Siripat Thai-Med Online School
  • Home
  • หลักสูตร
    • แพทย์แผนไทย >
      • เภสัชกรรมไทย >
        • เภสัชวัตถุ >
          • สมุนไพร ป่าชายเลน
        • สรรพคุณเภสัช
        • คณาเภสัช
        • หลักเภสัชกรรมไทย >
          • ตัวยาอันตราย
          • การสะตุ ประสะ ฆ่าฤทธิ์ตัวยา
          • ยาสามัญประจำบ้าน
        • แนวข้อสอบ เภสัชกรรมไทย
      • เวชกรรมไทย >
        • พระคัมภีร์ ฉันทศาสตร์
        • พระคัมภีร์ ปฐมจินดา
        • ตำรายา
        • แนวข้อสอบเวชกรรมไทย
      • ผดุงครรภ์ไทย >
        • แม๋ซื้อ
        • ห่วงเต้า
      • การนวดไทย >
        • กายวิภาคศาสตร์
        • การนวดราชสำนัก
        • ท่าบริหารฤาษีดัดตน
        • ท่าบริหารโยคะ
        • การหายใจบำบัดโรค
        • การนวดย่ำขาง
        • การนวดรักษา
        • แนวข้อสอบการนวดไทย
      • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง >
        • เฉลยข้อสอบ พ.ร.บ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.$
        • พ.ร.บ การประกอบโรคศิลปะ >
          • แนวข้อสอบ พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒
        • พ.ร.บ สถานพยาบาล >
          • แนวข้อสอบ พ.ร.บ สถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑
        • พ.ร.บ ยา >
          • ประกาศยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ พ.ศ. ๒๕๕๖
          • แนวข้อสอบ พ.ร.บ ยา พ.ศ. ๒๕๑๐
    • การแพทย์ทางเลือก >
      • การนวดจัดกระดูก
      • นวดไทยเพื่อสุขภาพ
      • กดจุดสะท้อนฝ่าเท้า
      • กวาซา
    • ประกาศผลสอบ แพทย์แผนไทย ประจำปี ๒๕๕๔
    • งานวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย
  • ประวัติปู่ชีวกโกมารภัจจ์/โรงเรียน
    • ประวัติ อ.ประสิทธิ์/พิธีไหว้ครู
    • ข้อมูลหลักสูตร >
      • ระเบียบการสมัครเรียน/สอบ
    • ทำเนียบครูแพทย์แผนไทย
    • ทำเนียบนักเรียน
    • เพลงแพทย์แผนไทย
  • สิริภัจจ์ สหคลินิก
    • กายภาพบำบัด
    • ยาแผนไทย
    • สมุนไพรบำบัด >
      • โรคสะเก็ดเงิน
    • นวดบำบัด
    • นวดจัดกระดูก
  • แผนที่โรงเรียน/คลินิก
  • ปรึกษาแพทย์ ฟรี
  • มารู้จัก มะเร็ง(โรคสาร) กันเถอะ
    • ตำหรับยา รักษามะเร็ง
    • ยารักษามะเร็ง/โจ๊กดอกไม้
  • ตำรายารักษาโรคต่างๆ
    • ยาแก้ไฟใหม้ -น้ำร้อนลวก
    • ยาแก้ งูสวัด เริม ไฟลามทุ่ง
    • ยารักษา โรคความดันโลหิตสูง
    • ยารักษาโรคไซนัสอักเสบและริดสีดวงจมูก
    • ยาแก้ไอ
    • ยาแก้ปวดหู
    • ยารักษาไข้หวัด
    • ยารักษาโรคตา
  • เครื่องมือทดสอบคุณภาพยาสมุนไพร
Picture

พระคาถาบูชาปู่ชีวก
              โอมนะโม ชีวโก ศิรษาอหัง กรุณิโก สัพพะสัตตานัง

               โอสัถะ ทิพพะมันตัง ประภาโส สุริยาจันทัง  โกมารภัจ     
               โจ  ประภาเสสิ  
                 
                วันทามิ  บัณฑิโต สุเมธะโส  อโรคา สุมนาโหมิ (๓ ครั้ง)

ประวัติปู่ชีวกโกมารภัจจ์

              หมอชีวกโกมารภัจจ์ ท่านถือกำเนิดในดินแดนแคว้นมคธ ที่ตั้งอยู่ในประเทศอินเดียปัจจุบัน หรือ ที่เป็นที่ตั้งของสุวรรณภูมิปัจจุบันกันแน่?
 

              หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นบุตรของนางสาลวดี นางนครโสเภณีประจำเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ซึ่งตำแหน่งนางนครโสเภณีสมัยนั้น 
เป็นตำแหน่งที่มีเกียรติเพราะพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง นางสาลวดีตั้งครรภ์โดยบังเอิญ เมื่อคลอดบุตรชายออกมาจึงสั่งให้สาวใช้นำไปทิ้งที่กองขยะนอกเมือง เคราะห์ดีที่อภัยราชกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสารไปพบเข้าขณะเสด็จออกไปนอกเมือง จึงทรงนำมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ชื่อ “ชีวก” ตั้งขึ้นตามการกราบทูลตอบคำถามพระองค์ที่ตรัสถามว่า “เด็กยังมีชีวิตอยู่รึเปล่า” มหาดเล็กกราบทูลว่า “ยังมีชีวิตอยู่” (ชีวโก) ส่วนคำว่า “โกมารภัจจ์” แปลว่า “กุมารที่ได้รับการเลี้ยงดู” หรือ “กุมารในราชสำนัก” อันหมายถึง “บุตรบุญธรรม” นั้นเอง เมื่อชีวกโกมารภัจจ์โตขึ้นถูกพวกเด็กๆ ในวังล้อเลียนว่า "เจ้าลูกไม่มีพ่อ" ด้วยความมานะจึงหนีพระบิดาเลี้ยงไปเรียนศิลปวิทยาที่เมืองตักศิลา เพื่อเอาชนะคำดูหมิ่นของพวกเด็กในวังให้ได้ วิชาที่ชีวกเรียนคือวิชาแพทย์ เนื่องจากไม่มีค่าเล่าเรียนให้อาจารย์จึงอาสาอยู่รับใช้อาจารย์สารพัดแล้วแต่ท่านจะใช้ อาศัยเป็นเด็กอ่อนน้อมถ่อมตน มีความเคารพเชื่อฟังอาจารย์ จึงเป็นที่โปรดปรานของอาจารย์มาก มีศิลปวิทยาเท่าไร อาจารย์ก็ถ่ายทอดให้หมดโดยไม่ปิดบังอำพราง ชีวกเรียนวิชาแพทย์อยู่ ๗ ปี จึงไปกราบลาอาจารย์กลับบ้านอาจารย์ได้ทดสอบความรู้โดยให้เข้าป่าไปสำรวจดูว่าต้นไม้ว่าต้นไหนว่าทำยาไม่ได้ให้นำตัวอย่างกลับมาให้อาจารย์ดู ปรากฏว่าเขาเดินกลับมาตัวเปล่า เพราะต้นไม้ทุกต้นใช้ทำยาได้หมด อาจารย์บอกว่าเขาได้เรียนจบแล้วจึงอนุญาตให้เขากลับ หลังจากกลับมายังเมืองราชคฤห์แล้ว ชีวกได้ถวายการรักษาพระอาการประชวรของพระเจ้าพิมพิสารหายขาดจาก “ภคันทลาพาธ” (โรคริดสีดวงทวาร) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหมอหลวงพร้อมทั้งได้รับพระราชทานสวนมะม่วงให้เป็นสมบัติอีกด้วย ต่อมาชีวกได้ถวายสวนมะม่วงแห่งนี้ให้เป็นวัดที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย ได้ถวายการรักษาแด่พระบรมศาสดาเมื่อคราวพระองค์ทรงประชวร และถวายตัวเป็นแพทย์ประจำพระองค์อีกด้วย

              ตลอดชีวิตหมอชีวกได้บำเพ็ญแต่สิ่งที่ดีงาม ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยไม่เลือกยากดีมีจน จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ (ผู้เป็นเลิศกว่าคนอื่น) ในทาง “เป็นที่รักของปวงชน” ในวงการแพทย์แผนไทยนี้ ถือว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็น “บรมครูแห่งการแพทย์แผนไทย” เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป

               หลายท่านที่ยังปักใจเชื่อว่า กรุงราชคฤห์อยู่ที่ประเทศอินเดียปัจจุบัน และได้เดินทางไปแสวงบุญยังที่ประเทศอินเดีย ก็จะได้มีโอกาสได้ไปเที่ยวชม สถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวกับท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ เช่นที่ ชีวกัมพวัน ซึ่งหมอชีวกโกมารภัจจ์ได้ถวายสวนมะม่วงจัดสร้างให้เป็นวัด ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แต่นอกจากซากอิฐ ซากหิน ที่เห็นแล้ว มีร่องรอยอะไรที่สำคัญเกี่ยวกับหมอชีวกโกมารภัจจ์ หลงเหลืออยู่บ้าง?
Picture
                               ชีวกัมพวัน ซึ่งหมอชีวกโกมารภัจจ์ได้สร้างเป็นวัดถวายไว้ในพระพุทธศาสนา
ครั้นสืบย้อนไปตามประวัติที่ท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ ไปศึกษาวิชาการแพทย์ ยัง เมืองตักศิลา ซึ่งนักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตก ก็ระบุว่า เมืองตักศิลาในสมัยพุทธกาลคือ เมือง Taxila ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน ซึ่งในสมัยพุทธกาล นั้น ว่ากันว่า เป็นสำนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่แต่เฉพาะด้านการแพทย์เท่านั้น แต่เป็นสำนักเรียนด้านศิลปะศาสตร์ อีกหลายแขนง แม้ พระราชโอรสของพระเจ้ามหาโกศล ในพระนครสาวัตถี พระนามว่าปเสนทิกุมาร พระกุมารของเจ้าลิจฉวี ในพระนครเวสาลี พระนามว่ามหาลิ และ โอรสของเจ้ามัลละ ในพระนครกุสินารา พระนามว่าพันธุละ ก็ได้เสด็จไปนครตักกสิลานี้ เพื่อเรียนศิลปะในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์

              ปัจจุบัน ก็ได้มีการขุดพบหลักฐานทางโบราณคดี มากพอสมควร หนึ่งในนั้น คือ ธรรมราชิกาสถูป ซึ่งว่ากันว่าเป็นพุทธสถานในยุคแรกในปากีสถาน เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์โมริยะ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ในเวลาต่อมาได้มีการต่อเติมขยายให้ใหญ่ขึ้นอีกในราว คริสตศตวรรษที่ ๒ ในสมัยพระเจ้ากนิษกะ 
            นอกจากซากโบราณสถาน ที่ปรากฏให้เห็นแล้ว ทั้งที่ เมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน และที่เมือง Taxila แคว้นปัญจาป ประเทศปากีสถาน ซึ่งเป็นสำนักเรียนทางการแพทย์ที่ท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์เดินทางไปร่ำเรียนนั้น กลับไม่หลงเหลืออะไรที่เกี่ยวกับมรดกแพทย์แผนโบราณเอาไว้เลย ตรงกันข้าม ตำรับตำราทางการแพทย์แห่งเมืองตักศิลา หรือ ตำราแพทย์ที่ท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ แต่งไว้ กลับถูกถ่ายทอด และสืบต่อกันอย่างแพร่หลาย จนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลา ๒,๕๐๐ กว่าปี ในดินแดนสุวรรณภูมิปัจจุบัน โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งเป็นที่มาของการยกย่องให้ ท่านเป็น บรมครูแห่งการแพทย์แผนไทย

               ซึ่งผม จะขอยก เอาคัมภีร์ทางการแพทย์ ที่บรรพบุรุษ ของเราได้เก็บรักษา และเผยแพร่สืบต่อกันมา อันเป็นมรดกแห่ง สำนักแพทย์ตักศิลา และบรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์ ดังนี้

สมัครเรียนติดต่อ siripatclinic@gmail.com โทร.087-1639644,