งสิ้น มีจำนวนกี่เล่ม ๑. ๒ เล่ม ๒. ๓ เล่ม ๓. ๔ เล่ม ๔. ๕ เล่ม ๑๖. “ตำราใดที่กล่าวถึงคัมภีร์แพทย์ต่าง ๆ และมีลักษณะเป็นคำกลอนทั้งหมด” ๑. ตำราเวชศาสตร์วรรณา ๓. ตำราเวชศึกษา ๓. ตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป ๔. ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับ พ.ศ.๒๔๔๗ ๑๗. “ตำราหลวง ๕ เล่ม” ประกอบด้วยตำราอะไรบ้างซึ่งใช้เป็นตำราอ้างอิงทางการแพทย์มาถึง ปัจจุบัน ๑. เวชศึกษา ๓ เล่ม และแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (พ.ศ.๒๔๔๗) ๒ เล่ม ๒. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (พ.ศ.๒๔๕๐) ๒ เล่ม, แพทย์ศาสตร์สังเขป ๓ เล่ม ๓. ตำราเวชศาสตร์วรรณา ๒ เล่ม, แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (พ.ศ.๒๔๓๘) ๓ เล่ม ๔. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (พ.ศ.๒๔๓๘) ๓ เล่ม, แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (พ.ศ.๒๔๕๐) ๒ เล่ม ๑๘. การเรียนการสอนทางการแพทย์แผนไทย ถูกยกเลิกในโรงเรียนแพทยาลัยในปี พ.ศ. ใด ๑. พ.ศ.๒๔๓๑ ๒. พ.ศ.๒๔๓๒ ๓. พ.ศ.๒๔๕๖ ๔. พ.ศ.๒๔๒๔ ๑๙. ในปี พ.ศ.๒๔๖๑ มีความสำคัญเกี่ยวกับระบบการแพทย์อย่างไร ๑. จัดตั้งกรมสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ๒. จัดตั้งโรงพยาบาลศิริราช ๓. ตราพระราชบัญญัติการแพทย์ขึ้นเป็นครั้งแรก ๔. แต่งตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ๒๐. ในรัชสมัยใดที่มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์เข้ามาปรับปรุงการเรียนแพทย์ปริญญาขึ้นใน ประเทศไทย ๑. รัชกาลที่ ๕ ๒. รัชกาลที่ ๖ ๓. รัชกาลที่ ๗ ๔. รัชกาลที่ ๘ ๒๑. “พระราชบัญญัติการแพทย์” ตราขึ้นมาครั้งแรกในปี พ.ศ.ใด ๑. พ.ศ.๒๔๖๑ ๒. พ.ศ.๒๔๖๖ ๓. พ.ศ.๒๔๔๗ ๔. พ.ศ.๒๔๕๐ ๒๒. การแบ่งประเภทของการประกอบโรคศิลปะ เป็น ประเภทแผนปัจจุบัน และ ประเภท แผนโบราณ ถูกแบ่งโดยกฎหมายอะไร ๑. กฎหมายพนักงานโอสถถวาย ๒. กฎหมายตราสามดวง ๓. กฎหมายเสนาบดี ๔. พ.ร.บ. การแพทย์ พ.ศ.๒๔๖๖ ๒๓. “การประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยความสังเกต ความชำนาญอันสืบต่อกันมาเป็นที่ตั้ง หรืออาศัยตำราที่มีมาแต่โบราณ มิได้ดำเนินไปในทางวิทยาศาสตร์” เป็นคำจำกัดความ ของอะไร ๑. การแพทย์แผนปัจจุบัน ๒. การแพทย์แผนโบราณ ๓. การแพทย์ผสมผสาน ๔. การแพทย์แผนจีน ๒๔. “โรงงานเภสัชกรรม” ที่จัดตั้งในสมัยรัชกาลที่ ๘ มีวัตถุประสงค์อะไร ๑. เพื่อผลิตยาสมุนไพร ๒. เพื่อพัฒนาสมุนไพรผลิตเป็นยาแผนปัจจุบัน ๓. เพื่อพัฒนาสมุนไพรผลิตเป็นยาแผนโบราณ ๔. ถูกทั้งข้อ ๒ และ ๓ ๒๕. ข้อใดไม่ใช่ “จรรยาเภสัช” ๑. ต้องมีความขยันหมั่นเพียร ๒. ต้องพิจารณาเหตุผล ปฏิบัติการด้วยความไม่ประมาทมักง่าย ๓. ละอายต่อบาป ไม่กล่าวเท็จโอ้อวด ๔. ต้องปรึกษาผู้ชำนาญ, ไม่ปิดบังความเขลาของตัวเอง ๒๖. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับประวัติเบญจกูล ๑. ปัพพะตัง บริโภครากช้าพลู เชื่อว่า อาจระงับซึ่งเมื่อยขบ ๒. บุพพเทวา บริโภคเถาสะค้าน เชื่อว่าอาจระงับเสมหะและวาโย ๓. บุพพรต บริโภครากเจตมูลเพลิง เชื่อว่าระงันอันบังเกิดแต่ดีอันทำให้หนาวและเย็นได้ ๔. มหิทธิธรรม บริโภคเหง้าขิง เชื่อว่าอาจระงับตรีโทษ ๒๗. ข้อใดกล่าวถึงตัวยาประจำธาตุได้ไม่ถูกต้อง ๑. ผลดีปลี ประจำธาตุดิน ๒. เหง้าขิง ประจำอากาศธาตุ ๓. เถาสะค้าน ประจำธาตุไฟ ๔. รากช้าพลู ประจำธาตุน้ำ ๒๘. การรู้จักวัตถุธาตุนานาชนิดที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรค ต้องใช้หลักอะไรในการพิจารณา ๑. ชื่อ, รูปร่าง, สี, กลิ่น, รส ๒. รูป, สี, กลิ่น, รส, สัมผัส ๓. ชื่อ, สี, กลิ่น, รส, สัมผัส ๔. รูปร่าง, สัมผัส, เสียง, กลิ่น, รส ๒๙. “หลักเภสัช ๔ ประการ” หมายถึงข้อใด ๑. เภสัชวัตถุ, สรรพคุณเภสัช, ลักษณาเภสัช, อายุรกรรมเภสัช ๒. เภสัชกรรม, รจนาเภสัช, เภสัชวัตถุ, สรรพคุณเภสัช ๓. สรรพคุณเภสัช, เภสัชวัตถุ, เภสัชกรรม, คณาเภสัช ๔. อนุมานเภสัช, สุมนาเภสัช, คณาเภสัช, สรรพคุณเภสัช ๓๐. “การรู้จักการปรุงยา การผสมเครื่องยา ตามที่กำหนดในตำรับยาหรือในใบสั่งยา” เป็นความหมายของอะไร ๑. คณาเภสัช ๒. เภสัชกรรม ๒. เภสัชวัตถุ ๔. สรรพคุณเภสัช ๓๑. “พรรณไม้ต่าง ๆ ที่นำมาทำยา” เป็นความหมายของอะไร ๑. พืชวัตถุ ๒. สัตว์วัตถุ ๓. ธาตุวัตถุ ๔. สังคหวัตถุ ๓๒. พืชวัตถุ จำแนกได้เป็นกี่จำพวก อะไรบ้าง ๑. ๓ จำพวก ได้แก่ จำพวกต้น, หัว-เหง้า, เถา, เครือ ๒. ๔ จำพวก ได้แก่ จำพวกต้น, หัว-เหง้า, เถา-เครือ, ผัก ๓. ๕ จำพวก ได้แก่ จำพวกต้น, หัว-เหง้า, เถา-เครือ, ผัก, หญ้า ๔. ๖ จำพวก ได้แก่ จำพวกต้น, หัว-เหง้า, เถา-เครือ, ผัก, หญ้า, ว่าน ๓๓. ข้อใดไม่ใช่ส่วนของ “สัตว์วัตถุ” ทั้งหมด ๑. เขา, นอ, ขน, มูล, กิ่ง ๒. หนัง, ดี, เล็บ, กระดูก, ราก ๓. นิ่วในถุงน้ำดี, แผลเป็น, งา, ขน ๔. น้ำเยี่ยว, เล็บ, นอ, กะพี้ ๓๔. “พรรณไม้ต่าง ๆ ที่เป็นต้นเล็กบ้าง ต้นใหญ่บ้าง เป็นกอเป็นพุ่ม มีแก่นบ้าง ไม่มีแก่นบ้าง” เป็นคำจำกัดความของพืชวัตถุจำพวกใด ๑. ต้น ๓.หัวเหง้า ๓. เถา ๔. เครือ ๓๕. “ตำลึง” จัดเป็นพืชวัตถุจำพวกใด ๑. ต้น ๒. หัว ๓. เถา ๔. เครือ ๓๖. ข้อแตกต่างระหว่างพืชจำพวกเถากับเครือคืออะไร ๑. เถามักจะมีมือเกาะ มีดอกเป็นช่อ ออกลูกเป็นลูกเดี่ยว ๒. เครือมักขึ้นเป็นต้นก่อน ต่อมาจึงจะเลื้อย มักมีลูกเดี่ยว ๓. เถามักไม่มีมือเกาะ, มีดอกเป็นช่อ, มีลูกเป็นพวง ๔. เครือมักมีดอกเป็นช่อ, มีลูกเป็นพวง, ไม่มีมือเกาะ ๓๗. พืชจำพวกหัวกับเหง้า มีความหมายตามข้อใดที่ถูกต้อง ๑. จำพวกหัว มักมีลักษณะกลม ถ้าจะยาวก็ต้องมีลักษณะกลมมากกว่า นิยมเรียกว่าหัว ๒. จำพวกเหง้า มีลักษณะแบนเป็นปุ่ม เป็นแง่ง หรือยาวรี นิยมเรียกกันว่าเหง้า ๓. จำพวกหัว มักมีลักษณะแบนมากกว่าลักษณะกลม ๔. ถูกทั้งข้อ ๑ และ ๒ ๓๘. “เห็ดสมควรจัดอยู่ในพืชวัตถุ เนื่องจากใช้ปลูกและเจริญเติบโตคล้ายพืช เกิดจากส่าความร้อนของพื้นดิน ไม่มีกิ่งก้าน” เป็นคำจำกัดความของอะไร ๑. ว่าน ๒. เห็ด ๓. พืชชั้นต่ำ ๔. พืชชั้นสูง ๓๙. ข้อใดกล่าวถึงการแบ่งเภสัชวัตถุได้ถูกต้อง ๑. พืชวัตถุแบ่งออกเป็น ๕ จำพวก ๒. สัตว์วัตถุแบ่งเป็น ๔ จำพวก ๓. ธาตุวัตถุแบ่งเป็น ๓ จำพวก ๔. พืชวัตถุแบ่งเป็น ๔ จำพวก ๔๐. ข้อใดเป็นพืชจำพวกต้นทั้งหมด ๑. กรรณิกา, กฤษณา, กรันเกรา, กรด ๒. กรัก, กัลปพฤกษ์, กัลปังหา, กำจาย ๓. กระทิง, กระแบก, กะโบลิง, แกแล ๔. กะโบลิง, กระพังอาด, กระแจะ, กระโดน ๔๑. ข้อใดเป็นพืชจำพวก เถา-เครือ ทั้งหมด ๑. กระดอม, กระทกรก, กระทุงลาย, กราย ๒. กระทุงหมาบ้า, กระพังโหม, กระเพียด, กวาวเครือขาว ๓. กรุงเขมา, กำแพงเจ็ดชั้น, ขจร, กระพี้เขาควาย ๔. ข้าวสาร, ขี้กาแดง, คนทีสอ, ตะไคร้ต้น ๔๒. “จิงจ้อ” จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. ต้น ๒. หัว-เหง้า ๓. เถา-เครือ ๔. หญ้า ๔๓. “ชะเอมไทย” จัดเป็นพืชวัตถุจำพวกใด ๑. ต้น ๒. ผัก ๓. เถา-เครือ ๔. หญ้า ๔๔. ข้อใดเป็นพืชจำพวก เถา-เครือ ทั้งหมด ๑. โคคลาน, คัดเค้า, คอเป็ด, ชะลูดขาว ๒. ชิงช้าชาลี, เชือกเขาไฟ, แซ่ม้าทะลาย, กำยาน ๓. ซองแมว, หญ้านาง, ตาไก่, ขี้หนอน ๔. ตานหม่อน, เถาเอ็นอ่อน, แตงโม, ขี้อ้าย ๔๕. ข้อใดจัดเป็นพืชจำพวกเถาเครือทั้งหมด ๑. ต้อยติ่ง, ถอบแถบ, นมแมว, นมพิจิต ๒. นมวัว, หนามเล็บเหยี่ยว, หนามหัน, เขยตาย ๓. หนาวเดือนห้า, บอระเพ็ดพุงช้าง, พาหมี, ไข่เน่า ๔. พาดไฉน, พริกหาง, พริกหอม, ไข่มด ๔๖. ข้อใดหมายถึง “หญ้า” ทั้งหมด ๑. กะเม็ง, ขัดมอญ, ขอบชะนาง, โคกกระสุน ๒. จันใบหอม, โทงเทง, ไผ่, โหรา ๓. ลำพันแดง, โสม, ปรงป่า, บัวหลวง ๔. หัวยั้ง, ถั่วพู, บุก, ข้าวเย็นใต้ ๔๗. “ดองดึง” จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. ไม้เถาขนาดเล็กลงหัว ๒. ไม้ล้มลุกลงหัว ๓. ไม่พุ่มลงหัว ๔. ไม้ต้นลงหัว ๔๘. “ข้าวเย็นเหนือ” จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. ไม้เถาลงหัว ๒. ไม้ล้มลุกลงหัว ๓. หญ้า ๔. ผัก ๔๙. “เข้าค่า” จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. ต้น ๒. หัว-เหง้า ๓. เถา-เครือ ๔. หญ้า ๕๐. “ง่อนตาหงาย” จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. ไม้ต้นเล็กลงหัว ๓. ไม้เถาเลื้อยลงหัว ๓. ไม้พุ่มลงหัว ๔. ไม้กอลงหัว ๕๑. “พุทธรักษา” จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. ต้น ๒. หัว-เหง้า ๓. เถา-เครือ ๔. หญ้า ๕๒. “กะเม็ง” จัดเป็นพืชวัตถุจำพวกใด ๑. หญ้า ๒. ผัก ๓. ต้น ๔. เถา-เครือ ๕๓. “เร็ดหนู” สรรพคุณ บำรุงธาตุ, เจริญอาหาร จัดเป็นพืชวัตถุจำพวกใด ๑. หัว-เหง้า ๒. เถา-เครือ ๓. ต้น ๔. หญ้า ๕๔. “สิงหโมรา” สรรพคุณ บำรุงโลหิต, ช่วยย่อยอาหาร, ขับน้ำคาวปลา” จัดเป็นพืชวัตถุ จำพวกใด ๑. เถา-เครือ ๑. หัว-เหง้า ๓. ต้น ๔. หญ้า ๕๕. “อุตพิด” สรรพคุณแก้ไอ, ขับเสมหะ, กัดล้างเสมหะ, แก้ริดสีดวงทวาร, แก้ริดสีดวงจมูก แก้โรคท้องมาน อุตพิดจัดเป็นพืชวัตถุจำพวกใด ๑. ผัก ๒. หญ้า ๓. ต้น ๓. หัว-เหง้า ๕๖. “หวายตะมอย” ใบ รสเย็น สรรพคุณ ตำพองท้องเด็ก ทำให้ท้องร้องแก้ปวดท้อง ต้มอาบน้ำ แก้ซางชัก ฝนทาแก้แผลพุพอง จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. เถา-เครือ ๒. หัว-เหง้า ๓. ต้น ๔. หญ้า ๕๗. “กระแตไต่ไม้” สรรพคุณ ขับปัสสาวะ, แก้นิ่ว, แก้เบาหวาน, แก้เบื่อพยาธิ, แก้ไตพิการ จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. ต้น ๓. หัว-เหง้า ๓. เถา-เครือ ๔. หญ้า ๕๘. “สำมะงา” สรรพคุณ ใช้ใบต้มอาบน้ำแก้โรคผิวหนัง แก้ประดง-ผื่นคัน จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. ต้น ๒. เถา-เครือ ๓. หัว-เหง้า ๔. หญ้า ๕๙. “หนุมานประสานกาย” ใบรสฝาดเย็นเอียน แก้ไอ แก้หืดหอบ แก้อาเจียนเป็นโลหิต ห้ามเลือดและสมานบาดแผลได้ดี จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. ต้น ๒. เถา-เครือ ๓. หัว-เหง้า ๔. เหง้า ๖๐. “อังกาบ” ราก รสเฝื่อน แก้เสมหะ, เจริญไฟธาตุ, ฟอกโลหิตระดูสตรี, ขับปัสสาวะ จัดเป็น พืชจำพวกใด ๑. เถา-เครือ ๒. ต้น ๓. ผัก ๔. หัว-เหง้า ๖๑. “กระเช้าผีมด” รสเย็นเบื่อ สรรพคุณ บำรุงหัวใจ ขับชีพจร ขับพยาธิในท้อง แก้พิษในข้อ ในกระดูก, แก้เม็ดประดง จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. หัว-เหง้า ๒. เถา-เครือ ๓. ต้น ๔. หญ้า ๖๒. “ส้มป่อย” ใบ รสเปรี้ยวฝาดเล็กน้อย สรรพคุณ ถ่ายเสมหะ ล้างเมือกมันในลำไส้ แก้บิด ฟอกล้างโลหิต ประคบทำให้เส้นเอ็นหย่อน จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. ต้น ๒. หัว-เหง้า ๒. เถา-เครือ ๔. หญ้า ๖๓. “แสลงพัน” รสเมาเบื่อร้อนเล็กน้อย แก้โรคผิวหนังผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย กระจายเลือดเน่าเสีย ให้เดินสะดวก, บำรุงโลหิต, ขับฟอกโลหิตระดู จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. หัวเหง้า ๒. เถา-เครือ ๓. ต้น ๔. หญ้า ๖๔. “ลิ้นมังกร” รสเย็น ถอนพิษสัตว์กัดต่อย, แก้พิษงู จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. หัว-เหง้า ๒. เถา-เครือ ๓. ต้น ๔. หญ้า ๖๕. “สะบ้ามอญ” เมล็ดรสเมา สรรพคุณ แก้โรคผิวหนังผื่นคัน สุมเป็นถ่าน แก้พิษไข้ตัวร้อน จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. หัว-เหง้า ๓. เถา-เครือ ๔. ต้น ๔. หญ้า ๖๖. “สามสิบ” รากเย็นหวานชุ่ม สรรพคุณ บำรุงกำลัง บำรุงตับ ปอด บำรุงเด็กในครรภ์ จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. หัว-เหง้า ๓. เถา-เครือ ๔. ต้น ๔. หญ้า ๖๗. “สลอดน้ำ” ราก รสเย็นจืด สรรพคุณ แก้ไข้เหนือ, ไข้พิษ, ระบายอ่อน ๆ ถ่ายพิษไข้ ถ่ายพรรดึก จัดเป็นพืชจำพวกใด แก้น้ำเหลืองเสีย แก้โลหิตระดูพิการ แก้กำเดา” ที่กล่าวมานี้มีพืชชนิดใด ๑. หัว-เหง้า ๒. เถา-เครือ ๓. ต้น ๔. หญ้า ๖๘. “นมวัว” รากรสเย็น บำรุงน้ำนม แก้โรคผอมแห้งในสตรีหลังคลอดบุตร จัดเป็นพืช จำพวกใด ๑. หัว-เหง้า ๒. เถา-เครือ ๓. ต้น ๔. หญ้า ๖๙. “สลอด” ใบ รสฝาดเมาเย็น สรรพคุณ แก้ลมอัมพฤกษ์ ดับเตโชธาตุมิให้เจริญ (ทำให้ ตัวเย็น) แก้กลากเกลื้อน, คุดทะราด จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. ต้น ๒. หัว-เหง้า ๓. เถา-เครือ ๔. หญ้า ๗๐. “ซัด” เมล็ด (ลูก) สรรพคุณ แก้ท้องร่วง, กล่อมเสมหะและอาจม จัดเป็นพืชวัตถุจำพวกใด ๑. ต้น ๒. หัว-เหง้า ๓. เถา-เครือ ๔. หญ้า ๗๑. “ตานหม่อน” (ตานขี้นก) ใช้ทั้งต้น รสเบื่อเย็น สรรพคุณ แก้พิษตานซาง บำรุงเนื้อหนังให้ ชุ่มชื่น คุมธาตุ ขับไส้เดือน จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. ต้น ๒. หัว-เหง้า ๓. เถา-เครือ ๔. หญ้า ๗๒. “มหาละลาย” เนื้อไม้ รสเย็น สรรพคุณ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ เกลื่อนฝีแก้ปวดบวม จัดเป็นพืชวัตถุจำพวกใด ๑. ต้น ๒. หัว-เหง้า ๓. เถา-เครือ ๔. หญ้า ๗๓. “ม้ากระทืบโรง” ทุกส่วน รสขมน้อย สรรพคุณ บำรุงธาตุ, บำรุงกำลัง, บำรุงกำหนัด จัดเป็น พืชจำพวกใด ๑. ต้น ๒. หัว-เหง้า ๓. เถา-เครือ ๔. หญ้า ๗๔. “โลดทะนง” ราก รสเย็นเมาร้อน สรรพคุณ ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้พิษงู, ถอนพิษเสมหะ, แก้หอบหืด, แก้วัณโรค, เกลื่อนหัวฝีทำให้ยุบ ดูดหนองและแก้พิษงู จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. ต้น ๒. หัว-เหง้า ๓. เถา-เครือ ๔. หญ้า ๗๕. “ส้มกบ” ใบ รสเย็น สรรพคุณ ดับพิษ โขลกกับสุรา ใช้กากปิดแก้ปวดฝี แก้บวม ชุบสำลีอมข้างแก้ม, แก้ฝีในคอ, แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ, แก้ไข้คอตัน, ถอนพิษต่าง ๆ จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. ต้น ๒. หัว-เหง้า ๓. เถา-เครือ ๔. หญ้า ๗๖. “อ้อยแดง” เผาคั้นเอาน้ำ รสหวานขม สรรพคุณ แก้เสมหะ แก้หืด แก้ไข้สัมปะชวร,ขับปัสสาวะ, แก้นิ่ว, แก้ช้ำรั่ว จัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. ต้น ๒. หัว-เหง้า ๓. เถา-เครือ ๔. หญ้า ๗๗. “ขลู่ (หนาดวัว)” ใบคั่วให้เกรียม รสหอมเย็น ชงน้ำรับประทาน ขับปัสสาวะ, แก้กระหายน้ำจัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. ต้น ๒. หัว-เหง้า ๓. เถา-เครือ ๔. หญ้า ๗๘. “ไผ่เหลือง” ตาไผ่รสจืด สรรพคุณ เอา ๗ ตาต้มรับประทาน แก้สตรีตกโลหิตมากเกินไปจัดเป็นพืชจำพวกใด ๑. ต้น ๒. หัว-เหง้า ๓. เถา-เครือ ๔. หญ้า ๗๙. “แมลงสาบ” แก้ลิ้นขาวเป็นฝ้า เป็นละออง แก้หละ แก้เม็ดยอดในปาก แก้ฟกบวมที่มีพิษร้อน, แก้กามโรค ใช้ส่วนใดทำยา ๑. ทั้งตัว ๒. ปีก ๓. มูล ๔. มูตร ๘๐. “กวาง” ส่วนที่มีสรรพคุณ แก้พิษไข้กาฬ, ไข้พิษ คือส่วนใด ๑. เขาอ่อน ๒. เขาแก่ ๓. มูล ๔. ขน ๘๑. “ควายเผือก” ส่วนใดของร่างกายที่มีสรรพคุณ แก้โรคอันบังเกิดพิษน้ำเหลือง แก้โรคเข้าข้อ ออกดอก ๑. กระดูก ๒. เขา ๓. เล็บ ๔. กราม ๘๒. “วัวดำ” ส่วนใดของร่างกายที่มีสรรพคุณ ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ทั้งปวง แก้ไฟลามทุ่ง, แก้งูสวัด, แก้ลมพิษ, แก้ฟกบวม ๑. น้ำมูตร ๒. มูล ๓. เขา ๔. กระดูก ๘๓. ส่วนใดของปลาช่อนที่มีสรรพคุณ “ทำให้เกิดลมเบ่ง” ๑. ดี ๒. หาง ๓. เกล็ด ๔. ทั้งตัว ๘๔. ส่วนใดของปลาหมอที่มีสรรพคุณ แก้ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ ช่วยให้ผมดำ ๑. ดี ๒. หาง ๓. ทั้งตัว ๔. เกล็ด ๘๕. “ปลาพยูน” ส่วนใดที่มีสรรพคุณ แก้พิษไข้, พิษไข้ตัวร้อน-กระหายน้ำ ๑. ดี ๒. ทั้งตัว ๓. หาง ๔. เขี้ยว ๘๖. “กบ” ส่วนใดที่มีสรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย, ขัดยอก, เคล็ดกระดูก, แก้พิษกาฬ ๑. กระดูก ๒. น้ำมัน ๓. หัว ๔. มูล ๘๗. “ปูทะเล” ใช้ส่วนใดทำยาและมีสรรพคุณดับพิษกาฬ, แก้พิษอักเสบ, แก้ไข้ร้อนในกระหายน้ำ ๑. ทั้งตัว ๒. กระดอง ๓. ก้าม ๔. ขา ๘๘. ส่วนใดของเต่านาที่มีสรรพคุณแก้ตับทรุด, แก้ม้ามโต ๑. หัว ๒. กระดอง ๓. เนื้อ ๔. เล็บ ๘๙. ส่วนใดของแมงดาทะเลที่มีสรรพคุณ แก้โลหิตเป็นพิษ, แก้ซางเด็ก ๑. หาง ๒. ทั้งตัว ๓. กระดอง ๔. ถูกทุกข้อ ๙๐. ส่วนใดของม้าน้ำที่มีสรรพคุณแก้โรคไต, แก้ปวดหลัง, แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย, บำรุงกระดูก,บำรุงกำลัง ๑. หาง ๒. มูล ๓. กระดูก ๔. กระดอง ๙๑. “นกกาหรืออีกา” ใช้ส่วนใดทำยา แก้พิษกาฬ, ไข้กาฬ, แก้พิษตานทราง ๑. กระดูก ๒. ขน ๓. ทั้งตัว ๔. ถูกเฉพาะข้อ ๑, ๒ ๙๒. น้ำมันที่ได้จาก “นกกรด” มีสรรพคุณอย่างไร ๑. บำรุงความกำหนัด ๒. แก้โรคผิวหนังผื่นคัน-มะเร็ง ๓. บำรุงโลหิต ๔. แก้ปวดหลัง ๙๓. น้ำมันที่ได้จาก “นกออก” มีสรรพคุณอย่างไร ๑. แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ๒. แก้โรคมะเร็ง ๓. แก้ปวดเมื่อยร่างกาย ๔. แก้พิษไข้, พิษฝี ๙๔. “มูลนกพิราบ” มีสรรพคุณอย่างไร ๑. แก้ไข้ที่เกิดจากพิษตานซาง ๒. แก้ซางร้าย ๓. แก้ปวดท้อง ๔. ถูกทุกข้อ ๙๕. ส่วนใดของนกยูงที่มีสรรพคุณ แก้ซางลิ้นขาว เป็นฝ้าละออง แก้หละ แก้ซาง แก้หอบหืด ๑. ทั้งตัว ๒. หาง ๓. ขน ๔. ดี ๙๖. ข้อใดจัดเป็นธาตุที่สลายตัวง่ายทั้งหมด ๑. กำมะถันแดง, กำมะถันเหลือง, สารส้ม, ดีเกลือ ๒. สารส้ม, ดีเกลือ, จุนสี, นมผา ๓. พิมเสนเกร็ด, น้ำตาลกรวด, ดินขุยปู, หินอ่อนจีน ๔. ดินรังหมาร่า, ดินสอพอง, ดินถนำถ้ำ, ศิลายอน ๙๗. ข้อใดจัดเป็นธาตุที่สลายตัวยากทั้งหมด ๑. หินฟันม้า, แก้วแกลบ, ทองคำ, หรดานกลีบทอง ๒. ทองคำ, นมผา, ศิลายอน, ตะกั่วน้ำนม ๓. บัลลังก์ศิลา, ศิลายอน, หินปะการัง, จุนสี ๔. หรดานกลีบทอง, หินเขี้ยวมังกร, เหล็ก, กำมะถันเหลือง ๙๘. เภสัชวัตถุใดที่มีสรรพคุณ “แก้พิษไข้, พิษกาฬ, ดับพิษร้อน” ๑. หินฟันม้า ๒. หินปะการัง ๓. หินอ่อนจีน ๔. ถูกทุกข้อ ๙๙. ธาตุวัตถุใดที่มีสรรพคุณ แก้ซางเด็ก แก้หละละอองในปากเด็ก ๑. หรดาลกลีบทอง ๒. ศิลายอนตัวผู้ ๓. ทอง ๔. ศิลายอนตัวเมีย ๑๐๐. ธาตุวัตถุใดที่มีสรรพคุณ “แก้ฝีเส้น, ฝีเอ็น, ฝีคัณฑมาลา” ๑. ศิลายอนตัวผู้ ๒. ศิลายอนตัวเมีย ๓. ทองคำ ๔. แก้วแกลบ |
โรงเรียน สิริภัจจ์การแพทย์แผนไทย
|
โรงเรียน สิริภัจจ์การแพทย์แผนไทย
|
ข้อสอบ เภสัชกรรมไทย ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2553
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียวเท่านั้น 1. พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ประกาศใช้เมื่อใด 1. 16 พฤษภาคม 2542 2. 17 พฤษภาคม 2542 3. 18 พฤษภาคม 2542 4. 19 พฤษภาคม 2542 2.ข้อใดมิใช่ผู้แทนให้เป็นกรรมการการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติกำหนด 1. ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม 2. ผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย และกรมการแพทย์ 3. ผู้แทนแพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล 4. ผู้แทนจากคณะกรรมการวิชาชีพ และสภาเภสัชกรรม 3.การเลือกประธานและรองประธานคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ใช้อะไรเป็นที่กำหนด 1. ใช้ระเบียบที่กฎกระทรวงกำหนด 2. ใช้ระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด 3. ใช้ระเบียบที่ปลัดกระทรวงสาธารณะสุขกำหนด 4. ใช้ระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด 4.ข้อใดมิยกเว้นในการประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัตินี้ 1. การบำบัดโรคที่ทำกับตนเอง 2. ช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วยตามธรรมจรรยา 3. ผู้รับการฝึกหัดอบรมในความควบคุมของผู้ประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายกำหนด 4. บุคคลที่รับการถ่ายทอดความรู้จากครูผู้ประกอบโรคศิลปะแผนไทยตามกฎหมายกำหนด 5. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้าง คืนตรงตามข้อใด 1. ฉบับละ 2,000 บาท 2. ฉบับละ 1,000 บาท 3. ฉบับละ 500 บาท 4. ฉบับละ 250 บาท 6. นาย ไก่ มีความรู้เรื่องรักษาโรค โดยการเรียนรู้สืบทอดจากบรรพบุรุษ โดยอาศัยกรรมวิธีของการแพทย์แผนไทย นาย ไก่ ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ถ้า นาย ไก่ ไปตรวจรักษาผู้ป่วยแล้วเรียกร้องค่าตอบทน นาย ไก่ จะต้องได้รับโทษอย่างไร 1. อาจถูกจำคุกหรือปรับ 2. ถูกยึดทรัพย์เรียกค่าตอบแทนที่เคยได้รับ 3. ถูกว่ากล่าวตักเตือน 4. ถูกทุกข้อ 7.ข้อมิใช่อำนาจ และหน้าที่ของคณะกรรมการวิชาชีพ 1. ออกหนังสือรับรองความรู้ความชำนาญของผู้ประกอบโรคศิลปะ 2. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ 3. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด 4. พิจารณาหรือดำเนินการตามที่รัฐมนตรี หรือคณะกรรมการมอบหมาย 8. ผู้ประกอบโรคศิลปะผู้ใดฝ่าฝืน คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและศาลพิพากษาลงโทษคดีประกอบโรคศิลปะผิดสาขา คดีถึงที่สุดแล้ว ให้คณะกรรมการวิชาชีพสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตั้งแต่เมื่อไร 1. ตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด 2. ตั้งแต่วันที่ทราบว่ากระทำความผิด 3. ตั้งแต่วันที่สั่งพักใบอนุญาต 4. ตั้งแต่วันที่ยื่นเอกสารฟ้องศาล 9. การกล่าวหาผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิ์ทำคำชี้แจง หรือนำพยานหลักฐานมาแสดงต่อ คณะอนุกรรมการวิชาชีพผู้สอบสวนความผิดของตนได้ ภายในกำหนดระยะเวลากี่วัน 1. 7 วันนับแต่วันได้รับแจ้ง 2. 15 วันนับแต่วันได้รับแจ้ง 3. 20 วันนับแต่วันได้รับแจ้ง 4. 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้ง 10.ผู้ประกอบโรคศิลปะซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตอาจขอรับอนุญาตอีกได้ เมื่อพ้นกี่ปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ตรงตามข้อใด 1. 1 ปี 2. 2 ปี 3. 3 ปี 4. 4 ปี 11.ใบอนุญาตขายยามีอายุอย่างไร 1. 1 ปี 2. ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ได้รับอนุญาต 3. ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ 3 นับจากปีที่ได้รับอนุญาต 4. ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ 10 นับจากปีที่ได้รับอนุญาต 12. การโฆษณายาแบบใดที่ผู้อนุญาตมีอำนาจอนุมัติข้อความที่โฆษณาได้ 1. การโฆษณายาโดยการร้อง รำ ทำเพลง 2. การโฆษณาสรรพคุณยาอันตราย 3. การโฆษณายาแก้เบาหวานโดยตรงต่อผู้ประกอบโรคศิลปะ 4. การโฆษณาโดยให้ผู้ประกอบโรคศิลปะเป็นผู้รับรองสรรพคุณ 13.ผู้ขาย ยาแผนโบราณโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตจะได้รับโทษ อย่างไร 1. จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาท 2. จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3,000 บาท 3. จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท 4. จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท 14. นายรุ่ง ยาดี ยื่นคำขอรับใบอนุญาตผลิตยาแผนโบราณแล้ว แต่ผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาต มาขอรับคำแนะนำจากท่าน ท่านจะให้คำปรึกษาอย่างไร 1. ให้รีบใช้สิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการยาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการไม่ออกใบอนุญาต 2. ให้รีบใช้สิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการอาหารและยาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการไม่ออกใบอนุญาต 3. ให้รีบใช้สิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุขภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการไม่ออกใบอนุญาต 4. ให้รีบใช้สิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการไม่ออกใบอนุญาต 15. ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ข้อใดผิด 1. ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณต้องแสดงใบอนุญาตของตนไว้ ณ ที่เปิดเผยในร้าน ขายยา 2. ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณย้ายสถานที่ผลิตยาเว้นแต่จะได้รับอนุญาต 3. ถ้าใบอนุญาตขายยาแผนโบราณหาย ผู้รับอนุญาตต้องแจ้งต่อผู้อนุญาตและยื่นคำ ขอรับใบแทนใบอนุญาตภายใน 7 วัน 4.ผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณจะเลิกกิจการต้องแจ้งเลิกกิจการเป็นหนังสือให้ผู้อนุญาต 16.ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลใช้ได้จนถึงวันปีอะไร นับแต่วันอกใบอนุญาต และต้องชำระ ค่าต่ออายุใบอนุญาตเท่าใด 1.ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินปีที่สอง ค่าต่ออายุใบอนุญาต 200 บาท 2.ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินปีที่สอง ค่าต่ออายุใบอนุญาต 250 บาท 3.ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินปีที่สอง ค่าต่ออายุใบอนุญาตปีละ 200 บาท 4.ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินปีที่สอง ค่าต่ออายุใบอนุญาตปีละ 250 บาท 17. ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล โดยมิได้ให้มีผู้ดำเนินการเป็นผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบในการดำเนินการสถานพยาบาล ต้องระวางโทษอย่างไร 1.จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2.จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3.จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 4.จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 18. ผู้ใดดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 24 วรรคหนึ่ง มีโทษ ประการใด 1.จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2.จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3.จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 4. ปรับไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท 19. วันที่ 27 สิงหาคม 2544 นายสุชาติ ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ใบอนุญาตนี้จะหมดอายุเมื่อใด 1. 26 สิงหาคม 2545 2. 31 ธันวาคม 2545 3. 26 สิงหาคม 2553 4. 31 ธันวาคม 2553 20. กรรมการสถานพยาบาลผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิอื่นตามมาตรา 7 (2)มีจำนวนกี่คน 1. ไม่เกิน 3 คน 2. ไม่เกิน 4 คน 3. ไม่เกิน 2 คน 4. ไม่เกิน 5 คน 21.จากประวัติยาเบญจกูล ข้อใด กล่าวถูกต้อง (1) ฤาษีชื่อ “ปัพพะตัง” บริโภคผลดีปลี เชื่อว่า ระงับอชิณโรคและเมื่อยขบได้ (2) ฤาษีชื่อ “บุพเทวา” บริโภครากช้าพลู เชื่อว่า ระงับเสมหะและวาโยได้ (3) ฤาษีชื่อ “บุพพรต” บริโภครากเจตมูลเพลิง เชื่อว่า อาจระงับโรคอันบังเกิดแต่ ดี อาจทำให้หนาวเย็นได้ (4) ฤาษีชื่อ “มุรทาธร” บริโภคเหง้าขิง เชื่อว่า ระงับตรีโทษได้ 22. ยารสใดมีสรรพคุณ เผาโทษ, เผาเขฬะและเจริญไฟธาตุ 1. กะสาวะ 2. อัมพิระ 3. ติตติกะ 4. ละวะนะ 23.การเคลือบเม็ดยาด้วยน้ำตาล ของยารักษา “ริดสีดวงทวาร” ข้อใดเป็นประโยชน์ที่ได้จากการเคลือบเม็ดยาด้วยน้ำตาลที่ถูกต้องที่สุด 1. ทำให้ได้เม็ดยาสวยงาม น่ารับประทาน 2. ช่วยกลบกลิ่น สีและ รสของยา 3.ช่วยป้องกันการระคายเคืองกระเพาะอาหาร 4.ช่วยป้องกันการเสื่อมฤทธิ์ของตัวยา 24. ข้อใดไม่ใช่วัตถุส่วนประกอบสำคัญในการเคลือบเม็ดยาด้วยน้ำตาล 1.เชคแลค 2. ขี้ผึ้งเหลือง 3. กัมอาคาเซีย 4.แป้งทัลคัม 25.การปรุงยาตามวิธีแผนโบราณ มีวิธีที่ทำเป็นยาน้ำทั้งหมดกี่วิธี 1. 11 วิธี 2. 7 วิธี 3. 6 วิธี 4. 4 วิธี 26. ข้อใดผิด วิธีการทำให้ฤทธิ์ตัวยาอ่อนลง จนสามารถนำมาใช้ไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย (1) นายแดงสะตุมหาหิงคุ์ โดยนำมหาหิงคุ์มาใส่ในภาชนะ ใช้ใบกะเพราแดงใส่น้ำ ต้มจนเดือด เทน้ำกะเพราแดงต้มลงละลายมหาหิงคุ์ แล้วนำมากรองให้สะอาดจึงนำไปใช้ปรุงยา (2) นายดำสะตุรงทอง เอารงทองมาบดให้ละเอียด แล้วห่อด้วยใบบัวหรือใบข่า 7 ชั้น นำไปปิ้งไฟจนสุกกรอบดี จึงนำไปปรุงยา (3) นายเขียวสะตุเหล็ก เอาเหล็กมาครางด้วยตะไบ แล้วนำผงเหล็กที่ได้มาใส่ในฝาละมีหรือหม้อดิน บีบน้ำมะนาวลงไปให้ท่วมผงเหล็ก เอาขึ้นตั้งไฟให้แห้ง ทำให้ได้ 10–15 ครั้งจนผงเหล็กกรอบดีจึงนำไปปรุงยา (4) นายขาวสะตุน้ำประสานทอง เอาน้ำประสานทองใส่หม้อดิน ตั้งไฟจนละลายฟูขาวทั่วกันดี แล้วจึงนำไปปรุงยา 27. ข้อใดกล่าวถึงการฆ่าชะมดเช็ดที่ไม่ถูกต้อง 1. ใช้หัวหอม หรือผิวมะกรูดหั่นเป็นฝอยละเอียด 2. ใส่ชะมดเช็ดลงในใบช้าพลู หรือช้อนเงิน 3. นำไปลนไฟเทียน จนชะมดละลายดีแล้ว จึงกรองไปทำยา 4. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา 28. นำตัวยาที่จะประสะใส่ในถ้วย ใช้น้ำต้มเดือดๆ เทลงในถ้วย กวนให้ทั่วจนน้ำเย็น รินน้ำทิ้ง แล้วเทน้ำเดือดลงในยาอีก ทำอย่างนี้ประมาณ 7 ครั้งจนตัวยาสุกแล้วจึงนำไปใช้ทำยา ตัวยาที่กล่าวมานี้คืออะไร 1. ยางสสลัดได 2. ยางตาตุ่ม 3. ยางหัวเข้าค่า 4. ถูกทุกข้อ 29.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับน้ำกระสายยา 1. น้ำรากบัวต้ม เป็นน้ำกระสายยาแก้ ไข้ระส่ำระสาย 2. น้ำซาวข้าว เป็นน้ำกระสายยาแก้ สวิงสวาย 3. น้ำมูตร เป็นน้ำกระสายยาแก้ไข้เพ้อคลั่ง 4. น้ำต้มลูกผักชีลา เป็นน้ำกระสายยาแก้เบื่ออาหาร 30. ตัวยาในข้อใดที่มีสรรพคุณ บำรุงประสาท แก้กระสับกระส่าย แก้นอนไม่หลับ 1. เมล็ดลำโพง 2. เมล็ดสลอด 3. เมล็ดสบู่แดง 4.ยางฝิ่น 31. ข้อใดจัดเป็นยาที่มีฤทธิ์ เป็นยาถ่ายทั้งหมด 1. เมล็ดสลอด, ลูกแสลงใจ 2. ยางตาตุ่ม, ยางสลัดใด 3. เมล็ดสบู่แดง, เมล็ดลำโพง 4. ยางเทพทาโร, ยางฝิ่น 32. “การใช้ลูกยอหมกไฟ ต้มเอาน้ำเป็นกระสาย แก้อาเจียน” หากไม่มีลูกยอจะใช้ยาอะไรแทนได้ 1. เปลือกมะเดื่อชุมพรต้ม 2. ลูกผักชี และเทียนดำ 3. น้ำต้มว่านหอยแครง 4. น้ำต้มเปลือกฝักมะรุม 33. “เครื่องยา” ในความหมายทางแพทย์แผนไทย หมายถึงอะไร 1.อุปกรณ์ที่ทำให้ยาละเอียด 2.ตัวยาหรือสมุนไพรที่ใช้ประกอบตำหรับยา 3.น้ำกระสายยา 4.ไม่มีข้อใดถูกต้อง 34.น้ำหนัก 1 ชั่ง 1 ตำลึง 1 บาท 1 สลึง หนักเท่าไร 1. 1278.750 กรัม 2. 1238.750 กรัม 3. 1258.750 กรัม 4. 1257.750 กรัม 35. ถ้าผู้ป่วยของท่านเป็นโรคหัวใจพิการ ท่านควรแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงสมุนไพร ในข้อใด 1. ใบลำโพง, เถาบอระเพ็ด 2. เมล็ดงา, หัวกระชาย 3. เหง้าสับปะรด, ดอกคำไทย 4. เถาตำลึง, หญ้าฝรั่น 36.ข้อใดเป็นสมุนไพรรสเค็มทั้งหมด 1. เปลือกต้นลำพู, ลูกมะอึก, รากไทรย้อย 2. เปลือกต้นมะเกลือ, ดินประสิว, โคกกระสุน 3. ใบกระชาย, ใบหอมแดง, กฤษณา 4. เกลือ, เนาวหอย, ใบโทงเทง 37. จากประวัติยาเบญจกูล ข้อใด กล่าวถูกต้อง (1) ฤาษีชื่อ “ปัพพะตัง” บริโภคผลดีปลี เชื่อว่า ระงับอชิณโรคและเมื่อยขบได้ (2) ฤาษีชื่อ “บุพเทวา” บริโภครากช้าพลู เชื่อว่า ระงับเสมหะและวาโยได้ (3) ฤาษีชื่อ “บุพพรต” บริโภครากเจตมูลเพลิง เชื่อว่า อาจระงับโรคอันบังเกิดแต่ดี อาจทำให้หนาวเย็นได้ (4) ฤาษีชื่อ “มุรทาธร” บริโภคเหง้าขิง เชื่อว่า ระงับตรีโทษได้ 38. ด.ช.ดำ สดใส ป่วยเป็นโรคเพื่อเสมหะ ควรใช้ยารสใดรักษา 1. เปรี้ยว, ฝาด, ขม 2. หวาน, เปรี้ยว, ขม 3. ขม, ร้อน, เค็ม, หอม, ฝาด 4. ฝาด, หวาน, เปรี้ยว 39. ข้อใด คือความหมายของ “ทวัตติงสาการ” (1) อาการ 32 ของร่างกาย มีศีรษะเป็นต้น มีเท้าเป็นที่สุด (2) อาการ 32 ของร่างกาย มีสมองเป็นต้น มีหัวใจเป็นที่สุด (3) อาการ 32 ของร่างกาย มีผมเป็นต้น มีมันสมองเป็นที่สุด (4) อาการ 108 ของร่างกาย มีสมองเป็นต้น มีหัวใจเป็นที่สุด 40 ข้อใดเป็นจุลพิกัดที่ต่างกันที่ขนาดทั้งหมด 1. ส้มกุ้งทั้ง ๒, กระดูกไก่ทั้ง ๒, เกลือทั้ง ๒, กระท้อนทั้ง ๒ 2. ตับเต่าทั้ง ๒, หัวกระดาดทั้ง ๒, มะปรางทั้ง ๒, ผักปอดทั้ง ๒ 3. ข่าทั้ง ๒, กระพังโหมทั้ง ๒, เปล้าทั้ง ๒, เร่วทั้ง ๒ 4. ศิลายอนทั้ง ๒, หมากทั้ง ๒, มะยมทั้ง ๒, ข้าวเย็นทั้ง ๒ 41. หลักในการพิจารณาตัวยา 5 ประการ มีอะไรบ้าง (1) รูป แสง สี กลิ่น รส (2) สี รูป แสง ชื่อ กลิ่น แหล่งกำเนิด (3) รูป สี พิษ กลิ่น เชื้อโรค (4) รูป สี กลิ่น รส ชื่อ 42. “การใช้ลูกยอหมกไฟ ต้มเอาน้ำเป็นกระสาย แก้อาเจียน”หากไม่มีลูกยอจะใช้ยาอะไรแทนได้ 1. เปลือกมะเดื่อชุมพรต้ม 2. ลูกผักชี และเทียนดำ 3. น้ำต้มว่านหอยแครง 4. น้ำต้มเปลือกฝักมะรุม 43. หลักพิจารณาตัวยา 5 ประการ มีข้อดีอย่างไร (1) ทำให้สามารถแยกแยะตัวยาที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ได้ชัดเจนมากขึ้น (2) เป็นหลักการพื้นฐานที่ควรจะต้องพิจารณาทุกครั้ง เมื่อมีการใช้ตัวยาต่างๆ เพื่อความปลอดภัย (3) สามารถใช้พิจารณาได้ทั้ง พืชวัตถุ ธาตุวัตถุ สัตว์วัตถุ (4) ถูกต้องทุกข้อ 44. ข้อใดกล่าวผิด (1) การรู้ว่าสิ่งนั้น คือ กะทือ กะทกรก กระบือ กะลา เรียกว่า รู้จัก “รูป”ของตัวยา (2) การที่สามารถแยกได้ว่า ยาดำมีสีดำ จุนสีมีสีเขียว กำมะถันมีสีเหลือง เรียกว่า รู้จัก “สี”ของตัวยา (3) การที่สามารถแยกได้ว่า อบเชย กฤษณา มีกลิ่นหอม มหาหิงคุ์ กระดูกสัตว์ มีกลิ่นเหม็น เรียกว่า รู้จัก “กลิ่น” ของตัวยา (4) การรู้จักแยกชนิดของ รสจืด รสเค็ม รสหวาน ฯลฯ เรียกว่า รู้จัก “รส” ของตัวยา 45.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพิกัดตรี 1. เหง้าขิงแห้ง, เมล็ดพริกไทย, ดอกดีปลี 2. ลูกกระวาน, รากอบเชยเทศ, รากพิมเสนต้น 3. รากมะตูม, เทียนขาว, น้ำตาลกรวด 4. รากว่านหางจระเข้, ฝักราชพฤกษ์, รงทอง 46. พิกัดตรีโลหิตะพละ คือข้อใด 1. ผลดีปลี, รากกะเพรา, รากพริกไทย 2. สมุลแว้ง, เนื้อไม้, เทพทาโร 3. ดอกจันทน์, กระวาน, อบเชย 4.ลูกเร่วใหญ่, ลูกจันทน์เทศ, ดอกกานพลู 47. ดอกต้นกาหลง มีรสและสรรพคุณอย่างไร ๑. รสจืด สรรพคุณ ขับปัสสาวะ, แก้ปัสสาวะพิการ ๒. รสจืด สรรพคุณ แก้ปวดศีรษะ, ลดความดันโลหิตสูง ๓. รสจืด สรรพคุณ แก้พิษฝี พิษสัตว์กัดต่อย ๔. รสจืด สรรพคุณ แก้ริดสีดวงทวาร 48. หญิงหลังคลอดบุตรได้ 1 สัปดาห์ มาด้วยอาการ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้สูง ชีพจรเต้นเร็ว ปวดหลัง ปวด ศีรษะ และรู้สึกว่ามดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้นไม่ลดลงต่ำ กดเจ็บ จากอาการดังกล่าวควรใช้สมุนไพรใดในการรักษา มีรสอะไร และมีสรรพคุณอย่างไร (1) กระบือเจ็ดตัว รสร้อน สรรพคุณ ขับน้ำคาวปลา แก้สันนิบาตหน้าเพลิง ขับเลือดหลังการคลอดบุตร (2) กานพลู รสร้อน สรรพคุณ แก้ปวดท้อง ขับน้ำคาวปลา แก้สันนิบาตหน้าเพลิง ขับเลือดหลังการคลอดบุตร (3) แก้ว รสร้อนเผ็ดขมสุขุม สรรพคุณ ขับน้ำคาวปลา แก้สันนิบาตหน้าเพลิง ขับโลหิตระดูสตรี บำรุงธาตุ (4) กำลังวัวเถลิง รสร้อนขม สรรพคุณ บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต ขับน้ำคาวปลา 49.สมุนไพรใด เมื่อรับประทานมาก ทำให้เป็นพิษ กล้ามเนื้อกระตุก ชัก และขากรรไกรแข็ง (1) ขันทองพยาบาท (2) โกฐกะกลิ้ง (3) หนาวเดือนห้า (4) จันทน์เทศ 50. ข้อใดไม่จัดอยู่ในบัวทั้ง ๕ 1. บัวสัตตบงกชแดง 2. บัวลินจง 3. บัวนิลอุบล 4. บัวจงกลนี 51. ผู้ป่วยชายไทยคู่ มาด้วยอาการถ่ายอุจจาระเหลว มีเนื้ออุจจาระปน ถ่ายประมาณ 2 – 3 ครั้ง และมีอาการปวดท้อง ปวดเบ่งที่ทวารหนัก ไม่มีไข้ ต่อมา 1- 2 ชั่วโมง ถ่ายเป็นมูกเลือดแดง ๆ ปนอุจจาระ จากการซักประวัติทำให้ทราบว่า 1สัปดาห์ก่อน ผู้ป่วยได้รับประทานพล่ากุ้งสด อยากทราบว่าจะใช้สมุนไพรใดในการรักษา เพราะอะไรจึงเลือกสมุนไพรดังกล่าว (1) สะเดา เทพธาโร เนื่องจากมีรสฝาดและรสร้อนทำให้สามารถฆ่าเชื้อได้ (2) ราชดัด ราชพฤกษ์ เนื่องจากมีรสขมฝาด และรสฝาดเมา ทำให้สามารถฆ่าเชื้อได้ (3) สีเสียด ราชพฤกษ์ เนื่องจากมีรสฝาด และรสฝาดเมา ทำให้สามารถฆ่าเชื้อได้ (4) ใบทับทิม สีเสียด เนื่องจากมีรสฝาด ทำให้สามารถฆ่าเชื้อได้ 52. รากจำปาทอง จัดอยู่ในพิกัดใด 1. เบญจโลหะ 2. สัตตะโลหะ 3. เนาวโลหะ 4. ทศโลหะ 53.สมุนไพรใด หากรับประทานเข้าไปแล้วทำให้มีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ (1) เมล็ดละหุ่ง เป็นยาอันตราย รับประทาน 2- 3 เมล็ด ทำให้เสียชีวิตได้ (2) เมล็ดลำโพง เป็นยาอันตราย รับประทาน 2- 3 เมล็ด ทำให้เสียชีวิตได้ (3) สารพัดพิษ เป็นยาอันตราย รับประทาน 2- 3 เมล็ด ทำให้เสียชีวิตได้ (4) ขี้กาแดง เป็นยาอันตราย รับประทาน 2- 3 เมล็ด ทำให้เสียชีวิตได้ 54.หญิงไทยคู่มาด้วยอาการ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ตัวเหลืองดังขมิ้นทา ตาเหลือง และปัสสาวะก็มีสีเหลืองเข้ม จากอาการดังกล่าว ควรเลือกใช้สมุนไพรใดในการรักษา (1) กะเม็ง ว่านสากเหล็ก หญ้าแพรก (2) หญ้าคา กรุงเขมา ว่านสากเหล็ก (3) กรุงเขมา กะเม็ง หญ้าคา (4) กะเม็ง หญ้าคา ว่านสากเหล็ก 55. สมุนไพรใดมีสรรพคุณเหมือนกับหญ้าไซ (1) ว่านชักมดลูก ว่านมหาเมฆ (2) ว่านนางคำ ว่านร่อนทอง (3) ว่านน้ำ ว่านสากเหล็ก (4) ว่านงาช้าง ว่านกลีบแรด 56. ข้อใดถูกต้องที่สุด (1) ว่านมหากาฬ รสเย็นปร่า สรรพคุณ แก้ไอ แก้ช้ำในเนื่องจากพลัดตกหกล้ม (2) ว่านหอยแครง / รสเย็น สรรพคุณ แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ช้ำในเนื่องจากพลัดตกหกล้ม (3) ว่านกลีบแรด รสเย็นจืด สรรพคุณ แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ช้ำในเนื่องจากพลัดตกหกล้ม (4) ว่านหางช้าง รสเมาเย็น สรรพคุณ แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ช้ำในเนื่องจากพลัดตกหกล้ม 57. เห็ดขี้วัวกับเห็ดขี้ควาย มีรสอะไร และมีสรรพคุณเหมือนกันอย่างไร (1) รสเย็นหวาน สรรพคุณ บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย แก้ช้ำใน (2) รสเย็น สรรพคุณ บำรุงร่างกาย แก้ช้ำใน (3) รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ดับความร้อน แก้กระสับกระส่าย (4) รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้ลมกองละเอียด แก้นอนไม่หลับ แก้พิษไข้ร้อนกระสับกระส่าย 58. ชายไทยคู่อายุ 60 ปี มาด้วยอาการปวดแสบ ปวดร้อน และมีตุ่มน้ำใส ๆ บริเวณริมฝีปาก เป็นมา 3 วัน จากอาการดังกล่าว อยากทราบว่าสามารถใช้สมุนไพรตัวใดในการรักษา และมีสรรพคุณอะไร (1) เห็ดจาวมะพร้าว สรรพคุณ แก้แผลพุพอง แผลฝี (2) เห็ดหญ้าคา สรรพคุณ แก้พิษแผลอักเสบ ปวดแสบ ปวดร้อน (3) เห็ดหญ้าแพรก สรรพคุณ แก้พิษโลหิต แก้แผลพุพอง (4)เห็ดกระถินพิมาน สรรพคุณ แก้เริม งูสวัด ไฟลามทุ่ง แก้พิษฝีอักเสบ แก้พิษกาฬ 59. ข้อใดไม่จัดอยู่ในพิกัดทศกุลาผล 1. ลูกผักชีทั้ง ๒ 2. อบเชยทั้ง ๒ 3. กระวานทั้ง ๒ 4.ลำพันทั้ง ๒ 60.ในเหมันตฤดู ถ้าจะแก้เสมหะสมุฏฐานจะต้องใช้ยาอะไร 1. ลูกมะขามป้อม ๑๒ ส่วน, ลูกสมอพิเภก ๘ ส่วน, ลูกสมอไทย ๔ ส่วน 2. ผลดีปลี ๑๒ ส่วน, เหง้าขิงแห้ง ๘ ส่วน, เมล็ดพริกไทย ๔ ส่วน 3. รากช้าพลู ๑๒ ส่วน, รากเจตมูลเพลิง ๘ ส่วน, เถาสะค้าน ๔ ส่วน 4. เถาสะค้าน ๑๒ ส่วน, รากช้าพลู ๘ ส่วน, รากเจตมูลเพลิง ๔ ส่วน 61.ตัวยาในพิกัดใดที่ใช้แก้ “ธาตุที่สำแดงให้รู้ดุจผีสิง ให้ระส่ำระสายในกองธาตุทั้ง ๔ ทำให้ อุจจาระมีกลิ่นต่าง ๆ ตามที่ธาตุพิการ” ๑. อภิญญาณเบญจกูล ๒. ทศเบญจกูล ๓. ทศเบญจขันธ์ ๔. โสฬสเบญจกูล 62.ทศเบญจขันธ์ ที่แก้กองเตโชธาตุ มีตัวยาและส่วนอย่างไร 1. ดอกดีปลี ๕ ส่วน, รากช้าพลู ๔ ส่วน, เถาสะค้าน ๓ ส่วน, รากเจตมูลเพลิง ๒ ส่วน, เหง้าขิงแห้ง ๑ ส่วน 2. รากช้าพลู ๕ ส่วน, เถาสะค้าน ๔ ส่วน, รากเจตมูลเพลิง ๓ ส่วน, เหง้าขิงแห้ง ๒ ส่วน, ดอกดีปลี ๑ ส่วน 3. ดอกดีปลี ๑ ส่วน, รากเจตมูลเพลิง ๕ ส่วน, เถาสะค้าน ๔ ส่วน, รากช้าพลู ๓ ส่วน, เหง้าขิงแห้ง ๒ ส่วน 4. ดอกดีปลี ๒ ส่วน, รากเจตมูลเพลิง ๑ ส่วน, เถาสะค้าน ๕ ส่วน, รากช้าพลู ๔ ส่วน, เหง้าขิงแห้ง ๓ ส่วน 63. “ละหุ่งทั้ง ๒” เป็นจุลพิกัดต่างกันที่อะไร ๑. ต่างกันที่สี ๒. ต่างกันที่รส ๓. ต่างกันที่ขนาด ๔. ต่างกันที่ชนิด 64.สัตว์อากาศวัตถุในข้อใดใช้ปรุงยาไม่ถูกต้อง A. มูลนกพิราบคั่ว ใช้แก้ซาง หละ ละอองในปาก B. ค้างคาวแม่ไก่ ใช้ทั้งตัว บำรุงโลหิต แก้ผอมแห้ง บำรุงกำลัง C. อีกา ใช้กระดูกแก้ไข้พิษ ไข้กาฬ 1. A 2. A และ B 3. A และ C 4. B และ C 65.ชุมเห็ดไทยใช้ส่วนใดในการรักษาอาการขัดเบา A. ดอกตูม B. ใบอ่อน C. เมล็ดแห้งคั่ว 1. A 2. B 3. C 4. A และ B 66.ข้อใดถูกต้อง A. ใบและเถาผักบุ้งทะเลใช้ต้มอาบแก้คันตามผิวหนัง B. หากรับประทานยางผักบุ้งทะเล จะมีอาการเมา คลื่นไส้วิงเวียน C. หากสัมผัสยางผักบุ้งทะเล จะทำให้มีอาการคันตามผิวหนัง 1. A 2. A และ B 3. A และ C 4. B และ C 67.ข้อใดผิด A.ใช้ผลสุก สีดำของมะเกลือ เป็นยาถ่ายพยาธิ B.ใช้ผลมะเกลือเท่ากับอายุของคนไข้ แต่ไม่เกิน 25 ผล รักษาโรคพยาธิต่างๆ C.ยางลูกมะเกลือ ใช้ย้อมผ้าให้เป็นสีดำ 1. A 2. B 3. C 4. A และ B 68. ข้อใดถูกต้อง A. ปวกหาดได้จากการเอาแก่นมะหาดมาต้มเคี่ยวแล้ว ตักฟองทิ้งนำน้ำที่เคี่ยวได้ตั้งทิ้งไว้จนแห้งจะได้เป็นก้อนสีเหลือง B. หากรับประทานผงปวกหาดกับน้ำร้อน จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน C. ปวกหาดใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด 1. A 2. A และ B 3. A และ C 4. B และ C 69.สมุนไพรมีพิษชนิดใดมีฤทธิ์ต่างจากพวก 1. ยางตาตุ่ม 2. ยางรักดำ 3. ยางเทพทาโร 4. ยางหัวเข้าค่า 70.ข้อใดผิด A. สารหนู รับประทานมาก ทำให้ฟันโยกหลุด B. ปรอท รับประทานมาก ทำให้เปื่อยพุพอง C. จุนสี รับประทานมาก กัดทำลายกระเพาะอาหารและลำไส้ 1. A 2. A และ B 3. A และ C 4. B และ C 71.สมุนไพรใดที่มีสรรพคุณ สมานได้ทั้งภายในและภายนอก ชะล้างระดูขาว แก้บาดแผล ทำให้หนองแห้ง แก้แผลในปากในคอ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว 1.น้ำตาลกรวด 2. น้ำตาลทราย 3.สารส้ม 4. เกลือ 72.ข้อใดกล่าวถูกต้อง 1. สลายตัวง่าย คือ เกลือ หินฟันม้า สลายตัวยาก คือกำมะถัน ดินขุยปู 2. สลายตัวง่าย คือ ดินสอพอง ดินรังหมาร่า สลายตัวยาก คือ หินปะการัง ทองคำ 3. สลายตัวง่าย คือ ดินถนำถ้ำ ดีเกลือ สลายตัวยาก คือ น้ำตาลกรวด เหล็ก 4. สลายตัวง่าย คือ ศิลายอนตัวผู้ ศิลายอนตัวเมีย สลายตัวยาก คือ ตะกั่วนม ตะกั่วแข็ง 73. ข้อใดไม่ใช่สมุนไพรสาธารณสุขมูลฐาน 1. กระเจี๊ยบ เพกา ฟ้าทะลายโจร อัญชัน 2. ขิง เทียนบ้าน น้อยหน่า มะคำดีควาย 3. กระทือ ดีปลี ตะไคร้ สับปะรด 4. มะรุม ว่านกาบหอย ลั่นทม สัก 74. สมุนไพรใดเป็นพืชเศรษฐกิจ ก. กระเจี๊ยบแดง จันทนา บอระเพ็ด ข. กระชาย เจตมูลเพลิงขาว ลิ้นงูเห่า ค. กระไดลิง เจตมูลเพลิงแดง เถาปล้อง ง. ถูกทุกข้อ 75.ข้อใดไม่ใช่ความหมายของคำว่า ประสะ 1. .การทำความสะอาดตัวยา 2. ตัวยานั้นมีปริมาณเท่าเครื่องยาทั้งหลาย เช่น ยาประสะกะเพรา 3. ใช้ในชื่อของยาที่กระทำให้บริสุทธิ์ เช่น ยาประสะน้ำนม 4. การฆ่าฤทธิ์ให้หมดไป 76.ข้อใดไม่ใช่วิธีการฆ่าสลอด 1. เอาลูกสลอดห่อรวมกับข้าวเปลือก ใส่เกลือพอควร นำลงไปใส่หม้อดินต้ม จนข้าวเปลือกแตกบานทั่วกัน เอาลูกสลอดมาล้างให้สะอาด ตากให้แห้ง จึงนำไปปรุงยา 2. ปอกเปลือกลูกสลอดออกให้หมด ล้างให้สะอาด ห่อผ้าใส่ในหม้อหุงกับข้าว กวนจนข้าวแห้ง ทำให้ได้ 3 ครั้ง แล้วเอาลูกสลอดมาคั่วด้วยน้ำปลาอย่างดีให้เกรียม นำไปห่อผ้าทับเอาน้ำมันออก จึงนำมาใช้ปรุงยาได้ 3. เอาลูกสลอดแช่น้ำปลาร้าปากไหไว้ 1 คืน แล้วเอายัดใส่ในผลมะกรูด ใส่หม้อดินปิดฝา สุมด้วยไฟแกลบ เมื่อสุกดีแล้วจึงนำไปใช้ปรุงยาพร้อมทั้งผลมะกรูด 4. เอาลูกสลอดมาบดให้ละเอียด ใส่ในฝาละมีหรือหม้อดิน บีบมะนาวหรือมะกรูดลงไปให้ท่วมยา ตั้งไฟจนแห้ง ทำให้ได้ 7-8 ครั้ง จนลูกสลอดกรอบดีแล้วจึงนำมาใช้ทำยาได้ 77.ข้อใดไม่ใช่สมุนไพรที่มีพิษทั้งหมด 1. ยางสลัดได ลูกแสลงใจ ปรอท 2. เมล็ดลำโพง ยางเทพทาโร จุนสี 3. ปรอท คูน ถั่วพู 4. เมล็ดสลอด ยางรักดำ กัญชา 78. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับยามหานิลแท่งทอง 1. ประกอบด้วย เนื้อเม็ดสะบ้ามอญสุม, หวายตะคล้าสุม, เม็ดมะกอกสุม 2. ประกอบด้วย ใบพิมเสน, ใบกะเพรา, ใบสันพร้าหอม 3. ประกอบด้วย หมึกหอม, เบี้ยจั่นคั่ว 3 เบี้ย, ถ่านไม้สัก 4. ประกอบด้วย แก่นจันทน์เทศ แก่นจันทน์แดง ลูกมะคำดีควายสุม 79.ข้อใดจัดกลุ่มยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณได้ไม่ถูกต้อง 1.ยากลุ่มแก้ไข้ ได้แก่ ยาจันทลีลา,ยาตรีหอม,ยาเขียวหอม,ยาประสะเปราะใหญ่ 2. ยากลุ่มแก้ไอ ขับเสมหะ ได้แก่ ยาอัมฤควาที ,ยาประสะมะแว้ง 3. ยากลุ่มแก้ลม บำรุงหัวใจ ได้แก่ ยาหอมอินทจักร,ยาหอมเทพวิจิตร,ยาหอมทิพโอสถ 4.ยากลุ่มขับน้ำคาวปลา ได้แก่ ยาประสะไพล,ยาไฟประลัยกัลป์,ยาไฟห้ากอง 80. ตัวยาในข้อใดที่มีน้ำหนัก 20 ส่วน ประกอบอยู่ในยาประสะกะเพรา 1.มหาหิงค์ 2.ชะเอมเทศ 3. ผิวมะกรูด 4.ยาดำ 81. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับน้ำกระสายยา 1. น้ำต้มใบกะเพรา เป็นน้ำกระสายยาแก้ท้องขึ้น 2. น้ำต้มรากผักชีลาว เป็นน้ำกระสายยาช่วยกระทุ้งพิษไข้ 3. รากกะเพราฝนกับน้ำดอกไม้เทศ เป็นน้ำกระสายยาแก้ชีพจร 4. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง 82.มิชชันนารีชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเผยแพร่เทคนิคการแพทย์แผนตะวันตกในสมัยอยุธยาคือใคร 1. หมอบลัดเลย์ 2. เซวาริเอ เดอ ฟอแบง 3. นายแพทย์แดน บี บลัดเลย์ 4. ถูกข้อ 1, 3 83. “กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย” ถูกตราขึ้นในสมัยใด 1. รัชกาลที่ ๑ 2. รัชกาลที่ ๒ 3. รัชกาลที่ ๕ 4. รัชกาลที่ ๗ 84.ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ที่มีเนื้อหากล่าวถึงการแพทย์ตะวันตกเกือบทั้งสิ้น มีจำนวนกี่เล่ม 1. ๒ เล่ม 2. ๓ เล่ม 3. ๔ เล่ม 4. ๕ เล่ม 85. “ตำราหลวง ๕ เล่ม” ประกอบด้วยตำราอะไรบ้างซึ่งใช้เป็นตำราอ้างอิงทางการแพทย์มาถึง ปัจจุบัน 1. เวชศึกษา ๓ เล่ม และแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (พ.ศ.๒๔๔๗) ๒ เล่ม 2. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (พ.ศ.๒๔๕๐) ๒ เล่ม, แพทย์ศาสตร์สังเขป ๓ เล่ม 3. ตำราเวชศาสตร์วรรณา ๒ เล่ม, แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (พ.ศ.๒๔๓๘) ๓ เล่ม 4. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (พ.ศ.๒๔๓๘) ๓ เล่ม, แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (พ.ศ.๒๔๕๐) ๒ เล่ม 85.ข้อใดเป็นพืชจำพวกต้นทั้งหมด 1. กรรณิกา, กฤษณา, กรันเกรา, กรด 2. กรัก, กัลปพฤกษ์, กัลปังหา, กำจาย 3. กระทิง, กระแบก, กะโบลิง, แกแล 4. กะโบลิง, กระพังอาด, กระแจะ, กระโดน 86. ข้อใดเป็นพืชจำพวก เถา-เครือ ทั้งหมด 1. กระดอม, กระทกรก, กระทุงลาย, กราย 2.กระทุงหมาบ้า, กระพังโหม, กระเพียด, กวาวเครือขาว 3. กรุงเขมา, กำแพงเจ็ดชั้น, ขจร, กระพี้เขาควาย 4. ข้าวสาร, ขี้กาแดง, คนทีสอ, ตะไคร้ต้น 87.“หนุมานประสานกาย” ใบรสฝาดเย็นเอียน แก้ไอ แก้หืดหอบ แก้อาเจียนเป็นโลหิต ห้ามเลือดและสมานบาดแผลได้ดี จัดเป็นพืชจำพวกใด 1. ต้น 2. เถา-เครือ 3. หัว-เหง้า 4. หญ้า 88.“โลดทะนง” ราก รสเย็นเมาร้อน สรรพคุณ ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้พิษงู, ถอนพิษเสมหะ, แก้หอบหืด, แก้วัณโรค, เกลื่อนหัวฝีทำให้ยุบ ดูดหนองและแก้พิษงู จัดเป็นพืชจำพวกใด 1. ต้น 2. หัว-เหง้า 3. เถา-เครือ 4. หญ้า 89. “วัวดำ” ส่วนใดของร่างกายที่มีสรรพคุณ ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ทั้งปวง แก้ไฟลามทุ่ง, แก้งูสวัด, แก้ลมพิษ, แก้ฟกบวม 1. น้ำมูตร 2. มูล 3. เขา 4. กระดูก 90. “ปูทะเล” ใช้ส่วนใดทำยาและมีสรรพคุณดับพิษกาฬ, แก้พิษอักเสบ, แก้ไข้ร้อนในกระหายน้ำ ๑. ทั้งตัว ๒. กระดอง ๓. ก้าม ๔. ขา 91.ข้อใดจัดเป็นธาตุที่สลายตัวง่ายทั้งหมด 1. กำมะถันแดง, กำมะถันเหลือง, สารส้ม, ดีเกลือ 2. สารส้ม, ดีเกลือ, จุนสี, นมผา 3. พิมเสนเกร็ด, น้ำตาลกรวด, ดินขุยปู, หินอ่อนจีน 4. ดินรังหมาร่า, ดินสอพอง, ดินถนำถ้ำ, ศิลายอน 92.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรสยาแก้ตามกาล 1. เวลา ๑๘.๐๐ – ๒๒.๐๐ น. มักเกิดโรคเพื่อเสมหะ ใช้น้ำกระสายยารสขม 2. เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. มักเกิดโรคเพื่อลม ใช้น้ำกระสายยารสร้อน 3. เวลา ๐๖.๐๐ – ๑๐.๐๐ น. มักเกิดโรคเพื่อโลหิตและดี ใช้น้ำกระสายยารสเปรี้ยว 4. เวลา ๒๒.๐๐ – ๐๒.๐๐ น. มักเกิดโรคเพื่อเสมหะ ใช้น้ำกระสายยารสเปรี้ยว 93.เจ็บคอ, ฝีในลำคอ ควรเลือกใช้สมุนไพรใด 1. ใบส้มป่อย 2. ใบโทงเทง 3. ใบมะยม 4. ใบมะขาม 94.ข้อใดเป็นสมุนไพรรสเค็มทั้งหมด 1. เปลือกต้นลำพู, ลูกมะอึก, รากไทรย้อย 2. เปลือกต้นมะเกลือ, ดินประสิว, โคกกระสุน 3. ใบกระชาย, ใบหอมแดง, กฤษณา 4. เกลือ, เนาวหอย, ใบโทงเทง 95.พิกัดตรีโลหิตะพละ คือข้อใด 1. ผลดีปลี, รากกะเพราะ, รากพริกไทย 2. สมุลแว้ง, เนื้อไม้, เทพทาโร 3. ดอกจันทน์, กระวาน, อบเชย 4. ลูกเร่วใหญ่, ลูกจันทน์เทศ, ดอกกานพลู 96.โกฐชฎามังสี มีรสและสรรพคุณอย่างไร 1. รสฝาด สรรพคุณ แก้บิดมูกเลือด, แก้โรคอุจจาระธาตุพิการ, สมานบาดแผล 2. รสฝาดเมา สรรพคุณ ฆ่าพยาธิ, แก้ไส้ด้วน, แก้ไส้ลาม, ขับโลหิต 3. แก้ไข้, แก้หอบ, แก้เสมหะ 4. แก้โรคในปากคอ, แก้หอบ, แก้ลมในกองธาตุ 97.ตัวยาใดมีสรรพคุณ “แก้ลมครรภ์รักษา” 1. เทียนเกล็ดหอย 2. เทียนสัตตบุษย์ 3. เทียนข้าวเปลือก 4. เทียนตาตั๊กแตน 98.ตัวยาใดมีสรรพคุณ “แก้ลมในกองริดสีดวง” 1. โกฐสอ 2. โกศเขมา 3. โกฐหัวบัว 4. โกฐเชียง 99. “ปถวีธาตุหย่อน” ควรใช้ตัวยาสูตรใด 1. เมล็ดพริกไทย ๑ ส่วน, เหง้าขิงแห้ง ๒ ส่วน, รากเจตมูลเพลิง ๓ ส่วน เถาสะค้าน ๔ ส่วน, ดอกดีปลี ๘ ส่วน, รากช้าพลู ๑๖ ส่วน, ตรีผลา ๑/๒ ส่วนระคน 2. รากเจตมูลเพลิง ๑ ส่วน, เหง้าขิงแห้ง ๒ ส่วน, เมล็ดพริกไทย ๓ ส่วน, เถาสะค้าน ๑๖ ส่วน, รากช้าพลู ๘ ส่วน, ดอกดีปลี ๔ ส่วน 3. เหง้าขิงแห้ง ๑ ส่วน, รากเจตมูลเพลิง ๒ ส่วน, เมล็ดพริกไทย ๓ ส่วน, รากช้าพลู ๔ ส่วน, เถาสะค้าน ๘ ส่วน, ดอกดีปลี ๑๖ ส่วน, ตรีผลา ๑/๒ ส่วนระคน 4. รากเจตมูลเพลิง ๑ ส่วน, เหง้าขิงแห้ง ๒ ส่วน, เมล็ดพริกไทย ๓ ส่วน, รากช้าพลู ๔ ส่วน, เถาสะค้าน ๘ ส่วน, ดอกดีปลี ๑๖ ส่วน, ตรีผลา ๑/๒ ส่วนระคน 100. “เหง้าขิงแห้ง ๑ ส่วน, เถาสะค้าน ๒ ส่วน, ลูกมะขามป้อม ๑๖ ส่วน” เป็นตัวยาที่ประกอบอยู่ในสูตรยาแก้สมุฏฐานอะไร 1. อาโปธาตุกำเริบ 2. อาโปธาตุหย่อน 3. เตโชธาตุพิการ 4. วาโยธาตุหย่อน |
แบบทดสอบ เภสัชกรรมไทยเรื่อง เภสัชวัตถุ หมวด ข,ค, จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียวเท่านั้น ๑.ไม้พุ่มขนาดย่อมคล้ายมะเขือ ใบรสขื่น แก้ไอ ขับเสมหะ ราก รสเย็น ถอนพิษทั้งปวง ใช้ทั้งห้า รสขื่นเย็น แก้ไตพิการ พืชชนิดนี้คืออะไร ก. ต้นขี้ครอก ข. ต้นขี้หนอน ค .ต้นขันทองพยาบาท ง. ต้นขี้อ้าย ๒.คไม้ขนาดย่อมถึงขนาดกลาง ราก รสหวาน แก้โรคตา เจริญอาหาร พืชชนิดนี้คืออะไร ก. ต้นเข็มป่า ข.ต้นเข็มขาว ค. ต้นเขยตาย ง.ต้นข่อยเตี้ย ๓. ไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกต้น รสฝาดหวานชุ่ม แก้พิษตานซาง แก้อุจจาระเป็นฟอง เหม็นเปรี้ยว แก้ท้องเสีย แก้ตานขโมย ขับพยาธิไส้เดือนในท้อง ราก รสฝาดหวานเบื่อ ขับพยาธิไส้เดือน บำรุงธาตุ เจริญอาหาร พืชชนิดนี้คืออะไร ก.ต้นไข่เน่า ข. ต้นไข่มด ค.ต้นข่อย ง.ต้นเขี้ยวงู ๔.ไม้พุ่มขนาดใหญ่ หรือไม้ยืนต้นขนาดย่อม เนื้อไม้ รสเมาเบื่อ แก้ลมพิษ แก้ไข้ แก้กามโรค เปลือกต้น รส เมาเบื่อ ทำให้ฟันทน รักษาโรคตับพิการ แก้ประดง แก้พิษในกระดูก แก้โรคผิวหนัง ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน มะเร็ง คุดทะราด กลาก เกลื้อน พืชชนิดนี้คืออะไร ก. ต้นเขว้า ข. ต้นขันทองพยาบาท ค.ต้นเทพทาโร ง.ต้นขี้อ้าย ๕. ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ ใบรสขม แก้ระดูขาว แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ ถ่ายพรรดึก แก่น รสขม แก้กามโรค แก้กระษัย แก้หนองใน แก้เหน็บชา แก้ไฟธาตุพิการ พืชชนิดนี้คืออะไร ก.ต้นขนุน ข. ต้นขี้เหล็ก ค.ต้นคนทา ง.ต้นเข็มแดง ๖. ไม้ยืนต้นตายจากต้นพิกุลหรือต้นตะแบก ลักษณะเหมือนไม้ผุสีขาวเป็นจุดๆ ในเนื้อไม้ รสจืดหอม บำรุงตับ ปอด หัวใจ บำรุงทารกในครรภ์ ทำให้ใจชุ่มชื่น พืชชนิดนี้คืออะไร ก. ขอนหอม ข.ขอนดอก ค. ต้นข่อยหย็อง ง. ต้นเขยตาย ๗. ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบ,เปลือก,ต้น รสเย็นเฝื่อน ต้มอาบน้ำแก้คัน แก้ทรางตัวร้อน พืชชนิดนี้คืออะไร ก.ต้นคงคาเดือด ข.ต้นสีฟัน ค.ต้นไข่เน่า ง.ต้นคนทีสอ ๘.ไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลาง เนื้อแข็ง ราก รสขื่นปร่า กระทุ้งพิษ แก้พิษฝีภายในภายนอก ขับน้ำนม แก้พิษงู แก้พิษสัตว์กัดต่อย แก้โรคผิวหนังพุพอง พืชชนิดนี้คืออะไร ก.ต้นเขยตาย ข. ต้นขันทองพยาบาท ค. ต้นแคแดง ง.ต้นคำไทย ๙.ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบ รสจืดมัน แก้ไข้เปลี่ยนอากาศ แก้ไข้หวัด พืชชนิดนี้คืออะไร ก. ต้นแคแตร ข. ต้นแคขาว ค.ต้นแคแดง ง. ต้นแคฝอย ๑๐.ไม้ป่ายืนต้นขนาดกลาง ดอก รสหวานเย็น ขับเสมหะและโลหิต ขับผายลม ราก รสหวานเย็น ขับเสมหะ และลม พืชชนิดนี้คืออะไร ก.ต้นคูน ข. ต้นแคแตร ค. ต้นคางแดง ง.ต้นคัดลิ้น ๑๑. ไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ดอกรสหวาน บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง สมานบาดแผล แก้บิด แก้โรคไต เมล็ด รสร้อนหอม แก้ลม สมานบาดแผล ตัดไข้ รก เนื้อหุ้มเมล็ด รสหวาน ระบายท้อง พืชชนิดนี้ คืออะไร ก. ต้นคำไทย ข.ต้นคำแสด ค. ต้นคำเงาะ ง.ถูกทุกข้อ ๑๒. ไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน ต้น รสขม บำรุงโลหิตและขับลม ใบ รสขมติดร้อนเล็กน้อย บ่มหนองฝีให้แตกเร็ว ดอก รสขม ฟอกลำไส้ให้สะอาด บ่มหนองให้เกิดเร็ว ราก รสขม แก้ลม แก้ดี บำรุงธาตุ แก้มุตกิด แก้ไอ แก้ไข้ผอมเหลือง บำรุงกำลัง พืชชนิดนี้คืออะไร ก. ต้นคราม ข.ต้นครอบทั้งสาม ค. ต้นควินิน ง. ต้นคันทรง ๑๓.ไม้พุ่มขนาดใหญ่ เปลือกต้น รสร้อน แก้ปวดท้อง แก้เลือด แก้ลม เป็นยาอายุวัฒนะ รากและใบ รสร้อน ต้ม รับประทานหรือประคบ แก้ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ราก รสเมาร้อน แก้ลม ขับเหงื่อ แก้ริดสีดวงแห้งพืชชนิดนี้คืออะไร ก. ต้นคงคาเดือด ข.ต้นคนทีสอเขมา ค. ต้นคัดลิ้น ง. ต้น คางแดง ๑๔. ไม้ยืนต้นขนาดกลาง แก่น รสขมจัด แก้กระษัย แก้ไตพิการ ปวดบั้นเอว ขับปัสสาวะ บำรุงโลหิต ขับระดูเสีย พืชชนิดนี้คืออะไร ก. ต้นข่อย ข. ต้นขี้อ้าย ค.ต้นขี้เหล็กเลือด ง.ต้น ไข่มด ๑๕.ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบ รสเมาเบื่อ แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ดอก รส เมาเบื่อ ขับพยาธิไส้เดือนใน ท้อง ลูก รสร้อน ตำพอกฝี บ่มหนองให้แตกเร็ว แก่น รสเมาเบื่อ แก้โรคเรื้อน ราก รสเมาเบื่อ แก้พยาธิ กลาก รังแค พืชชนิดนี้คืออะไร ก. ต้นไข่เน่า ข. ต้นไข่มด ค. ต้นเล็บครุฑ ง.ต้นต้นคนทา ๑๖.ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ เปลือกต้น รสฝาด แก้บิด แก้อุจจาระเป็นฟอง แก้ปวดเบ่ง สมานแผล พืชชนิดนี้คืออะไร ก. ต้นขี้อ้าย ข.ต้นขี้หนอน ค. ต้นไข่เน่า ง.ต้น ไข่มด ๑๗. ไม้พุ่มต้นเล็ก ใบ รสเย็น ดับพิษ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ปวดศีรษะ ต้น รสเย็น ฟอกขับปัสสาวะให้บริสุทธิ์ แก้กระษัย แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะขุ่นข้น พืชชนิดนี้คืออะไร ก. ต้นคราม ข. ต้นข่อย ค. ต้นเขี้ยวงู ง.ต้นขี้เหล็ก ๑๘. ไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน ดอกรสหอมร้อน บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู เกสร รสหวาน บำรุงโลหิตและ น้ำเหลืองให้เป็นปกติ แก้แสบร้อนตามผิวหนัง เมล็ด รส หวานร้อน ระบายท้อง ขับเสมหะ แก้โรค ผิวหนัง ขับระดู ป่นเป็นยาพอก แก้ปวดมดลูกหลังคลอดบุตร น้ำมันจากเมล็ด รสร้อน แก้โรคขัดข้อ อัมพาต แก้ฝี พืชชนิดนี้คืออะไร ก.ต้นแคฝอย ข. ต้นคำฝอย ค.ต้นคำไทย ง. ต้นซิงโคน่า ๑๙. ไม้ยืนต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลาง เนื้อในฝัก รสหวานเอียน ระบายท้อง ช่วยบรรเทาอาการแน่นหน้าอก แก้ฟกช้ำ แก้ลมเข้าข้อและขัดข้อ ดอก รสขมเปรี้ยว แก้ไข้ ระบายท้อง เปลือกต้น รสฝาด แก้ท้องร่วง สมานบาดแผล กระพี้ รสเมา แก้รำมะนาด พืชชนิดนี้คืออะไร ก. ต้นคูน ข.ต้นแคแตร ค. ต้น แคฝอย ง.ต้นครอบจักวาล ๒๐. ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงใหญ่ ราก รสร้อนจัด แก้เส้นเอ็นพิการ บำรุงเส้นเอ็น ห้ามใช้กับบุคคลที่เป็นเส้นประสาทพิการ พืชชนิดนี้คืออะไร ก.ต้นคันทรง ข.ต้น คัดลิ้น ค.ต้นคูน ง.ต้นคงคาเดือด |